ในกรณีนี้บุคคลที่กล่าวอ้างว่าข้อผูกมัด (อักด์) ถูกต้องนั้นมาก่อน แต่ต้องกล่าวคำสาบานด้วย ส่วนบุคคลที่กล่าวอ้างว่าได้มีการบีบบังคับ หรือกรรโชกขู่เข็ญเกิดขึ้น จำเป็นต้องมีพยานยืนยันด้วย
ปัญหาดังกล่าวอาจเป็นออกได้หลายกรณีดังต่อไปนี้
1.หนึ่งในคู่กรณีได้อ้างเรื่องความสงบว่า มีการบีบบังคับเกิดขึ้น และอีกฝ่ายหนึ่งปฏิเสธเรื่องการบีบบังคับ
2. อีกฝ่ายหนึ่งสารภาพว่าได้บีบบังคับและขู่กรรโชกจริง
3. อีกฝ่ายหนึ่งนิ่งเงียบ และกล่าวว่า ฉันไม่รู้เรื่อง
ในกรณีแรก คำพูดของผู้ปฏิเสธการบีบบังคับขู่เข็ญ ต้องมาก่อน เนื่องจากตรงกับหลักของความถูกต้องในการกระทำของมุสลิม؛ เพราะว่าทั้งสองหลักการคือการยอมรับการเกิดจริงของความถูกต้อง เพียงแต่ฝ่ายหนึ่งกล่าวว่า ประเด็นได้เกิดตามความเป็นจริงถูกต้องแล้ว ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งกล่าวว่า โมฆะ ไม่ถูกต้อง ซึ่งโดยหลักการแล้วคือ ประเด็นได้เกิดจริงและถูกต้องตามความเป็นจริงด้วย ไม่มีการบังคับขู่เข็ญใดๆ ทั้งสิ้น[1] เว้นเสียแต่ว่ามีผู้อ้างว่ามีการบีบบังคับขู่เข็ญได้นำพยานมายืนยันด้วย และได้พิสูจน์ให้เห็นว่า มีการบีบบังคับจริง
คำตัดสินของปัญหานี้สามารถค้นหาคำตอบได้จากการวิพากในหลักอุซูล หรือตำราด้านนิติศาสตร์อิสลาม เช่น ท่านมุฮักกิก ฮิลลียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ชะรอยิอฺ อิสลาม ภายใต้หัวข้อความขัดแย้งระหว่างผู้ขายทั้งสองฝ่าย กล่าวว่า :
ข้อที่สี่ : เมื่อเขากล่าวกับท่านว่า ฉันขายทาสให้กับท่าน, ดังนั้น เขากล่าวว่า ทว่าจงเป็นอิสระเถิด หรือกล่าวว่า ยินดีด้วย, ดังนั้น กล่าวอีกว่า ฉันยกเลิกสัญญาก่อนที่จะแยกจากกัน โดยบีบบังคับอีกฝ่ายให้ยอมรับ ฉะนั้น ความถูกต้องจึงอยู่กับผู้ที่อ้างถึงความถูกต้องในข้อตกลงด้วยทาสนั้น ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งต้องนำพยานมายืนยัน[2]
แต่ในกรณีที่สองนั้น กฎข้อนี้เป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่แล้ว ซึ่งในกรณีการสารภาพของฝ่ายตรงข้ามว่ามีการบีบบังคับเกิดขึ้นจริง ข้อตัดสินที่ตัดสินไปแล้วไม่ค่าอันใดทั้งสิ้น ทว่าตามกฎหมายอาญาในอิสลาม สำหรับผู้บังคับขู่เข็ญมีการลงโทษอย่างแน่นอน
มาตราที่ 668 บรรพ์ที่ 22, ตามประมวลกฎหมายอาญาและการลงโทษในอิสลามระบุว่า : บุคคลใดก็ตามได้บังคับขู่เข็ญ หรือขู่กรรโชกคนอื่นให้กระทำการเขียน หรือเซ็นชื่อ หรือลงตราประทับ หรือเขียนหลักฐานปลอม โดยพลาดพิงไปยังเขา หรือนำสิ่งที่มอบให้แก่เขากลับคืนมา จะถูกตัดสินให้จำคุก 3 เดือน แต่ไม่เกิน 2 ปี และต้องถูกเฆี่ยน 74 ครั้ง[3]
แต่ในกรณีที่ 3 มีหลายประเภทที่ต่างกัน ดังนั้น โปรดศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือ ตะฮฺรีรุลวะซีละฮฺ[4]
[1] แต่อย่างไรก็ตามผู้พิพากษาได้ตัดสินเพื่อประโยชน์ของตนเอง ต้องอ้างความถูกต้อง และต้องสาบานด้วย หรือไม่ได้กล่าวอ้างแต่ได้ตัดสินเข้าข้างตัวเอง
[2] ชะรอยิอฺ อัลอิสลาม, หน้า 287,288
[3] ฮุจญฺตียฺ อัชรอฟฟี,ฆุลามริฎอ, ประมวลกฎหมายอาญาและการลงโทษฉบับสมบูรณ์
[4] อิมามโคมัยนี, อัตตะรีรุลวะซีละฮฺ เล่ม 2, หน้า 383-354