การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
60135
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/07
 
รหัสในเว็บไซต์ fa925 รหัสสำเนา 14906
คำถามอย่างย่อ
อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
คำถาม
กรุณาชี้แจงหน้าที่ทางกฏหมายที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามี และอยากทราบว่าสามีมีสิทธิเรียกร้องให้ภรรยากระทำสิ่งใดได้บ้าง?
คำตอบโดยสังเขป

ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:
1. ยอมรับภาวะผู้นำของสามี: หากเกิดปัญหาครอบครัว สามีควรได้รับสิทธิชี้ขาดในการแก้ปัญหา อย่างไรก็ดี สามีไม่ควรลุแก่อำนาจ และใช้สิทธิดังกล่าวจนกระทั่งขัดต่อศาสนาและกฏหมาย และขัดต่อความราบรื่นของชีวิตคู่
2. การยินยอมเรื่องเพศสัมพันธ์: ภรรยาจะต้องยินยอมให้สามีมีเพศสัมพันธ์ตามปกติวิสัย และตามแต่สุขภาพกายและใจจะอำนวย เว้นแต่จะมีเหตุจำเป็นต้องงด อย่างเช่น ขณะมีรอบเดือนหรือขณะป่วยไข้
3. ยินยอมสามีในเรื่องภูมิลำเนาที่อยู่อาศัย: ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่สามีโอนสิทธิดังกล่าวแก่ภรรยาแล้ว และไม่รวมถึงกรณีที่จะส่งผลให้ภรรยาเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของภรรยา
4. เชื่อฟังสามีในเรื่องการออกนอกบ้าน และการพาผู้อื่นเข้ามาในบ้านตามเหมาะสม: ยกเว้นกรณีที่สามีห้ามไม่ให้เดินทางไปทำฮัจย์วาญิบ หรือกรณีที่ต้องเข้ารับการรักษา หรือหากการอยู่ในบ้านเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อชีวิต สุขภาพ หรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง.
5. เชื่อฟังสามีในเรื่องการเข้าทำงาน หรือการเลือกประเภทงาน ในกรณีที่ขัดต่อกาลเทศะ สถานภาพและความเหมาะสมของทั้งสองฝ่าย

คำตอบเชิงรายละเอียด

พระผู้เป็นเจ้าได้สร้างทั้งชายและหญิงให้มีลักษณะที่หากปราศจากเพศตรงข้าม แต่ละเพศจะไม่สามารถถือกำเนิดและดำรงชีวิตต่อไปได้ ไม่สามารถบำบัดความต้องการทางกายและจิตใจโดยลำพังอย่างสมบูรณ์ ไม่สามารถพัฒนาตนทั้งในแง่จิตวิญญาณและศาสนาไม่ว่าจะในเชิงปัจเจกหรือสังคม ประหนึ่งว่าแต่ละเพศเมื่อหลอมรวมกันแล้วจะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์ แต่หากแยกจากกันก็จะมีความบกพร่องที่ต้องได้รับการเติมเต็ม[1]
คุณลักษณะดังกล่าวเมื่อนำมาพิจารณาถึงความแตกต่างในแง่ร่างกายและจิตใจของชายหญิง อัลลอฮ์จึงทรงกำหนดสิทธิและหน้าที่[2]ของสามีภรรยาไว้ทั้งในลักษณะรวมและเฉพาะแต่ละเพศ ทั้งนี้ก็เพื่อสนองความต้องการทั้งในโลกนี้และโลกหน้าอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

ผู้รู้ทางศาสนาให้ความสำคัญต่อสิทธิหน้าที่ของสามีภรรยาทั้งในทางฟิกเกาะฮ์(นิติศาสตร์อิสลาม)[3] จริยธรรม[4] และกฏหมายแพ่ง[5] ทั้งนี้ก็เนื่องจากสิทธิและหน้าที่ทางจริยธรรมเปรียบเสมือนเสาหลักที่ค้ำประกันสิทธิหน้าที่ทางกฏหมายแพ่ง[6] ส่วนสิทธิหน้าที่ทางฟิกเกาะฮ์ก็มีส่วนคล้ายคลึงกับสิทธิหน้าที่ทางกฏหมาย เราจึงขอนำเสนอสิทธิและหน้าที่ทางจริยธรรมและกฏหมายอิสลามดังต่อไปนี้:

ส่วนแรก: หน้าที่ทางจริยธรรมอิสลามของภรรยา
จากเนื้อหาของฮะดีษทำให้เราสามารถจำแนกหน้าที่ของภรรยาออกเป็นสองส่วน นั่นคือ คุณค่าของการปฏิบัติหน้าที่ต่อสามี และรายละเอียดหน้าที่
. คุณค่าของการปฏิบัติหน้าที่ต่อสามี
1.ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า“หากอนุมัติให้ศิโรราบต่อสิ่งที่มิไช่พระเจ้า ฉันจะบอกให้เหล่าภรรยาศิโรราบต่อสามี”
2. สิทธิของสามี มีมากกว่าสิทธิของผู้ใดเหนือภรรยา
3. ญิฮาดของภรรยาคือการอดทนต่อพฤติกรรมไม่ดีของสามี
4. ภรรยาไม่ควรยั่วโทสะสามี แม้ว่าสามีจะทำให้เธอไม่สบายใจ
5. ภรรยาที่ไม่ได้รับความพอใจจากสามี ศาสนกิจของเธอจะไม่ได้รับการตอบรับ
6. ภรรยาที่ไม่รู้คุณสามี จะไม่ได้รับผลบุญใดๆจากศาสนกิจ[7]

ข. รายละเอียดหน้าที่ของภรรยา
1. ภรรยาไม่ควรเผลอใจแก่ชายอื่น มิเช่นนั้นจะถือเป็นหญิงผิดประเวณีในทัศนะของพระองค์
2.
ภรรยาไม่ควรปฏิเสธกามารมณ์ของสามี และควรตอบรับหากสามีขอร่วมหลับนอนแม้บนพาหนะ ไม่ว่าช่วงวันหรือกลางคืน แต่หากไม่เป็นไปตามนี้ เธอจะถูกมวลมะลาอิกะฮ์ละอ์นัต(ประณาม)
3
. ภรรยาไม่ควรถือศีลอดสุหนัต(ภาคอาสา)หากไม่ได้รับการยินยอมจากสามี (นี่คือคำสอนเชิงสัญลักษณ์ และน่าจะหมายรวมถึงศาสนกิจสุหนัตทุกประการ)
4. ภรรยาไม่ควรนมาซให้ยาวนาน หากจะทำให้ไม่สามารถสนองความต้องการเร่งด่วนของสามีได้
5. ภรรยาไม่ควรให้ทรัพย์สินแก่ผู้ใดแม้แต่เศาะดะเกาะฮ์ หากสามีไม่ยินยอม
6. ภรรยาไม่ควรออกนอกบ้านหากสามีไม่ยินยอม มิเช่นนั้นจะถูกประณามโดยมะลาอิกะฮ์แห่งชั้นฟ้าและแผ่นดิน รวมถึงมะลาอะฮ์แห่งความเมตตาและความกริ้ว[8]
7. ภรรยาควรเสริมสวย ใช้เครื่องหอม และประดับประดาตนเพื่อสามีเท่านั้น และหากกระทำไปเพื่อชายอื่น นมาซของเธอจะไม่ได้รับการตอบรับ.[9]

ส่วนที่สอง: หน้าที่ตามบทบัญญัติอิสลาม
ประกอบด้วยหมวดหน้าที่ร่วมกันของทั้งสามีและภรรยา และหน้าที่จำเพาะสำหรับภรรยา
ก. หน้าที่ร่วมกันของสามีและภรรยา
:
1.
มีปฏิสัมพันธ์อย่างอบอุ่น: สามีและภรรยาต่างมีหน้าที่ในการแสดงอัธยาศัยไมตรีอันดีต่อกัน ไม่ว่าจะในแง่การกระทำ วาจา หรือแม้แต่สีหน้า และจะต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่สร้างความร้าวฉาน นอกจากจะมีข้อยกเว้นในแง่บทบัญญัติ กฏหมาย หรือวิถีประชา
2. ถ้อยทีถ้อยอาศัย:
สามีภรรยาจะต้องร่วมมือร่วมใจกันสร้างเสริมสถาบันครอบครัวให้ก้าวหน้ามั่นคง ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวขึ้นอยู่กับวัตรปฏิบัติในแต่ละสังคม กาลเทศะ ขนบธรรมเนียม และสถานภาพของทั้งสองฝ่าย ตัวอย่างเช่น หากธรรมเนียมสังคมกำหนดว่าภาระในบ้าน การเลี้ยงดูและให้นมบุตรเป็นหน้าที่ของภรรยา และกำหนดว่าภาระนอกบ้านเป็นหน้าที่ของสามี ทั้งสองฝ่ายก็ควรประสานงานกันตามธรรมเนียมดังกล่าว
3. การเลี้ยงดูบุตรธิดา:
สามีภรรยาจะต้องทุ่มเทเอาใจใส่ในการเลี้ยงดูบุตรธิดาตามอัตภาพ กาลเทศะ และระดับความคาดหวังในแต่ละสังคม
4. ซื่อสัตย์ต่อกัน:
สามีภรรยาจะต้องไม่มีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางผิดประเวณีกับผู้อื่น

ข. หน้าที่จำเพาะภรรยาตามบทบัญญัติ
1. ยินยอมต่อภาวะผู้นำของสามี: หากเกิดปัญหาขึ้นในครอบครัว สามีควรได้รับสิทธิตัดสินชี้ขาด อย่างไรก็ดี หน้าที่ดังกล่าวของสามีไม่ควรเป็นไปในลักษณะที่ขัดต่อหลักอัธยาศัยไมตรีและหลักถ้อยทีถ้อยอาศัย รวมทั้งจะต้องไม่ขัดต่อหลักศาสนาและกฏหมายแพ่ง อันเกิดจากการลุแก่อำนาจของสามี

2. ตัมกีน[10]: ภรรยาจะต้องยินยอมให้สามีมีเพศสัมพันธ์ตามปกติวิสัย และตามแต่สุขภาพกายและใจจะอำนวย เว้นแต่จะมีเหตุจำเป็นทางศาสนาหรือกฏหมายที่ต้องงด อย่างเช่น ขณะมีรอบเดือนหรือขณะป่วยไข้

3. ยินยอมสามีในเรื่องภูมิลำเนาที่อยู่อาศัย: ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่สามีโอนสิทธิในการตัดสินใจให้แก่ภรรยาแล้ว และไม่รวมถึงกรณีที่จะส่งผลให้ภรรยาเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของภรรยา

4. เชื่อฟังสามีในเรื่องการออกนอกบ้าน และการพาผู้อื่นเข้ามาในบ้านตามเหมาะสม: ยกเว้นกรณีที่สามีห้ามไม่ให้เดินทางไปทำฮัจย์วาญิบ หรือกรณีที่ต้องเข้ารับการรักษา หรือหากการอยู่ในบ้านเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อชีวิต สุขภาพ หรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง.

5. เชื่อฟังสามีในเรื่องการเข้าทำงาน หรือการเลือกประเภทงาน ในกรณีที่ไม่ขัดต่อกาลเทศะ สถานภาพและความเหมาะสมทางสรีระและจิตใจของทั้งสองฝ่าย

ทั้งหมดนี้เป็นการประมวลหน้าที่ของภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามีอย่างคร่าวๆ และเพื่อให้หัวข้อนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จะขอนำเสนอภาระหน้าที่ๆสามีพึงปฏิบัติต่อภรรยาโดยสังเขปดังนี้

ส่วนที่สาม: หน้าที่ของสามีต่อภรรยา
หน้าที่ของสามีต่อภรรยาแบ่งออกเป็นสองประเภท หน้าที่ทางจริยธรรม และหน้าที่ทางบทบัญญัติ
ก. หน้าที่ทางจริยธรรม
: เนื้อหาของฮะดีษได้จำแนกออกเป็นสองส่วน นั่นคือ คุณค่าของการประพฤติดีต่อภรรยา และรายละเอียดหน้าที่
หนึ่ง
: คุณค่าของการประพฤติดีต่อภรรยา
1. การมอบความรักแด่ภรรยาคืออุปนิสัยของบรรดานบี[11]
2. การสารภาพรักต่อภรรยาจะไม่เลือนหายไปจากใจเธอ
3. ให้อภัยภรรยาหากแสดงเธอพฤติกรรมไม่ดี
4. ประพฤติต่อเธออย่างทะนุถนอมเอาใจใส่
5. ชายที่ประเสริฐสุดในทัศนะของพระองค์คือ สามีที่มีความประพฤติดีที่สุดต่อภรรยา
6. ชายที่เป็นที่รักที่สุด คือสามีที่ประพฤติดีต่อภรรยาบ่อยที่สุด
7. ต้องหวั่นเกรงการตัดสินของพระองค์ หากไม่ระมัดระวังสิทธิของภรรยา.

สอง: รายละเอียดหน้าที่ทางจริยธรรม
1. มองภรรยาในฐานะดอกไม้ที่ควรค่าแก่การทะนุถนอม มิไช่สาวใช้ในบ้าน ทั้งนี้ก็เพื่อคงไว้ซึ่งความสดใสสวยงามของเธอ และไม่คาดหวังจากเธอในสิ่งที่เกินเลยความสามารถ
2. ตระเตรียมปัจจัยสี่และเครื่องประดับให้เหมาะสมสำหรับเธอ โดยเฉพาะสำหรับวันอีด
3. สอบถามความเห็นของภรรยาในเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตคู่
4. รักษาสิทธิภรรยาในแง่กิจกรรมทางเพศ

ข. ภาระหน้าที่ตามบทบัญญัติ
แบ่งออกเป็นสองส่วน หน้าที่รวมสำหรับสามีภรรยา(ซึ่งได้กล่าวไปแล้ว) และหน้าที่จำเพาะสำหรับสามี

ส่วนที่สี่: หน้าที่จำเพาะของสามี
ก. หน้าที่ในเรื่องค่าใช้จ่าย
1. จัดหาอาหารที่เหมาะสมกับฐานะภาพของภรรยา
2.
จัดหาเครื่องแต่งกายที่เหมาะสมกับฐานะภาพของภรรยา
3. จัดหาเครื่องประดับที่เหมาะสมกับฐานะภาพของภรรยา
4. จัดหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับฐานะภาพของภรรยา
5. จัดหาคนช่วยทำงานบ้านหากจำเป็น ตามความเหมาะสมกับฐานะภาพของภรรยา หรือในกรณีที่ภรรยาล้มป่วย
6. จัดหาหยูกยาและให้การรักษาภรรยาหากล้มป่วย[12]

ข. หน้าที่ในการร่วมหลับนอน
กฏหมายทั่วไปมิได้ชี้ชัดในจุดนี้โดยระบุไว้เพียงหลักอัธยาศัยไมตรีอันดีต่อกัน ทว่าผู้รู้ทางศาสนาได้นำเสนอประเด็นดังกล่าวไว้ดังนี้
:
1.
หลังพิธีแต่งงานแล้ว ภรรยามีสิทธิเหนือสามีในการร่วมเตียงเคียงหมอนดังนี้
หากเป็นสาวพรหมจรรย์ สามีมีหน้าที่จะต้องอยู่กับเธอไม่น้อยกว่าเจ็ดคืน แต่หากเป็นหญิงที่ผ่านการแต่งงานแล้ว สามีมีหน้าต้องอยู่กับเธอไม่น้อยกว่าสามคืน โดยหลังจากช่วงเวลาดังกล่าว หากเธอเป็นภรรยาคนเดียวของสามี ภายในสี่คืน สามีมีหน้าที่ต้องอยู่กับเธออย่างน้อยหนึ่งคืน แต่หากมีภรรยาหลายคน สามีมีหน้าที่ต้องอยู่กับภรรยาแต่ละคนไม่น้อยกว่าหนึ่งคืนต่อสี่คืน[13]

2.
หน้าที่ด้านกิจกรรมทางเพศ: สามีมีหน้าที่จะต้องประกอบกามกิจกับภรรยาไม่ต่ำกว่าหนึ่งครั้งต่อสี่เดือน ซึ่งถือเป็นสิทธิของภรรยาอย่างหนึ่ง.



[1] เอกสารประกอบการสอนวิชาสิทธิสตรีในอิสลาม,อาจารย์มิศบาฮ์ ยัซดี,ครั้งที่ 209 ,หน้า  2096.

[2] ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์,233 และ, อันนิซาอ์,4 และ, อันนะฮ์ลิ,72 และ, อัรรูม,21 ตลอดจนโองการอื่นๆที่เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสามีภรรยา.

[3] บรรดาผู้รู้ศาสนาและมัรญะอ์ตั้กลีดมักนำเสนอหัวข้อสิทธิและหน้าที่ภรรยาไว้ในหมวดการแต่งงานถาวร บทการนิกะฮ์.

[4] สิ่งที่ได้นำเสนอไปเกี่ยวกับหน้าที่ต่างๆในข้อเขียนนี้ อ้างอิงจากฮะดีษของบรรดามะศูมีน(อ.)ที่รายงานในหนังสือ“ฮิลยะตุ้ลมุตตะกีน”บทที่หก,หมวดที่สี่,ที่นำเสนอเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสามีภรรยา.

[5] จำต้องทราบถึงข้อแตกต่างระหว่างหน้าที่ทางจริยธรรมกับหน้าที่ทางกฏหมายแพ่งเกี่ยวกับครอบครัวดังนี้ 1. ข้อแนะนำทางจริยธรรมตั้งอยู่บนพื้นฐานของปัญญาและศาสนา แต่กฏหมายจะต้องตราขึ้นโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเท่านั้น อาทิเช่นฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ 2. ข้อแนะนำทางจริยธรรมเป็นไปเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับพระเจ้า,ตนเองและผู้อื่น แต่กฏหมายนั้นตราขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขตความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับคนในสังคม 3. ข้อแนะนำทางจริยธรรมมีเป้าหมายเพื่อบรรลุถึงสัมพันธภาพระหว่างบุคคลกับพระเจ้า แต่กฏหมายตราขึ้นเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมทางโลก และเพื่อบริหารให้ชีวิตราษฎรเป็นไปอย่างราบรื่น 4. ข้อแนะนำทางจริยธรรมเน้นเจตนาเป็นหลัก ในขณะที่กฏหมายเน้นการกระทำเป็นหลัก 5. ข้อแนะนำทางจริยธรรมบ่งบอกถึงลักษณะนิสัยเชิงบวกของบุคคลได้มากกว่าข้อบังคับทางกฏหมาย 6. ข้อแนะนำทางจริยธรรมบางประการเป็นสุหนัต(ภาคอาสา) แต่ข้อกฏหมายล้วนเป็นข้อบังคับทุกประการ 7. ข้อแนะนำทางจริยธรรมมีแรงบันดาลใจทั้งโลกนี้และโลกหน้า แต่ข้อกฏหมายขึ้นอยู่กับอำนาจทางตำรวจทหารเท่านั้น. ดู: ปรัชญาจริยธรรม และเอกสารประกอบการบรรยายวิชาสารธรรมกุรอาน,ครั้งที่ 177.

[6] ข้อกฏหมายที่นำเสนอในข้อเขียนนี้อ้างอิงจากมาตรา1112 ถึง1117 กฏหมายแพ่งและกฏหมายฟ้องร้อง(ของอิหร่าน)ในหนังสือกฏหมายแพ่ง,เล่ม 4 ,หน้า 5 .เขียนโดยดร.ฮุเซน อิมามี และหนังสือกฏหมายครอบครัว,เล่ม1,โดยดร.ฮะซัน ศะฟออี และอะสะดุลลอฮ์ อิมามี.

[7] ฮิลยะตุ้ลมุตตะกีน,อ.มัจลิซี,บทที่ 6 ,หน้า 76-77.

[8] หนึ่งในข้อแตกต่างก็คือ ผู้รู้ทางศาสนาให้ความเห็นว่าภรรยามีสิทธิเรียกร้องค่าเหนื่อยในการทำงานบ้านจากสามี ในขณะที่นักกฏหมายบางคนเชื่อว่าการทำงานบ้านรวมอยู่ในหน้าที่การประสานความร่วมมืออยู่แล้ว และไม่ควรเรียกร้องค่าจ้างในการปฏิบัติหน้าที่ๆต้องกระทำ, กฏหมายครอบครัว,ศะฟออีและอิมามี,เล่ม1, หน้า162.

[9] ฮิลยะตุ้ลมุตตะกีน,บทที่ 6 ,หน้า 76-79.

[10] เพื่อศึกษาความหมายของตัมกีนในเชิงแคบและเชิงกว้าง ดู: กฏหมายแพ่ง,ดร.ฮุเซน อิมามี,หน้า 173.

[11] อุรวะตุ้ลวุษกอ,มัรฮูมฏอบาฏอบาอี ยัซดี,เล่ม 2 ,หมวดนิกาฮ์,หน้า 626.

[12] แต่ผู้รู้ทางศาสนามักจะเห็นว่าไม่ไช่หน้าที่ของสามี,กฏหมายแพ่ง,หน้า 343.

[13] ทัศนะดังกล่าวคือทัศนะที่ผู้รู้ทางศาสนาส่วนใหญ่ให้การยอมรับ แต่อีกทัศนะหนึ่งกล่าวว่า ต้องการจะสื่อเพียงแค่การไม่ตีตนออกห่างภรรยาเท่านั้น.อ้างแล้ว.หน้า 446.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    10683 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
    7455 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ...
  • ในมุมมองของรายงาน,ควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
    7646 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ริวายะฮ์ที่กล่าวว่า “ในสมัยที่อิมามอลี (อ.) ปกครองอยู่ ท่านมักจะถือแซ่เดินไปตามถนนหนทางและท้องตลาดพร้อมจะลงโทษอาชญากรและผู้กระทำผิด” จริงหรือไม่?
    6412 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ริวายะฮ์ข้างต้นกล่าวถึงช่วงรุ่งอรุณขณะที่ท่านสำรวจท้องตลาดในเมืองกูฟะฮ์ และการที่ท่านมักจะพกแซ่ไปด้วยก็เนื่องจากต้องการให้ประชาชนสนใจและให้ความสำคัญกับกฏหมายนั่นเอง สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาศอฟีย์ กุลพัยกานี ริวายะฮ์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง และสิ่งที่อิมามอลี(อ.) ได้กระทำไปคือสิ่งที่จำเป็นต่อสถานการณ์ในยุคนั้น การห้ามปรามความชั่วย่อมมีหลายวิธีที่จะทำให้บังเกิดผล ดังนั้นจะต้องเลือกวิธีที่จะทำให้สังคมคล้อยตามความถูกต้อง คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากผู้ปกครองในอิสลามเห็นสมควรว่าจะต้องลงโทษผู้ต้องหาและผู้ร้ายในสถานที่เกิดเหตุ หลังจากที่พิสูจน์ความผิดด้วยวิธีที่ถูกต้อง และพิพากษาตามหลักศาสนาหรือข้อกำหนดที่ผู้ปกครองอิสลามได้กำหนดไว้ การลงทัณฑ์ในสถานที่เกิดเหตุถือว่าไม่ไช่เรื่องผิด และในการนี้ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงริวายะฮ์ดังกล่าวแต่อย่างใด แต่รายงานที่ถูกต้องที่ปรากฏในตำราฮะดีษอย่าง กุตุบอัรบาอะฮ์[1] ก็คือ ท่านอิมามอลี (อ.) พกแซ่เดินไปตามท้องตลาดและมักจะตักเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่มีตำราเล่มใดบันทึกว่าอิมามอลี (อ.) เคยลงโทษผู้ใดในตลาด
  • ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการีย์ (อ.) »อัลฮัมดุลลิลฮิร็อบบิลอาละมีน« หมายถึงอะไร?
    11262 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) เป็นหนึ่งในตัฟซีรที่กล่าวว่าเป็นของท่านอิมาม ซึ่งมีเหตุผลบางประการพาดพิงว่าตัฟซีรดังกล่าวเป็นของท่านอิมาม แต่เป็นเหตุผลที่เชื่อถือไม่ได้แน่นอน ตัฟซีรชุดนี้ได้มีการตีความอัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ (ฮัม) และบทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 282 โดยรายงานฮะดีซ ซึ่งในวิชาอุลูมกุรอานเรียกว่าตัฟซีร »มะอฺซูเราะฮฺ« อย่างไรก็ตาม, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้อธิบายถึงประโยคที่ว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ไว้ในหลายประเด็น, เนื่องจาการขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานต่างๆ อันไม่อาจคำนวณนับได้, การสนับสนุนสรรพสิ่งถูกสร้าง, ความประเสริฐ และความดีกว่าของชีอะฮฺ เนื่องจากการยอมรับวิลายะฮฺ และอิมามะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และกล่าวว่า เนื่องจากจำเป็นต้องขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานของพระองค์ จึงได้กล่าวว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7548 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • ได้ยินว่าระหว่างสงครามอิรักกับอิหร่านนั้น ร่างของบางคนที่ได้ชะฮีดแล้ว, แต่ไม่เน่าเปื่อยสลาย, รายงานเหล่านี้เชื่อถือได้หรือยอมรับได้หรือไม่?
    8473 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    โดยปกติโครงสร้างของร่างกายมนุษย์, จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า เมื่อจิตวิญญาณได้ถูกปลิดไปจากร่างกายแล้ว, ร่างกายของมนุษย์จะเผ่าเปื่อยและค่อยๆ สลายไป, ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ที่ร่างกายของบางคนหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนานหลายปี จะไม่เน่าเปื่อยผุสลายและอยู่ในสภาพปกติ. แต่อีกด้านหนึ่ง อัลลอฮฺ ทรงพลานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่างและทุกการงาน[1] ซึ่งอย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งนี้จะไม่มีความเป็นไปได้ หรือห่างไกลจากภูมิปัญญาแต่อย่างใด. เพราะว่านี่คือกฎเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งได้รับการละเว้นไว้ในบางกรณี, เช่น กรณีที่ร่างของผู้ตายอาจจะไม่เน่าเปื่อย โดยอนุญาตของอัลลอฮฺ ดังเช่น มามมีย์ เป็นต้น จะเห็นว่าร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อย ซึ่งเรื่องนี้ได้ผ่านพ้นไปนานหลายพันปีแล้ว และประสบการณ์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงดังกล่าวแล้วด้วย ดังนั้น ถ้าหากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ครอบคลุมเหนือประเด็นดังกล่าวนี้ ก็เป็นไปได้ที่ว่าบางคนอาจเสียชีวิตไปแล้วหลายร้อยปี แต่ร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อยผุสลาย ยังคงสมบูรณ์เหมือนเดิม แล้วพระองค์ทรงเป่าดวงวิญญาณให้เขาอีกครั้ง ซึ่งเขาผู้นั้นได้กลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง, อัลกุรอานบางโองการ ก็ได้เน้นย้ำถึงเรื่องราวของศาสดาบางท่านเอาไว้[2] เช่นนี้เองสิ่งที่กล่าวไว้ในรายงานว่า ถ้าหากบุคคลใดที่มีนิสัยชอบทำฆุซลฺ ญุมุอะฮฺ, ร่างกายของเขาในหลุมฝังศพจะไม่เน่นเปื่อย
  • ในทัศนะอิสลาม บาปของฆาตกรที่เข้ารับอิสลามจะได้รับการอภัยหรือไม่?
    8114 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/12
    อิสลามมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามอาทิเช่นหากก่อนรับอิสลามเคยละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์เช่นไม่ทำละหมาดหรือเคยทำบาปเป็นอาจินเขาจะได้รับอภัยโทษภายหลังเข้ารับอิสลามทว่าในส่วนของการล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์เขาจะไม่ได้รับการอภัยใดๆเว้นแต่คู่กรณีจะยอมประนีประนอมและให้อภัยเท่านั้นฉะนั้นหากผู้ใดเคยล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นเมื่อครั้งที่ยังมิได้รับอิสลามการเข้ารับอิสลามจะส่งผลให้เขาได้รับการอนุโลมโทษทัณฑ์จากอัลลอฮ์ก็จริงแต่ไม่ทำให้พ้นจากกระบวนการพิจารณาโทษในโลกนี้
  • การให้การเพื่อต้อนรับเดือนมุฮัรรอม ตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่ามีความหมายหรือไม่?
    7480 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถือเป็นซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ซึ่งได้รับการสถาปนาและสนับสนุนโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60132 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57573 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42220 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39370 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34004 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28021 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27966 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27804 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25802 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...