การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7145
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa10087 รหัสสำเนา 20024
คำถามอย่างย่อ
ข้อความละอ์นัตในซิยารัตอาชูรอครอบคลุมถึงบุตรชายยะซีดด้วยซึ่งเป็นคนดี แล้วจะถือว่าซิยารัตนี้น่าเชื่อถือได้อย่างไร?
คำถาม
ข้อความละอ์นัตในซิยารัตอาชูรอครอบคลุมถึงบุตรชายยะซีดด้วยซึ่งเป็นคนดี แล้วจะถือว่าซิยารัตนี้น่าเชื่อถือได้อย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

ในซิยารัตอาชูรอ มีการละอ์นัตกลุ่มบนีอุมัยยะฮ์ซึ่งรวมถึงบุตรชายยะซีดด้วย ในขณะที่นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าบุตรชายของยะซีดและสมาชิกบนีอุมัยยะฮ์บางคนเป็นคนดีเนื่องจากเคยทำประโยชน์บางประการ ซึ่งย่อมไม่สมควรจะถูกละอ์นัต เพื่อชี้แจงข้อสงสัยดังกล่าวควรทราบว่า บนีอุมัยยะฮ์ในที่นี้หมายความเฉพาะผู้ที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันกับพวกเขา อันหมายถึงผู้กระทำผิด ผู้วางเฉย ผู้ปีติยินดี ... ฯลฯ ต่อการแย่งชิงสิทธิอันชอบธรรมของบรรดาอิมาม(.) ตลอดจนการสังหารท่านเหล่านั้นและสาวก หากคำนึงถึงประโยคก่อนและหลังท่อนดังกล่าวในซิยารัตอาชูรอ ก็จะเข้าใจจุดประสงค์ดังกล่าวได้ไม่ยาก เนื่องจากบรรยากาศของซิยารัตบทนี้เต็มไปด้วยละอ์นัตและการสาปแช่งกลุ่มบุคคลที่ยึดครองตำแหน่งคิลาฟะฮ์ และพยายามจะดับรัศมีของอัลลอฮ์ โดยทำทุกวิถีทางเพื่อต่อกรกับอะฮ์ลุลบัยต์ รวมไปถึงกลุ่มบุคคลที่ให้การสนับสนุนและพึงพอใจในพฤติกรรมของกลุ่มแรก
ฉะนั้น ในทางวิชาอุศู้ลแล้ว เราถือว่าการยกเว้นบุคคลที่ดีออกจากนัยยะของคำว่าบนีอุมัยยะฮ์นั้น เป็นการยกเว้นประเภทตะค็อศศุศมิไช่ตัคศี้ศหมายความว่า คำว่าบนีอุมัยยะฮ์ไม่ครอบคลุมถึงบุคคลเหล่านี้ตั้งแต่แรกแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำถามข้างต้นมีสองแง่มุม หนึ่ง ต้องการทราบความคิดและพฤติกรรมของบุตรชายยะซีด สอง ทำความเข้าใจขอบเขตละอ์นัตบนีอุมัยยะฮ์ในซิยารัตอาชูรอ
ต้องเรียนชี้แจงเกี่ยวกับบุตรชายยะซีดว่า การที่เขายอมสละตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ถือเป็นการกระทำที่เหมาะสม เนื่องด้วยยอมรับว่าตำแหน่งดังกล่าวได้มาอย่างไม่ชอบธรรม อย่างไรก็ดี การกระทำดังกล่าวก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้เราแน่ใจว่าเขาเตาบะฮ์อย่างครบถ้วนทุกเงื่อนไข (ทดแทนสิ่งที่เคยละเมิด) แล้วหรือยัง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงก็จะได้รับพระเมตตาจากอัลลอฮ์และหลุดพ้นจากบ่วงละอ์นัตของพระองค์ 

การยึดครองตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์แม้จะด้วยระยะเวลาสั้นๆ ก็ถือเป็นบาปมหันต์ที่ต้องมีเงื่อนไขบางประการจึงจะได้รับอภัยโทษ ดังที่ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีนกล่าวถึง อุมัร บิน อับดุลอะซีซว่าเขาเสียชีวิตลงโดยมีชาวโลกร่ำไห้ไว้อาลัย แต่ชาวฟ้าประณามละอ์นัตเขาอยู่[1] ทั้งนี้ก็เนื่องจากเขาครองตำแหน่งที่ตนไม่มีสิทธิ แม้ว่าเขาจะมีความประพฤติที่ดีกว่าเคาะลีฟะฮ์คนอื่นๆก็ตาม อย่างไรก็ดี เรามิได้ฟันธงว่าทั้งมุอาวิยะฮ์ บุตรของยะซีด และอุมัร บิน อับดุลอะซีซ ไม่ได้รับความเมตตาจากอัลลอฮ์[2] พระองค์เท่านั้นที่ทรงทราบ
แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีคนดีๆในเชื้อตระกูลบนีอุมัยยะฮ์อยู่ ถึงแม้จะมีจำนวนน้อยนิดก็ตาม อาทิเช่น คอลิด บิน สะอี้ด บิน อาศ, อบุลอาศ บิน เราะบี้อ์, สะอ์ดุ้ลค็อยร์ และคนอื่นๆ ฉะนั้น เมื่อทราบแล้วว่ายังมีบางคนในตระกูลนี้ที่ไม่ควรถูกละอ์นัตจากอัลลอฮ์ จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงนัยยะของคำว่าบนีอุมัยยะฮ์ในสำนวนซิยารัตอาชูรอ  ที่นี้

ความหมายของการละอ์นัตบนีอุมัยยะฮ์ทั้งตระกูล
ก่อนจะเข้าสู่รายละเอียด จำเป็นต้องชี้แจงเบื้องต้นก่อนว่าหนึ่งในคำสอนอันชัดเจนของกุรอานก็คือ การที่บุคคลจะไม่ถูกประณามหรือลงโทษทั้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยกับความผิดของผู้อื่น[3] เว้นเสียแต่ว่าเขาจะมีส่วนร่วมหรือพึงพอใจกับความผิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ห้ามปราม ซึ่งการวางเฉยของเขานี่แหล่ะที่นำมาซึ่งอะซาบ มิไช่อะซาบที่มาจากการกระทำของผู้อื่น ดังกรณีอูฐของนบีศอลิห์ที่ถูกฆ่าโดยชายคนเดียว[4] แต่กุรอานโยงความผิดครอบคลุมทั้งชนเผ่าษะมู้ด[5]อันสมควรได้รับโทษร่วมกัน[6] ทั้งนี้ก็เพราะกลุ่มชนษะมู้ดพึงพอใจกับพฤติกรรมฆ่าอูฐดังกล่าว ซึ่งอิมามอลี(.)ถือว่า ความยินดียินร้ายร่วมกันของชาวษะมู้ดคือสาเหตุที่ต้องประสบชะตากรรมร่วมกัน[7]

กล่าวคือ มาตรฐานของกุรอานและฮะดีษในการโยงบุคคลไปยังกลุ่มหรือชนเผ่าก็คือ ความสอดคล้องทางความคิดและพฤติกรรม ดังที่อัลลอฮ์ไม่ทรงถือว่าบุตรชายของนบีนู้ห์เป็นอะฮ์ล” (สมาชิกครอบครัว) นบีนู้ห์ เนื่องจากมีพฤติกรรมที่ตรงกันข้ามกับบิดา[8] ในขณะที่ท่านนบี(..)กลับถือว่าซัลมาน ฟารซี เป็นสมาชิกครอบครัวของท่าน[9]
ด้วยเหตุนี้ บรรดาอิมาม(.)จึงไม่นับว่าคนดีในสายตระกูลบนีอุมัยยะฮ์เป็นเทือกเถาเหล่ากอของบนีอุมัยยะฮ์ อย่างเช่นกรณีของสะอ์ดุ้ลค็อยร์ ที่เข้าพบอิมามมุฮัมมัด บากิร(.) พลางร้องไห้เสียงดัง อิมามถามว่า ท่านเป็นอะไรจึงร้องไห้เช่นนี้? เขาตอบว่า จะไม่ให้กระผมร้องไห้ได้อย่างไร ในเมื่อกระผมเป็นเทือกเถาของต้นไม้ที่ถูกละอ์นัตในกุรอาน อิมาม(.)กล่าวว่า لَسْتَ مِنْهُمْ أَنْتَ أُمَوِی مِنَّا أَهْلَ الْبَیت ท่านมิไช่พวกเขา ท่านคือเชื้อสายอุมัยยะฮ์ทว่าเป็นสมาชิกครอบครัวเรา ท่านไม่เคยได้ยินดอกหรือว่า อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า และผู้ใดที่ปฏิบัติตามฉัน เขาคือพรรคพวกของฉัน [10]

สรุปคือ นัยยะของคำว่าบนีอุมัยยะฮ์ในสำนวนซิยารัตครอบคลุมเฉพาะบุคคลที่มีความคิดสอดคล้องกับกลุ่มบนีอุมัยยะฮ์ อันประกอบด้วยผู้เบิกทาง ผู้ลงมือ ผู้นิ่งเฉย และผู้ยินดีปรีดาต่อการแย่งชิงตำแหน่งผู้นำและการสังหารบรรดาอิมาม(.) และเหล่าสาวก
หากคำนึงถึงประโยคก่อนและหลังท่อนดังกล่าวในซิยารัตอาชูรอ ก็จะเข้าใจจุดประสงค์ดังกล่าวได้ไม่ยาก เนื่องจากบรรยากาศของซิยารัตบทนี้เต็มไปด้วยละอ์นัตและการสาปแช่งกลุ่มบุคคลที่ยึดครองตำแหน่งคิลาฟะฮ์ และพยายามจะดับรัศมีของอัลลอฮ์ โดยทำทุกวิถีทางเพื่อต่อกรกับอะฮ์ลุลบัยต์ รวมไปถึงกลุ่มบุคคลที่ให้การสนับสนุนและพึงพอใจในพฤติกรรมของกลุ่มแรก
ฉะนั้น ในทางวิชาอุศู้ลแล้ว เราถือว่าการยกเว้นบุคคลที่ดีออกจากนัยยะของคำว่าบนีอุมัยยะฮ์นั้น เป็นการยกเว้นประเภทตะค็อศศุศมิไช่ตัคศี้ศหมายความว่า คำว่าบนีอุมัยยะฮ์ไม่ครอบคลุมถึงบุคคลเหล่านี้ตั้งแต่แรกแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ

มัรฮูม มีรซอ อบุลฟัฎล์ เตหรานีอธิบายซิยารัตอาชูรอโดยย้ำประเด็นนี้ และเสริมข้อสังเกตุอีกสองประการคือ:
1
. คำว่าบนีเชื่อมกับคำว่าอุมัยยะฮ์ซึ่งการเชื่อมคำเช่นนี้มักมีการเจาะจงเป็นการเฉพาะ  กล่าวคือ บนีอุมัยยะฮ์หมายถึงลูกหลานของอุมัยยะฮ์กลุ่มหนึ่งที่เกลียดชังและเป็นศัตรูกับอะฮ์ลุลบัยต์
2. บางฮะดีษ อิมาม(.)เอ่ยคำว่าบนีอุมัยยะฮ์ แต่ก็ได้ระบุถึงอบูซุฟยาน มุอาวิยะฮ์ และลูกหลานมัรวานด้วย[11]

สรุปคือ ในกรณีที่มุอาวิยะฮ์ บุตรของยะซีดไม่สมควรจะถูกละอ์นัต  แต่ด้วยกับเบาะแสในแง่ความหมาย บนีอุมัยยะฮ์จึงถูกจำกัดให้หมายถึงบุคคลกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ ซึ่งไม่รวมถึงคนอย่างบุตรชายยะซีด[12]

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ คำตอบที่ 854 และ 2795



[1] ศ็อฟฟ้าร,มุฮัมมัด บิน ฮะซัน, บะศออิรุดดะเราะญ้าต, หน้า 170, ห้องสมุดอ.มัรอะชี นะญะฟี,กุม,พิมพ์ครั้งที่สอง,..1404

[2] ด้วยเหตุนี้ ผู้รู้ที่มีชื่อเสียงอย่างมีรซอ อับดุลลอฮ์ อะฟันดีจึงกล่าวในหนังสือ ริยาฎุ้ลอุละมา ว่า ไม่แน่ชัดว่าสามารถละอ์นัตและสาปแช่งอุมัร บิน อับดุลอะซีซได้ และซัยยิดมุรตะฎอก็ยกตัวอย่างจากกวีอุมัร บิน อับดุลอะซีซในลักษณะที่ยกย่องเขา

[3] อันนัจม์,38-41 สำนวน لا تزر وازرة وزر اخری ในโองการซูเราะฮ์ อันอาม,164 อิสรอ,15 ฟาฏิร,18  ซุมัร.7

[4] เกาะมัร, อิมามอลี(.)กล่าวว่า แท้จริงมีเพียงชายษะมู้ดคนเดียวที่ฆ่าอูฐ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, ศุบฮี ศอลิห์, คุฏบะฮ์ 201, หน้า 319

[5] อะอ์รอฟ,77 ฮูด,65 อัชชุอะรอ,157 อัชชัมส์,14

[6] และพวกเขาได้ฆ่าอูฐ และอัลลอฮ์ได้ลงโทษตามความผิดของพวกเขา และทำให้ราพณาสูรอัชชัมส์,14

[7] โอ้กลุ่มชน ความยินดีและความโกรธาเท่านั้นที่รวบรวมผู้คนได้ เพียงคนเดียวเท่านั้นที่ฆ่าอูฐ ทว่าอัลลอฮ์ทรงลงทัณฑ์ทั้งกลุ่มชน เพราะพวกเขายินดีปรีดานะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, คุฏบะฮ์ที่ 201, หน้า 319

[8] قالَ یا نُوحُ إِنَّهُ لَیْسَ مِنْ أَهْلِکَ إِنَّهُ عَمَلٌ غَیْرُ صالِحٍ فَلا تَسْئَلْنِ ما لَیْسَ لَکَ بِهِ عِلْمٌ إِنِّی أَعِظُکَ أَنْ تَکُونَ مِنَ الْجاهِلینَ ฮู้ด,46

[9] سلمان منا اهلَ البیت ซัลมานเป็นสมาชิกครอบครัวเรา มัจลิซี,มุฮัมมัด บากิร, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 65,หน้า 55, สถาบันวะฟา,เบรุต..1404

[10] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 46,หน้า 337, และเชคมุฟี้ด,อัลอิคติศ้อศ,หน้า 85 สัมมนาเชคมุฟี้ด,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,..1413

[11] เตหรานี,มีรซอ อบุลฟัฎล์, ชิฟาอุศศุดู้ร ฟี ชัรฮิ ซิยาเราะติลอาชู้ร, เล่ม 1,หน้า 255-263, สำนักพิมพ์มุรตะเฎาะวี,พิมพ์ครั้งแรก

[12] อ่านเพิ่มเติม ดู: ทัรคอน, กอซิม, บุคลิกภาพและการต่อสู้ของอิมามฮุเซน(.)ในปริทรรศน์อิรฟาน ปรัชญา และเทววิทยา,หน้า 279-291

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ความสำคัญ และปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คืออะไร?
    7648 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    สำหรับการติดตามผลอย่างมีนัยของการให้ความสำคัญและปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้:1. ...
  • แนวทางที่ถูกต้อง และง่ายในการเลือกมัรญิอฺตักลีดที่มีความรู้สูงสุด สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และไม่สามารถแยกแยะอุละมาอฺได้คืออะไร?
    12943 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด หมายถึงมิได้จำกัดอยู่แค่บุคคลที่มีความเชื่ยวชาญพิเศษเฉพาะปัญหาฟิกฮฺ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักชัรอียฺของตนนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามมุจญฺตะฮิดที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ สมบูรณ์ในเรื่องฟิกฮฺ และต้องเป็นผู้รู้ที่มีความรู้มากกว่ามุจญฺตะฮิดด้วยกัน ในสมัยของตน และมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดสามารถรู้จักได้จากหนึ่ง 3 วิธีดังนี้ : หนึ่ง : ตัวเราต้องมั่นใจด้วยตัวเอง สอง : มีผู้รู้สองคนที่ยุติธรรมยืนยันในความรู้ของมุจญฺตะฮิดท่านนั้น สาม : ผู้รู้กลุ่มหนึ่งได้ยืนยันและรับรองการเป็นมุจญฺตะฮิด และการเป็นผู้มีความรู้สูงสุดของเขา น่ายินดีว่าปัจจุบันบรรดาคณาจารย์ระดับสูงของสถาบันสอนศาสนา ณ เมืองกุม ได้แนะนำผู้รู้ที่มีคุณสมบัติของมุจญฺตะฮิดสมบูรณ์ ในฐานะของมัรญิอฺตักลีดไว้หลายคนด้วยกัน ซึ่งมุสลิมทุกคนสามารถเลือกปฏิบัติตามอุละมาอฺเหล่านั้น ในฐานะมัรญิอฺตักลีด ท่านหนึ่งท่านใดก็ได้ และกิจการงานของตนให้ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่าน ที่มีอยู่ในริซาละฮฺ เตาฎีฮุลมะซาอิล ในกรณีนี้ท่านจะมั่นใจได้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ทางชัรอียฺของท่านแล้ว และปัจจุบันเนื่องจากการติดต่อสื่อสารนั้นสะดวกสบาย และเป็นไปได้ในรูปแบบต่างๆ มีหลายภาษาให้เลือก ดังนั้น สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม สามารถรับรู้ข้อมูลนี้ได้อย่างง่ายดาย ...
  • เพราะเหตุใดกุญแจสู่สรวงสวรรค์คือ นมาซ?
    7623 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/17
    เป้าหมายของการสร้างมนุษย์ก็เพื่อ การแสดงความเคารพภักดีและการรู้จักพระเจ้า, ซึ่งการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้านั้น จะทำให้มนุษย์ก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ และตำแหน่งอันใกล้ชิดต่อพระเจ้า, นมาซ คือภาพลักษณ์ที่ดีและสวยงามที่สุดของการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า หรือการแสดงความเป็นบ่าวที่ดีต่อพระผู้ทรงสร้าง, ความเคร่งครัดต่อนมาซ 5 เวลาคือสาเหตุของความประเสริฐและเป็นพลังด้านจิตวิญญาณ ซึ่งทำให้มนุษย์ละเว้นการทำความผิดบาป หรือการแสดงความประพฤติไม่ดี อีกด้านหนึ่งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้พลังแห่งความสำรวมตน ภายในจิตใจมนุษย์มีความเข้มแข็งขึ้น, ในกรณีนี้ เข้าใจได้ทันทีว่า เพราะอะไรนมาซ, จึงเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์ ต้องไม่ลืมที่จะกล่าวว่า, นมาซคือหนึ่งในภาคปฏิบัติที่เป็นอิบาดะฮฺ อันมีผลบุญคือ เป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์, เนื่องจากรายงานฮะดีซ,เกี่ยวกับความรักที่มีต่อบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) คือ การกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ, ความอดทน ...ก็ถือว่าเป็นกุญแจแห่งสรวงสวรรค์เช่นกัน, และเช่นกันสิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานที่ว่า นมาซพร้อมกับความศรัทธามั่นที่มีต่ออัลลอฮฺ ความเป็นเอกะของพระองค์ ขึ้นอยู่กับความรักที่มีต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องที่มีความพิเศษยิ่งต่อกัน ...
  • การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นหัวข้อหนึ่งในหลักมะฮ์ดะวียัตหรือไม่?
    6113 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/07
    การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นสำนวนที่เกี่ยวโยงกับการเร้นกายขั้นศุฆรอ ซึ่งต้องการจะสื่อว่า ในเมื่อท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เคยมีการเร้นกายขั้นศุฆรอ(เล็ก)ก่อนการเร้นกายขั้นกุบรอ(ใหญ่) ก็ย่อมจะมีการปรากฏกายชั้นศุฆรอก่อนจะปรากฏกายขั้นกุบรอระดับโลกเช่นกัน อนึ่ง สำนวนดังกล่าวไม่มีพื้นเพจากฮะดีษใดๆ ...
  • ทั้งที่ท่านอิมามอลี (อ.) ทราบถึงเจตนาชั่วของอิบนิ มุลญัม เหตุใดท่านจึงไม่ปกป้องชีวิตตนเอง?
    6496 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/29
    เหตุผลที่ท่านอิมามอลีไม่แก้ไขเหตุที่จะเกิดในอนาคตก็คือ:1.ความรู้ระดับทั่วไปคือหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติภารกิจ:เพื่อเป็นการเคารพกฏเกณฑ์ของอัลลอฮ์ท่านอิมามจึงเลือกที่จะปฏิบัติหน้าที่เสมือนบุคคลทั่วไปโดยจะไม่ปฏิบัติตามความรู้แจ้งเห็นจริงเนื่องจากว่าหากท่านจะปฏิบัติตามญาณวิเศษย่อมจะไม่สามารถเป็นแบบฉบับแก่บุคคลทั่วไปได้เพราะบุคคลทั่วไปไม่มีญาณวิเศษ2. กลไกของโลกดุนยาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทดสอบซึ่งหากจะปฏิบัติตามญาณวิเศษก็ย่อมจะทำให้กลไกดังกล่าวเสียหายเนื่องจากจะทำลายชีวิตประจำวันของผู้คนสรุปคือแม้ว่าอิมามอลีมีหน้าที่ต้องรักษาชีวิตเสมือนบุคคลทั่วไปแต่ทว่าประการแรก: หน้าที่ดังกล่าวอยู่ในขอบเขตความรู้ทั่วไปมิไช่ญาณวิเศษประการที่สอง: คู่กรณีของท่าน(อิบนิมุลญัม)
  • การยกภูเขาฏู้รขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีลหมายความว่าอย่างไร?
    7035 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    ในหลายโองการมีสำนวน وَ رَفَعْنا فَوْقَكُمُ الطُّور ปรากฏอยู่ ซึ่งล้วนเกี่ยวกับบนีอิสรออีลทั้งสิ้น ตำราอรรถาธิบายกุรอานอธิบายว่าโองการเหล่านี้กล่าวถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดื้อรั้นของบนีอิสรออีลในยุคของท่านนบีมูซา(อ.) อัลลอฮ์ย่อมมีพลานุภาพที่จะยกภูเขาฏู้รบางส่วนให้ลอยขึ้นเหนือศีรษะของบนีอิสรออีล ดังที่ทรงเคยสร้างดวงดาวนับล้านๆดวง สร้างจักรภพและจักรวาลให้เคลื่อนที่ในอวกาศโดยมีระยะห่างที่เหมาะสม การที่จะเกิดเหตุการณ์ดังที่กุรอานเล่าไว้จึงไม่ไช่เรื่องเหลือเชื่อในแง่วิทยาศาสตร์และสติปัญญา ...
  • การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
    12781 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้วยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมายและยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้าจงเตือนตัวเองว่าโปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี
  • ประโยค “ทุกวันคือาชูรอ ทุกแผ่นดินคือกัรบะลา” เป็นฮาดีษหรือไม่? มีหลักฐานเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมากน้อยเพียงใด
    8963 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    จากการศึกษาตำราฮะดีษ  เราไม่พบหลักฐานใดๆที่ระบุว่าประโยคดังกล่าวเป็นฮาดีษบรรดามะศูมีนอย่างไรก็ดี ประโยคนี้ให้นิยามเหตุการณ์กัรบะลา
  • การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ จะเข้ากันกับเตาฮีดหรือไม่
    8623 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/08/22
    ถ้าเป็นการขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ด้วยความเชื่อที่ว่าบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ ท่านเหล่านั้นคือผู้ทำให้คำวิงวอนขอของท่านสมประสงค์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺอีก แน่นอน สิ่งนี้เป็นชิริกฮะรอม และเท่ากับเป็นการกระทำที่ต่อต้านเตาฮีด ถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด แต่ถ้ามีความเชื่อว่า บรรดาท่านเหล่านี้จะทำให้คำวิงวอนของท่านถูกตอบรับ โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ และโดยอำนาจที่พระองค์แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ทว่ายังเป็นหนึ่งในความหมายของเตาฮีด ซึ่งไม่มีอุปสรรคอันใดทั้งสิ้น ...
  • อิมามมะฮ์ดีสมรสแล้วหรือยัง?
    7974 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    แม้จะเป็นไปได้ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)อาจมีคู่ครองและบุตรหลาน เนื่องจากภาวะการเร้นกายมิได้จำกัดว่าจะท่านต้องงดกระทำการสมรสอันเป็นซุนนะฮ์แต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราไม่พบเหตุผลใดๆที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ สันนิษฐานว่าสาเหตุที่ประเด็นดังกล่าวไม่เป็นที่เปิดเผยนั้น อาจเป็นผลพวงมาจากความจำเป็นที่พระองค์ทรงเร้นกายท่านจากสายตาผู้คนนั่นเอง ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60039 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57407 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42130 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39199 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38864 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33934 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27952 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27869 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27678 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25699 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...