อิสลามได้ห้ามการบริโภค ดื่ม และการใช้สิ่งต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และสุขภาพ และถ้าอันตรายยิ่งมีมากเท่าใด การห้ามโดยสาเหตุก็ยิ่งหนักหน่วงและรุนแรงขึ้นไปตามลำดับ, จนถึงระดับของการ ฮะรอม
ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กล่าวว่า : “การบริโภคสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ถือว่า ฮะรอม”[1]
เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า เกณฑ์ของฮะรอม, ขึ้นอยู่กับอันตราย กล่าวคือไม่ว่าอันตรายจะเกิดจากการบริโภค หรือเกิดจากแนวทางอื่นก็ตาม, มิได้มีการระบุไว้ตายตัวแน่นอน.
บุหรี่เป็นหนึ่งในสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่อันตรายนั้นจะถึงขั้นที่ว่า การสูบบุหรี่เป็นฮะรอมหรือไม่?
บรรดาแพทย์ส่วนใหญ่และผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้, ต่างมีความเห็นพร้องต้องกันว่า บุหรี่เป็นอันตรายสำคัญและผลเสียเกิดขึ้นตามมามากมาย หนังสือและตำราต่างๆ จำนวนมากได้กล่าวอธิบายถึงอันตรายและผลเสียต่างๆ ที่เกิดจากการใช้ใบยาสูบ,โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุหรี่,ซึ่งได้กลายเป็นสาขาหนึ่งที่มีการวิเคราะห์วิจัยออกมาอย่างกว้างขวาง[2] ด้วยเหตุนี้ อย่างน้อยที่สุดสามารถกล่าวได้ว่า บุหรี่ขึ้นอยู่กับบุคคลและสภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งเกณฑ์ของอันตรายเปลี่ยนแปลงไป กฎเกณฑ์ก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย
นักปราชญ์ฟุเกาะฮาบางท่าน แสดงทัศนะบนพื้นฐานที่ว่า, เกณฑ์ที่เป็นอันตรายของบุหรี่ขึ้นอยู่กับการรับรู้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ววินิจฉัยว่า ฮะรอม.
แต่นักปราชญ์บางท่าน, แสดงทัศนะว่าเกณฑ์ที่เป็นอันตรายของบุหรี่นั้นมิได้ระบุแน่นอน เพื่อจะได้สามารถกล่าวได้ว่า บุหรี่ ฮะรอมเสมอ. ใช่แล้ว, ถ้าหากบุคคลหนึ่งป่วยเป็นโรคหัวใจ และแพทย์ได้สั่งห้ามสูบบุหรี่เด็ดขาด, ดังนั้น การสูบบุหรี่สำหรับเขาถือว่า ฮะรอม[3]
ทัศนะต่างๆ :
คำตอบของบรรดามัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับคำถามเรื่องบุหรี่ มีดังนี้ :
ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ คอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครอง) :
กฎกับความแตกต่างของอันตรายขึ้นอยู่กับระดับการใช้ยาสูบ ซึ่งมีความแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปแล้วการใช้ใบยาสูบจำนวนหนึ่ง ถ้าหากมีอันตรายเกิดขึ้นกับร่างกาย ถือว่าไม่อนุญาต และถ้าบุคคลนั้นทราบว่าถ้าเริ่มหัดสูบบุหรี่ตอนนี้ ต้องไปถึงระดับอันตรายนั้นอย่างแน่นอน ถือว่าไม่อนุญาตเช่นกัน[4]
ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครอง) :
การบริโภคหรือดื่มสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายสำคัญต่อมนุษย์ถือว่า ฮะรอม, การสูบบุหรี่หรือการใช้ยาสูบประเภทต่างๆ ถ้าหากผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าก่อให้เกิดอันตรายสำคัญถือว่า ฮะรอม เช่นกัน, แต่สำหรับการเสพยาเสพติดถือว่า ฮะรอม ตลอดกาล, ไม่ว่าจะด้วยวิธีการฉีดเข้าเส้นเลือด การสูบดมควัน หรือวิธีใดๆ ก็ตาม นอกจากนี้แล้วการผลิตยาเสพติด, การซื้อ การขาย หรือการช่วยเหลือทุกอย่างในการจำหน่ายจ่ายแจก, เป็น ฮะรอม ทั้งสิ้น[5]
ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ ซอฟียฺ ฆุลภัยฆอนียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครอง) :
การบริโภคสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสติสัมปชัญญะของมนุษย์ หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย ถือว่า ฮะรอม ทั้งสิ้น,แต่ถ้าเป็นอันตรายชั่วครั้งชั่วครู่ หรือนิดหน่อย ซึ่งบรรดาปวงปราชญ์มิได้ใส่ใจในประเด็นนั้น, ถือว่าไม่ฮะรอม[6]
ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ มะฮฺดี ฮาดะวี เตหะรานนี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครอง) :
การใช้ยาสูบ ด้วยเหตุผลที่ว่าก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย ถือว่า ฮะรอม ตลอดไป
เชื่อมต่อ ไซต์อิสติฟตาอาต
[1] เตาฎีฮุลมะซาอิล (อัลมะฮฺชี ลิลอิมาม อัลโคมัยนี), เล่ม 2, หน้า : 600 [ข้อที่ 2630]
[2] หนังสือ»บุหรี่, หัวใจวาย,มะเร็ง« คือหนึ่งในหนังสือที่กล่าวถึง
[3] ฟาฎิลลันกะรอนียฺ, มุฮัมมัด, ญามิอุลมะซาอล, เล่ม 1, ข้อ 2160, สำนักพิมพ์ อะมี กะลัม
[4] เตาฎีฮุลมะซาอิล (อัลมะฮฺชี ลิลอิมาม อัลโคมัยนี), เล่ม 2, หน้า : 1018,ข้อ 1407
[5] เตาฎีฮุลมะซาอิล (อัลมะฮฺชี ลิลอิมาม อัลโคมัยนี), เล่ม 2, หน้า : 600 [ข้อที่ 2630]
[6] อ้างแล้วเล่มเดิม