ความกลัวตายสามารถกล่าวได้ว่า มีสาเหตุและปัจจัยหลายประการ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวโดยสรุปถึงปัจจัยเหล่านั้น กล่าวคือ
1.ผู้คนส่วนใหญ่มักคิดและอธิบายว่า ความตายคือการสูญสิ้น หรือการดับสลาย ไม่มีอีกต่อไป เป็นที่ทราบกันดีว่าปกติแล้วมนุษย์มักกลัวการสูญสิ้น ไม่มี. ดังนั้น ถ้ามนุษย์อธิบายความตายว่า มีความหมายตามกล่าวมา แน่นอนเขาก็จะเป็นคนหนึ่งที่หลีกหนีและกลัวตาย, ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าจะมีสภาพชีวิตที่ดีที่สุด,ถ้าคิดถึงความตายเมื่อใด, เหมือนกับสภาพชีวิตของเขาจะช็อกไปชั่วขณะ ในมุมมองนี้เขาจึงเป็นกังวลตลอดเวลา
2.มีมนุษย์บางกลุ่มเชื่อว่า ความตาย มิใช่จุดสิ้นสุดชีวิต, และเขายังเชื่อเรื่องการฟื้นคืนชีพ แต่ด้วยเหตุผลที่ว่าเขาได้กระทำการงานไม่ดี จึงกลัวความตายและหวาดหวั่นต่อสิ่งนั้นเสมอ, เนื่องจากความตายคือการเริ่มต้นไปถึงยังผลลัพธ์อันเลวร้าย และการงานของตน ด้วยเหตุนี้, เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบจากพระเจ้า และการลงโทษของพระองค์ พวกเขาจึงต้องการให้ความตายล่าช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
บุคคลหนึ่งได้ถามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า : เพราะเหตุใดฉันจึงไม่ชอบความตายเอาเสียเลย? ท่านศาสดา กล่าวว่า : เธอมีสมบัติไหม? เขาตอบว่า : มี, ท่านศาสดา กล่าวว่า : เธอเคยส่งอะไรไปล่วงหน้าบ้าง? เขาตอบว่า : ไม่เคย, ท่านศาสดา กล่าวว่า : ด้วยเหตุนี้เองเธอจึงไม่ชอบความตาย[1]
และสิ่งนี้ตรงกับที่ท่านอิมามอะลี (อ.) เคยกล่าวไว้ด้วยประโยคที่เปี่ยมด้วยวิทยปัญญา, เป็นการเตือนสำทับให้รับรู้ถึงเสียงคร่ำครวญที่จะดังขึ้นว่า : โอ้ ช่างน้อยนิดเสียนี่กระไรสำหรับเสบียงที่สั่งสมเพื่อปรโลก เป็นระยะทางที่ยาวไกล เป็นการเดินทางที่ยาวนาน มีเป้าหมายและทางเข้าอันยิ่งใหญ่”[2]
3.ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : มีคนหนึ่งได้ถามท่านอบูซัรว่า : เพราะอะไรพวกเราจึงกลัวความตาย? ตอบว่า : เนื่องจากเธอได้สร้างโลกอันสวยงามแก่ตัวเอง, และทำลายปรโลกพินาศสิ้น, ฉะนั้น เป็นธรรมดาที่เธอไม่ชอบที่จะจากสถานที่บูรณะอย่างสวยงาม ไปสู่สถานที่พังพินาศยับเยินเช่นนั้น[3]
สิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานคือ, สาเหตุของความกลัวตาย, คือการที่คนเราไม่ได้ขวนขวาย หรือสั่งสมเสบียงเพื่อโลกหน้า, ทว่าไม่สนใจต่อสิ่งนั้นและให้ความสนใจต่อโลกนี้มากกว่า, และด้วยเหตุนี้เองเขาได้ทำลายปรโลกให้พังพินาศ
มนุษย์ต้องเชื่อว่า ความตายคือการก้าวเท้าไปสู่โลกหน้าเพื่อดูสิ่งที่ตนได้ขวนขวายเอาไว้ในโลก ซึ่งความเชื่อดังกล่าวนี้เป็นตัวกำหนดว่า มนุษย์ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามชัรอียฺ ด้วยความเคร่งครัด และมีความหวังในความเมตตาอันยิ่งใหญ่ของพระองค์, ในกรณีนี้เท่านั้นที่ไม่ทำให้มนุษย์กลัวความตาย, ทว่าเขายังมีความต้องการที่จะได้พบกับพระเจ้า และปรารถนาที่จะตายอีกต่างหาก
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : »ความตายคือของขวัญสำหรับผู้ศรัทธา«[4] ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า: »ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า บุตรของอบีฏอลิบ มีความมักคุ้นกับความตายมากยิ่งกว่า ทารกมีความมักคุ้นกับเต้านมมารดาเสียอีก«[5]
ด้วยเหตุนี้, วิธีแก้ความกลัวตายคือ, การเอาใจใส่ต่อปรโลก, เนื่องจากความไม่เชื่อพระเจ้า วันฟื้นคืนชีพ, การหลงลืมปรโลก, การไม่สั่งสมเสบียงสำหรับปรโลก เหล่านี้คือปัจจัยที่ทำให้กลัวความตาย
[1] เชคซะดูก, คิซอล, แปลโดย คุมเระอียฺ, เล่ม 1, หน้า 69, กิตาบฌี, เตหะราน, พิมพ์ครั้งแรก, ปีที่ 19067 (ค.ศ.th18485)
[2] «آه مِنْ قِلَّةِ الزّادِ وَ طُولِ الطَّریقِ وَ بُعْدِ السَّفَرِ وَ عَظیمِ الْمُورِدِ» ตะมีมมี ออมะดี, อับดุลวาฮิด, ฆอรรอรุลฮิกัม วะดุรุรรุลกะลัม, หน้า 144, ตัฟตัรตับลีฆอต อิสลามี, กุม, ปี 1366, (ค.ศ. 1987)
[3] กุลัยนี,มุฮัมมัด บิน ยะอฺกูบ, กาฟียฺ, ค้นคว้าและตรวจทานโดย, เฆาะฟารียฺ, อะลีอักบัร, ออคูนดี, มุฮัมมัด, เล่ม 2, หน้า 458, ดารุลกุตุบอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, พิมพ์ครั้งที่ 4 ปี ฮ.ศ. 1407
«عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ (ع) قَالَ جَاءَ رَجُلٌ إِلَى أَبِي ذَرٍّ فَقَالَ يَا أَبَا ذَرٍّ مَا لَنَا نَكْرَهُ الْمَوْتَ فَقَالَ لِأَنَّكُمْ عَمَرْتُمُ الدُّنْيَا وَ أَخْرَبْتُمُ الْآخِرَةَ فَتَكْرَهُونَ أَنْ تُنْقَلُوا مِنْ عُمْرَانٍ إِلَى خَرَابٍ»
[4] มัจญฺลิซซียฺ, มุฮัมมัดบากิร, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 70, หน้า 171, มุอัซเซะเซะฮ์ อัลวะฟาอ์, เบรุต, ปี ฮ.ศ. 1409.
[5] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, หน้า 52, คำเทศนาที่, 5.