การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
21611
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/08/09
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1110 รหัสสำเนา 15749
คำถามอย่างย่อ
อิสลามมีกฏเกณฑ์อย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาว?
คำถาม
อิสลามมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่มีขอบเขต(ไม่แตะต้องเนื้อตัว)?
คำตอบโดยสังเขป

อิสลามถือว่าอัลลอฮ์ทรงสร้างชายและหญิงให้มีบทบาทเกื้อกูลกันและกัน หนึ่งในปัจจัยที่ทั้งสองเพศต้องพึ่งพากันและกันก็คือ ความต้องการทางเพศ ทว่าการบำบัดความต้องการดังกล่าวจะต้องอยู่ในเขตคำสอนของอิสลามเท่านั้น จึงจะสามารถรักษาศีลธรรมจรรยาของทั้งสองฝ่ายได้
อิสลามถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาวก่อนแต่งงาน ไม่ว่าโดยตรงหรือผ่านสื่อ หากเป็นไปด้วยความไคร่หรือเกรงว่าจะเกิดความไคร่ ถือว่าไม่อนุมัติ แต่สำหรับความสัมพันธ์ในการทำงาน วิชาการและการศึกษา ถือเป็นที่อนุมัติเฉพาะในกรณีที่ไม่โน้มนำไปสู่ความเสื่อมเสีย

คำตอบเชิงรายละเอียด

อิสลามถือว่าอัลลอฮ์ทรงสร้างชายและหญิงให้มีบทบาทเกื้อกูลกันและกัน กุรอานกล่าวว่าหนึ่งในสัญลักษณ์ของพระองค์คือการบันดาลให้สูเจ้ามีคู่ครองที่เสมือนสูเจ้า เพื่อสูเจ้าจะได้รับความสงบจากคู่ครอง และทรงบันดาลความรักความเมตตาให้เกิดแก่สูเจ้า...”[1]
หนึ่งในปัจจัยที่ทั้งสองเพศต้องพึ่งพากันและกันก็คือ ความต้องการทางเพศ ทว่าการบำบัดความต้องการดังกล่าวจำเป็นต้องอยู่ในเขตคำสอนของอิสลามเท่านั้น จึงจะสามารถรักษาศีลธรรมจรรยาของทั้งสองฝ่ายได้
เพื่อบำบัดความต้องการดังกล่าว อิสลามได้วางกรอบความสัมพันธ์ไว้ที่การแต่งงาน(ไม่ว่าจะถาวรหรือชั่วคราว) ฉะนั้นความสัมพันธ์ทุกประเภทที่เกี่ยวกับกามารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยสัพยอกฉอเลาะ การแตะเนื้อต้องตัว ฯลฯ จะกระทำได้หลังจากแต่งงานเท่านั้น กฏนี้ยังครอบคลุมถึงคู่หมั้นที่กำลังจะแต่งงานด้วย ซึ่งไม่อาจทำอะไรเกินเลยขอบเขตได้เช่นกัน แม้แต่การเกี้ยวพาราสีหรือแตะเนื้อต้องตัว

อย่างไรก็ดี อิสลามถือว่าการบำบัดกามารมณ์จะต้องอยู่ในครรลองศาสนาเท่านั้น ซึ่งการแต่งงานชั่วคราวก็ถือเป็นทางออกหนึ่งที่กระทำได้ แต่ทั้งนี้ก็มีเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ จะต้องได้รับฉันทานุมัติจากบุพการีฝ่ายหญิงเสียก่อน (เงื่อนไขอื่นๆมีระบุในตำราประมวลปัญหาศาสนา)[2]
บรรดามัรญะอ์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันวินิจฉัยว่า การแต่งงานกับสาวบริสุทธิ์(ไม่ว่าชั่วคราวหรือถาวร)จะต้องได้รับฉันทานุมัติจากบิดาของเธอเสียก่อน หากไม่มีบิดาก็ให้ปู่เป็นผู้ตัดสินใจแทน [3] แต่หากเป็นหญิงที่ผ่านการสมรสแล้ว หรือกรณีหญิงบริสุทธิ์ที่ไม่มีพ่อและปู่ เธอก็ไม่จำเป็นต้องขอฉันทานุมัติใดๆ[4]

ส่วนกรณีที่ต้องการจะติดต่อพูดคุยกับเพศตรงข้ามอย่างเป็นปกติ สามารถกระทำได้หรือไม่?
เราขอตอบโดยอิงคำวินิจฉัยของบรรดามัรญะอ์ตักลี้ดดังต่อไปนี้
คำถาม 1 การติดต่อโดยตรงระหว่างชายหญิง ต่างจากการติดต่อผ่านสื่อหรือไม่?
มัรญะอ์ทุกท่าน: ไม่แตกต่างกันในแง่บทบัญญัติ หากมีอารมณ์ไคร่ในการติดต่อทั้งทางตรงและทางอ้อม ถือว่าไม่อนุญาต[5]
คำถาม2  การแชทหรือพูดคุยเรื่องทั่วไปกับเพศตรงข้าม มีบทบัญญัติว่าอย่างไร?
มัรญะอ์ทุกท่าน: หากเกรงว่าจะเกิดความไม่ดีไม่งามและอารมณ์ไคร่ ถือว่าไม่อนุญาต[6]
คำถาม 3  การทักทายสลามกับเพศตรงข้าม กระทำได้หรือไม่?
มัรญะอ์ทุกท่าน: ในกรณีที่แฝงด้วยกามารมณ์ หรือเกรงว่าจะเกิดอารมณ์ ถือว่าไม่อนุญาต[7]
คำถาม 4 การหยอกล้อกับหญิงที่ไม่ไช่มะฮ์ร็อม(ภรรยา หรือเครือญาติที่ไม่อาจสมรสด้วย) กระทำได้หรือไม่?
มัรญะอ์ทุกท่าน: หากแฝงด้วยกามารมณ์ หรือเกรงว่าจะเกิดอารมณ์ไคร่ ถือว่าไม่อนุญาต[8]
คำถาม 5  การโอภาปราศัยอย่างสนิทสนมระหว่างหนุ่มสาวขณะทำงานหรือตามงานเลี้ยง กระทำได้หรือไม่?
มัรญะอ์ทุกท่าน: กริยาอันเกิดจากความรักระหว่างหนุ่มสาวไม่เป็นที่อนุมัติ เนื่องจากอาจโน้มนำสู่การทำบาป แต่ความสัมพันธ์ในแง่การงานนั้น หากสามารถรักษาขอบเขตศาสนาและไม่โน้มนำสู่ความเสื่อมเสีย ถือว่าไม่เป็นไร[9]
คำถาม 6 การติดต่อกันทางจดหมายหรืออีเมล์โดยสอดแทรกเนื้อหาทางกามารมณ์ กระทำได้หรือไม่?
มัรญะอ์ทุกท่าน: การสอดแทรกเนื้อหาที่จะโน้มนำสู่ความเสื่อมเสีย ถือว่าไม่อนุมัติ[10]

จากคำถามตอบข้างต้น ทำให้ทราบว่าการติดต่อระหว่างหนุ่มสาวก่อนแต่งงาน ไม่ว่าจะโดยตรงหรือผ่านสื่อ หากมีเจตนาสนองความไคร่หรือเกรงว่าจะโน้มนำสู่บาปและความเสื่อมเสีย ถือว่าไม่เป็นที่อนุมัติทั้งสิ้น
แต่สำหรับความสัมพันธ์ในการทำงานหรือเชิงวิชาการและการศึกษา ในกรณีที่มิได้โน้มนำไปสู่ความเสื่อมเสีย ถือว่าเป็นที่อนุมัติ[11]



[1] อัรรูม,22

[2] ประมวลปัญหาศาสนาฉบับรวมมัรญะอ์,เล่ม 2,หน้า 449-460 และตะห์รีรุ้ลวะซีละฮ์,เล่ม 2,หน้า 701-707 และ 734-736

[3] สำนวนดังกล่าวชี้ชัดทั้งในแง่กฏและสถานะ กล่าวคือการสมรสกับหญิงบริสุทธิโดยมิได้รับฉันทานุมัติจากพ่อของเธอ ทั้งเป็นฮะรอมและถือว่าโมฆะ

[4] อ่านเพิ่มเติมที่คำถามหมายเลข 627,667,717,767,754

[5] ถามตอบปัญหาศาสนา,อิมามโคมัยนี,เล่ม 3,คำถามที่ 52 และ ประมวลฯ,.บะฮ์ญัต,คำถามที่ 1936 และ ถามตอบฯ,.มะการิม,เล่ม 1,คำถามที่ 819 และ ถามตอบฯ,.ตับรีซี,เลขที่ 1622 และญามิอุ้ลอะห์กาม,.ศอฟี,เล่ม 2,หน้า 1673. และ ถามตอบฯ,.นูรี,เล่ม 2,คำถามที่ 656 และ ญามิอุ้ลมะซาอิ้ล,เล่ม 2,มาตรา 1673 และ ถามตอบฯ,.คอเมเนอี,คำถามที่ 1145, อัลอุรวะตุ้ลวุษกอ,เล่ม 2,หมวดนิกาห์,ปัญหาที่ 2 และ sistani.org,.ซีสตานี,คำถามที่ 19,20, และถามจากสำนักงานอ.วะฮี้ด

[6] เว็บไซต์อ.ซีสตานี, sistani.org,.ตับรีซี, tabrizi.org และสอบถามจากสนง.ทุกท่าน

[7] อุรวะตุ้ลวุษกอ,เล่ม 2,หมวดนิกาห์,ปัญหาที่ 39,41

[8] อ้างแล้ว,ปัญหาที่ 31,39 และ ญามิอุ้ลมะซาอิ้ล,.ฟาฎิ้ล,เล่ม 1,ปัญหาที่ 1720, และถามตอบฯ,.คอเมเนอี,คำถามที่ 782

[9] ถามตอบฯ,.คอเมเนอี,คำถามที่ 651,779 และถามจากสนง.ของ .ทุกท่าน

[10] ถามตอบฯ,อิมามโคมัยนี,เล่ม, ปกิณกะ,คำถามที่ และถามจากสนง.ของ .ทุกท่าน

[11] คัดจากประมวลฯสำหรับนักศึกษา,ฉบับที่16,หน้า 191-195

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เพราะเหตุใดกุญแจสู่สรวงสวรรค์คือ นมาซ?
    7414 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/17
    เป้าหมายของการสร้างมนุษย์ก็เพื่อ การแสดงความเคารพภักดีและการรู้จักพระเจ้า, ซึ่งการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้านั้น จะทำให้มนุษย์ก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ และตำแหน่งอันใกล้ชิดต่อพระเจ้า, นมาซ คือภาพลักษณ์ที่ดีและสวยงามที่สุดของการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า หรือการแสดงความเป็นบ่าวที่ดีต่อพระผู้ทรงสร้าง, ความเคร่งครัดต่อนมาซ 5 เวลาคือสาเหตุของความประเสริฐและเป็นพลังด้านจิตวิญญาณ ซึ่งทำให้มนุษย์ละเว้นการทำความผิดบาป หรือการแสดงความประพฤติไม่ดี อีกด้านหนึ่งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้พลังแห่งความสำรวมตน ภายในจิตใจมนุษย์มีความเข้มแข็งขึ้น, ในกรณีนี้ เข้าใจได้ทันทีว่า เพราะอะไรนมาซ, จึงเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์ ต้องไม่ลืมที่จะกล่าวว่า, นมาซคือหนึ่งในภาคปฏิบัติที่เป็นอิบาดะฮฺ อันมีผลบุญคือ เป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์, เนื่องจากรายงานฮะดีซ,เกี่ยวกับความรักที่มีต่อบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) คือ การกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ, ความอดทน ...ก็ถือว่าเป็นกุญแจแห่งสรวงสวรรค์เช่นกัน, และเช่นกันสิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานที่ว่า นมาซพร้อมกับความศรัทธามั่นที่มีต่ออัลลอฮฺ ความเป็นเอกะของพระองค์ ขึ้นอยู่กับความรักที่มีต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องที่มีความพิเศษยิ่งต่อกัน ...
  • ท่านอิมามฮุเซนเคยจำแนกระหว่างอรับและชนชาติอื่น หรือเคยกล่าวตำหนิชนชาติอื่นหรือไม่?
    5581 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/10/11
    ฮะดีษที่อ้างอิงมานั้นเป็นฮะดีษจากอิมามศอดิก(อ.)มิไช่อิมามฮุเซน(อ.) ฮะดีษกล่าวว่า "เราสืบเชื้อสายกุเรชและเหล่าชีอะฮ์ของเราล้วนเป็นอรับแท้ส่วนผองศัตรูของเราล้วนเป็น"อะญัม"(ชนชาติอื่น) ไม่ว่าจะพิจารณาในแง่สายรายงานหรือเนื้อหาจะพบว่าฮะดีษนี้ปราศจากความน่าเชื่อถือใดๆทั้งสิ้นทั้งนี้เพราะสายรายงานของฮะดีษนี้มีนักรายงานฮะดีษที่ไม่น่าเชื่อถือ(เฎาะอี้ฟ)ปรากฏอยู่ส่วนเนื้อหาทั่วไปของฮะดีษนี้นอกจากขัดต่อสติปัญญาแล้วยังขัดต่อโองการกุรอานฮะดีษมากมายที่ถือว่าอีหม่านและตักวาเท่านั้นที่เป็นมาตรวัดคุณค่ามนุษย์หาไช่ชาติพันธุ์ไม่ทั้งนี้ท่านนบีได้ให้หลักเกณฑ์ไว้ว่า "หากฮะดีษที่รายงานจากเราขัดต่อประกาศิตของกุรอานก็จงขว้างใส่กำแพงเสีย(ไม่ต้องสนใจ)"อย่างไรก็ดีเราปฏิเสธที่จะรับฮะดีษดังกล่าวในกรณีที่ตีความตามความหมายทั่วไปเท่านั้นแต่น่าสังเกตุว่าคำว่า"อรับ"และ"อะญัม"หาได้หมายถึงชาติพันธุ์เท่านั้นแต่ในทางภาษาศาสตร์แล้วสองคำนี้สามารถสื่อถึงคุณลักษณะบางอย่างได้สองคำนี้สามารถใช้กับสมาชิกเผ่าพันธุ์เดียวกันก็ได้อาทิเช่นคำว่าอรับสามารถตีความได้ว่าหมายถึงการ"มีชาติตระกูล" และอะญัมอาจหมายถึง"คนไร้ชาติตระกูล" ในกรณีนี้สมมติว่าฮะดีษผ่านการตรวจสอบสายรายงานมาได้ก็ถือว่าไม่มีปัญหาในแง่เนื้อหาทั้งนี้ก็เพราะเรามีฮะดีษมากมายที่ยกย่องชาติพันธุ์ที่ไม่ไช่อรับเนื่องจากมีอีหม่านอะมั้ลที่ดีงามและความอดทน ...
  • เพราะสาเหตุใดอัลกุรอานอ่านจึงมิได้ถูกรวบรวมตามการถูกประทานลงมา
    7738 วิทยาการกุรอาน 2557/01/22
    ไม่มีคำสั่งหรือรายงานใดจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เกี่ยวกับการรวบรวมอัลกุรอาน ตามการประทานลงมามาถึงพวกเรา การรวบรวมอัลกุรอานได้ถูกกระทำลงไปหลายขั้นตอนด้วยกัน ท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นผู้รวบรวมอัลกุรอานตามการประทานลงมา แต่ในที่สุดอัลกุรอานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นการรวบรวมโดยเหล่าบรรดาสากวก โดยได้รับความเห็นชอบจากบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ว่าสมบูรณ์ ...
  • มนุษย์นั้นมีสิทธิที่จะพูดจาจาบจ้วงพี่น้องในศาสนาของตนได้ไหม – เนื่องจากการทะเลาะวิวาทหรือความขัดแย้งระหว่างพวกเขา- อันเป็นสาเหตุของการกลั่นแกล้งและทำให้การโกรธเกลียดกัน, ทั้งๆ ที่เขาได้กล่าวขออภัยแล้ว?
    5846 จริยธรรมทฤษฎี 2554/12/20
    การอภัยและการยกโทษเป็นคุณสมบัติพิเศษของบุรุษผู้มีความยิ่งใหญ่และยังเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่แห่งจิตวิญญาณของเขาอีกด้วย, ตามคำสอนของอิสลามคุณลักษณะเหล่านี้ถือว่าเป็นความประเสริฐด้านคุณธรรมและจริยธรรม, ศาสนาซึ่งท่านศาสดาประจำศาสนาได้ถูกคัดเลือกขึ้นมาเพื่อเติมเต็มความสมบูรณ์และความประเสริฐของจริยธรรม
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5434 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • เหตุใดอัลลอฮ์จึงกำชับให้ขอบคุณต่อเนียะอฺมัตที่ทรงประทานให้?
    17640 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    “ชุโกร”ในทางภาษาอรับหมายถึง การมโนภาพเนียะอฺมัต(ความโปรดปรานจากพระองค์)แล้วเผยความกตัญญูรู้คุณผ่านคำพูดหรือการกระทำ[i] ส่วนที่ว่าทำไมต้องชุโกรขอบคุณพระองค์ในฐานะที่ประทานเนียะอฺมัตต่างๆนั้น ขอให้ลองพิจารณาประเด็นต่อไปนี้:1.
  • เราเชื่อว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ยังมีชีวิตอยู่และสอดส่องดูแลพฤติกรรมของเราเสมอมา กรุณาพิสูจน์ความคงกระพันของท่านให้ทราบหน่อยค่ะ
    6148 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/19
    การพิสูจน์เกี่ยวกับอายุขัยและสถานะความเป็นอิมามของท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เป็นประเด็นหนึ่งในหลักอิมามัตเชิงจุลภาคลำพังสติปัญญาไม่อาจจะพิสูจน์ความเชื่อดังกล่าวได้สติปัญญาจะต้องพิสูจน์หลักอิมามัตเชิงมหภาคให้ได้เสียก่อนแล้วจึงใช้เหตุผลทางฮะดีษตลอดจนรายงานทางประวัติศาสตร์เข้าเสริมเพื่อพิสูจน์ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เท่านั้นที่ดำรงตำแหน่งอิมามสำหรับยุคสมัยนี้ความจำเป็นที่จะต้องมีมนุษย์ผู้ปราศจากบาปที่เป็นฮุจญัต(ข้อพิสูจน์)ของพระองค์ในทุกยุคสมัยนั้นพิสูจน์ได้ด้วยเหตุผลทางสติปัญญาเกี่ยวกับหลักอิมามัตเชิงมหภาคอาทิเช่นการให้เหตุผลว่าศาสนทูตและอิมามถือเป็นเมตตาธรรมของอัลลอฮ์และโดย"หลักแห่งเมตตาธรรม"แล้วเมตตาธรรมของพระองค์ย่อมมีอยู่ตราบชั่วนิรันดร์มีฮะดีษมากมายที่ระบุว่าณเวลานี้มนุษย์ผู้ปราศจากบาปดังกล่าวมีเพียงท่านอิมามมะฮ์ดี(
  • ทัศนะอิสลามเกี่ยวกับการทำสงครามในเดือนต้องห้ามคืออะไร?
    11672 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/12/20
    บนพื้นฐานของโองการและรายงานต่างๆของเรา, จะพบว่าอิสลามมิได้เพียงแค่ห้ามการทำสงครามกันเฉพาะในเดือนต้องห้าม (ซุลเกาะดะฮฺ, ซุลฮิจญะฮฺ, มุฮัรรอม,
  • กรุณาแจกแจงแนวความคิดของเชคฏูซีในประเด็นการเมือง
    5745 ระบบต่างๆ 2554/10/02
    ทุกยุคสมัยมักมีประเด็นปัญหาใหม่ๆให้นักวิชาการได้ขบคิดและตอบคำถามเรื่อยมาเชคฏูซีก็ถือเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่รับผิดชอบภารกิจนี้อย่างดีเยี่ยมแนวคิดทางการเมืองการปกครองของเชคฏูซีสรุปได้ดังนี้ท่านไม่เห็นด้วยกับการจำแนกศาสนาจากการเมืองท่านใช้ข้อพิสูจน์ทางสติปัญญาชี้ให้เห็นว่าจำเป็นจะต้องมีรัฐบาลและระบอบการปกครองตลอดจนต้องมีผู้นำสูงสุด ท่านวิเคราะห์ประเด็นการเมืองด้วยหลักแห่ง"การุณยตา"(ลุฏฟ์)ของอัลลอฮ์กล่าวคืออัลลอฮ์จะแผ่ความการุณย์ด้วยการตั้งให้มีผู้นำสำหรับมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นนบีหรืออิมามหรือตัวแทนอิมามซึ่งภาวะผู้นำทางการเมืองคือหนึ่งในภารกิจของบุคคลเหล่านี้ในบริบททางวิชาการท่านให้ความสำคัญกับประเด็นภาวะผู้นำทางการเมืองของบรรดาฟะกีฮ์ความสำคัญของประเด็นดังกล่าวในสายตาประชาชนความเชื่อมโยงระหว่างภาวะดังกล่าวกับภาวะผู้นำของอิมามมะอ์ศูมตลอดจนอำนาจหน้าที่ของผู้ปกครองวิถีอิสลามเป็นพิเศษนอกจากนี้การที่ท่านรับเป็นอาจารย์สอนด้านเทววิทยาอิสลามในเมืองหลวงของราชวงศ์อับบาสิด
  • ถ้าหากรายงานที่กล่าวประณามการสั่งสมทรัพย์สมบัติถูกต้อง, ดังนั้น ทรัพย์สมบัติของคนเราหรือแม้แต่ทรัพย์สินของบรรดาอุละมาอฺจะอธิบายว่าอย่างไร?
    6559 ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ 2554/11/21
    ประการแรก: รายงานที่กล่าวถึง,แม้ว่าจะมีสายรายงานที่อ่อนแอก็ตาม, แต่เมื่อพิจารณารายงานอื่นที่กล่าวถึงประเด็นนี้, ก็จะสามารถลบล้างความอ่อนแอของสายรายงานฮะดีซดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59456 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56914 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41720 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38474 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38461 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33496 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27571 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27291 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27188 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25263 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...