Please Wait
7905
การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นับได้ว่าเป็นหนึ่งในอิบาดะฮฺที่ดีที่สุด และการกระทำทุกสิ่งที่สังคมยอมรับว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งของการจัดพิธีกรรม ถือว่าอนุญาต, เว้นเสียแต่ว่าสิ่งนั้นได้สร้างเสื่อมเสียหรือมีอันตรายจริง, หรือเป็นสาเหตุทำให้แนวทางชีอะฮฺต้องได้รับการดูถูกเหยียดหยามอย่างรุนแรง ซึ่งการทุบอก (มะตั่ม) นั้นมิได้เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญดังกล่าว, ด้วยเหตุนี้ การกระทำดังกล่าวจึงมิได้มีความหมายผิดเพี้ยนอันใด ซึ่งการมะตั่มเพื่อรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เป็นมุสตะฮับเสียด้วยซ้ำไป
การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ ( อ .) นับได้ว่าเป็นหนึ่งในอิบาดะฮฺที่ดีที่สุด และการกระทำทุกสิ่งที่สังคมยอมรับว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งของการจัดพิธีกรรม ถือว่าอนุญาต , เว้นเสียแต่ว่าสิ่งนั้นได้สร้างเสื่อมเสียหรือมีอันตรายจริง , หรือเป็นสาเหตุทำให้แนวทางชีอะฮฺต้องได้รับการดูถูกเหยียดหยามอย่างรุนแรง ซึ่งการทุบอก ( มะตั่ม ) นั้นมิได้เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญดังกล่าว , ด้วยเหตุนี้ การกระทำดังกล่าวจึงมิได้มีความหมายผิดเพี้ยนอันใด ซึ่งการมะตั่มเพื่อรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ ( อ .) เป็นมุสตะฮับเสียด้วยซ้ำไป [1]
เพื่อศึกษข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ บทบัญญัติของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ ( อ .) โปรดดูได้จากหัวข้อ “ การเริ่มต้นจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ ( อ .) ตำตอบที่ 3914 ( ไซต์ : 4197) และ “ บทบาทของการจัดพิธีกรรมรำลึดท่านอิมามฮุซัยนฺ ( อ .)” ตำตอบที่ 19920 ( ไซต์ : 19287) และ “ การอนุญาตให้จัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ ( อ .) และริวายะฮฺ , ตำตอบที่ 7184 ( ไซต์ : 7443) และ “ การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ ( อ .) คือหัวเชื้อสำหรับชีวิตในสังคม , ตำตอบที่ 348 ( ไซต์ : 352) ซ ึ่งมีอยู่ในเว็ปไซต์นี้เอง
นอกจากคำตอบต่างๆ ที่ได้ตอบไว้ในเว็ปไซต์แล้ว , เกี่ยวกับการมะตั่มหรือการตบลงบนศีรษะยังมีรายงานเน้นย้ำไว้ด้วย , เช่น รอวียฺกล่าวว่า : เมื่อท่านอิมามมูซา อัลกาซิม ( อ .) ได้ถูกควบคุมตัวและถูกพาตัวไปนั้น ท่านได้สั่งบุตรชายของท่านคือ ท่านอิมามริฎอ ( อ .) ว่า ตราบที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น , ให้ท่านอิมามริฎอ ( อ .) มานอนเฝ้าหน้าประตูทางเข้าบ้านเพื่อว่าข่าวจะได้ไปถึงเขา
รอวียฺ กล่าวว่า : พวกเราได้ปูที่นอนให้ท่านอิมามริฎอ ( อ .) ทุกคืน ซึ่งหลังจากอาหารค่ำแล้ วท่านอิมาม ( อ .) จะมานอนที่นั่นทุกคืน และเมื่อถึงตอนเช้าท่านก็จะกลับบ้าน , ท่านอิมามริฎอ ( อ .) ได้ทำเช่นนั้นอย่างต่อเนื่องนานถึง 4 ปีด้วยกัน จนกระทั่งอยู่มาคืนหนึ่งเมื่อเราได้ปูที่นอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ท่านอิมามริฎอ ( อ .) มิได้มานอนตามปกติ ซึ่งประเด็นนี้ , เป็นสาเหตุทำให้เหล่าสหายและคนในครอบครัวของท่านกระวนกระวายใจเป็นพิเศษ , จนกระทั่งเวลาผ่านไปอีกคืนหนึ่งท่านอิมามริฎอ ( อ .) ได้มาที่บ้าน และเข้าไปหาคนในครอบครัวพร้อมกับเรียก ท่านหญิงอุมมุอะฮฺมัด ออกมาพร้อมกับกล่าวกับเธอว่า : ช่วยนำสิ่งที่บิดาของ ฉันได้ฝากเธอไว้ เอามาให้ฉันที , อุมมุอะฮฺมัด เมื่อได้ยินคำพูดที่หน้าสลดใจเช่นนั้น เธอได้ตบหน้าตบตาของเธอพร้อมกับร่ำไห้และกล่าวว่า : ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ อิมามของฉันจากไปแล้วหรือ ? ท่านอิมามริฎอ ( อ .) ได้กล่าวกับเธอว่า : จงอย่ากล่าวสิ่งใดออกไปเลย และไม่บอกกับใครด้วย , เพื่อว่าข่าวจะได้ไม่ตกทอดไปถึงผู้ปกครอง [2]
แม้ว่ารายงานดังกล่าวจะระบุว่าผู้ที่เสียใจพร้อมกับตบหน้าตบตาของตนและร่ำไห้ออกมานั้น จะไม่ใช่มะอฺซูม หรือเป็นอิมามก็ตาม , แต่ประเด็นที่ต้องรับไว้พิจารณาเป็นพิเศษก็คือ เธอได้กระทำสิ่งนั้นต่อหน้าอิมามมะอฺซูม ( อ .) และอิมาม ( อ .) ก็มิได้ว่ากล่าวอันใด หรือห้ามปรามมิให้กระทำสิ่งนั้นอีก , การนิ่งเงียบของท่านอิมาม ( อ .) คือเหตุผลที่บ่งบอกถึง การตักรีร [3] และการสนับสนุนของท่านอิมามมะอฺซูม ( อ .) ซึ่งถือว่าเป็นเหตุผลสำหรับคนอื่นด้วย .
อีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ ( อ .) เมื่อมีความทุกข์ระทมหรือความเศร้าสลด หรือโศกนาฏกรรมมาประสบกับพวกท่าน ท่านจะร่ำไห้เสียใจ , ซึ่งประเด็นนี้ได้รับรายงานมาจากท่านอิมามฮะซัน อัสการียฺ ( อ .) [4] และท่านหญิงซัยนับ ( อ .) [5]
สุดท้ายจะนำเสนอทัศนะของนักปราชญ์และมัรญิอฺตักลีด ที่กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวไว้ เช่น :
สำนัก ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา คอเมเนอี ( ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน ) :
กล่าวว่า การสร้างความเสียหายให้เกิดกับพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยน ( อ .) ถ้าอันตรายนั้นเกิดกับร่างกาย อันเป็นสาเหตุทำให้สำนักคิด หรือมุอฺมิน หรือพิธีกรรมรำลึกถึงอิมามมะอฺซูม ( อ .) ต้องได้รับการดูถูกเหยียดหยามแล้วละก็ ถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำ อย่างไรก็ตามเป็นการดียิ่งถ้าหากบรรดาผู้ศรัทธาจะระมัดระวัง และรักษาเกียรติยศความศักดิ์สิทธ์ของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงบรรดาอิมามมะอฺซูม ( อ .) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับซัยยิดผู้เป็นหัวหน้าของบรรดาชะฮีดทั้งหลาย ท่านอิมามฮุซัยนฺ ( อ .)
สำนัก ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิมชีรอซียฺ ( ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน ) :
การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงมะอฺซูม 5 ท่านแห่งอาลิอาบา ( อ .) ถือได้ว่าเป็น เครื่องหมายสำคัญที่สุดของศาสนา , และเป็นรหัสยะแห่งการธำรงอยู่ของชีอะฮฺ , ดังนั้น จะต้องจัดให้ยิ่งใหญ่และดีที่สุดในทุกๆ ปี , แต่สิ่งจำเป็น คือ ต้องหลีกเลี่ยงจากทุกภารกิจการงานที่สร้างความเสื่อมเสีย หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย , หรือเป็นสาเหตุทำให้สำนักคิดต้องได้รับการดูถูกเหยียดหยามโดยสิ้นเชิง , ส่วนการมะตั่มโดยทั่วไปซึ่งมิได้ก่อให้เกิดอันตรายอันใดแก่ร่างกาย ถือว่าไม่เป็นไร
สำนัก ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา ซอฟียฺ ฆุลภัยฆอนียฺ ( ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน ) :
ถ้าหากการกระทำนั้นไม่ก่อให้เกิดความเสียหายอันใด โดยตัวของมันแล้วไม่เป็นไร
คำตอบของท่าน อายะตุลลอฮฺ มะฮฺดียฺ ฮาดะวียฺ เตหะรานนี ( ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน ) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ :
การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ ( อ .) นับได้ว่าเป็นหนึ่งในอิบาดะฮฺที่ดีที่สุด และการกระทำทุกสิ่งที่สังคมยอมรับว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งของการจัดพิธีกรรม ถือว่าอนุญาต , เว้นเสียแต่ว่าสิ่งนั้นได้สร้างเสื่อมเสียหรือมีอันตรายจริง , หรือเป็นสาเหตุทำให้แนวทางชีอะฮฺต้องได้รับการดูถูกเหยียดหยามอย่างรุนแรง ซึ่งการทุบอก ( มะตั่ม ) นั้นมิได้เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญดังกล่าว , ด้วยเหตุนี้ การกระทำดังกล่าวจึงมิได้มีความหมายผิดเพี้ยนอันใด ซึ่งการมะตั่มเพื่อรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ ( อ .) เป็นมุสตะฮับเสียด้วยซ้ำไป
เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ คำวินิจฉัยต่างๆ ( โคด 982)
[1] คำตอบของท่านอายะตุลลอฮฺ มะฮฺดียฺ ฮาดะวียฺ เตหะรานี เกี่ยวกับคำถามดังกล่าวนี้, ตรงกับคำตอบของท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาซอฟียฺ ซอฟียฺ ฆุลภัยคอนียฺ ซึ่งท่านได้ตอบคำถามว่า : ถ้าหากการกระทำนั้นไม่ก่อให้เกิดความเสียหายอันใด โดยตัวของมันแล้วไม่เป็นไร
[2] กุลียนียฺ,มุฮัมมัด บิน ยะอฺกูบ, กาฟียฺ, เล่ม 1, หน้า 381, และ 382, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ เตหะราน, ปี 1365.
[3] ตักรีร คือ ซุนนะฮฺอิบาดะฮฺ จาก : การกระทำ,คำพูด,และการนิ่งเงียบของท่านอิมามมะอฺซูม (อ.)”
[4] มัจญฺลิซซียฺ, มุฮัมมัดบากิร, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 50, หน้า 191, สถาบันอัลวะฟาอฺ, เลบานอน, ปี ฮ.ศ.ที่ 1404, กะชียฺ, มุฮัมมัด บิน อุมัร, ริญาลกะชียฺ, หน้า 480, อินติชารอตดอเนชเกาะฮ์มัชฮัด, ปี 1348.
[5] ซัยยิดอะลี บิน มูซา บิน ฏอวูส, อัลลุฮูฟ, หน้า 178,179, อินติชารอตญะฮอน, เตหะราน, ปี 1348.