เครื่องยังชีพกับปัจจัยเป็น 2 ประเด็น คำว่าเครื่องยังชีพที่มนุษย์ต่างขวนขวายไปสู่ กับปัจจัยที่มาสู่มนุษย์เอง ในรายงานกล่าวถึงปัจจัยประเภทมาหาเราเองว่า ริซกีฏอลิบ ส่วนเครื่องยังชีพทีมนุษย์ต้องขวนขวายไปสู่เรียกว่า ริซกีมัฏลูบ ส่วนริซกีฏอลิบ หรือเครื่องยังชีพแน่นอนก็คือ ชีวิตการมีอยู่ของตัวตน และอายุขัย ความเป็นไปได้ สิ่งแวดล้อม ครอบครัว ศักยภาพ ความสามารถ สิ่งอำนวยความสะดวกและอื่นๆ จากแง่มุมนี้จะเห็นว่า ปัจจัยสำคัญคือพลังงาน สติปัญญา และความกระตือรือร้นเพื่อความพยายามในการปฏิบัติภารกิจ ส่วนในแง่มุมอื่นปัจจัยได้รับการยอมรับและมีเงื่อนไขกำกับ
สำหรับการได้รับปัจจัยนั้นทุกคนต้องขวนขวายด้วยตัวเอง ด้วยความตั้งใจจริงมีความพยายามโดยมุ่งมั่นไปยังอัลลอฮฺ แม้แต่ทารกน้อยถ้าสังเกตก็จะพบว่าพวกเขาต่างขวนขวายเพื่อให้ได้ปัจจัยนั้น ด้วยการร้องไห้หรือส่งเสียงเรียก หลังจากทารกได้กระทำเช่นนั้นแล้วเขาก็จะได้ปัจจัยตามประสงค์ นั่นคือน้ำนมของมารดา แต่ทารกน้อยนั่นเองเมื่อได้เติบโตเจริญวัยไปสู่อีกระดับหนึ่ง ความพยายามและการขวนขวายของเขาก็จะเป็นไปในอีกรูปแบบหนึ่ง จะมีการขบคิดมากยิ่งขึ้นมือเท้าและอวัยวะส่วนต่างๆ จะแกว่งไกวและขยับเขยื้อน คุณภาพและปริมาณของปัจจัยก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย สรุปได้ก็คือ ปัจจัยจะถูกประทานอย่างต่อเนื่องโดยปราศจากเงื่อนไข การเรียกร้อง ความพยายาม และการคิดใคร่ครวญซึ่งการงานและการขวนขวายจะเป็นตัวสร้างให้เกิดขึ้นมา และสิ่งที่จะติดตามความพยายาม การขวนขวาย และการแสวงหาคือปัจจัยที่เขาเรียกร้องนั่นเอง
ปัจจัยที่ถูกระบุแน่นอนแล้วจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือลดน้อยลงอย่างเด็ดขาด แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับว่าเราได้เริ่มต้นอย่างไร ทั้งนี้ทั้งนั้นปัจจัยที่เราเรียกร้อง คุณภาพและปริมาณ ตลอดจากการผสมผสานและการจัดระบบปัจจัย สิ่งเหล่านี้ก็มีส่วนสำคัญที่จำทำให้ปัจจัยเพิ่มหรือลดลงได้
คำตอบสำหรับประเด็นดังกล่าวนี้ จะขอเริ่มต้นด้วยบทนำ 2 บทเช่นนี้ว่า
บทนำที่ 1 : เครื่องยังชีพและการให้ทั้งสองอยู่ในความรับผิดชอบของอัลลอฮฺ และพระองค์ทรงรับประกันเอาไว้ อันประกอบด้วยส่วนแบ่งและการได้รับซึ่งพระองค์ต้องส่งให้ถึงมือของปวงบ่าว เพื่อพวกเขาจะได้สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ แน่นอนว่าคำสัญญาและการับประกันของอัลลอฮฺ การเป็นผู้ให้และการนำปัจจัยไปถึงยังปวงบ่าวล้วนเกี่ยวข้องกับอาตมันบริสุทธิ์ของพระองค์ทั้งสิ้น ในอีกแง่หนึ่งการรับประกัน และความไว้วางใจของมนุษย์นั้นมีความแตกต่างกัน อัลกุรอาน กล่าวว่า “และไม่มีสัตว์สักตัวในแผ่นดิน ที่เครื่องยังชีพของมันไม่เป็นหน้าที่ของอัลลอฮฺ และพระองค์ทรงรู้ที่พำนักของมันและที่เก็บเสบียงของมันทุกสิ่งอยู่ในบันทึก อันชัดแจ้ง”[1] สิ่งจำเป็นต้องพิจารณาคือ บุคคลที่รับผิดชอบเครื่องยังชีพของบรรดาสรรพสัตว์คือ อัลลอฮฺ ไม่ใช่มนุษย์ อัลลอฮฺ คือพระผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง ทรงสร้างระบบและจักรวาล และทุกสรรพสิ่งที่มีอยู่ระหว่างทั้งสอง ด้วยเหตุนี้ คำสัญญาของพระเจ้าและคำสัญญาของมนุษย์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบ ซึ่งอยู่ภายใต้ผลสะท้อนของมวลสรรพสิ่งทั้งหลายอันมีความแตกต่างกัน การรู้จักการงานของอัลลอฮฺและการประทานปัจจัยของพระองค์ เท่ากับได้รู้จักระบบของโลกทั้งหมด เราก็เป็นส่วนหนึ่งโลกนี้ ซึ่งเหมือนกับส่วนต่างๆ ของโลกที่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ แน่นอน เราทุกคนต่างมีหน้าที่เกี่ยวการประทานเครื่องยังชีพและสิทธิต่างๆ window.print();