ตักว่า คือ พลังหนึ่งที่หยุดยั้งจิตด้านใน ซึ่งการมีอยู่ของมนุษย์คือสาเหตุของการมีพลังนั้น และพลังดังกล่าวจะพิทักษ์ปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นจากการกระทำความผิดฝ่าฝืนต่างๆ ความสมบูรณ์ของตักวานอกจากจะช่วยทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความผิดบาป และการก่ออาชญากรรมต่างๆ แล้ว, ยังช่วยมนุษย์ให้หลีกเลี่ยงจากความเคลือบแคลงสงสัยต่างๆ อีกด้วย ตักวา จึงหมายถึงความสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ, ตักวานั้นมีหลายขั้นตอน, ซึ่งรายละเอียดต่างๆ และกิ่งก้านสาขาจะกล่าวอธิบายในช่วงคำตอบโดยละเอียด
“ตักวา” ตามหลักมาจากรากศัพท์คำว่า “วะกอ ยะกี วะกอยะฮฺ” หมายถึงการตกลง หรือการมอบตัวเองไว้ในสถานที่กำบัง[1] ส่วนในความหมายของอิสลาม, หมายถึงการไม่มักมากและป้องกันตัวเองต่อความผิดบาป,
อีกนัยหนึ่ง ตักวา คือพลังหนึ่งที่ยับยั้งมนุษย์ในลักษณะที่เป็นความเคยชินของจิตวิญญาณ หรือพลังด้านในที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ ซึ่งการมีมนุษย์นั่นเองทำให้เกิดมีพลังนี้เกิดขึ้น หน้าที่ของพลังนี้คือ การพิทักษ์ปกป้องมนุษย์จากความเลยเถิดของตัณหาราคะ และการล่วงละเมิดต่อการกระทำความผิดต่างๆ ความสมบูรณ์ของตักวา นอกจากจะช่วยทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความผิดบาปและการก่อกรรมชั่วอื่นๆ แล้ว ยังช่วยปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นจากความเคลือบแคลงสงสัยต่างๆ อีกด้วย
โองการอัลกุรอาน และฮะดีซต่างๆ, เช่น คำกล่าวของท่านอิมามอะลี (อ.) ท่านได้กล่าวอธิบาย และเปรียบเทียบตักวาไว้อย่างมากมาย ซึ่งจะขอกล่าวถึงบางประเด็นเหล่านั้น เช่น ที่กล่าวว่า :
1. เสบียงที่สะสมไว้ : จะเห็นว่าอัลกุรอานได้เปรียบ ตักวา เหมือนกับเสบียงที่ตระเตรียมเอาไว้ และถือว่านั่นคือ เสบียงที่ดีและประเสริฐที่สุด กล่าวว่า “และสูเจ้าจงเตรียมเสบียงเถิด แท้จริงเสบียงที่ดีที่สุดนั้นคือความสำรวมตนต่อบาป”[2]
2. อาภรณ์ : อัลกุรอาน ได้เปรียบเทียบตักวาว่า คล้ายกับเสื้อผ้าอาภรณ์ และถือว่านั่นคือ อาภรณ์ที่ดีที่สุด: “อาภรณ์ และเครื่องนุ่งห่มแห่งความสำรวมตนนั่นคือ สิ่งที่ประเสริฐยิ่ง”[3]
3.ป้อมปราการที่แข็งแรง : เมื่อเผชิญหน้ากับอันตรายต่างๆ จากบาปกรรม: ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า: “โอ้ ปวงบ่าวของพระเจ้าเอ๋ย พึงสังวรไว้เถิดว่าแท้จริง ความสำรวมตนต่อพระเจ้าคือ บ้านอันมั่นคงแข็งแรง”[4]
4. พาหะนะที่แสนเชื่อง นายแห่งศรัทธาชนผู้มีความสำรวมตนเป็นเลิศได้กล่าวไว้ในประโยคคำพูดอื่นว่า : “ส่วนความสำรวมตนต่อพระผู้เป็นเจ้านั้นคือ พาหนะที่แสนเชื่องที่ยื่นบังเหี้ยนให้เจ้าของมันขี่ แล้วมันจะนำพวกเขาไปสู่สรวงสวรรค์”[5]
5. นักปราชญ์ผู้อาวุโสบางท่าน, ได้นำเอาตักวาไปกล่าวเปรียบเทียบกับสภาพของคนๆ หนึ่งว่า เหมือนกับเขากำลังเดินผ่านเส้นทางหนึ่งที่เต็มไปด้วยขวากหนาม, ซึ่งเขาได้พยายามเดินโดยรวบเสื้อผ้าเอาไว้ ไม่ให้ถูกหนามเกี่ยว แล้วค่อยๆ ย่างก้าวเท้าไปด้วยความระวัง เพื่อป้องกันมิให้หนามหรือเศษกระเบื้องทิ่มแทงเท้า รวบเก็บกางเกงหรือกระโปงเอาไว้ด้วยความระมัดระวัง[6] จากการเปรียบเทียบดังกล่าวนี้เข้าใจได้ว่า ตักวา มิได้หมายถึงว่าการที่คนเราได้ปลีกตัวแยกไปต่างหากตามลำพัง,หรือที่เรียกว่าปลีกวิเวก, ทว่าจำเป็นที่เขาต้องอยู่ในสังคมต่อไป และถ้าสังคมปนเปื้อนความสกปรก เขาก็ต้องปกป้องตัวเองได้[7]
ตักวา คือสัญลักษณ์ที่บ่งบอกให้เห็นถึง ความศรัทธา ที่มีต่อ “การสร้างสรรค์” และ “มะอาด” กล่าวคืออัลลอฮฺ วันฟื้นคืนชีพ มาตรฐานความประเสริฐและเกียรติยศของมนุษย์ โดยถือว่าเป็นมาตรการแห่งบุคลิกภาพของเขาในอิสลาม ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า “ผู้ที่มีเกียรติยิ่ง ณ อัลลอฮฺคือ บุคคลที่มีความสำรวมตนต่อบาป”[8]
ในมุมมองของอัลกุรอาน “ตักวา” คือรัศมีแห่งพระเจ้าเนื่องจากที่ใดก็ตามที่ปรากฏความสำรวมตนที่นั่นจะปรากฏวิชาการความรู้[9]
ระดับของตักวา
ตักวามีอยู่หลายระดับด้วยกัน นักปราชญ์ผู้อาวุโสบางท่านได้แบ่ง ตักวา ไว้ 3 ระดับด้วยกัน
1.การพึงระวงตนเองให้พ้นจากการลงโทษอันถาวร ซึ่งเกิดจากความเชื่อที่ถูกต้อง
2.หลีกเลี่ยงการทำความผิดบาปทั้งหมด ทั้งการละเว้นสิ่งวาญิบ หรือการกระทำที่เป็นบาป
3.การพึงระวังรักษาตนเองจากสิ่งที่จิตใจมนุษย์ผูกพันอยู่กับมัน และทำให้เขาเบี่ยงเบนออกจากความจริงและความถูกต้อง และนี่คือตักวาอันเฉพาะ ทว่าเป็นความเฉพาะพิเศษเหนือความเฉพาะ[10]
สาขาต่างๆ ของตักวา
ตักวา มีสาขาต่างๆ มากมาย, ซึ่งระหว่างสาขาเหล่านั้นสามารถกล่าวถึงประเด็นดังต่อไปนี้ได้ : ตักวาทรัพย์สินและเศรษฐศาสตร์, ตักวาเรื่องเพศ, สังคม, ตักวาด้านการเมือง, ตักวาด้านจริยธรรม, และตักวา ... บุคคลที่มีตักวาคือบุคคลที่พึงระวังตักวาของตนในภารกิจทั้งหมดที่กล่าวมา
ผลพวงของตักวา
ผลของตักวาในชีวิตมนุษย์ในแง่บวกนั้นมีอย่างมากมาย ซึ่งบางอย่างสามารถหยิบยกมากล่าวได้ดังนี้ :
1.การสร้างสรรค์ตนเอง: ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : ตักวาคือ ความพิเศษแห่งจิตวิญญาณ เป็นการอบรมสั่งสอนจิตใจ ซึ่งเบื้องหลังตักวาคือ จิตวิญญาณของมนุษย์จะได้รับการสร้างสรรค์”[11]
2.การยอมรับหน้าที่ : บุคคลที่มีความสำรวมตนเขาจะไม่หลบหนีหน้าที่ความรับผิดชอบทางชัรอียฺของตน เขาจะยอมรับหน้าที่นั้นด้วยความรัก และอดทนต่ออุปสรรคปัญหาต่างๆ อย่างผู้มีขันติธรรม
3. เป็นอิสระชน : ตักวาคือเครื่องมือที่ปลดปล่อยมนุษย์ให้รอดพ้นจากการเป็นทาส และเป็นบ่าวของทุกคนและทุกสิ่ง บุคคลที่มีตักวาจะไม่ยอมก้มศีรษะให้แก่ตัณหาราคะ, จะไม่ยอมจำนนตอตำแหน่งลาภยศสรรเสริญ หรือความปรารถนาของอำนาจฝ่ายต่ำ, ด้วยเหตุนี้ เขาจึงมีความปลอดภัยในทุกความหายนะ
4.เป็นผู้มีความสัตย์จริงในปรโลก : แท้จริง ความสำรวมตน (ตักวา) คือกุญแจสำหรับประตูทุกบานที่ถูกปิดอยู่ เสบียงสำหรับวันแห่งการฟื้นคืนชีพ ปัจจัยแห่งความอิสระจากทุกๆ บาปกรรมที่เกิดกับมนุษย์ สาเหตุแห่งความช่วยเหลือให้รอดพ้นความหายนะ เนื่องจากความสำรวมทำให้ผู้ขวนขวายประสบความสำเร็จ ทำให้ผู้หลีกหนี (จากการลงโทษของพระเจ้า) ได้รับความช่วยเหลือ และสามารถไปถึงทุกความหวังที่ตั้งไว้ บุคคลที่มีความสำรวมตน จะเลือกกระทำเฉพาะความดีงาม ย่างก้าวเดินไปบนหนทางแห่งการชี้นำ นอกจากจะได้รับความผาสุกทางโลกแล้ว ยังจะได้รับรางวัลในปรโลกอีกต่างหาก และเขาจะสั่งสมไว้เป็นเสบียงเพื่อวันแห่งการฟื้นคืนชีพของเขา
[1] รอฆิบ เอซฟาฮานี ฮุเซน บินมุฮัมมัด, มุฟรอดาต ฟี เฆาะรีบิลกุรอาน, เล่ม 1 หน้า 881, หมวดคำว่า “วะกอ” ดารุลอิลม์ อัดดารุลชามียะฮ, ดามัสกัส, เบรูต, ปี 1512.
[2] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ 197 " وَ تَزَوَّدُوا فَإِنَّ خَیْرَ الزَّادِ التَّقْوى"
[3] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ 26 “وَ لِباسُ التَّقْوى ذلِکَ خَیْرٌ”
[4] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนาที่ 157 “اعلموا عباد اللَّه ان التقوى دار حصن عزیز”
[5] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนาที่ 16 “الا و ان التقوى مطایا ذلل، حمل علیها اهلها و اعطوا ازمتها، فاوردتهم الجنة”
[6] อบุลฟุตูฮฺ รอซียฺ, ฮุเซน บิน อะลี, เราเฎาะตุลญันนาน วะรูฮุลญันนาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน เล่ม 1 หน้า 101, สถาบันวิจัยและค้นคว้าเกี่ยวกับอิสลาม มณฑลรัฐ ระฎะวี, มัชฮัด, ปี 1408, มะการิมชีรอซียฺ, นาซิร, ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 1, หน้า 80, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, พิมพ์ครั้งแรก, เตหะราน 1374.
[7] มะการิมชีรอซียฺ, นาซิร, ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 22, หน้า 204,
[8] อัลกุรอาน บทฮุจญฺรอต 14 “اتَّقُوا اللَّهَ وَ یُعَلِّمُکُمُ اللَّهُ”
[9] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ 282 “จงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺเถิด แล้วอัลลอฮฺจะสอนพวกท่าน”
[10] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 22, หน้า 205, อัลลามะฮฺ มัจญฺลิสซียฺ, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 70, หน้า 136, สถาบัน อัลวะฟาอฺ, เบรูต เลบานอน ปี ฮ.ศ. 1404
[11] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนาบทมุตตะกีน