Please Wait
5718
ในทัศนะของอิสลาม เพลงบรรเลง[1]หรือการขับร้องที่มีลักษณะ“ฆินาอ์”ถือเป็นฮะรอม กล่าวคือไม่ว่าจะเป็นการร้อง, การแสดง, การฟัง และการรับค่าจ้างในการนี้ ล้วนถือว่าเป็นฮะรอม และเพลงบรรเลงในลักษณะนี้ไม่แตกต่างว่าจะบรรเลงในงานเฉพาะสตรีหรือบุรุษ หรืองานเนื่องในโอกาสวันประสูติ หรือนอกเหนือจากนี้ก็ตาม ฆินา หมายถือเพลงบรรเลงหรือเสียงขับร้องที่มีจังหวะปลุกเร้าอารมณ์ผู้ฟัง ในลักษณะที่เหมาะสำหรับงานรื่นเริงที่ไร้สาระทั่วไป
ฆินาถือเป็นฮะรอม ไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลงหรือการอ่านทำนองเสนาะบทร้อยแก้วหรือร้อยกรอง และไม่ว่าจะมีเนื้อหาที่ผิดบาปหรือแม้จะเป็นเนื้อหาที่ถูกต้องเช่นกุรอานหรือดุอา หรือบทวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้า หรือการอ่านมุศีบัต มีข้อยกเว้นเพียงกรณีเดียวนั่นก็คือ ฆินาของบรรดาสตรีในงานแต่งงานที่เป็นส่วนของสตรี และอิฮ์ติยาฏวาญิบ อนุญาตให้กระทำได้เฉพาะคืนส่งตัวเจ้าสาวและงานที่ได้จัดขึ้นสำหรับคืนส่งตัว จะก่อนหรือหลังจากพิธี แต่ไม่ใช่สำหรับงานแต่งงานทั้งงาน และเป็นที่ต้องห้ามสำหรับงานของสุภาพบุรุษโดยเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใด[2]
ท่านอายะตุ้ลลอฮ์อัลอุซมา คอเมเนอี ได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า
“ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องดนตรีบรรเลงเพลงที่ปลุกเร้าอารมณ์ แต่การขับร้องเพลงในพิธีแต่งงานเฉพาะสตรีอาจถือว่าไม่เป็นไร[3]
[1] เป็นที่แน่ชัดว่าในกรณีนี้เราจะต้องย้อนกลับไปดูคำฟัตวาของมัรญะอ์ของตนเอง และสิ่งที่กล่าวมาคือทัศนะของท่านอิมามโคมัยนี (รอ.) และท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอี
[2] นะญาตุล อิบ้าด(ของอิมามโคมัยนี), การค้าขายที่เป็นฮะรอม, หน้าที่ 222, ปัญหาที่ 9
[3] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมามโคมัยนี(พร้อมภาคผนวก),เล่มที่ 2, ดนตรีและฆินา, หน้าที่ 962 และ คำถามที่ 1134, การตีกลองในพิธีแต่งงานมีฮุกุมอย่างไร?