บทบัญญัติและข้อปฏิบัติทั้งหมดในศาสนาอิสลามนั้นตราขึ้นโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและคุณประโยชน์สำหรับทุกสิ่งมีชีวิตอย่างทั่วถึง บทบัญญัติของอิสลามประการหนึ่งที่เป็นข้อบังคับสำหรับผู้ประกอบพิธีฮัจย์ก็คือการเชือดกุรบานในวันอีดกุรบาน ณ แผ่นดินมินา จุดเด่นของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คือ “การที่ผู้ประกอบพิธีฮัจย์ได้คำนึงถึงการเชือดเฉือนอารมณ์ไฝ่ต่ำของตนเอง ,การแสวงความใกล้ชิดยังพระผู้เป็นเจ้า, การช่วยเหลือผู้ยากไร้ ฯลฯ ซึ่งแม้ว่าในบางกรณีจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเนื้อกุรบานก็จริง แต่ก็ทำให้ได้รับประโยชน์ทางจิตใจดังที่กล่าวไปแล้ว
เป็นที่น่ายินดีที่ในหลายปีมานี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายตามโรงเชือดสัตว์ที่นครมักกะฮ์ โดยเฉพาะการแช่แข็งเนื้อสัตว์ทำให้สามารถแจกจ่ายเนื้อเหล่านี้ให้แก่ผู้ยากไร้ ซึ่งช่วยไม่ให้เนื้อสัตว์เหล่านี้สูญเสียไปอย่างเปล่าประโชน์ ถึงแม้ว่าการจัดการทั้งหมดนี้จะไม่ส่งผลร้อยเปอร์เซนต์ แต่ก็เชื่อได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว โดยอีกไม่ช้ากระบวนการดังกล่าวอาจจะแล้วเสร็จร้อยเปอร์เซ็นต์
เนื่องจากอัลลอฮ์คือผู้ทรงกำหนดบทบัญญัติของอิสลาม บทบัญญัติทั้งหมดจึงตราขึ้นโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและคุณประโยชน์สำหรับสิ่งมีชีวิตทุกประเภท ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถรับรู้ถึงเหตุผลประกอบบทบัญญัติก็ตาม บทบัญญัติของอิสลามประการหนึ่งที่เป็นข้อบังคับสำหรับผู้ประกอบพิธีฮัจย์ก็คือ การเชือดกุรบานในวันอีดกุรบาน ณ แผ่นดินมินา [1]
นักวิชาการในโลกอิสลามได้อ้างอิงโองการกุรอานและฮะดีษบทต่าง ๆ เพื่อกล่าวถึงประโยชน์และปรัชญาหลากหลายของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์ ซึ่งเราจะกล่าวถึงปรัชญาบางประการ ณ ที่นี้
1. การทำกุรบานเป็นสัญลักษณ์ของการกำราบกิเลส
การที่บรรดาฮุจญาจได้ทำการกุรบานในวันอีดกุรบานนั้น เป็นสัญลักษ์หนึ่งของการทำกุรบานอารมณ์ไฝ่ต่ำของตนเอง ดังคำสั่งของอัลลอฮ์ที่มีต่อท่านนบีอิบรอฮีม (อ.) เกี่ยวกับการเชือดท่านนบีอิสมาอีล (อ.) ก็เป็นไปเพื่อการนี้ด้วยเช่นกัน ด้วยการกระทำดังกล่าวท่านจึงสามารถต่อสู้กับการเสพติดความรักที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการยึดติดที่ฝังรากลึกที่สุดของอารมณ์ อย่างไรก็ดี ดังที่การปฏิบัติตามคำสั่งนี้มีบทบาทสำคัญในการปลดเปลื้องพันธนาการของอารมณ์ไฝ่ต่ำ ตลอดจนพันธะทางอารมณ์ที่ท่านอิบรอฮีมและท่านอิสมาอีล(อ.)มีอยู่ ทำให้ตำแหน่งของนบีทั้งสองท่านนี้ได้รับการเชิดชูให้สูงส่งขึ้นในทัศนะของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ดังนั้นการที่บรรดาฮุจญาจได้กระทำกุรบานก็ถือเป็นการต่อสู้กับอารมณ์ใฝ่ต่ำเพื่อขจัดพันธะทางโลกย์ และช่วยให้หลุดพ้นจากความลุ่มหลงในทรัพย์สินและโลกีย์นั่นเอง[2]
2. เสริมสร้างตักวาและความใกล้ชิดต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.)
อัลกุรอานได้กล่าวเกี่ยวประเด็นนี้ว่า “เลือดเนื้อของมันหาได้ถึงอัลลอฮ์ไม่ แต่การยำเกรงของพวกเจ้าจะถึงพระองค์...”[3] เนื่องจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ไม่มีความต้องการเนื้อกุรบานแต่อย่างใด เพราะพระองค์ไม่มีร่างกายและไม่มีความต้องการใด ๆ ทั้งสิ้น พระองค์เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์และปราศจากข้อจำกัดทุกประการ
กล่าวคือ เป้าหมายของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ในการกำหนดให้การทำกุรบานเป็นวาญิบนั้นคือ การที่ทำให้มนุษย์สามารถก้าวไปถึงจุดสูงสุดของตักวาในฐานะมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ และช่วยให้ใกล้ชิดยังพระผู้เป็นเจ้ามากขึ้น ทุกๆการอิบาดะฮ์เปรียบเสมือนชั้นเรียนของการขัดเกลา การทำกุรบานสอนให้มนุษย์ตระหนักถึงการเสียสละและเตรียมพร้อมเป็นชะฮีดในหนทางของอัลลอฮ์ อีกทั้งเป็นบทเรียนของการช่วยเหลือผู้ยากไร้[4]
หากได้คำนึงถึงปรัชญาที่กล่าวมา แม้ในกรณีที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเนื้อของกุรบาน ก็สามารถได้รับประโยชน์เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี
3. การช่วยเหลือผู้ยากไร้ (การแจกจ่ายอาหาร)
มีหลายโองการในกุรอานที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เป้าหมายประการหนึ่งของการทำกุรบานก็คือ การรับประทานเนื้อกุรบาน เพื่อให้ผู้ที่ทำกุรบานและผู้ยากไร้สามารถรับประโยชน์เนื้อเหล่านี้โดยถ้วนหน้า[5]
ด้วยหลักการอันทรงคุณค่าประการนี้นี่เองที่บรรดามุสลิมไม่ควรที่จะทิ้งเนื้อกุรบาน ณ แผ่นดินมินาให้เน่าเสียหรือฝังดิน แต่ทว่าเนื้อกุรบานในแผ่นดินอันศักดิ์สิทธ์นี้ อันดับแรกจะต้องแจกจ่ายผู้ยากไร้ในพื้นที่ก่อน และหากในวันเวลาดังกล่าวไม่สามารถหาผู้ยากไร้ได้ จะต้องนำส่งไปยังพื้นที่อื่นๆ เพื่อให้ผู้ยากไร้ผู้อื่นได้ใช้บริโภคเนื้อเหล่านี้ และหากเนื้อเหล่านี้ไม่ได้ส่งถึงมือผู้ยากไร้ได้ทันท่วงทีและเน่าเสียเสียก่อนที่จะเป็นไปตามปรัชญาที่กล่าวมา ก็ไม่สามารถจะกล่าวได้ว่าการกุรบานถือเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น แต่ทว่าบรรดามุสลิมจะต้องพยายามที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อที่จะรักษาทรัพย์สินมหาศาลนี้เอาไว้ และแจกจ่ายแก่ผู้ยากไร้ให้ทันท่วงที กล่าวคือ จะต้องไม่คิดว่าเพราะเหตุที่เนื้อเหล่านี้ไม่ถูกแจกจ่ายแก่ผู้ยากไร้ ทำให้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำกุรบานอีกต่อไป แต่จะต้องถือว่า เนื่องจากการทำกุรบานเป็นสิ่งที่วาญิบ และหนึ่งในปรัชญาของการทำกุรบานคือเพื่อให้ผู้ยากไร้ได้ใช้ประโยชน์จากเนื้อเหล่านี้ ดังนั้นจะต้องสรรหาสิ่งอำนวยที่จำเป็นสำหรับการนี้นั่นเอง
เป็นที่น่ายินดีที่ในหลายปีมานี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายตามโรงเชือดสัตว์ที่นครมักกะฮ์ โดยเฉพาะการแช่แข็งเนื้อสัตว์ทำให้สามารถแจกจ่ายเนื้อเหล่านี้ให้แก่ผู้ยากไร้ ซึ่งช่วยไม่ให้เนื้อสัตว์เหล่านี้สูญเสียไปอย่างเปล่าประโชน์ ถึงแม้ว่าการจัดการทั้งหมดนี้จะไม่ส่งผลร้อยเปอร์เซนต์ แต่ก็เชื่อได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว โดยอีกไม่ช้ากระบวนการดังกล่าวอาจจะแล้วเสร็จร้อยเปอร์เซ็นต์
[1] มะนาซิกฮัจญ์ของอิมามโคมัยนี(พร้อมภาคผนวก), หน้า 100, มะนาซิก ฮัจญ์ (อายะตุลลอฮ์คอเมเนอีย์) หน้า 16
[2] จาก เว็บไซต์ โพรเซมอเน กุรอาน http://tabnak.ir/fa/pages/?cid=94761
[3] ซูเราะฮ์ฮัจญ์, 37, " لَنْ يَنالَ اللَّهَ لُحُومُها وَ لا دِماؤُها وَ لكِنْ يَنالُهُ التَّقْوى مِنْكُمْ"
[4] ตัฟซีร เนมูเนะฮ์, เล่ม 14, หน้า 107
[5] เพิ่งอ้าง, เล่ม 14, หน้า 83