อิสลามได้กำหนดอายุบาลิกไว้เมื่อถึงวัยของการบรรลุนิติภาวะ กล่าวคือเมื่อบุคคลมีคุณลักษณะของการบรรลุนิติภาวะปรากฏขึ้น (ขั้นต่ำของลักษณะเหล่านี้คือการหลั่งอสุจิสำหรับเด็กหนุ่ม และประจำเดือนสำหรับเด็กสาว) ดังนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้ถึงวัยแห่งบาลิกแล้ว แต่ทว่าในศาสนาอิสลาม นอกจากคุณลักษณะเหล่านี้แล้ว ได้กำหนดบรรทัดฐานในด้านของอายุในการบาลิกให้กับเด็กหญิงและเด็กหนุ่มไว้ด้วย ดังนั้น หากเด็กหญิงหรือเด็กหนุ่มยังไม่มีลักษณะโดยธรรมชาติ แต่ถึงอายุที่ศาสนาได้กำหนดไว้สำหรับการบาลิกของเขาแล้ว เขาจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน เฉกเช่นผู้บาลิกคนอื่น ๆ ดังนั้น ไม่ใช่ว่าชาวซุนนีจะถือว่าเด็กสาวถึงวัยบรรลุนิติภาวะตามหลักเกณฑ์ธรรมชาติ แต่ชีอะฮ์นับจาก 9 ปีแต่อย่างใด แต่ทว่าหากเด็กสาวมีรอบเดือนหรือตั้งครรภ์แล้ว ทุกมัซฮับถือว่าเธอบรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงแม้ว่าเธอจะยังไม่ถึงวัยที่ฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้กำหนดไว้สำหรับการบรรลุนิติภาวะก็ตามa
การบาลิกเป็นลักษณะทางธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายจะต้องพบเจอในช่วงหนึ่งของชีวิต ในช่วงเวลาดังกล่าวร่างกายมนุษย์จะมีการเปลี่ยนแปลงบางประการ ซึ่งจะแตกต่างไปในแต่ละบุคคลโดยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม, ภูมิอากาศ, อาหารการกิน ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นได้ในลักษณะของการเปลี่ยนของเสียง, การที่มีขนบริเวณอวัยวะพึงสงวน, การหลั่งอสุจิ (สำหรับผู้ชาย), การมีประจำเดือน (สำหรับผู้หญิง) ฯลฯ อิสลามถือว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นเกณฑ์สำหรับการบรรลุนิติภาวะ กล่าวคือเมื่อมีหนึ่งในปรากฏการณ์ดังกล่าวได้เกิดขึ้น (ขั้นต่ำของลักษณะเหล่านี้สำหรับคือการหลั่งอสุจิสำหรับเด็กหนุ่ม และการมีประจำเดือนสำหรับเด็กสาว) ดังนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้ถึงวัยบาลิก(บรรลุนิติภาวะทางศาสนา)แล้ว แต่ทว่าในอิสลาม นอกจากคุณลักษณะทางธรรมชาติแล้ว ยังได้กำหนดหลักเกณฑ์ด้านอายุในการบาลิกสำหรับเด็กหญิงและเด็กหนุ่มไว้ด้วย ดังนั้น หากเด็กหญิงหรือเด็กหนุ่มมิได้บาลิกโดยธรรมชาติ แต่อายุถึงเกณฑ์ที่ศาสนาได้กำหนดไว้ เขาจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเฉกเช่นบุคคลบาลิกทั่วๆไป
ทั้งซุนนีและชีอะฮ์มีความเชื่อตรงกันว่า[1] ในกรณีที่เด็กสาวมีประจำเดือน[2] ถือว่าเขาได้ถึงวัยบาลิกแล้ว ทั้งนี้ นอกจากลักษณะดังกล่าว ยังมีการกล่าวถึงลักษณะอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งเนื่องจากหลักเกณฑ์ปลีกย่อยดังกล่าวไม่เป็นที่เอกฉันท์สำหรับมัซฮับอื่นๆ จึงของดนำเสนอในที่นี้ สรุปคือ ไม่ใช่ว่าฝ่ายซุนนีจะถือวัยของการบรรลุนิติภาวะทางธรรมชาติเป็นเกณฑ์ในการเข้าสู่วัยบาลิกเสมอไป โดยมีชีอะฮ์เท่านั้นที่เชื่อว่าเด็กสาวจะต้องมี 9 ปีบริบูรณ์ (แต่ทว่าในบางพื้นที่ เด็กสาวก็อาจจะบรรลุนิติภาวะทางธรรมชาติในวัย 9 ปีด้วยเช่นกัน) แต่หากเด็กสาวมีประจำเดือนหรือตั้งครรภ์ ในกรณีนี้ทุกมัซฮับล้วนเชื่อว่าเธอถึงวัยบาลิกแล้ว แม้ว่าเธอจะยังไม่ถึงวัยที่ฝ่ายซุนนีได้กำหนดไว้สำหรับการบาลิกของเด็กสาวก็ตาม[3] ดังนั้นจึงไม่มีข้อแตกต่างระหว่างความเชื่อของซุนนีและชีอะฮ์เกี่ยวกับสัญลักษณ์ของการบาลิกแต่อย่างใด มีข้อแตกต่างเพียงประเด็นเดียวก็คือชีอะฮ์และซุนนีกำหนดวัยของบาลิกในเด็กสาวไม่ตรงกัน
การถึงวัยบาลิก
ชาวซุนนีกำหนดวัยของบาลิกต่างจากชีอะฮ์ ดังที่ในมัซฮับต่าง ๆ ของซุนนีก็มีความขัดแย้งที่เห็นได้ชัดด้วยเช่นกัน[4]
บรรดาฟุกะฮาอ์ของชีอะฮ์ได้กำหนดว่าเด็กสาวจะถึงวัยบาลิกเมื่อถึง 9 ปี และในเด็กผู้ชายเมื่อถึง 15 ปี[5]
ทัศนะของชาวซุนนีเกี่ยวกับวัยของการบาลิกในเด็กสาว[6]
มัซฮับฮะนาฟีถือว่าวัยในการบาลิกในเด็กสาวและเด็กหนุ่มเมื่อถึงอายุ 15 ปี แม้อบูฮานีฟะฮ์จะกำหนดว่าผู้ชายจะบาลิกเมื่ออายุ 18 ปี และในผู้หญิงเมื่อถึงอายุ 17 ก็ตาม
มาลิกี ถือว่าวัยในการบาลิกในเด็กสาวและผู้ชายคือ 18 ปีบริบูรณ์
ชาฟิอี ถือว่าวัยในการบาลิกในเด็กสาวและผู้ชายคือ 15 ปีบริบูรณ์
ฮัมบะลี ถือว่าวัยในการบาลิกในเด็กสาวและผู้ชายคือ 15 ปีบริบูรณ์
ฮะนาฟี ถือว่าวัยในการบาลิกในเด็กสาวและผู้ชายคือ 15 ปีบริบูรณ์
[1] ญะซีรีย์, อับดุรเราะฮ์มาน, อัลฟิกฮ์ อะลัล มะซาฮิบ อัลอัรบาอะฮ์ วะ มัซฮับ อะฮ์ลิล บัยต์, เล่ม 2, หน้า 412, ดารุษษะเกาะลัยน์, เบรุต, 1419
[2] ตั้งสมมุติฐานว่าวัยที่จะมีประจำเดือนได้น่าจะอยู่ประมาณ 9 ปี, กิตาบุฏ ฏอฮาเราะฮ์, (อิมามโคมัยนี, พิมพ์ใหม่) เล่ม 1, หน้า 9
[3] อัลฟิกฮ์ อะลัลมะซาอิบิล อัรบาอะฮ์ วะ มัซฮับ อะฮ์ลิล บัยต์, เล่ม 2, หน้า 412
[4] อัลฟิกฮ์ อะลัลมะซาอิบิล อัรบาอะฮ์ วะ มัซฮับ อะฮ์ลิล บัยต์, เล่ม 2, หน้า 412
[5] ฏูซีย์, มูฮัมหมัด บิน ฮะซัน, อัลมับซูฏ, เล่ม 3, หน้า 37, ชะรอยิอุลอิสลาม, เล่ม 1, หน้า 179, ญามุล มะกอซิด, เล่ม 5, หน้า 180, ตัซกิเราะตุลฟุกะฮาอ์, เล่ม 14, หน้า 188, อีฏอฮุล ฟะวาอิด, เล่ม 2, หน้า 50, คัชฟุร รุมูซ ฟี ชัรฮิ มุคตะซารุล นาฟิอ์, เล่ม 1, หน้า 552
[6] อัลฟิกฮ์ อะลัลมะซาอิบิล อัรบาอะฮ์ วะ มัซฮับ อะฮ์ลิล บัยต์, เล่ม 2, หน้า 412, ฟะตะวาเย อัลอัซฮัร, เล่ม 10, หน้า 426, อัลมูซูอะตุล ฟิกฮียะฮ์, เล่ม 2, หน้า 332, กระทรวงศาสนสมบัติและกิจการส่วนรวม, คูเวต وقد اختلف في سنّ البلوغ : فيرى الشّافعيّة والحنابلة وأبو يوسف ومحمّد من الحنفيّة ، وبرأيهما يفتى في المذهب ، والأوزاعيّ ، أنّ البلوغ بالسّنّ يكون بتمام خمس عشرة سنةً قمريّةً للذّكر والأنثى ' تحديديّة كما صرّح الشّافعيّة ' ، لخبر " ابن عمر.