ปัจจัยที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองและเสริมความจำมีอยู่หลายประเภท อาทิเช่น
1. ปัจจัยด้านจิตวิญญาณ
ก. การรำลึกถึงอัลลอฮ์(ด้วยการปฏิบัติศาสนกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนมาซตรงเวลา)
ข. อ่านบทดุอาที่มีผลต่อการเสริมความจำ อย่างเช่นดุอาที่นบี(ซ.ล.)สอนแก่ท่านอิมามอลี(อ.)[i]
سبحان من لایعتدى على اهل مملکته، سبحان من لایأخذ اهل الارض بالوان العذاب، سبحان الرؤوف الرحیم، اللهم اجعل لى فى قلبى نورا و بصرا و فهما و علما انک على کل شىء قدیر
ค. อัญเชิญอัลกุรอาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอายะฮ์กุรซี
ง. งดเว้นสิ่งที่ทำให้หลงลืม เช่นการทำบาป
จ. หาวิธีผ่อนคลายความเครียด โดยเฉพาะขณะทบทวนตำรา
ฉ. ตัดความสนใจรอบข้าง
ช. ฝึกฝนสมาธิ
2. ปัจจัยทั่วไป
ก. สนองความต้องการขั้นพื้นฐาน(บริโภคอย่างเหมาะสม ออกกำลังกาย ดูแลสุขอนามัย)
ข. แปรงฟัน
ค. รับประทานอาหารที่มีกลูโคส(เช่น อินทผลัม น้ำผึ้ง ขนมหวานที่ถูกสุขลักษณะ ฯลฯ) อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามิน เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม น้ำมันตับปลา ส้ม มะเขือเทศ ข้าวกล้อง ผักเขียว แครอท ตับ ฯลฯ
ง. ฝึกทบทวนเนื้อหาที่ต้องการจำ
3. วิธีที่แนะนำโดยนักจิตวิทยา
ก. แบ่งคำ ข.สร้างความหมาย ค.จัดระเบียบ ง.คืนภาวะแวดล้อม จ.เคล็ดลับจำเป็นเลิศ
ปัจจัยที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองและเสริมความจำมีอยู่หลายประเภท อาทิเช่น
1. ปัจจัยด้านจิตวิญญาณ
ก. การรำลึกถึงอัลลอฮ์(ด้วยการปฏิบัติศาสนกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนมาซตรงเวลา)
ข. อ่านบทดุอาที่มีผลเสริมความจำ ทั้งนี้ บรรดาอิมามสอนให้เราขอต่อพระองค์ให้ทรงเสริมปัญญาและความเข้าใจ ตัวอย่างดุอาที่มีผลต่อพัฒนาการทางสมอง[1]เช่น
-ดุอาที่ท่านนบี(ซ.ล.)สอนแก่อิมามอลี(อ.)[2]:
سبحان من لایعتدى على اهل مملکته، سبحان من لایأخذ اهل الارض بالوان العذاب، سبحان الرؤوف الرحیم، اللهم اجعل لى فى قلبى نورا و بصرا و فهما و علما انک على کل شىء قدیر
-ดุอาที่ซัยยิด บินฏอวู้ส ได้รายงานไว้ว่ามีผลบำรุงจิตใจ โดยให้อ่านสามจบว่า
یا حى یا قیوم یا لااله الا انت اسئلک أن تحیى قلبى اللّهم صل على محمد و آل محمد[3]
-ดุอาเพื่อการทบทวนตำรา
اللهم اخرجنى من ظلمات الوهم و اکرمنى بنور الفهم اللّهم افتح علینا ابواب رحمتک و انشر علینا خزائن علومک برحمتک یا ارحم الراحمین[4]
-หลังนมาซซุบฮิ ก่อนจะเอ่ยคำพูดอื่นใดให้กล่าวประโยคนี้ یا حى یا قیّوم فلا یفوت شیئا علمه و لایؤدّه[5]
ค.อัญเชิญกุรอาน โดยเฉพาะอายะฮ์กุรซี
ง. หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้ความจำเลือนลาง เช่น การทำบาป การหมกมุ่นทางโลก การเล่นสนุกจนเกินขอบเขต เศร้าเสียใจเกี่ยวกับทางโลก[6]
จ. ขจัดความเครียด โดยเฉพาะในขณะทบทวนตำรา
ฉ. ลดความคิดฟุ้งซ่าน
ช. ฝึกฝนให้มีสมาธิแน่วแน่
เกร็ดน่ารู้: ต้องคำนึงว่า แม้วิธีต่างๆข้างต้นจะได้มาจากฮะดีษก็ตาม แต่ก็ไม่อาจจะถือเป็นมูลเหตุสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ในการบำรุงความจำ ทั้งนี้ก็เนื่องจากเราไม่สามารถควบคุมปัจจัยสำคัญอีกประการที่เกี่ยวข้องได้ นั่นก็คือปัจจัยทางพันธุกรรม
กล่าวคือ ความจำและไอคิวเป็นสิ่งที่ประกอบขึ้นจากปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยทางสภาพแวดล้อม วิธีที่นำเสนอทั้งหมดเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสภาพแวดล้อมซึ่งเรากำหนดได้ แต่ปัจจัยทางพันธุกรรมอันเกี่ยวข้องกับปู่ย่าตายายของแต่ละคนนั้น เราไม่อาจะควบคุมได้ ฉะนั้น ไม่ควรคาดหวังว่าหากปฏิบัติตามวิธีต่างๆข้างต้นแล้ว ระดับไอคิวจะเพิ่มจาก 90 เป็น 120 ในชั่วข้ามคืน และหากมิได้เป็นไปตามที่คาดไว้ แสดงว่าวิธีที่บรรดาผู้นำศาสนาสอนไว้เป็นเรื่องเหลวไหลก็หาไม่ แต่สมมติในกรณีไอคิวระดับ100 หากต้องการจะพัฒนาศักยภาพความคิดให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นก็อาจเป็นไปได้
ตรงกันข้ามกับกรณีของเด็กๆ หากพวกเขาได้รับการดูแลเอาใจใส่ทางโภชนาการตั้งแต่ในครรภ์จนถึงวัยอนุบาล รวมถึงหากมีการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่ช่วยกระตุ้นเชาวน์ปัญญา ก็สามารถเพิ่มระดับไอคิวของเด็กได้ แต่ในกรณีของวัยรุ่นหรือวัยกลางคนนั้น ทำได้แค่เพียงป้องกันไม่ให้ระดับเชาวน์ปัญญาที่มีอยู่ลดลง และพยายามเพิ่มศักยภาพทางความคิดให้มากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงศักยภาพสูงสุดของระดับเชาวน์ปัญญาที่มีอยู่ โดยที่คำแนะนำจากผู้นำศาสนาที่นำเสนอข้างต้น ล้วนเป็นไปเพื่อดึงศักยภาพดังกล่าวทั้งสิ้น.
2. ปัจจัยทางวัตถุ
ก. สนองความต้องการขั้นพื้นฐาน(บริโภคอย่างเหมาะสม ออกกำลังกาย ดูแลสุขอนามัย)
ข. แปรงฟัน
ค. รับประทานอาหารที่มีกลูโคส(เช่น อินทผลัม น้ำผึ้ง ขนมหวานที่ถูกสุขลักษณะ ฯลฯ) อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามิน เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม น้ำมันตับปลา ส้ม มะเขือเทศ ข้าวกล้อง ผักเขียว แครอท ตับ ฯลฯ
หนังสือมะฟาตีฮุลญินาน(ฉบับเต็ม)แนะนำว่า ควรรับประทานลูกเกดโดยเฉพาะชนิดสีแดงเข้มจำนวนยี่สิบเอ็ดเม็ดระหว่างมื้อเช้า, ฮัลวา(งาบดหวาน), เนื้อบริเวณต้นคอ, น้ำผึ้ง, และถั่วอะดัส เนื่องจากมีคุณประโยชน์ต่อความจำทั้งสิ้น.[7]
ง. ฝึกทบทวนเนื้อหาที่ต้องการจำ(สำคัญอย่างยิ่ง)
จ. หลังอ่านหนังสือเป็นเวลาสี่สิบห้านาที ให้หยุดพักสิบนาที
ฉ. ฝึกหายใจ วิธีง่ายๆก็คือ ขณะยืนตรงหรือนอนหงาย ให้หายใจเข้าเต็มปอด แล้วจึงค่อยๆผ่อนลมหายใจออกมาช้าๆ
3. กลวิธีเสริมความจำจากผู้เชี่ยวชาญ
ก. วิธีผสมคำ: หมายถึงการผสมพยางค์หรือตัวเลขที่ต้องการจำ ให้เป็นคำหรือประโยคที่มีความหมาย อย่างเช่น ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง หรือกลอนสระ“ใ”ที่เราคุ้นเคยกันดี
ข. เน้นจำความหมาย: วิธีนี้จะทำให้ท่องจำได้ดีกว่าวิธีอื่นๆ โดยเฉพาะหากเราเข้าใจความหมายของสิ่งที่ต้องการจำได้ลึกเท่าใด ก็ยิ่งทำให้จำง่ายยิ่งขึ้น ฉะนั้น แทนที่เราจะท่องจำประโยคเพียงผิวเผิน ก็ให้เราคำนึงถึงความหมายด้วย
ค. จัดระเบียบ: การเข้าใจ จำ และนึกทบทวนเนื้อหาที่ซับซ้อนจะไม่ไช่เรื่องยากอีกต่อไป หากมีการจัดให้เป็นระเบียบตามหมวดหมู่ที่เหมาะสม ไล่เรียงจากเนื้อหาองค์รวมไปสู่รายละเอียดปลีกย่อย แล้วจึงท่องจำตามแผนภูมิดังกล่าว
ง. คืนสู่บรรยากาศแวดล้อม: การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นในเวลาและสถานที่อันเฉพาะทั้งสิ้น เราเรียกภาชนะกาลเวลาและสถานที่เหล่านี้ว่า “บรรยากาศแวดล้อม” หากต้องการจะนึกทบทวนประเด็นใดเป็นพิเศษ ควรหาทางย้อนสู่บรรยากาศแวดล้อมที่คล้ายกับเมื่อครั้งที่เราเรียนรู้ประเด็นนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการจะนึกชื่อเพื่อนๆสมัยประถม ให้ลองเดินที่ระเบียงห้องในโรงเรียนประถมดู จะพบว่าสามารถนึกทบทวนได้ง่ายกว่า
จ.เคล็ดลับจำเป็นเลิศ: วิธีนี้เป็นกลยุทธการเรียนรู้และจดจำตำราที่มีประสิทธิภาพยิ่ง โดยเฉพาะสำหรับนักศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วยหกขั้นตอนด้วยกัน 1.อ่านคร่าวๆ 2.สอบถามผู้อื่น 3.อ่านละเอียด 4.ไตร่ตรอง 5.จดจำ 6.ทบทวน
อธิบาย: สมมติว่าผู้อ่านต้องการจะท่องจำหนังสือสักเล่มให้ได้ ขั้นแรกให้อ่านหนังสือเล่มนั้นอย่างคร่าวๆเสียก่อน เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของเนื้อหาหนังสือ และสามารถนำใจความสำคัญมาเรียงลำดับตามวิธี“จัดระเบียบ”ได้อีกด้วย ขั้นตอนที่สอง ให้ผู้อ่านตั้งคำถามเกี่ยวกับแต่ละหมวดในหนังสือ แล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนที่สาม นั่นคือ“อ่านจริง”โดยจุดประสงค์เพื่อหาคำตอบสำหรับขั้นตอนที่สอง ส่วนขั้นตอนที่สี่ ให้ผู้อ่านครุ่นคิดถึงความเชื่อมโยงกันของเนื้อหาที่อ่าน เพื่อให้สอดคล้องกับวิธี“เน้นจำความหมาย” หลังจากนั้นก็ถึงขั้นตอนที่ห้าและหก ที่ผู้อ่านควรต้องจดจำและท่องเนื้อหาปากเปล่าได้ และสามารถทบทวนด้วยการตอบคำถามที่ตั้งไว้ในขั้นตอนที่สองได้โดยไม่ต้องเปิดหนังสือ.[8]
เพื่อศึกษาเพิ่มเติม โปรดอ่าน: คำถามที่808: ดัชนี,“เงื่อนไขและดุอาสำหรับการอ่านตำรา”