Please Wait
38989
ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกัน ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วน ก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียน อันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรม การอบรม และวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอน อาทิเช่น การให้เกียรติครูบาอาจารย์ ยกย่องวิทยฐานะของท่าน นอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ
สามารถจำแนกหน้าที่ที่ผู้สอนและผู้เรียนมีต่อกันออกเป็นสองส่วน
หนึ่ง: หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียน ซึ่งแยกเป็นสองภาค
ก. หน้าที่ทางจริยธรรมและการอบรม อาทิเช่น
1. เมตตาและมอบไมตรีจิตแก่ผู้เรียน[1]
2. มีอัธยาศัยเป็นกันเองไม่ถือตัว[2]
3. ถามสารทุกข์สุขดิบของลูกศิษย์[3]
4. ทราบชื่อและข้อมูลทั่วไปของผู้เรียน[4]
5. ให้เกียรติและรับฟังความเห็นของผู้เรียน[5]
6. รักษาความเป็นกลางในแง่ความเอาใจใส่ผู้เรียน[6]
7. พิจารณาภูมิหลังของผู้เรียน[7]และนำมาใช้ในการตัดสินใจ[8]
8. แนะนำครูบาอาจารย์ดีๆแก่ผู้เรียน[9]
9. มีอิริยาบถที่เพียบพร้อมด้วยมารยาท
10 มีความสุขุมคัมภีรภาพขณะสอน[10]
11. สร้างเสริมระเบียบวินัยของผู้เรียน
12. อะลุ่มอล่วยและสนใจข้อซักถามของผู้เรียน[11]
13. มีเมตตาและมีสีหน้าเบิกบานต่อผู้เรียนที่เพิ่งเข้าใหม่[12]
14. ยอมรับว่าไม่มีข้อมูลในเรื่องที่ตนไม่สันทัด[13]
15. ตักเตือนและแนะนำเกี่ยวกับการเรียนการสอนก่อนจบคาบเรียน[14]
16. ไม่รีบกลับหลังจากสอนเสร็จ[15]
17. ตั้งให้มีหัวหน้าห้องข่วยดูแลความเรียบร้อย[16]
18. จบการสอนด้วยข้อคิดทางศีลธรรมและดุอา[17]
ข. หน้าที่ในแง่วิชาการ
1. ยกระดับความรู้ของผู้เรียนทีละขั้นตอน[18]
2. สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดแก่ผู้เรียน[19]
3. พยายามถ่ายทอดความรู้ตามระดับศักยภาพผู้เรียน[20]
4. อธิบายกรอบเนื้อหาของวิชาที่สอน[21]
5. ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำกิจกรรมวิชาการและหมั่นทบทวนบทเรียน[22]
6. เปิดประเด็นอย่างแม่นยำและสอบถามความเข้าใจ[23]
7. ใช้แนวการสอนที่ดีที่สุดสำหรับถ่ายทอดความรู้
8. คำนึงถึงลำดับที่เหมาะสมของแต่ละวิชา[24]
9. อธิบายบทเรียนอย่างกระชับและได้ใจความ[25]
10. ดูแลความสงบของห้องเรียน (ไม่ให้มีสิ่งรบกวนสมาธิ)[26]
11. คำนึงถึงความสะดวกของผู้เรียนในการกำหนดเวลาสอน[27]
12. ให้ความสำคัญต่อน้ำเสียงขณะสอน[28]
13. ดูแลความเรียบร้อยขณะสอน
สอง: หน้าที่ของผู้เรียนมีดังนี้
1. ให้เกียรติและยกย่องคุณวุฒิของครูบาอาจารย์[29]
2. นอบน้อมถ่อมตนต่อท่าน[30]
3. หลีกเลี่ยงคำพูดแกมบังคับกับท่าน
4. พูดถึงท่านอย่างให้เกียรติ
5. เอาแบบอย่างจากท่าน
6. ขอบคุณคำแนะนำและคำตักเตือนของท่าน
7. อดทนต่ออารมณ์ฉุนเฉียวของท่านที่อาจจะเกิดขึ้น
8. เป็นฝ่ายเข้าหาและรอคอยท่าน
9. ไม่ส่งเสียงรบกวนสมาธิของท่าน
10. แต่งกายสุภาพขณะเข้าเรียน
11. หลีกเลี่ยงการกำหนดกรอบเวลาสอนแก่ท่าน
12. ไม่รบกวนเวลาพักผ่อนของท่าน
13. นั่งฟังอย่างมีมารยาท
14. ระมัดระวังอากัปกริยาต่อหน้าท่าน
15. ปรับระดับน้ำเสียงให้นุ่มนวลและเหมาะสม
16. ส่งสัญญาณทักท้วงอย่างมีมารยาทในกรณีที่ท่านพูดผิดพลาด
17. ไม่พูดแทรกท่านขณะถามหรือตอบปัญหา[31]
18. มีสมาธิในการฟังท่านสอน
19. ให้ความสำคัญต่อคำอธิบายของท่าน
20. ไม่ถามคำถามจุกจิกไร้สาระและเปลืองเวลาสอน
21. ถามถูกเวลา
22. ตั้งคำถามให้น่าฟังและน่าตอบ
23. ไม่เขินอายที่จะถามท่าน
24. กล้าพอที่จะยอมรับว่าไม่เข้าใจบทเรียน
25. รักษามารยาทต่อท่านตลอดเวลา
26. ไม่ติฉินนินทาท่าน[32]
27. ช่วยแก้ข้อครหาอันไม่เป็นธรรมแก่ท่าน[33]
28. ปกปิดความบกพร่องและเผยคุณงามความดีของท่าน[34]
29. ไม่คบค้าสมาคมกับศัตรูของท่าน[35]
30. เรียนรู้จากท่านโดยตั้งเจตนาเพื่ออัลลอฮ์[36]
31. รักษาความสงบในห้องเรียน[37]
เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาอ่านหนังสือ "มารยาทการเรียนการสอนในทัศนะอิสลาม" แปลโดยซัยยิดมุฮัมมัดบากิร ฮุจญะตี
[1] ชะฮีดษานีย์,มุนยะตุ้ลมุรี้ด,หน้า 190
[2] อ้างแล้ว,หน้า 191,192
[3] อ้างแล้ว,หน้า 194
[4] อ้างแล้ว,หน้า 195
[5] อ้างแล้ว,หน้า 199
[6] อ้างแล้ว,หน้า 208
[7] อ้างแล้ว,หน้า 199
[8] อ้างแล้ว,หน้า 209
[9] อ้างแล้ว,หน้า 202
[10] อ้างแล้ว,หน้า 206
[11] อ้างแล้ว,หน้า 214
[12] อ้างแล้ว
[13] อ้างแล้ว,หน้า 214,215
[14] อ้างแล้ว,หน้า 218
[15] อ้างแล้ว,หน้า 220
[16] อ้างแล้ว
[17] อ้างแล้ว,หน้า 219
[18] อ้างแล้ว,หน้า 189
[19] อ้างแล้ว
[20] อ้างแล้ว,หน้า 211
[21] อ้างแล้ว,หน้า 197
[22] อ้างแล้ว,หน้า 198
[23] อ้างแล้ว,หน้า 198
[24] อ้างแล้ว,หน้า 211
[25] อ้างแล้ว,หน้า 212
[26] อ้างแล้ว
[27] อ้างแล้ว
[28] อ้างแล้ว
[29] อบูมันศู้ร,มะอาลิมุดดีน วะ มะลาซุลมุจตะฮิดีน,หน้า 43
[30] อ้างแล้ว
[31] อ้างแล้ว
[32] อ้างแล้ว
[33] อ้างแล้ว
[34] อ้างแล้ว
[35] อ้างแล้ว
[36] อ้างแล้ว
[37] อ้างแล้ว