เราไม่พบฮะดีษที่คุณยกมาในหนังสือเล่มใด แต่มีฮะดีษชุดที่มีความหมายคล้ายคลึงกันปรากฏอยู่ในตำราหลายเล่ม ซึ่งขอหยิบยกฮะดีษบทหนึ่งจากหนังสืออัลกาฟีมานำเสนอพอสังเขปดังนี้
อบูบะศี้รเล่าว่า วันหนึ่งขณะที่ท่านนบี(ซ.ล.)นั่งพักอยู่ ท่านอิมามอลี(อ.)ก็เดินมาหาท่าน ท่านนบีกล่าวแก่อิมามอลี(อ.)ว่า “เธอคล้ายคลึงอีซา บุตรของมัรยัม และหากไม่เกรงว่าจะมีผู้คนบางกลุ่มยกย่องเธอเสมือนอีซาแล้ว ฉันจะสาธยายคุณลักษณะของเธอกระทั่งผู้คนจะเก็บดินใต้เท้าของเธอไว้เพื่อเป็นสิริมงคล
เราไม่พบฮะดีษที่คุณยกมาในหนังสือเล่มใด แต่มีฮะดีษชุดที่มีความหมายคล้ายคลึงกันปรากฏอยู่ในตำราหลายเล่ม ซึ่งขอหยิบยกฮะดีษบทหนึ่งจากหนังสืออัลกาฟีมานำเสนอพอสังเขปดังนี้
อบูบะศี้รเล่าว่า วันหนึ่งขณะที่ท่านนบี(ซ.ล.)นั่งพักอยู่ ท่านอิมามอลี(อ.)ก็เดินมาหาท่าน ท่านนบีกล่าวแก่อิมามอลี(อ.)ว่า “เธอคล้ายคลึงอีซา บุตรของมัรยัม และหากไม่เกรงว่าจะมีผู้คนบางกลุ่มยกย่องเธอเสมือนอีซาแล้ว ฉันจะสาธยายคุณลักษณะของเธอกระทั่งผู้คนจะเก็บดินใต้เท้าของเธอไว้เพื่อเป็นสิริมงคล
บางคนในที่นั้นกล่าวขึ้นว่า นบียกยอลูกพี่ลูกน้องตนเองถึงขั้นเปรียบกับนบีอีซา(อ.)เชียวหรือ? พลันโองการต่อไปนี้ประทานแก่นบีว่า “และเมื่อมีการอุปมาถึงอีซา กลุ่มชนของเจ้าก็โวยวายทันที พวกเขากล่าวว่า เหล่าองค์สักการะของเราดีกว่าหรือว่าเขา คนเหล่านี้มิได้มีเจตนาอื่นใดในการเปรียบเทียบนอกจากต้องการก่อวิวาท (เจ้ามิได้ถือว่าอีซาเป็นองค์สักการะ) ทว่าพวกเขาคือพวกนิยมวิวาท เขา(อีซา)มิไช่อื่นใดนอกจากบ่าวที่เราได้ประทานเนี้ยะมัต(ตำแหน่งนบีและอภินิหาร)ให้ และให้เป็นสัญลักษณ์ที่ยิ่งใหญ่แก่บนีอิสรออีล และหากเราประสงค์ก็สามารถจะบันดาลให้พวกเจ้าเป็นทวยเทพบนหน้าแผ่นดินในฐานะตัวแทน”[1] ผู้รายงานเล่าว่า ฮาริษ บิน อัมร์ ฟะฮ์รีบันดาลโทสะพร้อมกับกล่าวว่า “โอ้อัลลอฮ์ หากพระองค์ประสงค์จะให้กลุ่มบนีฮาชิมเป็นผู้นำประชาชนดังเช่นกษัตริย์กรีกและโรมัน ก็ขอให้ทรงลงโทษข้าพระองค์ด้วยก้อนหินหรือโทษทัณฑ์อันเจ็บปวดด้วยเทอญ” อัลลอฮ์ทรงแจ้งคำพูดของฮาริษแก่นบี แล้วจึงมีพระดำรัสว่า “และอัลลอฮ์ไม่ทรงโปรดที่จะลงทัณฑ์พวกเขาขณะที่เจ้ายังอยู่ในหมู่พวกเขา หรือเมื่อเขาขออภัยโทษ”[2] ท่านนบีกล่าวแก่อัมร์ว่า จงกลับใจเถิด หรือไม่ก็ไปให้ห่างจากฉันเสีย ฮาริษกล่าวว่า โอ้มุฮัมมัด จงแบ่งสิ่งที่ท่านมีให้แก่พวกกุเรชบ้างเถิด เพราะบนีฮาชิมมีจิตใจเอื้ออารีย์” ท่านตอบว่า “สิ่งนี้มิได้อยู่ในอำนาจของฉัน แต่เป็นพระอำนาจของอัลลอฮ์เท่านั้น” เขากล่าวว่า โอ้มุฮัมมัด ข้าไม่พร้อมที่จะเตาบะฮ์ แต่จะไปให้ใกลท่าน เขาขึ้นขี่อูฐและเดินทางออกไปจนถึงชานเมืองมะดีนะฮ์ ทันใดนั้นก็มีหินก้อนหนึ่งจากเบื้องบนดิ่งลงมากระแทกศีรษะเขาจนสิ้นใจ หลังจากนั้นมีโองการแก่ท่านนบีว่า “ผู้ร้องขอคนหนึ่งได้ร้องขอการลงทัณฑ์ที่ต้องเกิดขึ้นสำหรับเหล่าผู้ปฏิเสธ ซึ่งไม่มีสิ่งใดจะยับยั้งได้จากอัลลอฮ์ผู้เป็นจ้าวแห่งชั้นฟ้า”[3] ท่านนบีหันไปกล่าวแก่พวกมุนาฟิกีนที่รายล้อมท่านว่า จงตามหาสหายของพวกเจ้าเถิด เพราะเขาได้รับในสิ่งที่ต้องการแล้ว” มีโองการประทานลงมาว่า “และพวกเขาเรียกร้องชัยชนะ ทว่าพวกทรนงที่หัวรั้นจะกลายเป็นผู้ต่ำต้อย”[4][5]
แนะนำว่าก่อนที่จะอ้างถึงโองการกุรอานหรือฮะดีษของมะอ์ศูมีน ควรจะค้นคว้าให้ถี่ถ้วนเสียก่อน อย่างไรก็ดี ในกรณีของคุณอาจจะเข้าข่ายการอ้างอิงความหมาย ซึ่งย่อมไม่ผิดหากยังคงความหมายเดิมไว้ได้ จึงกล่าวได้ว่าคุณมิได้โกหกใส่ท่านนบี(ซ.ล.) ส่วนตัวบทที่คุณอ้างไว้ หากพิสูจน์แล้วว่าไม่ไช่เรื่องจริง คุณมีหน้าที่ที่จะต้องชี้แจงแก่ผู้ฟังหรือคู่สนทนาของคุณ
[1] ซุครุฟ, 57-60
وَ لَمَّا ضُرِبَ ابْنُ مَرْیَمَ مَثَلًا إِذا قَوْمُکَ مِنْهُ یَصِدُّونَ* وَ قالُوا أَ آلِهَتُنا خَیْرٌ أَمْ هُوَ ما ضَرَبُوهُ لَکَ إِلَّا جَدَلًا بَلْ هُمْ قَوْمٌ خَصِمُونَ* إِنْ هُوَ إِلَّا عَبْدٌ أَنْعَمْنا عَلَیْهِ وَ جَعَلْناهُ مَثَلًا لِبَنِی إِسْرائِیلَ* وَ لَوْ نَشاءُ لَجَعَلْنا مِنْکُمْ مَلائِکَةً فِی الْأَرْضِ یَخْلُفُونَ "
[2] อันฟาล,33, وَ ما کانَ اللَّهُ لِیُعَذِّبَهُمْ وَ أَنْتَ فِیهِمْ وَ ما کانَ اللَّهُ مُعَذِّبَهُمْ وَ هُمْ یَسْتَغْفِرُونَ
[3] มะอาริจ,1-3, سَأَلَ سائِلٌ بِعَذابٍ واقِعٍ* لِلْکافِرینَ لَیْسَ لَهُ دافِعٌ* مِنَ اللَّهِ ذِی الْمَعارِجِ
[4] อิบรอฮีม,15, وَ اسْتَفْتَحُوا وَ خابَ کُلُّ جَبَّارٍ عَنِیدٍ