การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6986
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/08/03
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1123 รหัสสำเนา 15611
คำถามอย่างย่อ
เรื่องอุปโลกน์“เฆาะรอนี้ก”มีที่มาที่ไปอย่างไร?
คำถาม
กรุณาชี้แจงเกี่ยวกับโองการเฆาะรอนี้ก ที่กล่าวกันว่านบี(ซ.ล.)เสียรู้ชัยฏอนโดยการชมเชยรูปเจว็ด หากไม่มีหลักฐานอ้างอิง แล้วเรื่องนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

เรื่องเล่าเฆาะรอนี้กอุปโลกน์ขึ้นโดยผู้ไม่หวังดี ซึ่งหวังจะลดทอนความน่าเชื่อถือของกุรอานและท่านนบี(..)ลง เรื่องมีอยู่ว่าวันหนึ่ง ท่านนบีกำลังอ่านซูเราะฮ์อันนัจม์อยู่ เมื่ออ่านถึงโองการที่กล่าวถึงชื่อรูปเจว็ดที่ว่า
أَ فَرَءَیْتُمُ اللَّاتَ وَ الْعُزَّى‏ وَ مَنَوةَ الثَّالِثَةَ الْأُخْرَى (นะอูซุบิลลาฮ์) ชัยฏอนได้กระซิบกระซาบให้ท่านนบี(..)กล่าวต่อไปว่า
تلک الغرانیق العلى، و ان شفاعتهن لترتجى ซึ่งแปลว่ารูปเจว็ดเหล่านี้เปรียบประดุจวิหคงามสูงส่ง ซึ่งการช่วยเหลือของรูปเคารพเหล่านี้เป็นที่ปรารถนาเมื่อจบประโยคนี้ ท่านนบี(..)ได้ก้มลงสุญูด และเหล่ามุชริกีนก็สุญูดตาม กระทั่งญิบรออีลได้แจ้งว่าสองประโยคข้างต้นมิไช่กุรอาน แต่เป็นการกระซิบกระซาบของชัยฏอน
เบาะแสต่างๆพิสูจน์แล้วว่าฮะดีษที่เล่าเหตุการณ์นี้เป็นฮะดีษที่อุปโลกน์ขึ้น เป็นเหตุให้นักวิชาการมุสลิมไม่ว่าสายชีอะฮ์หรือซุนหนี่ปฏิเสธฮะดีษบทนี้ โดยถือว่าเป็นผลงานอุปโลกน์ของเหล่านักกุฮะดีษ

คำตอบเชิงรายละเอียด

เกี่ยวกับนิยายปรัมปราเฆาะรอนี้กนั้น มีฮะดีษพิศดารบทหนึ่งในตำราของพี่น้องอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ โดยรายงานจากอิบนิอับบาสว่าขณะที่ท่านนบี(..)กำลังอ่านซูเราะฮ์อันนัจม์จนกระทั่งถึงโองการที่มีชื่อของเจว็ดที่ว่า أَ فَرَءَیْتُمُ اللَّاتَ وَ الْعُزَّى‏ وَ مَنَوةَ الثَّالِثَةَ الْأُخْرَى (สูเจ้าแลเห็นรูปเจว็ดล้าตและอุซซาและมะน้าต(เป็นธิดาของพระเจ้า)หรืออย่างไร?)[1] เมื่อถึงวรรคนี้ ชัยฏอนได้สะกดให้ท่านนบีเปล่งประโยคอีกสองประโยค นั่นคือ تلک الغرانیق العلى، و ان شفاعتهن لترتجى (รูปเจว็ดเหล่านี้คือเหล่าวิหคงามที่สูงส่ง และการช่วยเหลือของรูปเคารพเหล่านี้ล้วนเป็นที่ปรารถนา)[2] เมื่อได้ยินเช่นนี้ เหล่ากาเฟรมุชริกีนพากันดีใจโดยกล่าวว่าก่อนหน้านี้มุฮัมมัดไม่เคยพูดถึงเทพเจ้าของเราในแง่ดีเลยทันใดนั้น ท่านนบีได้ก้มลงสุญูด และเหล่ามุชริกีนก็สุญูดตามท่าน แต่ญิบรออีลได้รุดมาแจ้งแก่ท่านนบีว่าสองโอการสุดท้ายนั้น ฉันมิได้นำมา ทว่าเป็นการสะกดของชัยฏอน ในขณะนี้เอง โองการ
وَ ما أَرْسَلْنا مِنْ قَبْلِکَ مِنْ رَسُولٍ وَ لا نَبِیٍّ ... ก็ได้ประทานลงมาเพื่อปรามาสท่านนบีและผู้ศรัทธา[3]

แม้ศัตรูอิสลามจะถือโอกาสโหมกระแสเกี่ยวกับฮะดีษนี้เพื่อหวังสกัดกั้นการเติบโตของอิสลาม แต่หากพิจารณาไห้ดีจะพบเบาะแสที่ชี้ชัดว่าฮะดีษนี้ถูกอุปโลกน์ขึ้นโดยผู้ไม่หวังดี เพื่อจะบั่นทอนความน่าเชื่อถือของกุรอานและวจนะของท่านนบี(..) เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้:
1. 
นักวิชาการลงความเห็นว่าฮะดีษนี้มีสายรายงานอ่อนและไม่น่าเชื่อถือ และพิสูจน์ไม่ได้ว่ารายงานโดยอิบนิอับบาส ผู้เชี่ยวชาญฮะดีษอย่างมุฮัมมัด บิน อิสฮ้ากได้เขียนตำราเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ และถือว่าฮะดีษดังกล่าวอุปโลกน์ขึ้นโดยพวกไม่เชื่อในพระเจ้า[4]

2. ฮะดีษมากมายกล่าวถึงเหตุของการประทานซูเราะฮ์นี้ ตลอดจนเหตุการณ์สุญูดของท่านนบี(..)และเศาะฮาบะฮ์ แต่ไม่มีรายงานใดกล่าวถึงเรื่องเท็จเฆาะรอนี้กเลย แสดงว่าข้อครหานี้ถูกเพิ่มเติมในภายหลัง[5]

3. โองการแรกๆของซูเราะฮ์นี้ปฏิเสธนิยายปรัมปรานี้โดยสิ้นเชิง ดังที่กล่าวว่าเขา(ท่านนบี(..))ไม่พูดโดยอารมณ์ (คำพูดของท่าน)มิไช่สิ่งใดเว้นแต่เป็นวิวรณ์[6] โองการนี้จะสอดคล้องกับนิยายเฆาะรอนี้กได้อย่างไร?

4. โองการต่อจากชื่อรูปเจว็ดล้วนประณามการนับถือเจว็ดเหล่านี้ โดยถือว่าเจว็ดเหล่านี้เป็นเพียงจินตนาการอันไร้สาระของมนุษย์ ซึ่งไม่สามารถให้ประโยชน์ใดๆได้เลย กุรอานกล่าวว่านามเหล่านี้ สูเจ้าและบรรพบุรุษเป็นผู้ตั้งให้รูปเจว็ดเหล่านี้เอง ทั้งที่อัลลอฮ์มิได้กล่าวถึงชื่อ(รูปเจว็ด)เหล่านี้แต่อย่างใด พวกเขาคล้อยตามอารมณ์ไฝ่ต่ำและจินตนาการอันไร้สาระ ทั้งที่อัลลอฮ์ประทานทางนำแก่พวกเขาแล้ว![7]
เป็นไปได้อย่างไรที่จะมีโองการที่ชมเชยรูปเจว็ดก่อนหน้าโองการที่ตำหนิพฤติกรรมนี้อย่างแข็งกร้าว  ยิ่งไปกว่านั้น อัลลอฮ์ทรงรับประกันว่าจะพิทักษ์กุรอานจากการบิดเบือน ความเฉไฉ และการสูญสลาย ดังที่มีโองการกล่าวว่าแท้จริงเราคือผู้ประทานกุรอาน และแน่แท้ เราคือผู้พิทักษ์กุรอานอย่างไม่ต้องสงสัย[8]

5. ท่านนบีต่อสู้กับปรากฏการณ์บูชารูปเจว็ดอย่างต่อเนื่องและไม่ย่อท้อ นับตั้งแต่แรกเริ่มจวบจนลมหายใจสุดท้าย ในทางปฏิบัติแล้ว ท่านไม่เคยแสดงท่าทีอ่อนข้อต่อการเคารพรูปเจว็ดแม้ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ฉะนั้น จะเป็นไปได้อย่างไรที่ท่านจะพูดประโยคที่ไร้สาระเหล่านี้

6. แม้ต่างศาสนิกจะไม่ยอมรับว่าท่านนบี (..) คือศาสดา แต่อย่างน้อยก็ยอมรับว่าท่านในฐานะปราชญ์ผู้ทรงปัญญา ที่สามารถเอาชนะอุปสรรคนานัปการด้วยปัญญาอันเลอเลิศ คนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ กอปรกับการที่มีคำขวัญว่า ลาอิลาฮะอิ้ลลัลลอฮ์ และมุ่งมั่นคัดค้านการบูชารูปเจว็ดทุกประเภท เป็นไปได้อย่างไรที่จะผละจากอุดมการณ์หลักของตน และยกย่องเทิดทูนรูปเจว็ดเยี่ยงนี้

จากเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมา ชี้ให้เห็นว่าฮะดีษนี้ถูกอุปโลกน์โดยศัตรูผู้เบาปัญญา ที่หาโอกาสบั่นทอนความน่าเชื่อถือของกุรอานและวจนะท่านนบี(..)  แต่นักวิชาการมุสลิมทั่วไปไม่ว่าจะฝ่ายชีอะฮ์หรือซุนหนี่ล้วนปฏิเสธนิยายเรื่องนี้ และถือว่าเป็นนิยายที่นักกุฮะดีษอุปโลกน์ขึ้น[9]
อย่างไรก็ดี มีนักอรรถธิบายบางท่าน ได้ชี้แจงเกี่ยวกับฮะดีษดังกล่าว(ในกรณีสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของรายงานบทนี้ได้)ว่า โดยทั่วไปแล้ว ท่านนบีจะอัญเชิญกุรอานอย่างช้าๆพร้อมกับไคร่ครวญ บางครั้งท่านก็จะเว้นวรรคชั่วครู่ระหว่างโองการ ครั้งหนึ่งเมื่อท่านอ่านซูเราะฮ์อันนัจม์จนถึงโองการ أَ فَرَأَیْتُمُ اللَّاتَ وَ الْعُزَّى وَ مَناةَ الثَّالِثَةَ الْأُخْرى‏ พลันเหล่ามุชริกีนมักกะฮ์ผู้มีนิสัยดุจซาตานได้กล่าวแทรกขึ้นมาว่า
تلک الغرانیق العلى و ان شفاعتهن لترتجى เพื่อขัดจังหวะท่านนบี และยังหวังจะทำให้ผู้ฟังสับสน อย่างไรก็ดี โองการต่อมาได้ประณามการบูชารูปเจว็ดอย่างเผ็ดร้อน[10]

เมื่อสามารถปฏิเสธหรือชี้แจงนิยายดังกล่าวได้ การที่บางคนพยายามอธิบายว่า ท่านนบีต้องการอะลุ่มอล่วยแก่กาฟิรมุชริกีนมักกะฮ์เพื่อที่จะดึงดูดและเผยแผ่สัจธรรมนั้น ถือเป็นทัศนะที่ผิดมหันต์ อันแสดงว่าคนเหล่านี้ไม่เคยรู้จักท่าทีของท่านนบีที่มีต่อการเคารพบูชารูปเจว็ด หรือไม่เคยได้ยินเรื่องราวที่กาฟิรมุชริกีนพร้อมจะปรนเปรอความร่ำรวยแก่ท่านนบี แต่ท่านก็ไม่แยแสและยังยืนยันจะต่อสู้ต่อไป หรืออาจทราบดีแต่แสร้งเป็นไม่รู้[11]



[1] อันนัจม์, 19,20.

[2] เฆาะรอนี้ก เป็นพหูพจน์ของ ฆุรนู้ก หมายถึงนกน้ำชนิดหนึ่งที่มีทั้งประเภทสีขาวหรือดำ แต่ก็ยังมีความหมายอื่นๆเช่นกัน

[3] ตัฟซีรอัลมีซานอธิบายถึงอายะฮ์ดังกล่าว โดยระบุว่าฮะดีษนี้บันทึกโดยเหล่าฮาฟิซฮะดีษชาวซุนหนี่ อาทิเช่น อิบนิ ฮะญัร

[4] ตัฟซี้ร กะบี้ร,ฟัครุร รอซี,เล่ม 23,หน้า 50.

[5] อ้างแล้ว

[6] อันนัจม์, 3,4, وَ ما یَنْطِقُ عَنِ الْهَوى‏ إِنْ هُوَ إِلَّا وَحْیٌ یُوحى

[7] อันนัจม์, 23, إِنْ هِیَ إِلَّا أَسْماءٌ سَمَّیْتُمُوها أَنْتُمْ وَ آباؤُکُمْ ما أَنْزَلَ اللَّهُ بِها مِنْ سُلْطانٍ إِنْ یَتَّبِعُونَ إِلَّا الظَّنَّ وَ ما تَهْوَى الْأَنْفُسُ وَ لَقَدْ جاءَهُمْ مِنْ رَبِّهِمُ الْهُدى‏

[8] อัลฮิจร์, 9, إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا الذِّکْرَ وَ إِنَّا لَهُ لَحافِظُونَ

[9] มัจมะอุ้ลบะยาน,ตัฟซีรกะบี้ร,ตัฟซีรฟีซิลาลของกุรฏุบี,ตัฟซีรอัศศอฟี,รูฮุ้ลมะอานี,อัลมีซาน และตัฟซีรอื่นๆที่อรรถาธิบายโองการดังกล่าว

[10] ตัฟซี้รกุรฏุบี,เล่ม 7,หน้า 4474. และตัฟซี้รมัจมะอุ้ลบะยานได้ถือเป็นข้อสันนิษฐานหนึ่ง

[11] อ้างถึงใน.ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 14,หน้า142-145.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ความสำคัญ และปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คืออะไร?
    7648 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    สำหรับการติดตามผลอย่างมีนัยของการให้ความสำคัญและปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้:1. ...
  • แนวทางที่ถูกต้อง และง่ายในการเลือกมัรญิอฺตักลีดที่มีความรู้สูงสุด สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และไม่สามารถแยกแยะอุละมาอฺได้คืออะไร?
    12943 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด หมายถึงมิได้จำกัดอยู่แค่บุคคลที่มีความเชื่ยวชาญพิเศษเฉพาะปัญหาฟิกฮฺ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักชัรอียฺของตนนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามมุจญฺตะฮิดที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ สมบูรณ์ในเรื่องฟิกฮฺ และต้องเป็นผู้รู้ที่มีความรู้มากกว่ามุจญฺตะฮิดด้วยกัน ในสมัยของตน และมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดสามารถรู้จักได้จากหนึ่ง 3 วิธีดังนี้ : หนึ่ง : ตัวเราต้องมั่นใจด้วยตัวเอง สอง : มีผู้รู้สองคนที่ยุติธรรมยืนยันในความรู้ของมุจญฺตะฮิดท่านนั้น สาม : ผู้รู้กลุ่มหนึ่งได้ยืนยันและรับรองการเป็นมุจญฺตะฮิด และการเป็นผู้มีความรู้สูงสุดของเขา น่ายินดีว่าปัจจุบันบรรดาคณาจารย์ระดับสูงของสถาบันสอนศาสนา ณ เมืองกุม ได้แนะนำผู้รู้ที่มีคุณสมบัติของมุจญฺตะฮิดสมบูรณ์ ในฐานะของมัรญิอฺตักลีดไว้หลายคนด้วยกัน ซึ่งมุสลิมทุกคนสามารถเลือกปฏิบัติตามอุละมาอฺเหล่านั้น ในฐานะมัรญิอฺตักลีด ท่านหนึ่งท่านใดก็ได้ และกิจการงานของตนให้ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่าน ที่มีอยู่ในริซาละฮฺ เตาฎีฮุลมะซาอิล ในกรณีนี้ท่านจะมั่นใจได้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ทางชัรอียฺของท่านแล้ว และปัจจุบันเนื่องจากการติดต่อสื่อสารนั้นสะดวกสบาย และเป็นไปได้ในรูปแบบต่างๆ มีหลายภาษาให้เลือก ดังนั้น สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม สามารถรับรู้ข้อมูลนี้ได้อย่างง่ายดาย ...
  • เพราะเหตุใดกุญแจสู่สรวงสวรรค์คือ นมาซ?
    7623 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/17
    เป้าหมายของการสร้างมนุษย์ก็เพื่อ การแสดงความเคารพภักดีและการรู้จักพระเจ้า, ซึ่งการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้านั้น จะทำให้มนุษย์ก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ และตำแหน่งอันใกล้ชิดต่อพระเจ้า, นมาซ คือภาพลักษณ์ที่ดีและสวยงามที่สุดของการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า หรือการแสดงความเป็นบ่าวที่ดีต่อพระผู้ทรงสร้าง, ความเคร่งครัดต่อนมาซ 5 เวลาคือสาเหตุของความประเสริฐและเป็นพลังด้านจิตวิญญาณ ซึ่งทำให้มนุษย์ละเว้นการทำความผิดบาป หรือการแสดงความประพฤติไม่ดี อีกด้านหนึ่งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้พลังแห่งความสำรวมตน ภายในจิตใจมนุษย์มีความเข้มแข็งขึ้น, ในกรณีนี้ เข้าใจได้ทันทีว่า เพราะอะไรนมาซ, จึงเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์ ต้องไม่ลืมที่จะกล่าวว่า, นมาซคือหนึ่งในภาคปฏิบัติที่เป็นอิบาดะฮฺ อันมีผลบุญคือ เป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์, เนื่องจากรายงานฮะดีซ,เกี่ยวกับความรักที่มีต่อบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) คือ การกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ, ความอดทน ...ก็ถือว่าเป็นกุญแจแห่งสรวงสวรรค์เช่นกัน, และเช่นกันสิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานที่ว่า นมาซพร้อมกับความศรัทธามั่นที่มีต่ออัลลอฮฺ ความเป็นเอกะของพระองค์ ขึ้นอยู่กับความรักที่มีต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องที่มีความพิเศษยิ่งต่อกัน ...
  • การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นหัวข้อหนึ่งในหลักมะฮ์ดะวียัตหรือไม่?
    6113 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/07
    การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นสำนวนที่เกี่ยวโยงกับการเร้นกายขั้นศุฆรอ ซึ่งต้องการจะสื่อว่า ในเมื่อท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เคยมีการเร้นกายขั้นศุฆรอ(เล็ก)ก่อนการเร้นกายขั้นกุบรอ(ใหญ่) ก็ย่อมจะมีการปรากฏกายชั้นศุฆรอก่อนจะปรากฏกายขั้นกุบรอระดับโลกเช่นกัน อนึ่ง สำนวนดังกล่าวไม่มีพื้นเพจากฮะดีษใดๆ ...
  • ทั้งที่ท่านอิมามอลี (อ.) ทราบถึงเจตนาชั่วของอิบนิ มุลญัม เหตุใดท่านจึงไม่ปกป้องชีวิตตนเอง?
    6496 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/29
    เหตุผลที่ท่านอิมามอลีไม่แก้ไขเหตุที่จะเกิดในอนาคตก็คือ:1.ความรู้ระดับทั่วไปคือหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติภารกิจ:เพื่อเป็นการเคารพกฏเกณฑ์ของอัลลอฮ์ท่านอิมามจึงเลือกที่จะปฏิบัติหน้าที่เสมือนบุคคลทั่วไปโดยจะไม่ปฏิบัติตามความรู้แจ้งเห็นจริงเนื่องจากว่าหากท่านจะปฏิบัติตามญาณวิเศษย่อมจะไม่สามารถเป็นแบบฉบับแก่บุคคลทั่วไปได้เพราะบุคคลทั่วไปไม่มีญาณวิเศษ2. กลไกของโลกดุนยาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทดสอบซึ่งหากจะปฏิบัติตามญาณวิเศษก็ย่อมจะทำให้กลไกดังกล่าวเสียหายเนื่องจากจะทำลายชีวิตประจำวันของผู้คนสรุปคือแม้ว่าอิมามอลีมีหน้าที่ต้องรักษาชีวิตเสมือนบุคคลทั่วไปแต่ทว่าประการแรก: หน้าที่ดังกล่าวอยู่ในขอบเขตความรู้ทั่วไปมิไช่ญาณวิเศษประการที่สอง: คู่กรณีของท่าน(อิบนิมุลญัม)
  • การยกภูเขาฏู้รขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีลหมายความว่าอย่างไร?
    7035 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    ในหลายโองการมีสำนวน وَ رَفَعْنا فَوْقَكُمُ الطُّور ปรากฏอยู่ ซึ่งล้วนเกี่ยวกับบนีอิสรออีลทั้งสิ้น ตำราอรรถาธิบายกุรอานอธิบายว่าโองการเหล่านี้กล่าวถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดื้อรั้นของบนีอิสรออีลในยุคของท่านนบีมูซา(อ.) อัลลอฮ์ย่อมมีพลานุภาพที่จะยกภูเขาฏู้รบางส่วนให้ลอยขึ้นเหนือศีรษะของบนีอิสรออีล ดังที่ทรงเคยสร้างดวงดาวนับล้านๆดวง สร้างจักรภพและจักรวาลให้เคลื่อนที่ในอวกาศโดยมีระยะห่างที่เหมาะสม การที่จะเกิดเหตุการณ์ดังที่กุรอานเล่าไว้จึงไม่ไช่เรื่องเหลือเชื่อในแง่วิทยาศาสตร์และสติปัญญา ...
  • การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
    12781 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้วยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมายและยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้าจงเตือนตัวเองว่าโปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี
  • ประโยค “ทุกวันคือาชูรอ ทุกแผ่นดินคือกัรบะลา” เป็นฮาดีษหรือไม่? มีหลักฐานเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมากน้อยเพียงใด
    8963 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    จากการศึกษาตำราฮะดีษ  เราไม่พบหลักฐานใดๆที่ระบุว่าประโยคดังกล่าวเป็นฮาดีษบรรดามะศูมีนอย่างไรก็ดี ประโยคนี้ให้นิยามเหตุการณ์กัรบะลา
  • การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ จะเข้ากันกับเตาฮีดหรือไม่
    8623 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/08/22
    ถ้าเป็นการขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ด้วยความเชื่อที่ว่าบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ ท่านเหล่านั้นคือผู้ทำให้คำวิงวอนขอของท่านสมประสงค์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺอีก แน่นอน สิ่งนี้เป็นชิริกฮะรอม และเท่ากับเป็นการกระทำที่ต่อต้านเตาฮีด ถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด แต่ถ้ามีความเชื่อว่า บรรดาท่านเหล่านี้จะทำให้คำวิงวอนของท่านถูกตอบรับ โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ และโดยอำนาจที่พระองค์แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ทว่ายังเป็นหนึ่งในความหมายของเตาฮีด ซึ่งไม่มีอุปสรรคอันใดทั้งสิ้น ...
  • อิมามมะฮ์ดีสมรสแล้วหรือยัง?
    7974 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    แม้จะเป็นไปได้ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)อาจมีคู่ครองและบุตรหลาน เนื่องจากภาวะการเร้นกายมิได้จำกัดว่าจะท่านต้องงดกระทำการสมรสอันเป็นซุนนะฮ์แต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราไม่พบเหตุผลใดๆที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ สันนิษฐานว่าสาเหตุที่ประเด็นดังกล่าวไม่เป็นที่เปิดเผยนั้น อาจเป็นผลพวงมาจากความจำเป็นที่พระองค์ทรงเร้นกายท่านจากสายตาผู้คนนั่นเอง ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60039 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57407 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42130 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39199 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38864 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33934 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27952 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27869 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27678 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25699 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...