อัศล์ อะมะลี
อัศล์ อะมะลี ในวิชาฟิกเกาะฮ์หมายถึงหลักการที่นำมาใช้เมื่อไม่สามารถพิสูจน์ฮุก่มชัรอีได้โดยตรง โดยจะกำหนดหน้าที่ของมุกัลลัฟในยามที่ไม่พบหลักฐานหรือข้อสันนิษฐานใดๆ กล่าวคือ อัศล์ อะมะลี หรือ อุศู้ล อะมะลียะฮ์ ก็คือหลักที่จะกำหนดหน้าที่ของมุกัลลัฟในกรณีที่เผชิญกับข้อสงสัย ฉะนั้น มูลเหตุของอุศู้ล อะมะลียะฮ์ก็คือ “ข้อสงสัย”
อีกชื่อหนึ่งของอัศล์ อะมะลีก็คือ “ดะลี้ล ฟะกอฮะตี” ดะลี้ลฟะกอฮะตีคือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยฮุก่มเฉพาะกาล อันได้แก่ บะรออะฮ์ เอียะฮ์ติยาฏ ตัคยี้ร และ อิสติศฮ้าบ
ดะลี้ล อิจติฮาดี
ดะลี้ล อิจติฮาดี คือหลักฐานที่บ่งชี้ถึงฮุก่มที่แท้จริง สาเหตุที่ตั้งชื่อไว้เช่นนี้ก็เนื่องจากมีความเกี่ยวโยงกับนิยามของอิจติฮาด (การทุ่มเทความพยายามเพื่อแสวงหาข้อสันนิษฐานสู่ฮุกุ่มที่แท้จริง) และเนื่องจากหลักฐานประเภทนี้ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานสู่ฮุกุ่มที่แท้จริง จึงขนานนามว่าดะลี้ล อิจติฮาดี ซึ่งในส่วนของอัมมาเราะฮ์ก็ถือเป็นดะลี้ล อิจติฮาดีได้เช่นกัน ดะลี้ลอิจติฮาดีมีไว้เพื่อวินิจฉัยฮุ่กุ่มที่แท้จริง อันได้แก่ กุรอาน ซุนนะฮ์ อิจมาอ์ และสติปัญญา
ความเชื่อมโยงระหว่างดะลี้ลและอัศล์
ควรทราบว่าไม่มีความขัดแย้งระหว่างดะลี้ลและอัศล์ แต่สองสิ่งนี้มีสัมพันธ์ในลักษณะลูกโซ่อยู่ ทั้งนี้ก็เพราะหากข้อสงสัยใดมีดะลี้ล ก็จะไม่เหลือความสงสัยอันเป็นมูลเหตุของอัศล์ อะมะลีอีกต่อไป ในประเด็นความขัดแย้งระหว่างดะลี้ลกับอัศล์นั้น ในกรณีของดะลี้ลที่ชัดเจน แน่นอนว่าไม่มีอัศล์ใดจะสามารถเทียบเคียงได้ เนื่องจากมูลเหตุของอัศล์คือความสงสัย เมื่อมีความแน่นอนในแง่มูลเหตุ อัศล์ก็ย่อมหายไป แต่ในกรณีดะลี้ลที่ไม่ชัดเจนอย่างเช่นอิมาเราะฮ์ปะทะกับอัศล์ ในกรณีเช่นนี้ถือเป็นการหักล้างกัน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศู้ลเชื่อว่าควรถือข้างอิมาเราะฮ์มากกว่าอัศล์ทุกประเภท แม้กระทั่งอิสติศฮ้าบ (ตามหลักเฏาะรีกียะฮ์)[1]
[1] อ่านเพิ่มเติมได้ตามหนังสือวิชาอุศู้ล อาทิเช่น อุศูลุลฟิกฮ์ ของท่านมุซ็อฟฟัร, กิฟายะตุ้ลอุศู้ล ของออคูนด์โครอซอนี ฯลฯ