การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6719
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1345 รหัสสำเนา 17844
คำถามอย่างย่อ
การที่กล่าวว่า อัลลอฮฺทรงลืมปวงบ่าวบางคนของพระองค์หมายความว่าอย่างไร?
คำถาม
อัลกุรอาน บางโองการกล่าวว่า อัลลอฮฺ ทรงลืมชนบางกลุ่มทั้งในโลกนี้และปรโลก, ถามว่าอัลลอฮฺทรงลืมด้วยหรือ?
คำตอบโดยสังเขป

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในอัลกุรอาน, ถึง 4 ครั้งด้วยกันเกี่ยวกับการลืมของปวงบ่าว โดยสัมพันธ์ไปยังพระองค์ ดังเช่น โองการหนึ่งกล่าวว่า : วันนี้เราได้ลืมพวกเขา ดังที่พวกเขาได้ลืมการพบกันในวันนี้” โองการข้างต้นและโองการที่คล้ายคลึงกันนี้สนับสนุนประเด็นดังกล่าวได้เป็นอย่างดีว่า ในปรโลก (หรือแม้แต่โลกนี้) จะมีชนกลุ่มหนึ่งถูกอัลลอฮฺ ลืมเลือนพวกเขา, แต่จุดประสงค์ของการหลงลืมนั้นหมายถึงอะไร?

การพิสูจน์ในเชิงสติปัญญา และเทววิทยาที่มีอยู่ในปัจจุบันในตำราของอิสลามกล่าวว่า การหลงลืมหมายถึงการไม่ครอบคลุมทั่วถึงเหนือสภาพของสิ่งถูกสร้าง แน่นอน สิ่งนี้อยู่นอกเหนืออาตมันสมบูรณ์ของอัลลอฮฺ ดังเช่นพระดำรัสของพระองค์ตรัสว่า “องค์พระผู้อภิบาลมิใช่ผู้หลงลืมการงาน”

จากคำพูดของบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ได้ประจักษ์ชัดเจนว่า จุดประสงค์ของการหลงลืมของอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้หมายถึงการลืมเลือน การไม่มีภูมิความรู้ และการไม่รู้แต่อย่างใด, เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงรอบรู้ทุกสิ่งแม้แต่ความรู้ที่ซ่อนเร้นพระองค์ก็ทรงล่วงรู้ในสิ่งนั้น. ทว่าจุดประสงค์หมายถึงการตัดความเมตตาของพระเจ้าจากสิ่งนั้น,ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : การลืมเลือนของอัลลอฮฺหมายถึง ทรงกีดกันพวกเขาให้พ้นไปจากความดีทั้งหลาย.ดังนั้น ในพระดำรัสที่กล่าวว่า อัลลอฮฺ ทรงลืมเลือน หมายถึง การปล่อยให้บ่าวระหนไปตามลำพังหรือตามสภาพของตนเอง โดยพระองค์ได้ถอดถอนหัตถ์แห่งความเมตตาไปจากเขา ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วผลของการลืมเลือนของปวงบ่าวนั้น เกิดจากตนได้หมกมุ่นอยู่กับภารกิจทางโลกมากเกินความจำเป็น, อีกนัยหนึ่งการหลงลืมของพระเจ้าเป็นผลมาจากการลืมเลือนของมนุษย์เอง โดยที่พวกเขาไม่ใส่ใจต่อคำสอนของพระองค์ และไม่ใส่ใจต่อคำสอนของศาสนา

คำตอบเชิงรายละเอียด

ในช่วงตรงนี้, อันดับแรกจะขออธิบายโองการซึ่งได้ถูกตั้งคำถามจากพวกเขาเสียก่อน หลังจากนั้นจะตอบข้อสงสัยของพวกเขาด้วยเหตุผลทางสติปัญญา รายงานฮะดีซ และโองการอัลกุรอาน, ดังนั้น เจตนารมณ์ของเราคือการตีความคำถาม หลังจากนั้นจะขจัดความสงสัยคลางแคลงใจ และข้อบกพร่อง

อัลกุรอาน หลายโองการได้กล่าวอธิบายไว้ซึ่งเป็นพื้นฐานของคำถามที่ว่า (พระองค์อัลลอฮฺทรงลืมชนบางกลุ่มกระนั้นหรือ?) โองการกล่าวว่า :

1) “ดังนั้น วันนี้เราจะลืมพวกเขาบ้าง ดั่งที่พวกเขาเคยลืมการพบกับวันของพวกตนวันนี้”[1]

2) “และจะมีการกล่าวขึ้นว่า "วันนี้เราจะลืมพวกเจ้า เช่นที่พวกเจ้าได้ลืมการพบในวันนี้ของพวกเจ้า"[2]

3) “เช่นนั้นแหละเมื่อโองการทั้งหลายของเราได้มีมายังเจ้า เจ้าก็ทำเป็นลืมมัน และในทำนองเดียวกัน วันนี้เจ้าก็จะถูกลืม”[3]

4) “โดยที่พวกเขาลืมอัลลอฮฺ แล้วพระองค์ก็ทรงลืมพวกเขาบ้าง”[4]

เราจะเห็นว่าอัลกุรอาน โองการเหล่านี้ได้อธิบายให้เห็นอย่างชัดเจนว่า จะมีชนกลุ่มหนึ่งถูกลืมเลือนไปจากอัลลอฮฺ ซึ่ง 3 โองการแรกกล่าวว่า การหลงลืมนี้เกี่ยวข้องกับวันสอบสวน ส่วนโองการที่ 4, เกี่ยวข้องกับโลกนี้

ขณะที่คำถามได้ถูกถามขึ้นว่า ประการแรก : อัลลอฮฺ ทรงประสบปัญหาการลืมเลือนด้วยกระนั้นหรือ? และเราสามารถนำเอาคุณลักษณะของการลืมเลือน (ในความหมายที่ว่าพระองค์ไม่มีความรู้ประจักษ์) สัมพันธ์ไปยังพระองค์ได้หรือไม่? ประการที่สอง : ถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริงทั้งในแง่ของความเป็นไปได้ และเป็นอย่างไรนั้นจะสามารถกล่าวได้อย่างไร?

แล้วเราสามารถนำเอาคุณลักษณะของการลืมเลือน ในความหมายที่ว่าการไม่มีความรู้ประจักษ์สัมพันธ์ไปยังอัลลอฮฺ ได้หรือไม่?

ตามหลักความเชื่อของอิสลาม หรือความเชื่อทางศาสนา ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของการพิสูจน์จะเห็นว่า คุณลักษณะบกพร่องทั้งหมด (ที่ไม่มีอยู่จริง) เช่น การลืมเลือนในความหมายที่ว่าสิ่งนี้ได้ถูกปฏิเสธไปจากอัลลอฮฺ ทั้งที่พระองค์ทรงสัมบูรณ์ในทุกสิ่ง ทรงรอบรู้ และทรงปรีชาญาณยิ่ง, อีกทั้งพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากคุณลักษณะบกพร่องทั้งหลาย ซึ่งได้ถูกอธิบายไว้ในตำราอ้างอิงทั้งด้านความเชื่อ และเทววิทยา เป็นตำราที่เชื่อถือได้เนื่องจากได้พิสูจน์ด้วยเหตุผลทางสติปัญญา และปรัชญา แน่นอนว่าการอธิบายตำราเหล่านั้นคงไม่เหมาะสมตรงนี้[5]

อัลกุรอาน ยืนยันว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบริสุทธิ์ยิ่งจากคุณลักษณะบกพร่องดังกล่าวนี้ อัลกุรอานกล่าวว่า “พระผู้อภิบาลของเจ้านั้นไม่ทรงหลงลืมสิ่งใดเลย”[6] ในอีกที่หนึ่งกล่าวว่า : “พระผู้อภิบาลของฉันจะไม่ทรงผิดพลาด และไม่ทรงหลงลืม”[7]

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่านี่คือหลักฐานส่วนหนึ่งสจากคำยืนยันของอัลกุรอานว่า พระผู้อภิบาลไม่ทรงลืมเลือนแน่นอน. ขณะที่คำถามกล่าวว่า โองการที่กล่าวว่าอัลลอฮฺ ทรงลืมปวงบ่าวบางคนหมายความว่าอย่างไร?

รายงานจากบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) จำนวนมากมาย พร้อมกับเป็นคำอธิบายกำกับโองการเหล่านี้, ซึ่งทำให้ความคลางแคลงใจเหล่านี้หมดไปอย่างปริยาย, รายงานฮะดีซจากท่านอิมามริฎอ (อ.) ตอนอธิบายโองการที่กล่าวว่า :

" فَالْیَوْمَ نَنْساهُمْ.."

ซึ่งประโยคที่ว่า (نْساهُمْ) หมายถึงพระองค์ได้ละทิ้งพวกเขาไป เนื่องจากพวกเขาได้ละเลยวันฟื้นคืนชีพก่อน ซึ่งได้ถูกเตรียมพร้อมไว้สำหรับพวกเขา, ซึ่งเราก็จะลืมพวกเขาเหมือนกันในวันนั้น[8] ดังนั้นเป็นที่เข้าใจได้ว่า จุดประสงค์ของการลืม คือการเบือนสายตาแห่งพระเมตตาไปจากพวกเขา

ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้ว่า “การลืมเลือนของอัลลอฮฺหมายถึงการที่พระองค์กีดกันพวกเขาให้พ้นไปจากความดี”[9] แน่นอน วิธีการนี้ถือว่าเป็นวิทยปัญญาที่วางอยู่บนความยุติธรรม บนพื้นฐานของการดัดนิสัยของพวกที่หลงลืม เช่น บ่าวคนนี้เมื่อสัมพันธ์ไปยังอัลลอฮฺ หรือเหมือนกับนักเรียนคนหนึ่งซึ่งตลอดทั้งปีการศึกษา เขาไม่เคยสนใจหรือให้ความสำคัญต่อบทเรียนแม้แต่น้อย, แน่นอนอนาคตทางการศึกษาของเขา บทเรียน และคุณครูได้ถูกเขาล้อเล่น และเย้ยหยันสิ้นดี ในทางกลับกันอาจารย์ที่เห็นว่านักเรียนคนนี้อยู่ในสภาพดังกล่าว อาจารย์ก็จะปล่อยเขาไว้เช่นนั้น และในวันสอบอาจารย์ก็จะปล่อยเขาให้อยู่ในสภาพนั้น โดยไม่ให้ความช่วยเหลือเขาแต่อย่างใด

ขณะเดียวกันต้องใส่ใจต่อประเด็นดังต่อไปนี้กล่าวคือ การตัดความเมตตาของพระเจ้าจากปวงบ่าว ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ว่าปวงบ่าวได้หลงลืมพระเจ้าก่อน ได้นำเอาคำสอนของศาสนา และศาสนามาเป็นเครื่องล้อเล่น, และตนมุ่งมั่นอยู่กับภารกิจทางโลก[10] กล่าวคือ อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ตอบแทนรางวัลการหลงลืมแก่มนุษย์ที่หลงลืม, ดังเช่นทีพวกเขาได้หลงลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ดังที่อัลกุรอานเตือนสำทับว่า “สูเจ้าจงรำลึกถึงเราเพื่อเราจะได้รำลึกถึงเจ้า”

ดังนั้น ตามที่อัลกุรอานได้อธิบายมา อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงนำการหลงลืมสัมพันธ์ไปยังพระองค์ ในทางตรงกันข้ามทั้งเหตุผลจากอัลกุรอาน และสติปัญญาพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การหลงลืมอันเป็นผลลัพธ์มาจากการลืมเลือน การไม่มีความรู้ประจักษ์ และการไม่รู้ ไม่อาจพบได้ในอัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งพระองค์ทรงสัมบูรณ์โดยแท้จริง ทรงรอบรู้ในสิ่งเร้นลับ และไม่มีสิ่งใดเล็ดรอดไปจากองค์ความรู้ของพระองค์แม้เพียงเสี้ยวของผงธุลีก็ตาม อัลกุรอาน กล่าวว่า “พระผู้อภิบาลของฉัน ผู้ทรงรอบรู้ในสิ่งพ้นญาณวิสัย มันจะเกิดขึ้นแก่พวกเจ้าอย่างแน่นอน ไม่มีแม้แต่น้ำหนักเพียงเท่าธุลีในเหล่าชั้นฟ้าและในแผ่นดิน และที่เล็กยิ่งกว่านั้นและที่ใหญ่กว่านั้น จะรอดพ้นจากพระองค์ เว้นแต่จะอยู่ในบันทึกอันชัดแจ้งทั้งสิ้น”[11] ฉะนั้น จุดประสงค์ของการหลงลืมของอัลลอฮฺ, ก็คือการไม่ใส่พระทัยของพระองค์ การถอดถอนความเมตตา และการกีดกันเขาให้พ้นไปจากความดีงาม

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราคงจะสัมฤทธิ์ผลในการใคร่ครวญโองการอัลกุรอาน และการเพิ่มพูนปัจจัยยังชีพ และขอพระองค์อย่าได้ถอดถอนพระหัตถ์ไปจากเรา เพื่อว่าเราจะได้ไม่เป็นผู้หลงลืม และอยู่ในความโปรดปรานและความเมตตาของพระองค์ตลอดไป

.



[1] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 51 กล่าวว่า :  فَالْیَوْمَ نَنْساهُمْ کَما نَسُوا لِقاءَ یَوْمِهِمْ هذا

[2] อัลกุรอาน บทญาซียะฮฺ, 34 กล่าวว่า : وَ قیلَ الْیَوْمَ نَنْساکُمْ کَما نَسیتُمْ لِقاءَ یَوْمِکُمْ هذا.

[3] อัลกุรอาน บทฏอฮา, 126 กล่าวว่า : قالَ کَذلِکَ أَتَتْکَ آیاتُنا فَنَسیتَها وَ کَذلِکَ الْیَوْمَ تُنْسى

[4] อัลกุรอาน บทเตาบะฮฺ, 67 กล่าวว่า : نَسُوا اللَّهَ فَنَسِیَهُم

[5] ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก อัลเกาลุซซะดีด ฟี ชัรฮิล ตัจญฺดีด, หน้า 274, หลังจากนั้นเป็นต้นไป และหลักความเชื่อในอิสลาม บทที่ 15 - 22

[6] อัลกุรอาน บทมัรยัม, 64 กล่าวว่า : و ما کان ربک نسّیا

[7] อัลกุรอาน บทฏอฮา, 52 กล่าวว่า : : لا یَضِلُّ رَبِّی وَ لا یَنْسى‏

[8] ตัหซีรนูรุซซะเกาะลัยนฺ

[9] ตัฟซีรนูร อ้างมาจากตัฟซีรโบรฮาน, บทเตาบะฮฺ 67.

[10] เป็นบทสรุปมาจากโองการที่ 51, บทอะอฺรอฟ, และโองการที่ 34 – 35 , บทญาซียะฮฺ

[11] อัลกุรอาน บทสะบาอฺ, 3 กล่าวว่า : عالِمِ الْغَیْبِ لا یَعْزُبُ عَنْهُ مِثْقالُ ذَرَّةٍ فِی السَّماواتِ وَ لا فِی الْأَرْضِ وَ لا أَصْغَرُ مِنْ ذلِکَ وَ

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ความสำคัญ และปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คืออะไร?
    7648 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    สำหรับการติดตามผลอย่างมีนัยของการให้ความสำคัญและปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้:1. ...
  • แนวทางที่ถูกต้อง และง่ายในการเลือกมัรญิอฺตักลีดที่มีความรู้สูงสุด สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และไม่สามารถแยกแยะอุละมาอฺได้คืออะไร?
    12943 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด หมายถึงมิได้จำกัดอยู่แค่บุคคลที่มีความเชื่ยวชาญพิเศษเฉพาะปัญหาฟิกฮฺ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักชัรอียฺของตนนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามมุจญฺตะฮิดที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ สมบูรณ์ในเรื่องฟิกฮฺ และต้องเป็นผู้รู้ที่มีความรู้มากกว่ามุจญฺตะฮิดด้วยกัน ในสมัยของตน และมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดสามารถรู้จักได้จากหนึ่ง 3 วิธีดังนี้ : หนึ่ง : ตัวเราต้องมั่นใจด้วยตัวเอง สอง : มีผู้รู้สองคนที่ยุติธรรมยืนยันในความรู้ของมุจญฺตะฮิดท่านนั้น สาม : ผู้รู้กลุ่มหนึ่งได้ยืนยันและรับรองการเป็นมุจญฺตะฮิด และการเป็นผู้มีความรู้สูงสุดของเขา น่ายินดีว่าปัจจุบันบรรดาคณาจารย์ระดับสูงของสถาบันสอนศาสนา ณ เมืองกุม ได้แนะนำผู้รู้ที่มีคุณสมบัติของมุจญฺตะฮิดสมบูรณ์ ในฐานะของมัรญิอฺตักลีดไว้หลายคนด้วยกัน ซึ่งมุสลิมทุกคนสามารถเลือกปฏิบัติตามอุละมาอฺเหล่านั้น ในฐานะมัรญิอฺตักลีด ท่านหนึ่งท่านใดก็ได้ และกิจการงานของตนให้ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่าน ที่มีอยู่ในริซาละฮฺ เตาฎีฮุลมะซาอิล ในกรณีนี้ท่านจะมั่นใจได้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ทางชัรอียฺของท่านแล้ว และปัจจุบันเนื่องจากการติดต่อสื่อสารนั้นสะดวกสบาย และเป็นไปได้ในรูปแบบต่างๆ มีหลายภาษาให้เลือก ดังนั้น สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม สามารถรับรู้ข้อมูลนี้ได้อย่างง่ายดาย ...
  • เพราะเหตุใดกุญแจสู่สรวงสวรรค์คือ นมาซ?
    7623 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/17
    เป้าหมายของการสร้างมนุษย์ก็เพื่อ การแสดงความเคารพภักดีและการรู้จักพระเจ้า, ซึ่งการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้านั้น จะทำให้มนุษย์ก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ และตำแหน่งอันใกล้ชิดต่อพระเจ้า, นมาซ คือภาพลักษณ์ที่ดีและสวยงามที่สุดของการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า หรือการแสดงความเป็นบ่าวที่ดีต่อพระผู้ทรงสร้าง, ความเคร่งครัดต่อนมาซ 5 เวลาคือสาเหตุของความประเสริฐและเป็นพลังด้านจิตวิญญาณ ซึ่งทำให้มนุษย์ละเว้นการทำความผิดบาป หรือการแสดงความประพฤติไม่ดี อีกด้านหนึ่งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้พลังแห่งความสำรวมตน ภายในจิตใจมนุษย์มีความเข้มแข็งขึ้น, ในกรณีนี้ เข้าใจได้ทันทีว่า เพราะอะไรนมาซ, จึงเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์ ต้องไม่ลืมที่จะกล่าวว่า, นมาซคือหนึ่งในภาคปฏิบัติที่เป็นอิบาดะฮฺ อันมีผลบุญคือ เป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์, เนื่องจากรายงานฮะดีซ,เกี่ยวกับความรักที่มีต่อบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) คือ การกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ, ความอดทน ...ก็ถือว่าเป็นกุญแจแห่งสรวงสวรรค์เช่นกัน, และเช่นกันสิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานที่ว่า นมาซพร้อมกับความศรัทธามั่นที่มีต่ออัลลอฮฺ ความเป็นเอกะของพระองค์ ขึ้นอยู่กับความรักที่มีต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องที่มีความพิเศษยิ่งต่อกัน ...
  • การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นหัวข้อหนึ่งในหลักมะฮ์ดะวียัตหรือไม่?
    6113 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/07
    การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นสำนวนที่เกี่ยวโยงกับการเร้นกายขั้นศุฆรอ ซึ่งต้องการจะสื่อว่า ในเมื่อท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เคยมีการเร้นกายขั้นศุฆรอ(เล็ก)ก่อนการเร้นกายขั้นกุบรอ(ใหญ่) ก็ย่อมจะมีการปรากฏกายชั้นศุฆรอก่อนจะปรากฏกายขั้นกุบรอระดับโลกเช่นกัน อนึ่ง สำนวนดังกล่าวไม่มีพื้นเพจากฮะดีษใดๆ ...
  • ทั้งที่ท่านอิมามอลี (อ.) ทราบถึงเจตนาชั่วของอิบนิ มุลญัม เหตุใดท่านจึงไม่ปกป้องชีวิตตนเอง?
    6496 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/29
    เหตุผลที่ท่านอิมามอลีไม่แก้ไขเหตุที่จะเกิดในอนาคตก็คือ:1.ความรู้ระดับทั่วไปคือหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติภารกิจ:เพื่อเป็นการเคารพกฏเกณฑ์ของอัลลอฮ์ท่านอิมามจึงเลือกที่จะปฏิบัติหน้าที่เสมือนบุคคลทั่วไปโดยจะไม่ปฏิบัติตามความรู้แจ้งเห็นจริงเนื่องจากว่าหากท่านจะปฏิบัติตามญาณวิเศษย่อมจะไม่สามารถเป็นแบบฉบับแก่บุคคลทั่วไปได้เพราะบุคคลทั่วไปไม่มีญาณวิเศษ2. กลไกของโลกดุนยาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทดสอบซึ่งหากจะปฏิบัติตามญาณวิเศษก็ย่อมจะทำให้กลไกดังกล่าวเสียหายเนื่องจากจะทำลายชีวิตประจำวันของผู้คนสรุปคือแม้ว่าอิมามอลีมีหน้าที่ต้องรักษาชีวิตเสมือนบุคคลทั่วไปแต่ทว่าประการแรก: หน้าที่ดังกล่าวอยู่ในขอบเขตความรู้ทั่วไปมิไช่ญาณวิเศษประการที่สอง: คู่กรณีของท่าน(อิบนิมุลญัม)
  • การยกภูเขาฏู้รขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีลหมายความว่าอย่างไร?
    7035 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    ในหลายโองการมีสำนวน وَ رَفَعْنا فَوْقَكُمُ الطُّور ปรากฏอยู่ ซึ่งล้วนเกี่ยวกับบนีอิสรออีลทั้งสิ้น ตำราอรรถาธิบายกุรอานอธิบายว่าโองการเหล่านี้กล่าวถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดื้อรั้นของบนีอิสรออีลในยุคของท่านนบีมูซา(อ.) อัลลอฮ์ย่อมมีพลานุภาพที่จะยกภูเขาฏู้รบางส่วนให้ลอยขึ้นเหนือศีรษะของบนีอิสรออีล ดังที่ทรงเคยสร้างดวงดาวนับล้านๆดวง สร้างจักรภพและจักรวาลให้เคลื่อนที่ในอวกาศโดยมีระยะห่างที่เหมาะสม การที่จะเกิดเหตุการณ์ดังที่กุรอานเล่าไว้จึงไม่ไช่เรื่องเหลือเชื่อในแง่วิทยาศาสตร์และสติปัญญา ...
  • การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
    12781 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้วยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมายและยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้าจงเตือนตัวเองว่าโปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี
  • ประโยค “ทุกวันคือาชูรอ ทุกแผ่นดินคือกัรบะลา” เป็นฮาดีษหรือไม่? มีหลักฐานเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมากน้อยเพียงใด
    8963 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    จากการศึกษาตำราฮะดีษ  เราไม่พบหลักฐานใดๆที่ระบุว่าประโยคดังกล่าวเป็นฮาดีษบรรดามะศูมีนอย่างไรก็ดี ประโยคนี้ให้นิยามเหตุการณ์กัรบะลา
  • การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ จะเข้ากันกับเตาฮีดหรือไม่
    8623 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/08/22
    ถ้าเป็นการขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ด้วยความเชื่อที่ว่าบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ ท่านเหล่านั้นคือผู้ทำให้คำวิงวอนขอของท่านสมประสงค์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺอีก แน่นอน สิ่งนี้เป็นชิริกฮะรอม และเท่ากับเป็นการกระทำที่ต่อต้านเตาฮีด ถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด แต่ถ้ามีความเชื่อว่า บรรดาท่านเหล่านี้จะทำให้คำวิงวอนของท่านถูกตอบรับ โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ และโดยอำนาจที่พระองค์แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ทว่ายังเป็นหนึ่งในความหมายของเตาฮีด ซึ่งไม่มีอุปสรรคอันใดทั้งสิ้น ...
  • อิมามมะฮ์ดีสมรสแล้วหรือยัง?
    7974 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    แม้จะเป็นไปได้ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)อาจมีคู่ครองและบุตรหลาน เนื่องจากภาวะการเร้นกายมิได้จำกัดว่าจะท่านต้องงดกระทำการสมรสอันเป็นซุนนะฮ์แต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราไม่พบเหตุผลใดๆที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ สันนิษฐานว่าสาเหตุที่ประเด็นดังกล่าวไม่เป็นที่เปิดเผยนั้น อาจเป็นผลพวงมาจากความจำเป็นที่พระองค์ทรงเร้นกายท่านจากสายตาผู้คนนั่นเอง ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60039 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57407 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42130 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39199 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38864 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33934 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27952 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27869 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27678 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25699 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...