สำนวน “ร็อวเฎาะฮ์” เกิดขึ้นเนื่องจากการนำบทต่าง ๆ ในหนังสือ “ร็อวเฎาะตุชชุฮะดา”มาอ่านโดยนักบรรยาย หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในหนังสือเล่มแรกๆ ที่กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกัรบาลา ซึ่งเขียนโดย มุลลาฮุเซน กาชิฟ ซับซะวอรี (เกิด 910 ฮ.ศ.) เป็นหนังสือภาษาฟาร์ซี หนังสือเล่มนี้ใช้อ่านในการไว้อาลัยมาเป็นเวลาช้านานแล้ว ดังนั้นพิธีต่าง ๆ ที่มีการไว้อาลัยจึงเรียกว่าการร็อวเฎาะฮ์ถึงปัจจุบัน
ในปัจจุบัน ความหมายของร็อวเฎาะฮ์และการอ่านร็อวเฎาะฮ์หมายถึง การอ่านบทโศกและรำพึงรำพันถึงบรรดามะอ์ศูมีน (อ.) และญาติมิตรของพวกท่านเหล่านั้น ซึ่งบรรดาอิมาม (อ.)ได้รณรงค์เป็นพิเศษ เพื่อช่วยดำรงไว้ซึ่งศาสนาและสายสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณระหว่างมนุษย์และเอาลิยาของศาสนานั้นเอง
ความหมายของร็อวเฎาะฮ์คือ "สวนหย่อม" แต่สาเหตุที่มีการเรียกการอ่านบทโศกว่าเป็นการ"อ่านร็อวเฎาะฮ์"กันอย่างแพร่หลายก็เนื่องจากในอดีตนักรำพึงรำพันได้อ่านบทรำพันเกี่ยวกับเหตุการณ์กัรบาลาจากหนังสือ “ร็อวเฎาะตุชชุฮะดา” เขียนโดย มุลลาฮุเซน กาชิฟ นั้นเอง มุลลากาชิฟ (เสียชีวิต ฮ.ศ. 910) เป็นหนึ่งในนักวิชาการและนักบรรยายที่มีน้ำเสียงไพเราะในศตวรรษที่ 9 และอาศัยอยู่ในเมืองซับซะว้อร ในสมัยการปกครองของซุลตานฮุเซน บายกะรอ ท่านได้เดินทางไปยังเมืองฮารอต (เมืองหลวงในสมัยนั้น) และเนื่องจากท่านเป็นผู้ที่มีความจำที่ดี มีน้ำเสียงที่ไพเราะ และเป็นนักบรรยายที่มีความรู้ ไม่นานจึงมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก และมีผู้คนมากมายมานั่งฟังการบรรยายของท่าน อีกทั้งยังเป็นที่จับตามองจากทางพระราชา ชาววัง ผู้มั่งมี และผู้มีตำแหน่งในรัฐบาลในสมัยนั้น โดยเฉพาะสมุหนายกซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และรักในศิลปะที่มีนามว่า “อะมีร อาลี ชีรนะวาอี” เขาเขียนหนังสือและบทความกว่า 40 ชิ้น หนึ่งในนั้นคือหนังสือ“ร็อวเฎาะตุชชุฮะดา” ประพันธ์เป็นภาษาฟาร์ซีเกี่ยวกับเหตุการณ์ในกัรบาลา และเนื่องจากหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาที่เด่นชัดและสวยงามเป็นอย่างมาก นักการบรรยายจึงเลือกที่จะอ่านเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ขณะบรรยายในพิธีไว้อาลัยให้กับอิมามฮุเซน (อ.)เป็นเวลาช้านาน หลังจากนั้นจึงค่อยๆหมดความนิยมไป โดยหันไปท่องจำแทน หนังสือเล่มนี้แปลเป็นภาษาตุรกีในศตวรรษที่ 10 โดยมุฮัมหมัด บินสุลัยมาน ฟุซุลี[1]
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผลงานชิ้นนี้เป็นที่รู้จักและได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในพิธีไว้อาลัยของอาอิมมะฮ์ มะอ์ศูมีน (อ.) พีธีเหล่านึ้จึงถูกเรียกว่าพิธีการอ่านร็อวเฎาะฮ์โดยปริยาย ซึ่งสำนวนดังกล่าวก็ยังติดปากอยู่จนถึงปัจจุบัน
[1] อ่านเพิ่มเติมที่ มุฮัดดิษีย์, ญาวาด, พจนานุกรรมอาชูรอ, หน้าที่189, สำนักพิมพ์มะอ์รูฟ, กุม, 1374 และ ตัรคอน, กอซิม,บุคลิกและการต่อสู้ของอิมามฮุเซนจากปริทรรศน์อิรฟาน ปรัชญา และเทววิทยา, หน้า 470, เชลเชรอก, กุม, 1388