การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
13600
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2556/01/24
คำถามอย่างย่อ
กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวว่าอย่างไร เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสตรี?
คำถาม
อัสลามุอะลัยกุม เพราะเหตุใดฝ่ายซุนนียฺจึงกล่าวว่า การถอนคิ้วของสตรีเป็นฮะรอม แม้ว่าจะถอนเพื่ออวดสามีก็ตาม การออกคำวินิจฉัยทำนองนี้ถือว่าถูกต้องหรือไม่? ดังนั้น ดิฉันขอคำตอบที่แข็งแรง เพื่อเป็นข้อหักล้าง ที่สำคัญถูกต้องตรงหลักการของชีอะฮฺ
คำตอบโดยสังเขป
การถอนคิ้วของสตรีโดยหลักการแล้วไม่เป็นไร ตามหลักการอิสลามภรรยาจะเสริมสวยและแต่งตัวเพื่ออวดสามี ถือว่าเป็นมุสตะฮับ ในทางตรงกันข้ามภรรยาที่ปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่เสริมสวยเพื่ออวดสามี ย่อมได้รับคำประณาม ด้วยเหตุนี้เอง บรรดานักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺ ฟุเกาะฮา นอกจากจะแนะนำเหล่าสตรีในใส่ใจต่อปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังเตือนสำทับด้วยว่าการโอ้อวดสิ่งนั้นแก่ชายอื่นถือว่าฮะรอม ไม่อนุญาตให้กระทำ สตรีต่างมีหน้าที่ปกปิดสิ่งประดับและเรือนร่างของเธอให้พ้นจากสายตาของชายอื่น
คำตอบเชิงรายละเอียด
สตรีได้เสริมสวยเพื่ออวดสามีถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ทว่าในหลัการอิสลามถือว่เป็น มุสตะฮับด้วยซ้ำไป ในทางกลับกันสตรีที่ปล่อยปละละเลย หรือเฉยเมยเรื่องการแต่งตัวเพื่ออวดสามี ถือว่าได้รับการตำหนิอย่างยิ่ง[1]คำสั่งลักษณะนี้เป็นสาเหตุทำให้ครอบครัวมีความอบอุ่น แน่นอน อาจมีนักปราชญ์บางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยในเรื่องการเสริมสวยของสตรี (ตัวอย่างการถอนขนคิ้ว) นักปราชญ์กลุ่มนี้สั่งห้ามโดยเด็ดขาด (แม้แต่การเสริมสวยเพื่ออวดสามี) ซึ่งถือว่าเป็นฮะรอมด้วยเช่นกัน ซึ่งท่านเหล่านั้นได้นำหลักฐานฮะดีซบางบท มาเป็นหลักฐานในการออกทัศนะ เช่น รายงานบางบทจากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ซึ่งกล่าวว่า ท่านเราะซูลได้สาปแช่งสตรี 8 จำพวก อันประกอบด้วย :
«نامصه، منتمصه، واشره، مستوشره، واصله، مستوصله، واشمه و مستوشمه».
ผู้รายงานกล่าวว่า:  «نامصه»หมายถึง หญิงที่ผูกขนที่หน้าเป็นปม, «منتمصه»   หมายถึง หญิงที่ถอนขนบนใบหน้าจนเกลี้ยงเกลา, «واشره»  หมายถึง หญิงนำฟันของหญิงคนอื่นไปแบ่งครึ่งแล้วเหลาจนแหลม, «مستوشره หมายถึง หญิงที่ปล่อยให้กระทำสิ่งเหล่านี้บนเธอ, «واصله»  หมายถึง หญิงที่พูดเพื่อให้นำผมของหญิงคนหนึ่ง ไปต่อกับผมของหญิงอีกคนหนึ่ง, «مستوصله»  หมายถึง หญิงที่นำผมของหญิงอื่นมาต่อกับผมของตน, «واشمه»  หมายถึง หญิ่งที่ทำใฝบนมือหรือบนใบหน้าของหญิงอื่น วิธีการทำคือจะใช้เข็มเจาะที่ฝ่ามือ หรือหลังมือของหญิงให้เป็นรูหลังจากนั้นจะนำผงเขียนตา กึ่งสีฟ้าในสมัยโบราณใส่เข้าไป จำทำให้แลดูเป็นสีฟ้าเข้มๆ, ส่วนคำว่า «مستوشمه»  หมายถึง หญิงที่สักบนร่างกาย[2]
โดยทั่วไปแล้วรายงานบทนี้ที่กล่าวถึงนั้น มิได้หมายความว่าผู้หญิงไม่มีสิทธิ์เสริมสวยเลยแม้แต่เล็กน้อย แต่เมื่อเราพิจารณาคำพูดอันทรงค่ายิ่งของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺแห่งเราะซูล (อ.) จะทำให้เข้าใจรายงานบทนี้ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น รายงานจากท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร (อ.) โดยเกาะรอมุลได้ถามท่านอิมามถึงเรื่องผมเทียมหรือวิค ซึ่งทำมาจากผม ขน หรือไหม แล้วสตรีได้นำไปใส่ครอบไว้บนผมของตน[3] ท่านอิมาม (อ.) ตอบว่า “ไม่เป็นไร ถ้าสตรีจะแต่งตัวเพื่ออวดสามีของตน”
ผู้รายงานกล่าวว่า ฉันกล่าวกับท่านอิมามว่า มีรายงานจากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) มาถึงเราว่า ท่านเราะซูลได้สาปแช่งเหล่าสตรีที่เป็นทั้ง «واصله و موصوله» ผู้เชื่อมต่อ และผู้ถูกต่อเชื่อม ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า มิได้เป็นดั่งที่ท่านเข้าใจ สตรีที่ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวสาปแช่งในฐานะที่เธอเป็นสื่อ นั่นหมายถึงในช่วงวัยรุ่นเธอได้ชอบทซินา ส่วนในวัยชราเธอก็ยังเป็นแม่สื่อแม่ชัก ให้ชายหนุ่มและหญิงสาวประกอบการชั่ว[4]
อีกรายงานหนึ่ง อบี บะซีร กล่าวว่า ฉันถามท่านอิมามบากิร (อ.) เกี่ยวกับการเสริมสวยของสตรี (เช่นการถอนขนคิ้วหรือบนหน้า) เพื่ออวดสามี, ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า “ไม่มีการกระทำอันใดจากสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาทั้งสิ้น”[5]
ด้วยเหตุนี้ ไม่สามารถกล่าวได้ว่าทุกการเสริมสวยจะเป็นฮะรอมสำหรับสตรีเสมอไป ซึ่งเฉพาะการเสริมสวยที่โอ้อวดชายอื่นนอกจากสามีของตน อันเป็นสาเหตุนำเธอไปสู่ความเสื่อมเสีย เป็นความชั่วร้ายและเป็นบาปกรรมสำหรับสังคม ด้วยเหตุนี้ เอง บรรดานักปราชญ์อิสลาม จึงเตือนสำทับเหล่าสตรีเสมอว่า พวกเธอสามารถเสริมสวยได้แต่สำหรับสามีของเธอเท่านั้น แน่นอนว่าถ้าเธอเสริมสวยเพื่อโอ้อวดชายอื่น ถือว่าฮะรอมไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด สตรีต่างมีหน้าที่เหมือนกันคือ ต้องปิดปิดสิ่งสวยงามและเครื่องประดับ ให้รอดพ้นจากสายตาชายอื่น[6]
มีคำพูดว่าการถอนคิ้วสำหรับสตรีทั้งหลาย โดยหลักการแล้วไม่เป็นไร[7] แต่การกระทำนี้จะถือว่าเป็นการเสริมสวยหรือไม่ และวาญิบต้องปกปิดให้พ้นจากสายตาชายอื่นหรือไม่ บรรดานักปราชญ์มีทัศนะแตกต่างกัน
1.บางท่าน[8] กล่าวว่า ถ้าเผยบางส่วนตามที่เป็นที่ยอมรับกันถือว่าอนุญาต และการปกปิดคิ้วที่ถอนให้รอดพ้นจากสายตาชายอื่นถือว่า ไม่จำเป็น[9]
2.บางท่าน[10] ถือว่าการถอนคิ้วเป็นหนึ่งในการเสริมสวย วาญิบต้องปกปิดให้รอดพ้นจากสายตาชายอื่น[11]
3.บางท่าน[12] ท่านเหล่านั้นถือว่าปัญหาดังกล่าวขึ้นอยู่กับสาธารณชนด้วย โดยกล่าวว่า ถ้าหากสังคมนับว่านั่นเป็นการเสริมสวย วาญิบต้องปกปิดให้รอดพ้นจากสายตาของชายอื่น[13]
หมายเหตุ ถ้าหากการเสริมสวยใบหน้า ทำให้เป็นที่สนใจของชายอื่น อันเป็นเหตุนำไปสู่การก่อความเสียหาย วาญิบต้องปกปิดให้รอดพ้นจากสายตาของชายอื่น[14]
 

[1] ญะอฺฟะรียาน เราะซูล,
[2]  อิบนุ บาบูวีเยะฮฺ มุฮัมมัด บิน อะลี, มะอานิลอัคบาร, หน้า 249, แก้ไขและตรวจทานโดย, ฆอฟฟารียฺ อะลีอักบัร, พิมพ์ที่ อินเตะชารอตอิสลามี, กุม, พิมพ์ครั้งแรก, ปี ฮ.ศ. 1403
[3] ญุซรียฺ อิบนุ อะษีร มุบาร็อก บิน มุฮัมมัด, อันนิฮายะฮฺ ฟี เฆาะรีบิลฮะดีซ วัลอะษะเราะ, เล่ม 4 หน้า 51, สำนักพิมพ์ อิสมาอีลลียาน, กุม, พิมพ์ครั้งแรก บีทอ
[4] กุลัยนียฺ มุฮัมมัด ยะอฺกูบ, อัลกาฟียฺ, ตรวจทานและแก้ไขโดย เฆาะฟารียฺ อะลี อักบัร และอาคูนวันดียฺ, มุฮัมมัด เล่ม 5, หน้า 118, หมวดที่ 119, ฮะดีซที่ 3 สำนักพิมพ์ ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ พิมพ์ครั้งที่ 4, เตหะราน ฮ.ศ. 1407
[5] เชรโฮร อามีลียฺ มุฮัมมัด บิน ฮะซัน,วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 20, หน้า 189, ฮะดีซที่ 25390, สำนักพิมพ์ อาลัลบัยตฺ พิมพ์ครั้งแรก กุม ปี ฮ.ศ. 1409
[6] บะฮฺญัต มุฮัมมัด ตะกียฺ, อิสติฟตาอาต (บะฮฺญัต) เล่ม 4, หน้า 175, คำถามที่ 5201, สำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ บะฮฺญัต, กุม พิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ 1428
[7] ศึกษาจากหัวข้อที่ 18717 (การเสริมสวยของเด็กสาว)
[8] มัรญิอฺตักลีด เช่น อิมาโคมัยนี ซิสตานี มะการิมชีรอซียฺ นูรีฮัมเมดานี และตับรีซียฺ
[9] อิสติฟตาอาต อายะตุลลอฮฺ ซิสตานียฺ )sistani.org (ส่วนหนึ่งของอิสติฟตาอาต คำว่า เสริมสวย หน้า 17, มะการิมชีรอซียฺ นาซิร อิสติฟตาอาตฉบับใหม่ เล่ม 2, หน้า 351, และ 1034, สำนักพิมพ์ มัดเราะซะฮฺ อิมามอะลี บนิ อะบีฏอลิบ (อ.) กุ่ม พิมพ์ครั้งที่ 2 ปี ฮ.ศ. 1427, อายะตุลลอฮฺ นูรียฺ อิสติฟตาอาต เล่ม 1 คำถามที่ 491, 542, อิมามโคมัยนี ซัยยิดรูฮุลลอฮฺ อิสติฟตาอาต เล่ม 3, หน้า 257 คำถามที่ 33, 34, สำนักพิมพ์ อินเตะชารอตอิสลามี ขึ้นกับญามิอฺมุดัรริซน กุม พิมพ์ครั้งที่ 5 ปี ฮ.ศ.1422, ตับรีซียฺ ญะวาด อิสติฟตาอาต ฉบับใหม่ เล่ม 2, หน้า 360, คำถามที่ 1490 กุม พิมพ์ครั้งแรก บีทอ
[10] อายะตุลลอฮฺ ซอฟียฺ ฆุลภัยกานียฺ
[11] อายะตุลลอฮฺ ซอฟยฺ ฆุลภัยกานียฺ
[12] อายะตุลลอฮฺ คอเมเนอี ฟาฎิลลันกะรอนียฺ บะฮฺญัต และวาฮีดโครอซานียฺ
[13] ฟัตวาอายะตุลลอฮฺ คอเมเนอียฺ คัดลอกมาจากหัวข้อ 598, ฟาฏิลลันกะรอนียฺ มุฮัมมัด ญามิอุลมะซาอิล เล่ม 1, หน้า 451, คำถามที่ 1708, อินเตะชารอต อะมีร กะลัม กุม พิมพ์ครั้งที่ 11, บีทอ, บะญัต มุฮัมมัด ตะกียฺ อิสติฟตาอาต เล่ม 4, หน้า 208 คำถามที่ 534 สำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ บะฮฺญัต กุม พิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ. 1428, อิสติฟตาอาต สำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ วะฮีด โคราซานนียฺ
[14] อิมามโคมัยนี ซัยยิดรูฮุลลอฮฺ อัลมูซาวียฺ อิสติฟตาอาต เล่ม 3 หน้า 256 สำนักพิมพ์ อินเตะชารอต อิสลามี กุม พิมพ์ครั้งที่ 5 ปี ฮ.ศ. 1422

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ข้อความละอ์นัตในซิยารัตอาชูรอครอบคลุมถึงบุตรชายยะซีดด้วยซึ่งเป็นคนดี แล้วจะถือว่าซิยารัตนี้น่าเชื่อถือได้อย่างไร?
    6871 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    ในซิยารัตอาชูรอมีการละอ์นัตกลุ่มบนีอุมัยยะฮ์ซึ่งรวมถึงบุตรชายยะซีดด้วยในขณะที่นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าบุตรชายของยะซีดและสมาชิกบนีอุมัยยะฮ์บางคนเป็นคนดีเนื่องจากเคยทำประโยชน์บางประการซึ่งย่อมไม่สมควรจะถูกละอ์นัตเพื่อชี้แจงข้อสงสัยดังกล่าวควรทราบว่าบนีอุมัยยะฮ์ในที่นี้หมายความเฉพาะผู้ที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันกับพวกเขาอันหมายถึงผู้กระทำผิดผู้วางเฉยผู้ปีติยินดี ... ฯลฯต่อการแย่งชิงสิทธิอันชอบธรรมของบรรดาอิมาม(อ.) ตลอดจนการสังหารท่านเหล่านั้นและสาวกหากคำนึงถึงประโยคก่อนและหลังท่อนดังกล่าวในซิยารัตอาชูรอก็จะเข้าใจจุดประสงค์ดังกล่าวได้ไม่ยากเนื่องจากบรรยากาศของซิยารัตบทนี้เต็มไปด้วยละอ์นัตและการสาปแช่งกลุ่มบุคคลที่ยึดครองตำแหน่งคิลาฟะฮ์และพยายามจะดับรัศมีของอัลลอฮ์โดยทำทุกวิถีทางเพื่อต่อกรกับอะฮ์ลุลบัยต์รวมไปถึงกลุ่มบุคคลที่ให้การสนับสนุนและพึงพอใจในพฤติกรรมของกลุ่มแรก ฉะนั้นในทางวิชาอุศู้ลแล้วเราถือว่าการยกเว้นบุคคลที่ดีออกจากนัยยะของคำว่าบนีอุมัยยะฮ์นั้นเป็นการยกเว้นประเภท “ตะค็อศศุศ” มิไช่ “ตัคศี้ศ” หมายความว่าคำว่าบนีอุมัยยะฮ์ไม่ครอบคลุมถึงบุคคลเหล่านี้ตั้งแต่แรกแล้วจึงไม่จำเป็นต้องยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ ...
  • ในทัศนะของรายงานและโองการต่างๆ มีการกระทำใดบ้าง ที่ทำลายการงานที่ดี อันเป็นที่ยอมรับ?
    5976 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ทั้งอัลกุรอานและรายงานกล่าวว่า, การมีศรัทธาต่ออัลลอฮฺและการห่างไกลจากการตั้งภาคีและการตกศาสนาคือเงื่อนไขแรกในการตอบรับการกระทำดังนั้นถ้าปราศจากสิ่งนี้จะไม่มีการงานที่ดีอันใดถูกยอมรับณ
  • หลังจากเสียชีวิต วิญญาณมนุษย์สามารถรับรู้เรื่องราวในโลกดุนยาหรือไม่?
    14626 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/09
    นัยยะที่ได้จากกุรอานและฮะดีษจากบรรดามะอ์ศูมีนบ่งชี้ว่าภายหลังจากเสียชีวิตวิญญาณผู้ตายสามารถแวะเวียนมายังโลกนี้เพื่อจะรับทราบสารทุข์สุขดิบของญาติมิตรได้และหลักฐานทางศาสนาก็มิได้ปฏิเสธบทบาทของมะลาอิกะฮ์เกี่ยวกับเรื่องนี้แถมยังระบุไว้ชัดเจนอีกด้วยดังฮะดีษต่อไปนี้“แน่นอนว่าวิญญาณผู้ศรัทธาจะกลับมาเยี่ยมครอบครัวเขาจะได้เห็นสิ่งที่ดีงามแต่จะไม่ได้เห็นเรื่องที่ไม่พึงประสงค์”“อัลลอฮ์จะส่งมะลาอิกะฮ์มาพร้อมกับวิญญาณผู้ศรัแธาเพื่อชี้ให้เขาเห็นเฉพาะสิ่งที่น่ายินดี” ...
  • การสมรสจะช่วยส่งเสริมหรือเป็นตัวยับยั้งพัฒนาการทางศีลธรรมกันแน่? ศาสนาอิสลามและคริสต์เห็นต่างในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?
    6133 ปรัชญาของศาสนา 2554/09/11
    การสมรสเปรียบดั่งศิลาฤกษ์ของสังคมซึ่งมีคุณประโยชน์มากมายอาทิเช่นเพื่อบำบัดกามารมณ์สืบเผ่าพันธุ์มนุษย์เสริมพัฒนาการของมนุษย์ความร่มเย็นและระงับกิเลสตัณหาฯลฯในปริทรรศน์ของอิสลามการสมรสได้รับการเชิดชูในฐานะเกราะป้องกันกึ่งหนึ่งของศาสนาในเชิงสังคมการสมรสมีคุณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์เนื่องจากจะเสริมสร้างครอบครัวให้เป็นดั่งรวงรังอันอบอุ่นที่คนรุ่นหลังสามารถพึ่งพิงได้
  • จุดประสงค์ของการสร้างคืออะไร จงอธิบายเหตุผลในเชิงเหตุผลนิยม ถ้าเป้าหมายคือความสมบูรณ์แล้วทำไมพระเจ้าไม่ทรงสร้างมนุษย์ให้สมบูรณ์แบบ
    13095 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    พระเจ้าคือผู้ดำรงอยู่ที่ไม่มีความจำกัด พระองค์ทรงมีความสมบูรณ์แบบทุกประการ การสร้าง (บังเกิด) เป็นความงดงาม และพระองค์คือผู้มีความงดงามความงดงามอันสมบูรณ์แบบของพระองค์ เป็นตัวกำหนดว่าพระองค์ทรงสร้างทุกอย่างขึ้นตามคุณค่าของมัน ดังนั้น พระเจ้าทรงสร้างเป็นเพราะพระองค์คือผู้งดงาม หมายถึงจุดประสงค์และเป้าหมายในการสร้างของพระองค์นั้นงดงาม อีกด้านหนึ่งคุณลักษณะอาตมันของพระเจ้าไม่ได้แยกออกจากอาตมันของพระองค์ จึงสามารถกล่าวได้ว่าจุดประสงค์ของการสร้างคือ อาตมันของพระเพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาโดยให้มีแนวโน้มที่ดีและความชั่วร้ายภายใน และทรงประทานผู้เชิญชวนภายนอก 2 ท่าน ที่ดีได้แก่ศาสดา (นบี) และความชั่วร้ายได้แก่ชัยฎอน (ปีศาจ), ทั้งนี้มนุษย์สามารถบรรลุความสมบูรณ์สูงสุดของสรรพสิ่งที่อยู่หรือก้าวไปสู่ความชั่วช้าที่ต่ำทรามที่สุดก็เป็นได้ ทั้งที่มนุษย์นั้นมีพลังของเดรัจฉานและการลวงล่อของซาตานที่ล่อลวงอยู่ตลอดเวลา ...
  • การสัมผัสสิ่งที่เป็นนะญิสจะทำให้เราเป็นนะญิสด้วยหรือไม่? หากต้องการทำความสะอาดเราจะต้องอาบน้ำยกฮะดัษใหญ่หรือไม่?
    7339 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    หากสิ่งหนึ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิสโดยหนึ่งในสองหรือทั้งสองสิ่งนั้นมีความชื้นในลักษณะที่ถ่ายทอดถึงกันได้สิ่งสะอาดดังกล่าวก็จะเปื้อนนะญิสด้วย[1]สำหรับการทำความสะอาดสิ่งนั้นหลังจากที่ได้กำจัดธาตุนะญิสออกแล้วหากสิ่งที่เป็นนะญิสที่ไม่ใช่ปัสสาวะการล้างด้วยน้ำปริมาตรกุรน้ำปริมาตรก่อลี้ลหรือน้ำไหลผ่านถือว่าเพียงพอแล้ว       อิฮติยาตวาญิบให้บิดหรือสะบัดพรมเสื้อผ้าฯลฯเพื่อให้น้ำที่คงเหลืออยู่ในนั้นใหลออกมาหากต้องการทำความสะอาดสิ่งที่เป็นนะญิสโดยปัสสาวะจะต้องล้างด้วยน้ำก่อลี้ลโดยให้ราดน้ำหนึ่งครั้งโดยให้น้ำไหลผ่านหากไม่หลงเหลือปัสสาวะแล้วให้ราดน้ำอีกหนึ่งครั้งก็จะสะอาดแต่ในกรณีพรมหรือเสื้อผ้าและสิ่งทอประเภทอื่นๆทุกครั้งที่ราดน้ำจะต้องบีบหรือบิดจนน้ำไหลออกมา[2]ไม่ว่ากรณีใดข้างต้นก็ไม่จำเป็นจะต้องทำอาบน้ำยกฮะดัษนอกจากผู้ที่ได้สัมผัสศพก่อนอาบน้ำมัยยิตและหลังจากที่ศพเย็นลงแล้วในกรณีนี้นอกจากเขาจะต้องล้างส่วนๆนั้นของร่างกายที่สัมผัสกับศพแล้วเขาจะต้องทำกุซุลมัสส์มัยยิต(สัมผัสศพ)ด้วยเช่นกัน[3]หากสิ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิสโดยที่สองสิ่งดังกล่าวแห้งหรือมีความชื้นต่ำเสียจนไม่ถ่ายทอดถึงกันสิ่งที่สะอาดก็จะไม่เปื้อนนะญิส[4]
  • ทำไมเราจึงต้องมีเพียงสิบสองอิมามเท่านั้น ในยุคสมัยของอิมามที่ไม่ปรากฏตัว เราจะสามารถหาทางรอดพ้นได้อย่างไร?
    6368 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/03
    ตำแหน่งอิมามเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้า การกำหนดตัวบุคคลที่จะขึ้นมาเป็นอิมามและจำนวนของอิมามนั้นขึ้นกับพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าและทางเดียวที่เราจะสามารถรับรู้ถึงเจตนาดังกล่าวได้ก็คือฮะดีษของท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) นั่นเองท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวถึงบุคคลและจำนวนของอิมาม(อ
  • การลงโทษความผิดบาปต่างๆ บางอย่าง จะมากกว่าการลงโทษบาปอื่น ๆ บางอย่างใช่หรือไม่?
    8396 จริยธรรมทฤษฎี 2555/08/22
    อัลกุรอานและรายงานฮะดีซจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เข้าใจได้ว่า ความผิดต่างๆ ถ้าพิจารณาในแง่ของการลงโทษในปรโลกและโลกนี้ จะพบว่ามีระดับขั้นที่แตกต่างกัน อัลกุรอานถือว่า ชิริก คือบาปใหญ่และเป็นการอธรรมที่เลวร้ายที่สุด ทำนองเดียวกัน การกระทำความผิดบางอย่างได้รับการสัญญาเอาไว้ว่า จะต้องได้รับโทษทัณฑ์อย่างแน่นอน นั่นบ่งบอกให้เห็นว่า มันเป็นความผิดใหญ่นั่นเอง ในแง่ของการลงโทษความผิดทางโลกนี้ สำหรับความผิดบางอย่างนั้นคือ การเฆี่ยนตีให้หลาบจำ ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ แต่การลงโทษความผิดบางอย่าง เช่น การฆ่าคนตายโดยเจตนา จะต้องถูกประหารชีวิตให้ตายตกไปตามกัน หรือบาปบางอย่างนอกจากต้องโทษแล้ว ยังต้องจ่ายสินไหมเป็นเงินตอบแทนด้วย ...
  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    10312 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ฮุกุมของการขับร้องเพลงวันประสูติพร้อมกับการบรรเลง (ในงานเฉพาะสตรี)เป็นอย่างไร?
    5547 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    ในทัศนะของอิสลามเพลงบรรเลง[1]หรือการขับร้องที่มีลักษณะ“ฆินาอ์”ถือเป็นฮะรอมกล่าวคือไม่ว่าจะเป็นการร้อง, การแสดง, การฟังและการรับค่า

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59456 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56915 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41721 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38475 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38462 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33496 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27572 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27291 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27188 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25265 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...