การค้นหาขั้นสูง

อิสลามเป็นสถาบันศาสนาที่จำเป็นต้องได้รับการขับเคลื่อนและดูแลรักษาโดยผู้ที่มีความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณและละเว้นจากกิเลศทุกประการ ทั้งนี้ก็เพื่อถ่ายทอดสารธรรมคำสอนของอิสลามแก่ชนรุ่นหลัง ตลอดจนบังคับใช้บทบัญญัติในสังคมมุสลิมอย่างรอบคอบ จากการที่การชี้นำมนุษย์สู่หนทางที่เที่ยงตรง ถือเป็นจุดประสงค์หลักที่อัลลอฮ์ทรงสร้างสากลจักรวาล  วิทยปัญญาแห่งพระองค์ย่อมกำหนดว่าภายหลังการจากไปของท่านนบี(ซ.ล.) ควรจะต้องมีผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อธำรงค์ไว้ซึ่งศาสนาและทางนำสำหรับมนุษยชาติ และไม่ทอดทิ้งมนุษย์ให้อยู่กับสติปัญญา(ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกกิเลสครอบงำ)โดยลำพัง  จนถึงตรงนี้เราสามารถจะพิสูจน์ได้ด้วยสติปัญญาว่า จะต้องมีอิมาม(ผู้นำ)ผู้รู้แจ้งเห็นจริง สืบทอดต่อจากท่านนบี(ซ.ล.)ในทุกยุคสมัย เพื่อชี้นำประชาชาติและธำรงค์ไว้ซึ่งศาสนา ตลอดจนบังคับใช้บทบัญญัติในสังคมมุสลิม


ทว่าการพิสูจน์ตำแหน่งผู้นำของท่านอิมามอลี(อ.)ถือเป็นหัวข้อสำคัญในหลักอิมามัตเชิงเจาะจงบุคคล ซึ่งไม่อาจจะพิสูจน์ด้วยหลักฐานทางสติปัญญา เพราะสติปัญญาพิสูจน์ได้เฉพาะความจำเป็นต้องมีผู้นำทุกยุคสมัย[1] แต่หากต้องการพิสูจน์ว่า ท่านอิมามอลี(อ.)คือผู้นำและเคาะลีฟะฮ์ภายหลังนบี(ซ.ล.) จะต้องพิสูจน์ด้วยหลักฐานทางกุรอานและฮะดีษ ตลอดจนหลักฐานทางประวัติศาสตร์เท่านั้น
เราจะขอหยิบยกหลักฐานที่อ้างอิงกุรอานและฮะดีษ เพื่อพิสูจน์ตำแหน่งอิมามและเคาะลีฟะฮ์ของท่านอิมามอลี(ซ.ล.)ดังต่อไปนี้
ก. หลักฐานจากกุรอาน:
มีโองการกุรอานมากมายที่พิสูจน์ถึงตำแหน่งผู้นำของท่านอิมามอลี(อ.)และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ.) อย่างไรก็ดี นัยยะของโองการเหล่านี้[2]ต้องได้รับการพิจารณาควบคู่กับฮะดีษที่อธิบายเหตุที่ประทานโองการเหล่านี้ลงมา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นฮะดีษที่มีสายรายงานน่าเชื่อถือสำหรับทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ ดังจะนำเสนอบางโองการดังต่อไปนี้[3]
1. โองการตับลี้ฆ: “โอ้ศาสนทูตเอ๋ย จงเผยแผ่สิ่งที่ประทานมายังเจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า หากแม้นเจ้าไม่เผยแผ่ ประหนึ่งว่าเจ้ามิได้ปฏิบัติภารกิจใดของพระองค์เลย พระองค์จะทรงปกปักษ์เจ้าจากผู้คน และพระองค์จะไม่ทรงนำทางฝูงชนผู้ปฏิเสธ”[4]
พระองค์ทรงกำชับอย่างหนักแน่นให้ท่านนบี(ซ.ล.)เผยแผ่สาส์นของพระองค์ให้จงได้  และจากรายงานทางประวัติศาสตร์ หลังจากโองการนี้ประทานลงมา ท่านนบี(ซ.ล.)ได้แต่งตั้งท่านอิมามอลี(อ.)เป็นผู้สืบทอดภายหลังจากท่าน ด้วยวาทะประวัติศาสตร์ที่ว่า “ใครก็ตามที่ฉันเป็นผู้นำของเขา อลีก็เป็นผู้นำของเขาเช่นกัน”[5]

  1. โองการวิลายะฮ์: “ผู้นำของสูเจ้ามีเพียงอัลลอฮ์ และร่อซูล(ซ.ล.) และผู้ศรัทธาที่ดำรงนมาซ และจ่ายทานขณะโค้งรุกู้อ์” [6]
    นักฮะดีษและนักอรรถาธิบายกุรอานหลายท่านเชื่อว่าโองการดังกล่าวประทานลงมาในเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับท่านอลี(อ.)[7]
    สุยูฏี ปราชญ์ฝ่ายซุนหนี่ที่มีชื่อเสียง กล่าวไว้ในหนังสือ อัดดุรรุ้ลมันษู้ร โดยรายงานจากอิบนิ อับบาสว่า “ขณะที่อลี(อ.)อยู่ในท่าโค้งรุกู้อ์นมาซ มีผู้ขัดสนคนหนึ่งเดินเข้ามาเพื่อขอบริจาค ท่านได้มอบแหวนให้ขณะนมาซ เมื่อท่านนบี(ซ.ล.)ถามผู้ขัดสนว่า ใครให้แหวนวงนี้แก่เธอ? เขาชี้ไปที่อลี(อ.)พร้อมกับกล่าวว่า ชายคนที่กำลังโค้งรุกู้อ์นั่นขอรับ” หลังจากนั้น โองการดังกล่าวก็ประทานลงมา[8]
    นอกจากนี้ ผู้รู้สายซุนหนี่ท่านอื่นๆ อาทิเช่น วาฮิดี[9] และซะมัคชะรี[10] ก็ได้รายงานเหตุการณ์ดังกล่าวพร้อมกับยืนยันว่าโองการนี้เกี่ยวข้องกับท่านอลี(อ.)
    ฟัครุร รอซี รายงานจากอับดุลลอฮ์ บิน สะลามว่า“เมื่อโองการนี้ประทานลงมา ฉันกล่าวกับท่านนบี(ซ.ล.)ว่า กระผมเห็นกับตาว่าอลี(อ.)ได้บริจาคแหวนแก่ยาจกในขณะกำลังโค้งรุกู้อ์ และด้วยเนื้อหาของโองการนี้ เราจึงยอมรับภาวะผู้นำของเขา!” นอกจากนี้ ฟัครุร รอซี ยังรายงานฮะดีษจากท่านอบูซัรเกี่ยวกับโองการนี้ไว้เช่นกัน.[11]
    ฏอบะรีก็ได้รายงานฮะดีษที่เกี่ยวกับโองการนี้ไว้หลายบทด้วยกัน ซึ่งฮะดีษส่วนใหญ่ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า “โองการนี้ประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอลี(อ.)”[12]
    อัลลามะฮ์ อะมีนี ได้นำเสนอฮะดีษที่ยืนยันว่าโองการดังกล่าวประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอิมามอลี(อ.)โดยอ้างอิงจากตำราฮะดีษที่มีชื่อเสียงของฝ่ายซุนหนี่กว่ายี่สิบเล่ม โดยระบุรายละเอียดที่มาของแต่ละฮะดีษ[13]
    อนึ่ง เนื้อหาของโองการนี้ระบุชัดเจนว่าภาวะผู้นำของท่านอิมามอลี(อ.)นั้น สืบทอดมาจากภาวะผู้นำของอัลลอฮ์และท่านนบี(ซ.ล.)
  2. โองการอุลิ้ลอัมร์: “โอ้บรรดาผู้ศรัทธา จงภักดีต่ออัลลอฮ์ และจงภักดีต่อร่อซู้ล และอุลิ้ลอัมร์(ผู้นำ)ในหมู่สูเจ้า”[14]
    นักวิชาการหลายท่าน[15]ให้ความเห็นว่าโองการนี้เกี่ยวข้องกับท่านอลี(อ.)
    อาทิเช่น ฮากิม ฮัสกานี (นักตัฟซี้ร(อรรถาธิบายกุรอาน)ฝ่ายซุนหนี่ที่มีชื่อเสียง) ได้รายงานฮะดีษห้าบทเกี่ยวกับโองการนี้ โดยทั้งหมดได้ระบุว่า อุลิ้ลอัมร์ ในที่นี้ก็คือ ท่านอลี(อ.)[16]
    ส่วนตัฟซี้ร อัลบะห์รุ้ลมุฮี้ฏ ประพันธ์โดย อบู ฮัยยาน อันดาลูซี มัฆริบี ได้แจกแจงความเห็นต่างๆเกี่ยวกับคำว่าอุลิ้ลอัมร์ โดยได้นำเสนอความเห็นของมุกอติล มัยมูน และกัลบี (นักตัฟซี้ร) ที่ระบุไว้ว่าอุลิ้ลอัมร์หมายถึงบรรดาอิมามจากเชื้อสายนบี(ซ.ล.)[17]
    อบูบักร์ บิน มุอ์มิน ชีรอซี (ผู้รู้ฝ่ายซุนหนี่)ได้กล่าวไว้ในข้อเขียน“อัลเอี้ยะติก้อด”โดยรายงานจากอิบนิ อับบาสว่า โองการข้างต้นประทานลงมาในกรณีของท่านอลี(อ.)[18]
    เกร็ดความรู้ในจุดนี้ก็คือ โองการดังกล่าวมีเนื้อหาที่ประสานไปในทิศทางเดียวกัน โดยมิได้กล่าวคำว่า “จงภักดี...”ซ้ำระหว่างกรณีของร่อซู้ลและอุลิ้ลอัมร์ นั่นแสดงให้เห็นว่า อุลิ้ลอัมร์จะต้องเป็นผู้ที่ปราศจากบาปกรรมทั้งปวง (มิเช่นนั้นก็คงไม่สั่งให้ภักดีโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ) ดังที่อัลลอฮ์และร่อซู้ล(ซ.ล.)ก็ปราศจากมลทินทั้งปวงเช่นกัน ซึ่งหากพิจารณาฮะดีษอื่นๆประกอบไปด้วยก็จะทราบว่า ผู้นำที่ไร้บาปก็คือบรรดาอิมามจากวงศ์วานนบีเท่านั้น
    สิ่งที่นำเสนอไปทั้งหมดนั้น เปรียบเสมือนเศษเสี้ยวหนึ่งของฮะดีษทั้งหมดที่กล่าวถึงโองการที่ยืนยันความเป็นผู้นำของท่านอิมามอลี(อ.) ทั้งนี้ ฮะดีษทั้งหมดอ้างอิงจากตำราและสายรายงานที่เป็นที่ยอมรับของฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ ซึ่งหากต้องการทราบข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้เพิ่มเติม สามารถศึกษาค้นคว้าได้จากหนังสือที่เป็นที่ยอมรับทั้งสองฝ่าย
    นอกจากสามโองการที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น ยังมีโองการอื่นๆอีก อาทิเช่น
    โองการศอดิกีน یا ایها الذین امنوا اتقوا الله و کونوا مع الصادقین [19]
    โองการกุรบา قل لا اسئلکم علیه اجراً الا المودة فی القربی [20]
    โองการเหล่านี้บ่งบอกถึงตำแหน่งผู้นำของท่านอิมามอลี และอิมามท่านอื่นๆ(อ.) ซึ่งได้รับการขยายความโดยฮะดีษท่านนบี(ซ.ล.)และได้รับการบันทึกไว้ในตำราของทั้งชีอะฮ์และซุนหนี่อย่างครบถ้วน

และยังมีอีกหลายโองการที่แสดงถึงความดีความชอบของท่านอิมามอลี(อ.) ตลอดจนสถานภาพของท่านที่เหนือกว่าเศาะฮาบะฮ์ท่านอื่นๆ ซึ่งหากจะพิจารณากันตามบรรทัดฐานของสติปัญญาแล้ว การยกย่องผู้ที่มีฐานะภาพด้อยกว่า ให้มีบทบาทเหนือผู้ที่มีฐานะภาพเหนือกว่านั้น ถือเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ฉะนั้น ผลลัพท์สุดท้ายจะเป็นสิ่งใดมิได้นอกจากต้องยอมรับว่า ตำแหน่งผู้นำภายหลังท่านนบี(ซ.ล.)นั้น เป็นสิทธิของท่านอิมามอลี(อ.)เพียงผู้เดียว

ข. หลักฐานทางฮะดีษ
มีหลักฐานมากมายจากตำราอ้างอิงทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ที่ระบุว่า ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวไว้ว่า“อลีคือตัวแทนของฉันภายหลังจากฉัน  หลังจากเขาก็สืบต่อโดยหลานรักของฉัน ฮะซันและฮุเซน โดยอิมาม(ผู้นำ)อีกเก้าท่านล้วนสืบเชื้อสายจากฮุเซน”[21] นอกจากนี้ยังมีฮะดีษอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ฮะดีษเยามุดด้าร ฮะดีษมันซิละฮ์ ฮะดีษเฆาะดีรคุม และฮะดีษษะเกาะลัยน์ รวมทั้งฮะดีษที่นบี(ซ.ล.)กล่าวว่า“จะมีเคาะลีฟะฮ์สิบสองคนภายหลังจากฉัน และอิสลามจะได้รับการเทิดเกียรติโดยพวกเขา”
เพื่อได้รับความกระจ่างเกี่ยวกับฮะดีษเหล่านี้ เราขอหยิบยกสามฮะดีษเป็นกรณีตัวอย่าง
1. ฮะดีษมันซิละฮ์:
ความเป็นมาของฮะดีษนี้ก็คือ เมื่อครั้งที่ท่านนบี(ซ.ล.)พร้อมเหล่าสาวกเคลื่อนทัพจากมะดีนะฮ์เพื่อทำสงครามกับกองทัพโรมัน ณ ตะบู้ก ท่านนบี(ซ.ล.)ได้แต่งตั้งให้ท่านอิมามอลี(อ.)เป็นผู้ดูแลมะดีนะฮ์ แต่เศาะฮาบะฮ์บางกลุ่มกล่าวเสียดสีว่า “ท่านนบี(ซ.ล.)วางตัวอลีไว้เพื่อดูแลผู้หญิงและเด็กๆ” เมื่อได้ยินดังนี้ ท่านอิมามอลี(อ.)จึงนำเรียนท่านนบี(ซ.ล.)  ท่านนบี(ซ.ล.)จึงได้เอ่ยประโยคประวัติศาสตร์ไว้ว่า“ฐานะภาพของเธอที่มีต่อฉัน เปรียบดั่งฐานะภาพของฮารูน(อ.)ที่มีต่อมูซา(อ.) เว้นแต่ภายหลังจากฉันจะไม่มีศาสดาท่านใดอีก”[22]
2. ฮะดีษษะเกาะลัยน์:
ฮะดีษนี้ได้รับการบันทึกไว้ในตำราชั้นนำของฝ่ายซุนหนี่เช่นกัน[23]  ในช่วงปลายอายุขัยของท่านนบี(ซ.ล.) ท่านกล่าวแก่บรรดาเศาะฮาบะฮ์ว่า“โอ้ ชาวประชา อีกไม่นานฉันก็จะตอบรับคำเชิญจากอัลลอฮ์แล้ว ฉันขอฝากฝังสิ่งมีค่าสองประการไว้ในหมู่พวกท่าน นั่นคือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์ และอิตเราะฮ์ของฉัน คัมภีร์ของอัลลอฮ์เปรียบเสมือนสายเชือกที่ทอดยาวจากฟากฟ้าสู่ผืนดิน และอิตเราะฮ์ก็คือวงศ์วานของฉัน  สองสิ่งนี่จะไม่พรากจากกันกระทั่งสมทบกับฉัน ณ บ่อน้ำเกาษัร พวกท่านพึงระวังว่าจะปฏิบัติต่อสองสิ่งนี้อย่างไรภายหลังจากฉัน”[24]
3. ฮะดีษเฆาะดีร:
เหตุการณ์“เฆาะดีรคุม”เกิดขึ้นช่วงปลายอายุขัยของท่านนบี(ซ.ล.) ตรงกับพิธีฮัจย์ครั้งอำลา ซึ่งท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวแก่เศาะฮาบะฮ์จำนวนมหาศาลว่า ... من کنت مولاه فهذا علی مولاه... ความว่า ...ผู้ใดที่ฉันเป็นผู้นำของเขา อลีก็เป็นผู้นำของเขา...ฯลฯ ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กำหนดให้อิมามอลี(อ.)เป็นผู้นำภายหลังจากท่านด้วยประการฉะนี้
เหตุการณ์ดังกล่าว รายงานโดยเศาะฮาบะฮ์จำนวนมาก(110 ท่าน)[25] และตาบิอีนจำนวน 84 ท่าน ตลอดจนรายงานโดยปราชญ์ฝ่ายซุนหนี่ 36 ท่าน ซึ่งอัลลามะฮ์ อะมีนี ได้รวบรวมหลักฐานอ้างอิงที่เป็นที่ยอมรับทั้งในขุมตำราชีอะฮ์และซุนหนี่ไว้ในหนังสือ “อัลเฆาะดีร”อย่างครบครัน
สิ่งที่นำเสนอทั้งหมดข้างต้นนั้น ถือเป็นเศษเสี้ยวหนึ่งของหลักฐานอันมากมายที่ใช้ในการพิสูจน์ความเป็นเคาะลีฟะฮ์ของท่านอิมามอลี(อ.)ที่สืบทอดจากท่านนบี(ซ.ล.)ในลักษณะที่ไม่เว้นวรรค[26]

หากต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาศึกษาจาก:
ตัฟซี้รสาส์นแห่งกุรอาน, อายะตุ้ลลอฮ์ มะการิม ชีรอซี, เล่มที่ 9 (ตำแหน่งผู้นำในอัลกุรอาน,หน้า 177 เป็นต้นไป)
และดัชนี: พิสูจน์ตำแหน่งผู้นำของอิมามอลี(อ.)ในกุรอาน, คำถามที่ 324

 

 


[1] ต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ดู: ดัชนี:
เหตุผลเชิงสติปัญญาของอิมามัต,คำถามที่ 671
เหตุผลเชิงสติปัญญาของอิมามมะฮ์ดี(อ.),คำถามที่ 582

[2] เพื่อทราบว่าเหตุใดนามของบรรดาอิมามจึงไม่ปรากฏในกุรอาน ดู: ดัชนี: นามของบรรดาอิมาม(อ.)ในกุรอาน.

[3] ต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ดู: ดัชนี: เหตุผลของหลักความเชื่อเกี่ยวกับอิมามัต

[4] یا ایها الرسول بلغ ما انزل الیک من ربک...  ซูเราะฮ์มาอิดะฮ์,67. ต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ดู: ดัชนี: อะฮ์ลิสซุนนะฮ์กับโองการตับลี้ฆ.

[5] ตัฟซี้รสาส์นแห่งกุรอาน,อ.มะการิม ชีรอซี,เล่ม 9 ตำแหน่งผู้นำในกุรอาน,หน้า 182เป็นต้นไป

[6] انما ولیکم الله و رسوله و الذین امنوا الذین یقیمون الصلاة... มาอิดะฮ์,55.

[7] เพราะรายงานที่เชื่อถือได้ล้วนระบุว่าผู้ที่บริจาคแหวนขณะรุกู้อ์ คือท่านอิมามอลี(อ.)

[8] อัดดุรรุ้ลมันษู้ร,เล่ม 2,หน้า 293.

[9] อัสบาบุ้นนุซู้ล,หน้า 148.

[10] ตัฟซี้ร กัชช้าฟ,เล่ม 1,หน้า 649.

[11] ตัฟซี้ร ฟัครุร รอซี,เล่ม 12,หน้า 26

[12] ตัฟซี้ร ฏอบะรี,เล่ม 6,หน้า 186.

[13] อัลเฆาะดี้ร,เล่ม 2,หน้า 52-53.

[14] یا ایها الذین امنوا اطیعوا الله و اطیعوا الرسول و اولی الامر منکم...  อันนิซาอ์,59

[15] ในตัฟซี้รบุรฮานมีฮะดีษที่รายงานจากอะฮ์ลุลบัยต์เกี่ยวกับโองการดังกล่าวนับสิบฮะดีษ ซึ่งระบุว่าโองการดังกล่าวประทานมาในกรณีของอิมามอลี(อ.)และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ที่เหลือ บางฮะดีษถึงขั้นระบุนามของอิมามแต่ละท่านจนครบสิบสอง, ตัฟซีรบุรฮาน,เล่ม 1,หน้า 381-387.

[16] ชะวาฮิดุตตันซี้ล,เล่ม1,หน้า 148-151.

[17] บะฮ์รุ้ลมุฮี้ฏ,เล่ม 3,หน้า 278.

[18] อิห์กอกุ้ลฮักก์,เล่ม 3,หน้า 425.

[19] یا ایها الذین امنوا اتقوا الله و کونوا مع الصادقین...  อัตเตาบะฮ์, 119. ฮะดีษระบุว่า ศอดิกีนในที่นี้คือ ท่านอลี(อ.)และอะฮ์ลุลบัยต์ของนบี(ซ.ล.) ยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮ์,หน้า 115 และ ชะวาฮิดุตตันซี้ล,เล่ม 1,หน้า 262.

[20] อัชชูรอ, 33 ต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ดู: ดัชนี: อะฮ์ลุลบัยต์(อ.)กับโองการมะวัดดะฮ์

[21] ตัซกิเราะตุ้ล เคาะวาศ,ซิบฏ์ บิน เญาซี,หน้า 327. และ ยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮ์,สุลัยมาน กุนดูซี,หมวด 77,หน้า 444. และ ฟะรออิดุสซิมฏ็อยน์,ญุวัยนี,เล่ม 2,หน้า 134.

[22] انت منی بمنزلة هارون من موسی الا أنه لا نبی بعدی  ฟะฎออิลุล ค็อมซะฮ์,เล่ม 1,หน้า 299-316.

[23] เศาะฮี้ห์ มุสลิม,เศาะฮี้ห์ ติรมิซี,เล่ม 2,หน้า 308, และ ค่อศออิศ นะซาอี,หน้า 21. และ มุสตั้ดร็อก ฮากิม,เล่ม 3,หน้า 109. และ มุสนัด อะห์มัด บิน ฮัมบัล,เล่ม 3,หน้า 17.

[24] انی اوشک ان ادعی فاجیب و انی تارک فیکم الثقلین کتاب الله عز و جل و عترتی. کتاب الله حبل ممدود من السماء الی الارض و عترتی اهل بیتی، انهما لن یفترقا حتی یردا علی الحوض فانظرونی بم تخلفونی فیهما   ฟะฎออิลุล ค็อมซะฮ์,เล่ม 2,หน้า 44-53.

[25] ในจำนวนนี้มีเศาะฮาบะฮ์อย่าง: อบูสะอี้ดคุดรีย์, เซด บินอัรก็อม, ญาบิร บินอับดุลลอฮ์ อันศอรี, อิบนิอับบาส, บุรออ์ บินอาซิบ, ฮุซัยฟะฮ์, อบูฮุร็อยเราะฮ์, อิบนิมัสอู้ด, อามิร บินลัยลา

[26] เพื่อข้อมูลเพิ่มเติม โปรดอ่านหนังสือ อัลเฆาะดี้ร ของอัลลามะฮ์ อะมีนี,เล่ม 1, และหนังสือภาวะผู้นำในทัศนะอิสลาม,อ.ญะฟัร ซุบฮานี ซึ่งหน้า 274 และ 317  กล่าวเฉพาะเอกสาร เนื้อหา และบทวิเคราะห์เกี่ยวกับฮะดีษเฆาะดีร.

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ความสำคัญ และปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คืออะไร?
    7648 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    สำหรับการติดตามผลอย่างมีนัยของการให้ความสำคัญและปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้:1. ...
  • แนวทางที่ถูกต้อง และง่ายในการเลือกมัรญิอฺตักลีดที่มีความรู้สูงสุด สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และไม่สามารถแยกแยะอุละมาอฺได้คืออะไร?
    12943 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด หมายถึงมิได้จำกัดอยู่แค่บุคคลที่มีความเชื่ยวชาญพิเศษเฉพาะปัญหาฟิกฮฺ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักชัรอียฺของตนนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามมุจญฺตะฮิดที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ สมบูรณ์ในเรื่องฟิกฮฺ และต้องเป็นผู้รู้ที่มีความรู้มากกว่ามุจญฺตะฮิดด้วยกัน ในสมัยของตน และมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดสามารถรู้จักได้จากหนึ่ง 3 วิธีดังนี้ : หนึ่ง : ตัวเราต้องมั่นใจด้วยตัวเอง สอง : มีผู้รู้สองคนที่ยุติธรรมยืนยันในความรู้ของมุจญฺตะฮิดท่านนั้น สาม : ผู้รู้กลุ่มหนึ่งได้ยืนยันและรับรองการเป็นมุจญฺตะฮิด และการเป็นผู้มีความรู้สูงสุดของเขา น่ายินดีว่าปัจจุบันบรรดาคณาจารย์ระดับสูงของสถาบันสอนศาสนา ณ เมืองกุม ได้แนะนำผู้รู้ที่มีคุณสมบัติของมุจญฺตะฮิดสมบูรณ์ ในฐานะของมัรญิอฺตักลีดไว้หลายคนด้วยกัน ซึ่งมุสลิมทุกคนสามารถเลือกปฏิบัติตามอุละมาอฺเหล่านั้น ในฐานะมัรญิอฺตักลีด ท่านหนึ่งท่านใดก็ได้ และกิจการงานของตนให้ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่าน ที่มีอยู่ในริซาละฮฺ เตาฎีฮุลมะซาอิล ในกรณีนี้ท่านจะมั่นใจได้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ทางชัรอียฺของท่านแล้ว และปัจจุบันเนื่องจากการติดต่อสื่อสารนั้นสะดวกสบาย และเป็นไปได้ในรูปแบบต่างๆ มีหลายภาษาให้เลือก ดังนั้น สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม สามารถรับรู้ข้อมูลนี้ได้อย่างง่ายดาย ...
  • เพราะเหตุใดกุญแจสู่สรวงสวรรค์คือ นมาซ?
    7623 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/17
    เป้าหมายของการสร้างมนุษย์ก็เพื่อ การแสดงความเคารพภักดีและการรู้จักพระเจ้า, ซึ่งการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้านั้น จะทำให้มนุษย์ก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ และตำแหน่งอันใกล้ชิดต่อพระเจ้า, นมาซ คือภาพลักษณ์ที่ดีและสวยงามที่สุดของการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า หรือการแสดงความเป็นบ่าวที่ดีต่อพระผู้ทรงสร้าง, ความเคร่งครัดต่อนมาซ 5 เวลาคือสาเหตุของความประเสริฐและเป็นพลังด้านจิตวิญญาณ ซึ่งทำให้มนุษย์ละเว้นการทำความผิดบาป หรือการแสดงความประพฤติไม่ดี อีกด้านหนึ่งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้พลังแห่งความสำรวมตน ภายในจิตใจมนุษย์มีความเข้มแข็งขึ้น, ในกรณีนี้ เข้าใจได้ทันทีว่า เพราะอะไรนมาซ, จึงเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์ ต้องไม่ลืมที่จะกล่าวว่า, นมาซคือหนึ่งในภาคปฏิบัติที่เป็นอิบาดะฮฺ อันมีผลบุญคือ เป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์, เนื่องจากรายงานฮะดีซ,เกี่ยวกับความรักที่มีต่อบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) คือ การกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ, ความอดทน ...ก็ถือว่าเป็นกุญแจแห่งสรวงสวรรค์เช่นกัน, และเช่นกันสิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานที่ว่า นมาซพร้อมกับความศรัทธามั่นที่มีต่ออัลลอฮฺ ความเป็นเอกะของพระองค์ ขึ้นอยู่กับความรักที่มีต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องที่มีความพิเศษยิ่งต่อกัน ...
  • การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นหัวข้อหนึ่งในหลักมะฮ์ดะวียัตหรือไม่?
    6113 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/07
    การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นสำนวนที่เกี่ยวโยงกับการเร้นกายขั้นศุฆรอ ซึ่งต้องการจะสื่อว่า ในเมื่อท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เคยมีการเร้นกายขั้นศุฆรอ(เล็ก)ก่อนการเร้นกายขั้นกุบรอ(ใหญ่) ก็ย่อมจะมีการปรากฏกายชั้นศุฆรอก่อนจะปรากฏกายขั้นกุบรอระดับโลกเช่นกัน อนึ่ง สำนวนดังกล่าวไม่มีพื้นเพจากฮะดีษใดๆ ...
  • ทั้งที่ท่านอิมามอลี (อ.) ทราบถึงเจตนาชั่วของอิบนิ มุลญัม เหตุใดท่านจึงไม่ปกป้องชีวิตตนเอง?
    6496 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/29
    เหตุผลที่ท่านอิมามอลีไม่แก้ไขเหตุที่จะเกิดในอนาคตก็คือ:1.ความรู้ระดับทั่วไปคือหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติภารกิจ:เพื่อเป็นการเคารพกฏเกณฑ์ของอัลลอฮ์ท่านอิมามจึงเลือกที่จะปฏิบัติหน้าที่เสมือนบุคคลทั่วไปโดยจะไม่ปฏิบัติตามความรู้แจ้งเห็นจริงเนื่องจากว่าหากท่านจะปฏิบัติตามญาณวิเศษย่อมจะไม่สามารถเป็นแบบฉบับแก่บุคคลทั่วไปได้เพราะบุคคลทั่วไปไม่มีญาณวิเศษ2. กลไกของโลกดุนยาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทดสอบซึ่งหากจะปฏิบัติตามญาณวิเศษก็ย่อมจะทำให้กลไกดังกล่าวเสียหายเนื่องจากจะทำลายชีวิตประจำวันของผู้คนสรุปคือแม้ว่าอิมามอลีมีหน้าที่ต้องรักษาชีวิตเสมือนบุคคลทั่วไปแต่ทว่าประการแรก: หน้าที่ดังกล่าวอยู่ในขอบเขตความรู้ทั่วไปมิไช่ญาณวิเศษประการที่สอง: คู่กรณีของท่าน(อิบนิมุลญัม)
  • การยกภูเขาฏู้รขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีลหมายความว่าอย่างไร?
    7035 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    ในหลายโองการมีสำนวน وَ رَفَعْنا فَوْقَكُمُ الطُّور ปรากฏอยู่ ซึ่งล้วนเกี่ยวกับบนีอิสรออีลทั้งสิ้น ตำราอรรถาธิบายกุรอานอธิบายว่าโองการเหล่านี้กล่าวถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดื้อรั้นของบนีอิสรออีลในยุคของท่านนบีมูซา(อ.) อัลลอฮ์ย่อมมีพลานุภาพที่จะยกภูเขาฏู้รบางส่วนให้ลอยขึ้นเหนือศีรษะของบนีอิสรออีล ดังที่ทรงเคยสร้างดวงดาวนับล้านๆดวง สร้างจักรภพและจักรวาลให้เคลื่อนที่ในอวกาศโดยมีระยะห่างที่เหมาะสม การที่จะเกิดเหตุการณ์ดังที่กุรอานเล่าไว้จึงไม่ไช่เรื่องเหลือเชื่อในแง่วิทยาศาสตร์และสติปัญญา ...
  • การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
    12781 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้วยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมายและยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้าจงเตือนตัวเองว่าโปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี
  • ประโยค “ทุกวันคือาชูรอ ทุกแผ่นดินคือกัรบะลา” เป็นฮาดีษหรือไม่? มีหลักฐานเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมากน้อยเพียงใด
    8963 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    จากการศึกษาตำราฮะดีษ  เราไม่พบหลักฐานใดๆที่ระบุว่าประโยคดังกล่าวเป็นฮาดีษบรรดามะศูมีนอย่างไรก็ดี ประโยคนี้ให้นิยามเหตุการณ์กัรบะลา
  • การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ จะเข้ากันกับเตาฮีดหรือไม่
    8623 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/08/22
    ถ้าเป็นการขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ด้วยความเชื่อที่ว่าบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ ท่านเหล่านั้นคือผู้ทำให้คำวิงวอนขอของท่านสมประสงค์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺอีก แน่นอน สิ่งนี้เป็นชิริกฮะรอม และเท่ากับเป็นการกระทำที่ต่อต้านเตาฮีด ถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด แต่ถ้ามีความเชื่อว่า บรรดาท่านเหล่านี้จะทำให้คำวิงวอนของท่านถูกตอบรับ โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ และโดยอำนาจที่พระองค์แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ทว่ายังเป็นหนึ่งในความหมายของเตาฮีด ซึ่งไม่มีอุปสรรคอันใดทั้งสิ้น ...
  • อิมามมะฮ์ดีสมรสแล้วหรือยัง?
    7974 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    แม้จะเป็นไปได้ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)อาจมีคู่ครองและบุตรหลาน เนื่องจากภาวะการเร้นกายมิได้จำกัดว่าจะท่านต้องงดกระทำการสมรสอันเป็นซุนนะฮ์แต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราไม่พบเหตุผลใดๆที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ สันนิษฐานว่าสาเหตุที่ประเด็นดังกล่าวไม่เป็นที่เปิดเผยนั้น อาจเป็นผลพวงมาจากความจำเป็นที่พระองค์ทรงเร้นกายท่านจากสายตาผู้คนนั่นเอง ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60039 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57407 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42130 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39199 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38864 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33934 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27952 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27869 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27678 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25699 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...