การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10140
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/03/08
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1019 รหัสสำเนา 12544
คำถามอย่างย่อ
ทำไมจึงเกิดการทุจริตในรัฐบาลอิสลาม ?
คำถาม
ทำไมจึงเกิดการทุจริตในรัฐบาลอิสลาม ?
คำตอบโดยสังเขป

ปัจจัยการทุจริตและการแพร่ระบาดในสังคมอิสลาม -- จากมุมมองของพระคัมภีร์อัลกุรอานอาจกล่าวสรุปได้ในประโยคหนึ่งว่า : เนื่องจากไม่มีความเชื่อในพระเจ้า และการไม่ปฏิเสธมวลผู้ละเมิดทั้งหลาย (หมายถึงทุกสิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้าและไม่สีสันของพระเจ้า) ในทางตรงกันข้ามความเชื่อมั่นในอัลลอฮฺ (ซบ.) และการปฏิเสธบรรดาผู้ละเมิด ซึ่งเป็นไปในลักษณะของการควบคู่และร่วมกัน อันก่อให้เกิดความก้าวหน้า และความเป็นเลิศของบุคคลและสังคม[i]

อีกนัยหนึ่ง คุณภาพของมนุษย์และสังคมอิสลามจากพระเจ้านั้น อยู่ในกรอบของคำสอนศาสนาซึ่งพระองค์ได้มอบไว้ในอำนาจของมนุษย์ ขณะที่ถ้าหากมนุษย์ได้นำเอาบทบัญญัติของอิสลาม วิชาการ และบทบัญญัติด้านคุณธรรม มาเป็นครรลองในการปฏิบัติในมุมมองต่างๆ ของชีวิตด้วยเจตคติเสรี พร้อมทั้งให้คำตอบให้กับความต้องการอันเป็นธรรมชาติของตัวเอง และก้าวไปถึงยังวัตถุประสงค์ที่เป็นเป้าหมายในการสร้างเขาขึ้นมา และเขาสามารถประสบความสำเร็จได้ แต่ถ้าเป็นเพราะความลุ่มหลงที่เขามีต่อโลก และทุกสิ่งที่มีอยู่ในนั้น ละเมิดทุกคำสั่งสอนของศาสนา หรือนำเอาสิ่งเหล่านั้นไว้ใต้ฝ่าเท้า หรือเลือกปฏิบัติบทบัญญัติบางประการ อันไม่ก่อผลเสียหายต่อผลประโยชน์ทางโลกของตน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเท่ากับเขาได้เลือกปฏิบัติตามความพอใจ หรือปฏิบัติตามอำนาจฝ่ายต่ำของตน ด้วยเหตุนี้ สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นปัจจัยฉุดกระชากให้ตนเองและสังคมตกต่ำ ซึ่งปัจจัยสำคัญในการโน้มนำสังคมและชุมชนไปสู่ความล้าหลังและความตกต่ำ อันดับแรกคือผู้ปกครองหลังจากนั้นบรรดาผู้รู้ (อุละมาอ์) และนักวิชาการศาสนา ซึ่งคนเหล่านี้ทราบและรับรู้ความจริง แต่เงียบและไม่สนใจที่จะแก้ไชปัญหา หลังจากนั้นก็เป็นประชาชนโดยทั่วไป



[i] อัลกุรอานบทอันนะฮฺลิ โองการ 36 กล่าวว่าและโดยแน่นอน เราได้ส่งร่อซูลมาในทุกประชาชาติ (โดยบัญชาว่า) พวกท่าจงเคารพภักดีอัลลอฮฺ และจงหลีกหนีให้ห่างจากพวกเจว็ด ดังนั้น ในหมู่พวกเขามีผู้ที่อัลลอฮฺ ทรงชี้นำทางและในหมู่พวกเขามีการหลงผิดคู่ควรแก่เขา ฉะนั้น พวกเจ้าจงตระเวนไปในแผ่นดิน แล้วจงดูว่าบั้นปลายของผู้ปฏิเสธนั้นเป็นเช่นใด

นอกจากนี้อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 256, บทฏอฮา โองการ 123-124 ก็ได้กล่าวไว้ในทำนองเดียวกัน

คำตอบเชิงรายละเอียด

ความก้าวหน้าและความตกต่ำของสังคม ปัจจัยสำคัญที่สุดคือผู้ปกครองสังคม ผู้ปกครองสังคมถ้าหากเป็นคนมีศาสนาหรือมีความเคร่งครัดในระเบียบคำสอนของศาสนาอย่างสมบูรณ์ หรือมีความมั่นคงต่อคำสอน และแพร่ขยายนำไปสู่การปฏิบัติด้วยความละเอียดอ่อนในสังคม บรรดาผู้รู้และผู้มีบทบาทในสังคมต่างได้รับการสนับสนุนกันอย่างถ้วนหน้า ประชาชนทั่วไปก็ถือปฏิบัติตามผู้รู้และผู้ปกครองสังคม ทำให้พวกเขาได้ออกห่างจากความชั่วร้ายและสิ่งไม่ดีทั้งหลาย  แต่ถ้าผู้ปกครองคนนั้นไม่มีความเคร่งครัดในศาสนา ลุ่มหลงโลกและทรัพย์สฤงคาร หวงแหนในลาภยศสรรเสริญ ไม่ว่าจะด้วยวิถีทางใดก็ตาม อีกทั้งจมปรักอยู่กับกิเลสและความต้องการ ไม่ให้เกียรติผู้รู้และนักปราชญ์หรือใช้ประโยชน์ในทางที่ผิดจากพวกเขา ไม่สนใจที่จะแก้ไขปัญหาของสังคม หรือกดขี่เอารัดเอาเปรียบประชาชน แน่นอน จิตใจของประชาชนย่อมฟุ้งซ่านและมีความกระวนกระวายใจ ดังนั้น ถ้าหากผู้ปกครองไม่ต้องการที่จะปรับปรุงสังคมให้เป็นไปในทางที่ดี ส่วนประชาชนก็ไม่ช่วยกันกำชับความดีงาม หรือห้ามปรามความชั่วร้าย ทั้งหมดยึดถือวัฒนธรรมความชั่วร้ายที่คล้ายคลึงกัน ทั้งหมดลุ่มหลงและมีความยากได้ในทรัพย์ของคนอื่น แน่นอน ถ้าหากสังคมใดเป็นเช่นนี้พลเมืองของสังคมนั้นก็จะค่อยๆ ปนเปื้อนความสกปรกเหล่านั้นเหมือนกันทั้งหมด ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้นก็ตาม แน่นอน เป็นความยากลำบากอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่มีความสะอาดบริสุทธิ์ ที่เขาต้องการจะปกป้องศาสนาของเขาให้รอดปลอดภัย 

ด้วยเหตุนี้ จุดกำเนิดของความชั่วร้ายในสังคมเกิดจาก เริ่มจากความลุ่มหลงต่อโลก หลงตัวเอง หลงตำแหน่ง ทะเยอทะยานใฝ่สูงในยศถาบรรดาศักดิ์ ต้องการมีอิทธิพลต่อฝ่ายปกครอง ฉะนั้น ความเสื่อมศรัทธาในผู้ปกครองก็เกิดจากชนเหล่านี้ด้วยเหมือนกัน และถ้าหากประชาชนนิ่งเฉยต่อการกระทำของพวกเขาก็ต้องพลอยรับกรรมตามไปด้วย

ตัวอย่าง เมื่อคนเฉกเช่นยะซีดได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ปกครองสังคมอิสลาม ซึ่งเป้าหมายมิใช่สิ่งใดอื่นนอกจากความภาคภูมิใจและความใฝ่ฝันที่จะเป็นผู้ปกครอง, การแสวงหาอำนาจ ตำแหน่ง ทรัพย์สิน ชื่อเสียง กิเลส อำนาจใฝ่ต่ำ และการจมปรักอยู่กับความลุ่มหลงทางโลก นำเอาบุคคลที่เฉกเช่น นักรายงานฮะดีซผู้เผยแผ่ศาสนา ให้มารับผิดชอบเรื่องการปกครอง หรือนำเอาบุคคลอื่นเนื่องจากหวาดกลัว หรือห่วงในทรัพย์สินจึงได้นิ่งเงียบปล่อยทุกอย่างไปตามยะถากรรม และเนื่องจากเขาได้ทำลายประวัติศาสตร์และต้องการพลิกผันประวัติศาสตร์ให้เป็นอย่างอื่น จึงได้แนะนำผู้ปกครองว่าเป็นนักปราชญ์ทางศาสนา เขาได้วินิจฉัยผิดพลาดและปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของตน เขาจึงผิดพลาด ซึ่งความผิดพลาดของเขาได้สร้างบาปกรรมแก่ครอบครัวของท่านศาสดา (ซ็อล ) อย่างสาหัสที่สุด พวกเขาได้ถูกกดขี่ทรมาน แต่หลังจากนั้นผู้กระทำผิดได้แสร้งกลับตัวกลับใจ ลุแก่โทษต่อพระเจ้า ฉะนั้น ทุกคนจำเป็นต้องให้เกียรติเขา ไม่มีผู้ใดมีสิทธิที่จะแสดงความรังเกลียดเดียดฉันพวกเขา มิเช่นนั้นจะกลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา เมื่อประชาชนได้ยินได้ฟังสิ่งเหล่านี้โดยไม่กลั่นกรองให้ดี แต่กลับนำเอาคำพูดไร้แก่นสารบรรจุไว้ในโสตปราสาทของตน ดังนั้น เขาจะไม่มีวันทำลายความเสื่อมทรามทางสังคมให้หมดสิ้นไปได้ หรือจะมีความคาดหวังว่าสังคมจะก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ความเจริญได้อย่างแน่นอน

ฉะนั้น จะเห็นว่าปัจจัยที่ทำให้สังคมตกต่ำคือ การมีแนวคิดแบบฎอฆูต (ผู้อธรรมหรือละเมิด) และการละทิ้งศาสนาของพระเจ้า ซึ่งครอบคลุมพฤติกรรมดังต่อไปนี้

1) การปฏิเสธไม่ยอมรับบรรดาศาสดา (.) หรือการนำเอาโองการของพระเจ้าไว้ใต้ฝ่าเท้าของตน หรือการปฏิบัติตามคำสอนเหล่านั้นอย่างไม่สมบูรณ์ ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่าและหากว่าชาวเมืองนั้นได้มีศรัทธาและมีความยำเกรง แน่นอนเราก็คงเปิดวามจำเริญจากฟ้าและแผ่นดินให้แก่พวกเขา ทว่าพวกเขาปฏิเสธ ดังนั้น เราจึงได้ลงโทษพวกเขา เนื่องด้วยสิ่งที่พวกเขาขวนขวายไว้[1]

2) สังคมไร้ซึ่งความยุติธรรม ประกอบกับการมีผู้ปกครองที่เลวร้าย[2]

3) การความแตกแยก บ่อนทำลาย และสร้างความเสียหายบนหน้าแผ่นดิน[3]

4) การละทิ้งการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว การละทิ้งความอดทน การละเลยความดีให้ความสำคัญต่อความชั่ว หรือสนับสนุนส่งเสริมสิ่งไม่ดีไม่งามทั้งหลายทั้งปวง[4] หรือไม่ใส่ใจสิ่งใดทั้งสิ้น

5) ไม่บริจาค ไม่เสียสละทรัพย์สินและชีวิตเพื่อรับใช้หรือปกป้องอิสลาม มีความลุ่มหลงในทรัพย์สินสฤงคาร และหลงใหลในกิเลสตัณหา[5] 

หนทางบำบัดรักษา : แนวทางในการบำบัดรักษาดังที่กล่าวไปแล้วว่า ไม่มีสิ่งใดมากเกินเลยไปกว่าการมีศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และการละเว้นความเป็นฏอฆูตในแง่มุมของชีวิต โดยผ่านสมาชิกทุกคนในสังคมไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง นักปราชญ์ผู้รู้ หรือแม้แต่สามัญชนคนธรรมดาในระดับต่างๆ ของสังคม ถ้าหากมนุษย์คิดถึงความสูญสิ้นของโลกที่มีอายุขัยสั้นเพียงเล็กน้อยนี้ แน่นอน เขาก็จะมีชัยชนะเหนืออำนาจฝ่ายต่ำของตน เหนือกิเลสและความต้องการทางกามรมย์ของตน และจะไม่ลุ่มหลงหรือเคารพบูชาโลกเด็ดขาด ไม่หลงระเริงกับวัตถุปัจจัย แน่นอน เขาจะคำนึงถึงแต่ปรโลกที่มีความยืนยาวนาน และเป็นอมตะนิรันดร และพึงรู้ไว้ว่า มีผู้มองดูเราอยู่ตลอดเวลา มีผู้คอยเป็นห่วงสภาพเราเสมอ อีกทั้งคอยจดบันทึกการงานและความคิดของเขาตลอดเวลา ยังมีโลกอีกโลกหนึ่งหลังจากนี้ซึ่งในโลกนั้นเราจะต้องคอยคอบข้อซักถาม เกี่ยวกับการงานและความประพฤติของเราบนโลกนี้ โลกที่มีความอตมตะไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งไม่มีหนทางเลือกสรรหรือการทดแทนอีกแล้ว อีกนัยหนึ่งหนึ่ง ถ้าหากมนุษย์เลือกปฏิบัติตามธรรมชาติสมบูรณ์และสติปัญญาของตน ไม่ยึดถือปฏิบัติตามความพอใจหรืออำนาจฝ่ายต่ำอันเป็นพลังของเดรัจฉานที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ ยอมจำนนต่อความจริงและหลีกห่างความชั่วโดยแท้จริง ซึ่งสิ่งนี้ในความเป็นจริงหมายถึงการละเว้นความชั่วร้ายและความต่ำทรามบนหน้าแผ่นดิน เท่ากับตนได้เข้าใกล้ความเจริญผาสุก และความรุ่งเรืองทั้งโลกนี้และปรโลกหน้า

แน่นอน ในสังคมบางสังคมจะยึดถือเอาความชั่วร้ายและสิ่งไม่ดี เป็นมาตรฐานสำหรับวัดความเป็นมนุษย์ อารยธรรมและวัฒนธรรม หรือมาตรวัดการดำรงอยู่หรือแยกตัวไปจากศาสนา ความศรัทธาและการปฏิบัติคุณความดีกลับกลายเป็นปัญหาของสังคม เมื่อถึงเวลานั้นเราควรจะทำอย่างไร ? ถ้าหากบุคคลนั้นมีความสามารถและมีบทบาทต่อสังคม หรือเป็นผู้ปกครองคนอื่นอีกมากมายหลายคน ดังนั้น เป็นหน้าที่โดยตรงที่เขาจะต้องให้การชี้นำและเปลี่ยนแปลงสังคมเท่าที่สามารถทำได้ มิเช่นนั้นแล้วความอดทนและความอดกลั้นก็จะไร้ซึ่งความหมาย ต้องหลีกเลี่ยงคำด่าประจารเพื่อปกป้องศาสนาของตน ที่สำคัญต้องมีความหลงใหลในการปกป้องศาสนา และต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ (ซบ.) และบรรดาหมู่มวลมิตรของพระองค์ เพื่อให้ตนมีความมั่นคงในการยืนหยัดต่อสู้เพื่อศาสนาตลอดไป หรือทำการชี้นำบุคลลอื่นเท่าที่สามารถทำได้เพื่อพวกเขาจะได้ไม่หลงทาง อินชาอัลลอฮฺ ในไม่ช้านี้เราจะได้พบกับการปรากฏกายของผู้ให้ความช่วยเหลือมวลมนุษยชาติ มะฮฺดียฺ (.) ผู้จะมาปลดปล่อยและสร้างความยุติธรรมบนหน้าแผ่นดิน

แหล่งอ้างอิง :

1. อัลกุรอานกะรีม

2. ตัฟซีรเนะฮฺมูเนะฮฺ ตัฟซีรมีซาน ตอนอธิบายโองการดังกล่าวซึ่งปรากฏในเชิงอรรถ

3. เฏาะบาเฏาะบาอีย์ มุฮัมมัดฮุเซน วิเคราะห์อิสลาม สำนักพิมพ์ ฮิจญ์รัต กุม หน้า 158 และ 97

4. มุเฏาะฮะรียฺ มุรตะฏอ ญามิอ์และตารีค สำนักพิมพ์ อินติชารอตอิสลาม กุม



[1] อัลกุรอาน บทอะอ์รอฟ โองการที่ 96

[2] อัลกุรอาน บทอัลเกาะซ็อซ โองการที่ 2

[3] อัลกุรอาน บท อันอาม 65,53, อันฟาล 46

[4] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน 104,113,110, บทมาอิดะฮฺ 79

[5] อัลกุรอาน บทมาอิดะฮฺ โองการที่ 33

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวชื่อรุก็อยยะฮ์หรือสะกีนะฮ์ไช่หรือไม่ ที่เสียชีวิตที่ดามัสกัสขณะอายุได้สามหรือสี่ขวบ?
    7241 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    แม้ว่านักประวัติศาสตร์จะมิได้กล่าวถึงบุตรสาวตัวน้อยของอิมามฮุเซน(อ.) ที่มีนามว่ารุก็อยยะฮ์หรือฟาฏิมะฮ์ศุฆรอฯลฯแต่ตำราบางเล่มก็สาธยายเรื่องราวอันน่าเวทนาของเด็กหญิงคนนี้ณซากปรักหักพังในแคว้นชามเราพบว่ามีเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปรากฏในตำราประวัติศาสตร์บางเล่มอาทิเช่นก. เมื่อท่านหญิงซัยนับ(ส.) ได้เห็นศีรษะของอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นพี่ชายนางได้รำพึงรำพันบทกวีที่มีเนื้อหาว่า “โอ้พี่จ๋าโปรดคุยกับฟาฏิมะฮ์น้อยสักนิดเถิดเพราะหัวใจนางกำลังจะสูญสลาย”
  • เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย ?
    10558 สิทธิและกฎหมาย 2554/04/21
    หนึ่งในสาเหตุที่ส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายมากกว่าฝ่ายหญิงคือเรืองค่าเลี้ยงดูของหญิงอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชายกล่าวคือฝ่ายชายนอกจากจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตนแล้วยังมีหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายประจำวันของฝ่ายหญิงและบรรดาลูกๆอีกด้วยอีกด้านหึ่งฝ่ายชายต้องเป็นผู้จ่ายมะฮฺรียะฮฺส่วนฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายรับมะฮฺรียะฮฺนั้นตามความเป็นจริงสามารถกล่าวได้ว่าสิ่งที่ฝ่ายหญิงได้รับในฐานะของมรดกหรือมะฮฺรียะฮฺนั้นก็คือทรัพย์สะสมขณะที่ส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายถูกใช้ไปเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของตนของภรรยาและบรรดาลูกๆนอกจากนี้แล้ว
  • การจ่ายคุมซ์เป็นทรัพย์สินเพียงครั้งเดียว แล้วต่อไปไม่วาญิบต้องจ่ายคุมซ์อีกใช่หรือไม่?
    5650 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ดั่งเป็นที่ทราบกันดีว่าคุมซ์คือหนึ่งในการบริจาคทรัพย์อันเป็นวาญิบสำคัญในอิสลามเป็นหนึ่งในหลักการอิสลามและเป็นอิบาดะฮฺด้วยด้วยสาเหตุนี้เองจำเป็นต้องเนียต (ตั้งเจตคติ) เพื่อแสวงความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ (ซบ.)ทรัพย์สินและเงินทุนต่างๆที่ต้องจ่ายคุมซ์ถ้าหากจ่ายคุมซ์ไปแล้วเพียงครั้งเดียวไม่วาญิบต้องจ่ายคุมซ์อีกแม้ว่ากาลเวลาจะผ่านพ้นไปนานหลายปีก็ตามแต่ถ้าเป็นทรัพย์ที่เติบโตหรือมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิมทุนเดิมไม่ต้องจ่ายคุมซ์แต่ส่วนที่เป็นผลกำไรงอกเงยอออกมาวาญิบต้องจ่ายคุมซ์[1][1]  เตาฏีฮุลมะซาอิลมะริญิอฺ
  • การแสวงหาความต้องการอื่น ๆ นอกจากพระเจ้า เช่นขอจากบบี (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เป็นชิริกหรือไม่ เพราะในความเป็นจริงผู้ตอบสนองความต้องการคือพระเจ้า
    7825 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    การให้ความเคารพการย้อนกลับการขอความต้องการไปยังผู้ทรงเกียรติ (พระศาสดาและบรรดาอิมาม) ถ้าหากมีเจตนาว่าพวกเขามีบทบาทต่อการเกิดผลและสามารถปลดเปลื้องความต้องการของเราได้โดยเป็นอิสระจากพระเจ้าหรือปราศจากการพึ่งพิงไปยังอาตมันสากลของพระองค์การมีเจตนารมณ์เช่นนี้ถือว่าเป็นชิริกอีกทั้งขัดแย้งกับเตาฮีดอัฟอาล (ความเป็นเอกภาพในการกระทำ) เนื่องจากพระองค์ปราศจากการพึ่งพิงไปยังสิ่งอื่นขณะที่สิ่งอื่นต้องพึ่งพิงไปยังพระองค์ขัดแย้งกับเตาฮีดรุบูบียะฮฺ(อำนาจบริหารและบริบาลเป็นของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวส่วนบรรดาศาสดามะลักหรือปัจจัยทางธรรมชาติเป็นเพียงสื่อของพระองค์)
  • ทั้งที่พจนารถของอิมามบากิรและอิมามศอดิกมีมากมาย เหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมไว้ในหนังสือสักชุดหนึ่ง?
    6643 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    หากจะพิจารณาถึงสังคมและยุคสมัยของท่านอิมามบากิร(อ.)และอิมามศอดิก(อ.)ก็จะเข้าใจได้ว่าเหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมตำราดังกล่าวขึ้นอย่างไรก็ดีฮะดีษของทั้งสองท่านได้รับการรวบรวมไว้ในบันทึกที่เรียกว่า “อุศู้ลสี่ร้อยฉบับ” จากนั้นก็บันทึกในรูปของ”ตำราทั้งสี่” ต่อมาก็ได้รับการเรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ฟิกเกาะฮ์ในหนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์กว่าสามสิบเล่มโดยท่านฮุรอามิลีแต่กระนั้นก็ต้องทราบว่าแม้ว่าฮะดีษของอิมามสองท่านดังกล่าวจะมีมากกว่าท่านอื่นๆก็ตามแต่หนังสือดังกล่าวก็มิได้รวบรวมเฉพาะฮะดีษของท่านทั้งสองแต่ยังรวมถึงฮะดีษของอิมามท่านอื่นๆอีกด้วย ทว่าปัจจุบันมีการเรียบเรียงหนังสือในลักษณะเจาะจงอยู่บ้างอาทิเช่นมุสนัดอิมามบากิร(อ.) และมุสนัดอิมามศอดิก(
  • ท่านอิมามอลี(อ.)อธิบายถึงการก้าวสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์บทใด?
    6542 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/28
    ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวถึงการก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์ที่สามซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนาม “คุฏบะฮ์ชิกชิกียะฮ์” จากคำที่ท่านกล่าวตอนท้ายคุฏบะฮ์คุฏบะฮ์นี้มีเนื้อหาครอบคลุมคำตัดพ้อของท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับประเด็นคิลาฟะฮ์และเล่าถึงความอดทนต่อการสูญเสียตำแหน่งดังกล่าวอีกทั้งเหตุการณ์ที่ประชาชนให้สัตยาบันต่อท่านซึ่งจะนำเสนอรายละเอียดในคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • ตามคำสอนของศาสนาอื่น นอกจากอิสลาม, สามารถไปถึงความสมบูรณ์ได้หรือไม่? การไปถึงเตาฮีดเป็นอย่างไร?
    10029 เทววิทยาใหม่ 2554/06/21
    แม้ว่าปัจจุบันนี้จะมีความถูกต้องอยู่บ้างในบางศาสนาดั่งที่เราได้เห็นประจักษ์กับสายตาตัวเอง, แต่รูปลักษณ์ที่สมบูรณ์ของความจริงซึ่งได้แก่เตาฮีด, มีความประจักษ์ชัดเฉพาะในศาสนาอิสลามเท่านั้น, เหตุผลหลักสำหรับการพิสูจน์คำพูดดังกล่าว,คือการไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้การถูกบิดเบือนและความบกพร่องต่างๆทางปัญญาในศาสนาต่างๆขณะที่ด้านตรงข้าม, การไม่ถูกเปลี่ยนแปลงและไม่ถูกสังคายนาของอัลกุรอาน, มีหลักฐานและประวัติที่เชื่อถือได้, คำสอนที่ครอบคลุมของอิสลาม, การเข้ากันได้อย่างเป็นธรรมชาติของคำสอนอิสลามกับสติปัญญาสมบูรณ์ ...
  • น้ำยาบ้วนปากซึ่งโดยปกติแล้วจะมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมอยู่ จะมีฮุกุ่มอย่างไร?
    8331 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    แอลกอฮอล์ชนิดที่ยังคลางแคลงใจว่าเป็นน้ำเมา[1]แต่เดิมหรือไม่นั้นให้ถือว่าสะอาดและสามารถค้าขายหรือใช้ผลิตพันธ์ที่มีแอลกอฮอล์ดังกล่าวเป็นส่วนผสมได้ตามปกติ[2]
  • ในอายะฮ์ "وَمَنْ عَادَ فَینتَقِمُ اللّهُ مِنْهُ وَاللّهُ عَزِیزٌ ذُو انْتِقَامٍ"، สาเหตุของการชำระโทษคืออะไร
    7045 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/05
    อายะฮ์ที่ได้ยกมาในคำถามข้างต้นนั้นเป็นอายะฮ์ที่ถัดจากอายะฮ์ก่อนๆในซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ซึ่งมีเนื้อหาว่าการล่าสัตว์ขณะที่กำลังครองอิฮ์รอมถือเป็นสิ่งต้องห้ามในที่นี่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้กล่าวว่าผู้ใดที่ได้ละเมิดขอบเขตของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) กล่าวคือไม่ยี่หระสนใจเกี่ยวกับข้อห้ามในการล่าสัตว์ในขณะที่ครองอิฮ์รอมอยู่โดยได้ล่าสัตว์ขณะที่กำลังทำฮัจญ์  อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ก็จะชำระโทษพวกเขาดังนั้นสาเหตุของการชำระโทษในที่นี้ก็คือการดื้อดึงที่จะทำบาปนั้นเอง[1]ใครก็ตามที่ได้กระทำสิ่งต้องห้าม (ล่าสัตว์ขณะครองอิฮ์รอม) พระองค์ย่อมจะสำเร็จโทษเขาอายะฮ์ดังกล่าวต้องการแสดงให้เห็นว่าบาปนี้เป็นบาปที่ใหญ่หลวงถึงขั้นที่ว่าผู้ที่ดื้อแพ่งจะกระทำซ้ำไม่อาจจะชดเชยบาปดังกล่าวได้ในอันดับแรกสามารถชดเชยบาปได้โดยการจ่ายกัฟฟาเราะฮ์และเตาบะฮ์แต่ถ้าหากได้กระทำบาปซ้ำอีกอัลลอฮ์จะชำระโทษผู้ที่ฝ่าฝืนเนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้มีชัยและเป็นจ้าวแห่งการชำระโทษและสำนวนอายะฮ์นี้แสดงให้เห็นว่าบาปดังกล่าวเป็นบาปที่ใหญ่หลวงสำหรับปวงบ่าวนั่นเอง[2]คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด[1]มัฆนียะฮ์, มุฮัมหมัดญะวาด
  • การบนบานแบบใหนสัมฤทธิ์ผลตามต้องการมากที่สุด?
    13663 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/28
    นะซัร(บนบานต่ออัลลอฮ์) คือวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ได้รับในสิ่งที่ต้องการซึ่งมีพิธีกรรมเฉพาะตัวอาทิเช่นจะต้องเปล่งประโยคเฉพาะซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาอรับตัวอย่างเช่นการเปล่งประโยคที่ว่า“ฉันขอนะซัรว่าเมื่อหายไข้แล้ว

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60190 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57650 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42267 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39476 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38994 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34050 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28063 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28048 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27885 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25866 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...