ทัศนะของอัลกุรอานเกี่ยวกับการญิฮาดมี 2 ลักษณะ กล่าวคือ ญิฮาดอิบติดาอียฺ หรือญิฮาดดะฟาอ์ ทั้งสองมีวัตถุประสงค์คือฟื้นฟูสิทธิความเป็นมนุษย์ และสิทธิของเตาฮีด ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิทธิของมนุษย์ที่มีความสำคัญยิ่ง เตาฮีดจัดว่าเป็นขบวนการธรรมชาติที่สุด ซึ่งอิสลามได้กำหนดญิฮาดขึ้นมาก็เพื่อปกป้องสิทธิเหล่านี้ ดังนั้น การญิฮาดในอิสลามจึงได้รับอนุญาต ทำนองเดียวกันการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่วก็อยู่ในทิศทางเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ อิสลามจึงได้กำหนดให้มุสลิมทั้งหลายมีหน้าที่รับผิดชอบ เพื่อจะได้พยายามช่วยเหลือมนุษย์ให้รอดพ้นจากการหลงทาง และความโง่เขลา อย่าได้คิดเห็นแก่ตัวเป็นอันขาด
สิ่งจำเป็นสำหรับการนี้คือ การจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากสาเหตุทั่วไป ถ้าหากอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ทรงกำหนดไว้ในอัลกุรอานว่าให้แก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มีหน้าที่รับผิดชอบความศรัทธาของประชาชน ก็เนื่องจากว่าความเชื่อเป็นเรื่องของจิตใจ มิใช่การบีบบังคับสิ่งที่เป็นหน้าที่ของท่านศาสดาก็คือ การชี้นำทางมนุษย์ชาติ แต่หลังจากนั้นแล้วท่านมิได้มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบว่าเป็นเพราะสาเหตุใดที่ประชาชนไม่ได้รับทางนำ
คำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้อยู่ที่การรู้จักและการคิดที่ถูกต้อง เกี่ยวกันปัญหาเรื่องการกำชับความดีและการญิฮาดอิบติดาอี
ตามคำสอนของอิสลามการสงครามคือ สิ่งที่ฟื้นฟูสภาพชีวิตของผู้ศรัทธา[1] กล่าวคือการสงครามไม่ว่าจะอยู่ในฐานะของการปกป้องอิสลามและมุสลิม หรือการถูกระรานทั้งหมดเหล่านี้เป็นไปเพื่อปกป้องสิทธิและชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เนื่องจากการตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้าคือ การทำลายความเป็นมนุษย์ชาติ และการฆ่าธรรมชาติความเป็นมนุษย์ของตัวเอง ส่วนเตาฮีดและกฎเกณฑ์ของศาสนาถือได้ว่าเป็นสิทธิที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง อิสลามได้อนุญาตเรื่องการญิฮาด เพื่อปลดเปลื้องโลกให้หมดไปจากการเคารพรูปปั้นบูชา ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วกฎเกณฑ์ลักษณะนี้ (กฎของการป้องกัน) เป็นการปกป้องสิทธิของมนุษย์ ถ้าหากการฟื้นฟูความเป็นมนุษย์เกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวได้หยุดนิ่ง ซึ่งบทบัญญัติหลังจากได้อธิบายถึงเหตุผลแล้ว ดังนั้น การบังคับทำนองนี้ในทัศนะของภูมิปัญญาถือว่าเป็นสิ่งน่าเกลียดกระนั้นหรือ ?[2]
แต่สำหรับการกำชับความดี และการห้ามปรามความชั่วร้าย ถือเป็นข้อบังคับ (วาญิบ) เหนือมุสลิมทั้งหลาย เนื่องจากได้เชิญชวนประชาชนไปสู่อัลลอฮฺ และอยู่ในหนทางการช่วยเหลือมนุษย์ให้รอดพ้นจากการหลงทาง ความโง่เขลา และการระเริงกับการกระทำความผิด[3] ซึ่งถ้าเราเห็นคนบาดบอด กับบ่อน้ำ ถ้านั่งเฉยก็เท่ากับได้กระทำความผิด
เกี่ยวกับบทบัญญัติข้อนี้มนุษย์จำเป็นต้องพึ่งกฎธรรมชาติทั่วไป และมอบหมายบทบัญญัติอันเป็นสาเหตุแก่อัลลอฮฺ “ยังพระองค์คือบัญญัติทั้งหมด” หมายถึงมนุษย์ไม่ได้มีหน้าที่ช่วยเหลือมนุษย์จนกระทั่งตัวเองต้องพินาศ หรือต้องมีอันเป็นไป ถ้าหากไม่ได้เฉยเมยต่อการชี้นำทางมนุษย์ เราก็ไม่มีความผิดได้รับโทษทัณฑ์อันใดต่อการหลงทางของพวกเขา ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า
"لایضرکم من ضلّ اذا اهتدیتم ان الله مرجعکم."
“โอ้ บรรดาผู้มีศรัทธา ดูแลตัวเองให้ดี ผู้ที่หลงผิดนั้นจะไม่เป็นอันตรายแก่พวกท่านดอก หากพวกท่านได้รับทางนำแล้ว”[4]
อัลกุรอานได้กล่าวอีกที่หนึ่งแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ว่า บางทีเจ้าอาจเป็นผู้ทำลายชีวิตของเจ้าเอง เนื่องจากโกรธแค้น เพราะพวกเขาไม่ศรัทธา[5]
อีกด้านหนึ่งจะเห็นว่า ความเชื่อในศาสนา เป็นเรื่องของจิตใจในที่นั้นจึงไม่มีการบังคับขู่เข็ญแต่อย่างใด การกระทำภายนอกหรือการขับเคลื่อนของร่างกายภายนอก อาจเป็นผลมาจากการบังคับก็ได้ แต่สำหรับความเชื่อภายในจิตใจไม่อาจบังคับให้เชื่อไห้ ต้องเป็นไปตามกระบวนการของเหตุผลและสาเหตุอื่นที่ดี[6] ด้วยเหตุนี้ อัลกุรอานจึงกล่าวแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ว่า “ดังนั้น จงตักเตือนเถิด เพราะแท้จริงเจ้าเป็นเพียงผู้ตักเตือนเท่านั้น เจ้ามิใช่ผู้มีอำนาจเหนือพวกเขา (แต่จงเป็นศูนย์กลางศรัทธาแก่พวกเขา)”[7]
ดังนั้น โองการที่อ้างถึงนั้นเข้าใจได้ว่า
ในอิสลามนั้นเมื่อกล่าวถึงเรื่อง ญิฮาด วัตถุประสงค์คือความก้าวหน้าของศาสนาที่มิได้เกิดจากการบีบบังคับ ทว่าเป็นไปเพื่อการฟื้นฟูสิทธิและการป้องกันเตาฮีด ซี่งเตาฮีดนั้นถือว่าเป็นธรรมชาติที่ดีที่สุดของมนุษย์ หลังจากมนุษย์ได้เข้าใจเตาฮีดแล้ว พวกเขามีสมาธิและความสำรวมตนระหว่างพวกเขา ศาสนา นบูวัติมากยิ่งขึ้น หรือแม้แต่พวกยะฮูดีย์ และนัซรอนียฺ และนับจากนั้น ก็มิได้มีการวิวาทกันอีกต่อไประหว่างมุสลิมกับผู้ปฏิเสธพระเจ้า
ฉะนั้น การที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกล่าวแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ว่า เจ้ามิใช่ผู้รับผิดชอบความศรัทธาของประชาชน มิได้หมายถึงว่า ท่านเราะซูลไม่ต้องกำชับความดี และห้ามปรามความชั่ว หรือไม่ต้องใส่ใจปัญหาเรื่องการญิฮาดอีกต่อไป ทว่าวัตถุประสงค์คือ ท่านเราะซูลยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป แต่ไม่ใช่ผู้รับผิดชอบในผลลัพธ์ กล่าวคือ มนุษย์จะได้รับทางนำหรือไม่นั้นมันเป็นเรื่องของหัวใจ มิได้อยู่ในอำนาจของเราะซูล ซึ่งเป็นการดีกว่าให้มอบหมายเรื่องการได้รับทางนำไว้แด่อัลลอฮฺ
[1] อัลกุรอาน บทอันฟาล โองการ 24 โอ้ บรรดาผู้มีศรัทธา! จงตอบรับอัลลอฮฺและศาสนทูตเถิด เมื่อเขาได้เชิญชวนพวกพวกสู่สิ่งที่ชุบชีวิตพวกเจ้า
[2] มีซาน เล่ม 2 หน้า 66 - 71
[3] อัลกุรอาน บทอะอ์รอฟ 57, อาลิอิมรอน 104,110,114 บทเตาบะฮฺ 67,71, อันบิยาอฺ 73 ยูซุฟ 108
[4] อัลกุรอาน บทมาอิดะฮฺ 105 และบทบะเกาะเราะฮฺ 134 ที่กล่าวว่า คือ “หมู่ชนที่ล่วงลับไปแล้ว สิ่งที่พวกเขาขวนขวายไว้ ก็ย่อมได้แก่พวกตน และสิ่งที่สูเจ้าขวนขวายไว้ก็ย่อมได้แก่สูเจ้า และสูเจ้าจะไม่ถูกไต่สวนถึงสิ่งที่พวกเขากระทำ”
[5] อัลกุรอาน บทชุอ์อะรอ 3 และบทกะฮฺฟิ โองการที่ 6 กล่าวว่า “ดังนั้น บางทีเธออาจเป็นผู้ทำลายชีวิตของเธอด้วยความเสียใจ เนื่องจากการผินหลังของพวกเขา หากพวกเขาไม่มีศรัทธาต่ออัลกุรอานนี้”
[6] อัลมีซาน เล่ม 2 หน้า 342 - 343
[7] อัลกุรอาน บทฆอชิยะฮฺ โองการที่ 22