การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6777
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/23
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1383 รหัสสำเนา 17912
หมวดหมู่ รหัสยทฤษฎี
คำถามอย่างย่อ
นามอันเป็นมักนูนและมุสตะอ์ษิ้รของอัลลอฮ์หมายความว่าอย่างไร?
คำถาม
อะไรคือนามอันเป็นมักนูนและมุสตะอ์ษิ้รของอัลลอฮ์ที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้?
คำตอบโดยสังเขป

จากฮะดีษและบทดุอาทำให้ทราบว่าอัลลอฮ์มีพระนามที่ทรงคัดสรรด้วยพระองค์เอง โดยที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้ พระนามเหล่านี้เรียกว่า"อัสมาอ์มุสตะอ์ษิเราะฮ์" ซึ่งตามคำบอกเล่าของฮะดีษ พระนามเหล่านี้คือมิติเร้นลับของอิสมุลอะอ์ซ็อมอันเป็นพระนามแรกของพระองค์ พระนามประเภทนี้ยังเรียกขานกันว่า อิสมุ้ลมักนูน หรืออิสมุ้ลมัคซูน อีกด้วย

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำว่า "อิสตีษ้าร" แปลว่าการเลือกเฟ้นเพื่อตนเอง ส่วนคำว่า "มุสตะอ์ษิเราะฮ์" แปลว่าสิ่งที่ได้รับการเลือกสรร
ท่านรอฆิบ อิศฟะฮานีกล่าวไว้ในหนังสืออัลมุฟร่อด้าตว่า "อัลอิสตีษ้าร คือการเจาะจงสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ตนเอง[1]" ส่วนหนังสือบิฮารุลอันว้ารระบุว่า "การอิสตีษ้ารสิ่งใดสิ่งหนึ่งหมายถึงการเจาะจงสิ่งนั้นเพื่อตนเอง"[2]

ฮะดีษหลายบทอธิบายว่าอัสมาอ์(พระนาม)ที่เป็นมุสตะอ์ษิเราะฮ์คือด้านเร้นลับของอิสมุ้ลอะอ์ซ็อมที่ไม่มีใครหยั่งรู้ ท่านอิมามบากิร(.)กล่าวไว้ว่า "เจ็ดสิบสองอักขระของอิสมุลอะอ์ซ็อมอยู่  เรา(อะฮ์ลุลบัยต์หยั่งรู้) มีเพียงอักขระเดียวที่เหลืออยู่  อัลลอฮ์ ซึ่งพระองค์ทรงสงวนไว้ (ไม่มีผู้ใดหยั่งรู้ได้)[3]

และเนื้อหาฮะดีษในหมวด"การจุติขึ้นของพระนาม" ในหนังสืออุศูลกาฟีบ่งชี้ว่า พระนามประเภทมุสตะอ์ษิ้ร หรือที่เรียกกันว่า"มักนูน"และ"มัคซูน"นั้น ก็คือด้านเร้นลับของปฐมนามของพระองค์ พระนามประเภทนี้มีทั้งด้านแห่งการจำกัดในฐานะที่เป็นพระนาม และมีทั้งด้านเร้นลับในฐานะที่เป็นฐานสนับสนุนให้พระนามอื่นๆเผยอย่างชัดเจน [4]
ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามโคมัยนีจึงกล่าวอธิบายเกี่ยวกับระดับชั้นของอิสมุ้ลอะอ์ซ็อมไว้ว่า พระนามมุสตะอ์ษิ้รคืออิสมุ้ลอะอ์ซ็อมในระดับเร้นลับ ท่านกล่าวว่า "อิสมุ้ลอะอ์ซ็อมโดยลักษณะอันเร้นลับที่ไม่มีใครหยั่งรู้นอกจากพระองค์แล้ว หมายถึงอักขระที่เจ็ดสิบสามที่พระองค์ทรงทราบแต่เพียงองค์เดียว"[5]

ตำรับตำราด้านอิรฟานสอนว่า จากการที่ระดับความเร้นลับของอาตมันพระองค์มีสูง จึงจำเป็นต้องมีสื่อกลางในการเผยเป็นพระนามและคุณลักษณะภายนอก สื่อกลางที่เผยความไพบูลย์ของพระองค์เหล่านี้มีสองด้าน  . ด้านที่เชื่อมโยงกับความเร้นลับของอาตมันพระองค์ซึ่งเป็นด้านแห่งความเร้นลับ . ด้านที่เชื่อมโยงกับพระนามซึ่งเป็นมิติที่ชัดเจนและเผยในรูปของพระนาม[6]

อิมามโคมัยนีขนานนามสื่อกลางที่เผยสู่พระนามของอัลลอฮ์ว่า "เคาะลีฟะฮ์ของพระองค์" และ "หลักแห่งเคาะลีฟะฮ์" ส่วนตำราด้านอิรฟานได้ขนานนามว่าเป็น "เอกานุภาพที่แท้จริง" ส่วนภาคจำแนกที่เกิดกับพระองค์เมื่อพิจารณาถึงเอกานุภาพดังกล่าวเรียกว่า "ภาคจำแนกปฐมภูมิ" หรือ "สัจธรรมแห่งมุฮัมมัด"[7] ภาคจำแนกขั้นแรกที่เป็นฐานสำหรับการเผยพระนามของพระองค์ให้พ้นจากมิติลี้ลับก็คือ เอกานุภาพอันไร้เงื่อนไข หรือเอกานุภาพที่แท้จริงนั่นเอง ซึ่งเป็นภาวะแห่ง "อะฮะดียัต"จากด้านมิติลี้ลับ และเป็น "วาฮิดียัต"หรือมิติแห่งการเผยพระนามจากด้านที่เปิดเผย และสถานะอะฮะดียัตแห่งอาตมันซึ่งเป็นด้านลี้ลับของภาวะจำแนกปฐมภูมิของพระองค์ก็คือ พระนามมุสตะอ์ษิ้รนี่เอง[8]

ส่วนที่ว่าเป็นมุสตะอ์ษิ้ร(ได้รับเลือก)หมายความว่าอย่างไร? การที่พระนามเหล่านี้ได้รับเลือก แสดงว่ามิได้เผยให้ประจักษ์ หรือมีภาพลักษณ์ที่รับรู้ได้กระนั้นหรือ? หรือหมายความว่าภาพลักษณ์ของพระนามเหล่านี้ก็ได้รับเลือกเสมือนตัวพระนาม ซึ่งไม่มีผู้ใดหยั่งรู้ได้

โดยทั่วไปแล้ว นักอาริฟถือว่าพระนามมุสตะอ์ษิ้รเป็นพระนามที่ถูกซ่อนเร้น ซึ่งไม่มีร่องรอยใดๆ ตลอดจนไม่มีภาพลักษณ์ใดๆในโลก
ศ็อดรุดดีน กูนะวี ได้จำแนกพระนามทางอาตมันของพระองค์ไว้สองส่วนในหนังสือ มิฟตาฮุ ฆ็อยบิ้ลญัมอิ วั้ลวุญูด"ดังนี้
ส่วนแรกมีร่องรอยและภาพลักษณ์ในโลก ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งเผยให้เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้บำเพ็ญความดี หรืออาจจะปรากฏแก่นักอาริฟผู้แก่กล้าในระหว่างเห็นนิมิตรชุฮู้ด
พระนามทางอาตมันประเภทที่สองก็คือพระนามที่ไม่ปรากฏร่องรอยใดๆในโลก ทำให้ไม่มีผู้ใดสามารถประจักษ์ได้ และพระนามประเภทนี้แหล่ะที่เรียกว่า พระนามมุสตะอ์ษิ้ร[9] แม้ไม่ปรากฏในโลก แต่ลักษณ์ของพระนามเหล่านี้มีอยู่ในชั้นแห่งอะอ์ยาน ษาบิตะฮ์ (ชั้นแห่งวิทยปัญญาของพระองค์ตามทัศนะของนักอาริฟ) ด้วยเหตุนี้เองที่เราเรียกลักษณ์ในชั้นดังกล่าวว่า "มุมตะนิอ้าต"

ความหมายของมุมตะนิอ์ในแวดวงอิรฟานกว้างกว่าแวดวงปรัชญาเมธี ตามทัศนะของนักอาริฟแล้ว มุมตะนิอ้าตหมายถึงลักษณ์ที่ไม่เผยให้ประจักษ์แม้จะมีอยู่จริงในชั้นแห่งอะอ์ยาน ซึ่งอาจเป็นเพราะความเข้มข้นเชิงการมีอยู่ (ดังกรณีลักษณ์ของพระนามมุสตะอ์ษิ้ร) หรืออาจเป็นเพราะไม่อาจจะเกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงได้ (เช่นการผนวกสองสิ่งที่หักล้างสุดขั้ว)

ส่วนมุมตะนิอ์ในมุมของปรัชญาเมธีหมายถึงประเภทที่สองเท่านั้น[10] จากทัศนะดังกล่าวทำให้ทราบว่า เนื่องจากพระนามเหล่านี้เบนไปสู่ภาวะลี้ลับ จึงไม่เผยหรือมีภาพลักษณ์ใดๆภายนอก  ไม่มีผู้ใดหยั่งรู้ และยังคงเป็นที่เลือกสรรของพระองค์ดังเดิม

การใช้พระนามมุสตะอ์ษิ้รเพื่อสื่อถึงอาตมันของพระองค์

อิมามโคมัยนีได้อธิบายประโยคหนึ่งในดุอาสะฮัรที่ว่า اللهم انی اسئلک من اسمائک باکبرها โดยเกริ่นไว้ก่อนว่า"พระนามและคุณลักษณะของพระองค์เปรียบเสมือนฉากกั้นอาตมัน ซึ่งอาตมันพระองค์จะเผยปรากฏด้วยช่องทางแห่งพระนามและคุณลักษณะต่างๆเท่านั้น ส่วนในมุมลี้ลับแล้ว พระองค์ปราศจากซึ่งพระนามหรือการตั้งพิกัดใดๆทั้งสิ้น" แล้วท่านอิมามโคมัยนีก็กล่าวว่า "หนึ่งในข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับพระนามมุสตะอ์ษิ้รก็คือ หมายถึงสถานะอาตมันอันลี้ลับนั่นเอง ส่วนที่เรียกว่าพระนามก็เพราะอาตมันของพระองค์นั่นแหล่ะ ที่เป็นสัญลักษณ์สำหรับอาตมันเอง[11]
ท่านประพันธ์ตำราอธิบายหนังสือ "มิศบาฮุ้ลอุ้นซ์" หลังจากทัศนะของกูนะวีว่าด้วยการจำแนกพระนามทางอาตมัน และการที่พระนามมุสตะอ์ษิ้รปราศจากซึ่งภาพลักษณ์ใดๆ ท่านอิมามได้ยกทัศนะของอาจารย์ของท่าน (อายะตุลลอฮ์ ชอฮ์ออบอดี)ว่า "สังเขปทัศนะของกูนะวีก็คือ พระนามมุสตะอ์ษิ้รปราศจากภาพลักษณ์ใดๆในโลก ส่วนอาจารย์อาริฟผู้สมบูรณ์ของเรากล่าวว่า พระนามมุสตะอ์ษิ้รก็คืออาตมันเชิงอะฮะดีดั้งเดิมของพระองค์ เนื่องจากอาตมันของพระองค์จะเป็นบ่อเกิดของพระนามด้วยกับภาวะจำแนก แต่อาตมันที่ปราศจากภาวะจำแนกย่อมไม่รองรับการเผยพระนาม ส่วนการใช้คำว่าพระนามกับอาตมันก็เป็นการกล่าวอย่างอนุโลมเท่านั้น มิไช่การกล่าวระบุอย่างจริงจัง[12]

ประเด็นที่เกี่ยวกับพระนามมุสตะอ์ษิ้รของอัลลอฮ์ถือเป็นประเด็นระดับสูงของวิชาอิรฟาน ซึ่งจะเข้าใจได้ก็ต่อเมื่อมีพื้นฐานด้านอิรฟานและปรัชญาเสียก่อน

หากต้องการศึกษาเพิ่มเติม กรุณาอ่านบทความ ภาวะเผยของพระนามมุสตะอ์ษิ้รในทัศนะของอิมามโคมัยนี เขียนโดย ซัยยิดกิวามุดดีน ฮุซัยนี นิตยสารมะตีน ฉบับที่ห้า



[1] รอฆิบอิศฟะฮานี,อัลมุฟเราะด้าต ฟีเฆาะรออิบิ้ลกุรอาน,หน้า 10

[2] บิฮารุ้ลอันว้าร,เล่ม 85, ฮะดีษที่ 1, หน้า 255

[3] อุศู้ลกาฟีย์,เล่ม 1, บทว่าด้วยฮุจญัต, หน้า 334, หมวด ما اعطی الائمه - علیهم السلام – من اسم الله الاعظم :
و نحن عندنا من الاسم الاعظم اثنان و سبعون حرفا و حرف واحد عند الله تعالی استأثر به فی علم الغیب عنده
นักตัฟซี้รมักจะยกฮะดีษนี้มาเพื่ออธิบายโองการ قال الذی عنده علم من الکتاب ดู: บิฮารุลอันว้าร, เล่ม 27, ใต้หมวดว่าด้วย ان عندهم الاسم الاعظم به یظهر منهم الغرایب โดยอ้างถึงฮะดีษเหล่านี้ไว้

[4] อุศูลกาฟีย์, เล่ม1, บทว่าด้วยฮุดูษุสสะมาอ์,หน้า 152, " عن ابی‏عبدالله(ع) قال: ان الله تبارک و تعالی خلق اسما... فجعله کلمة تامة علی اربعة اجزاء معا لیس منها واحد قبل الآخر، فاظهر منها ثلاثة اسماء لفاقة الخلق الیها و حجب منها واحدا و هو الاسم المکنون المخزون... و هذه الاسماء الثلاثة ارکان و حجب الاسم الواحد المکنون المخزون بهذه الاسماء الثلاثة

[5] อรรถาธิบายดุอาสะฮัร,อิมามโคมัยนี,แปลโดยซัยยิดอะหมัด ฟะฮ์รี, หน้า 11, " اما الاءسم الاءعظم بحسب الحقیقة الغیبیة التی لایعلمها الا هو و لا استثناء فیه، فبالاعتبار الذی سبق ذکره، و هو الحرف الثالث و السبعون المستاثر فی علم غیبه

[6] มิศบาฮุ้ลฮิดายะฮ์ อิลัล คิลาฟะฮ์ วัลวิลายะฮ์, อิมามโคมัยนี, หน้า 16-17, ان الاسماء و الصفات الالهیة ایضا غیر مرتبطة بهذا المقام الغیبی بحسب کثراتها العلمیة غیر قادرة علی اخذ الفیض من حضرته بلاتوسط شی‏ء... فلابد لظهور الاسماء و بروزها و کشف اسرار کنوزها من خلیفة الهیة غیبیة یستخلف عنها فی‏الظهور فی‏الاسماء و ینعکس نورها فی تلک المرایا... هذه الخلیفة الالهیة و الحقیقة القدسیه التی هی اصل الظهور لابد ان یکون لهاوجه غیبی الی الهویة الغیبیة ولایظهر بذلک الوجه ابدا، و وجه الی عالم الاسماء والصفات بهذا الوجه یتجلی فیه

[7] อัลก่อวาอิ้ด, ศออินุดดีน อลี อัตตัรกะฮ์,หน้า 79 

[8] อัรริซาละฮ์ อัตเตาฮีดียะฮ์,อัลลามะฮ์ เฏาะบาเฏาะบาอี,หน้า 47

[9] มิศบาฮุลอุ้นส์,มุฮัมมัด บิน ฮัมซะฮ์ อัลฟะนารี,หน้า 14 บทที่สี่ จากบทฟาติฮะห์

[10] อารัมภบทก็อยซะรีเพื่ออธิบายฟุศูศุ้ลฮิกัม, ดาวู้ด บิน มุฮัมมัด ก็อยซะรี, หน้า18-19 و هی الممتنعات قسمان، قسم یختص بفرض العقل ایاه کشریک الباری و قسم لایختص بالفرض، بل هی امور ثابتة فی نفس الامر، موجودة فی العلم، لازمة لذات الحق، لانها صور للاسماء الغیبیة المختصة بالباطن من حیث هو ضد الظاهر، او للباطن وجه یجتمع مع الظاهر و وجه لا یجتمع معه... و تلک الاسماء هی التی قال(رض) فی فتوحاته و اما الاسماء الخارجه عن الخلق و النسب فلایعلمها الا هو، لانه لا تعلق لها بالاکوان و الی هذه الاسماء اشار النبی(ص) او استاثرت به فی علم غیبک

[11] มิศบาฮุ้ลฮิดายะฮ์ อิลัล คิลาฟะฮ์ วัลวิลายะฮ์, อิมามโคมัยนี, หน้า 114-115 هذا فان اشرت باطلاق الاسم فی بعض الاحیان علی هذه المرتبه التی هی فی عماء و غیب کما هو احد الاحتمالات فی الاسم المستاثر فی علم غیبه، کما ورد فی الاخبار و اشار الیه فی الاثار الذی یختص بعلمه الله، و هو الحرف الثالث و السبعون من حروف الاسم الاعظم المختص علمه به - تعالی - فهو من باب ان الذات علامة للذات، فانه علم بذاته لذاته

[12] อธิบายหนังสือมิศบาฮุลอุ้นส์,อิมามโคมัยนี, หน้า 218 قال شیخنا العارف الکامل - دام ظله - ان الاسم المستاثر هو الذات الاحدیة المطلقه، فان الذات بما هی متعینه منشا للظهور دون الذات المطلقه، ای بلا تعین، و اطلاق الاسم علیه من المسامحة و الظاهر من کلام الشیخ و تقسیمه، الاسماء الذاتیه الی ما تعین حکمه و ما لم یتعین، انه من الاسماء الذاتیة التی لامظهر لها فی العین

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ความสำคัญ และปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คืออะไร?
    7648 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    สำหรับการติดตามผลอย่างมีนัยของการให้ความสำคัญและปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้:1. ...
  • แนวทางที่ถูกต้อง และง่ายในการเลือกมัรญิอฺตักลีดที่มีความรู้สูงสุด สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และไม่สามารถแยกแยะอุละมาอฺได้คืออะไร?
    12943 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด หมายถึงมิได้จำกัดอยู่แค่บุคคลที่มีความเชื่ยวชาญพิเศษเฉพาะปัญหาฟิกฮฺ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักชัรอียฺของตนนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามมุจญฺตะฮิดที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ สมบูรณ์ในเรื่องฟิกฮฺ และต้องเป็นผู้รู้ที่มีความรู้มากกว่ามุจญฺตะฮิดด้วยกัน ในสมัยของตน และมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดสามารถรู้จักได้จากหนึ่ง 3 วิธีดังนี้ : หนึ่ง : ตัวเราต้องมั่นใจด้วยตัวเอง สอง : มีผู้รู้สองคนที่ยุติธรรมยืนยันในความรู้ของมุจญฺตะฮิดท่านนั้น สาม : ผู้รู้กลุ่มหนึ่งได้ยืนยันและรับรองการเป็นมุจญฺตะฮิด และการเป็นผู้มีความรู้สูงสุดของเขา น่ายินดีว่าปัจจุบันบรรดาคณาจารย์ระดับสูงของสถาบันสอนศาสนา ณ เมืองกุม ได้แนะนำผู้รู้ที่มีคุณสมบัติของมุจญฺตะฮิดสมบูรณ์ ในฐานะของมัรญิอฺตักลีดไว้หลายคนด้วยกัน ซึ่งมุสลิมทุกคนสามารถเลือกปฏิบัติตามอุละมาอฺเหล่านั้น ในฐานะมัรญิอฺตักลีด ท่านหนึ่งท่านใดก็ได้ และกิจการงานของตนให้ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่าน ที่มีอยู่ในริซาละฮฺ เตาฎีฮุลมะซาอิล ในกรณีนี้ท่านจะมั่นใจได้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ทางชัรอียฺของท่านแล้ว และปัจจุบันเนื่องจากการติดต่อสื่อสารนั้นสะดวกสบาย และเป็นไปได้ในรูปแบบต่างๆ มีหลายภาษาให้เลือก ดังนั้น สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม สามารถรับรู้ข้อมูลนี้ได้อย่างง่ายดาย ...
  • เพราะเหตุใดกุญแจสู่สรวงสวรรค์คือ นมาซ?
    7623 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/17
    เป้าหมายของการสร้างมนุษย์ก็เพื่อ การแสดงความเคารพภักดีและการรู้จักพระเจ้า, ซึ่งการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้านั้น จะทำให้มนุษย์ก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ และตำแหน่งอันใกล้ชิดต่อพระเจ้า, นมาซ คือภาพลักษณ์ที่ดีและสวยงามที่สุดของการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า หรือการแสดงความเป็นบ่าวที่ดีต่อพระผู้ทรงสร้าง, ความเคร่งครัดต่อนมาซ 5 เวลาคือสาเหตุของความประเสริฐและเป็นพลังด้านจิตวิญญาณ ซึ่งทำให้มนุษย์ละเว้นการทำความผิดบาป หรือการแสดงความประพฤติไม่ดี อีกด้านหนึ่งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้พลังแห่งความสำรวมตน ภายในจิตใจมนุษย์มีความเข้มแข็งขึ้น, ในกรณีนี้ เข้าใจได้ทันทีว่า เพราะอะไรนมาซ, จึงเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์ ต้องไม่ลืมที่จะกล่าวว่า, นมาซคือหนึ่งในภาคปฏิบัติที่เป็นอิบาดะฮฺ อันมีผลบุญคือ เป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์, เนื่องจากรายงานฮะดีซ,เกี่ยวกับความรักที่มีต่อบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) คือ การกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ, ความอดทน ...ก็ถือว่าเป็นกุญแจแห่งสรวงสวรรค์เช่นกัน, และเช่นกันสิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานที่ว่า นมาซพร้อมกับความศรัทธามั่นที่มีต่ออัลลอฮฺ ความเป็นเอกะของพระองค์ ขึ้นอยู่กับความรักที่มีต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องที่มีความพิเศษยิ่งต่อกัน ...
  • การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นหัวข้อหนึ่งในหลักมะฮ์ดะวียัตหรือไม่?
    6113 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/07
    การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นสำนวนที่เกี่ยวโยงกับการเร้นกายขั้นศุฆรอ ซึ่งต้องการจะสื่อว่า ในเมื่อท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เคยมีการเร้นกายขั้นศุฆรอ(เล็ก)ก่อนการเร้นกายขั้นกุบรอ(ใหญ่) ก็ย่อมจะมีการปรากฏกายชั้นศุฆรอก่อนจะปรากฏกายขั้นกุบรอระดับโลกเช่นกัน อนึ่ง สำนวนดังกล่าวไม่มีพื้นเพจากฮะดีษใดๆ ...
  • ทั้งที่ท่านอิมามอลี (อ.) ทราบถึงเจตนาชั่วของอิบนิ มุลญัม เหตุใดท่านจึงไม่ปกป้องชีวิตตนเอง?
    6496 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/29
    เหตุผลที่ท่านอิมามอลีไม่แก้ไขเหตุที่จะเกิดในอนาคตก็คือ:1.ความรู้ระดับทั่วไปคือหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติภารกิจ:เพื่อเป็นการเคารพกฏเกณฑ์ของอัลลอฮ์ท่านอิมามจึงเลือกที่จะปฏิบัติหน้าที่เสมือนบุคคลทั่วไปโดยจะไม่ปฏิบัติตามความรู้แจ้งเห็นจริงเนื่องจากว่าหากท่านจะปฏิบัติตามญาณวิเศษย่อมจะไม่สามารถเป็นแบบฉบับแก่บุคคลทั่วไปได้เพราะบุคคลทั่วไปไม่มีญาณวิเศษ2. กลไกของโลกดุนยาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทดสอบซึ่งหากจะปฏิบัติตามญาณวิเศษก็ย่อมจะทำให้กลไกดังกล่าวเสียหายเนื่องจากจะทำลายชีวิตประจำวันของผู้คนสรุปคือแม้ว่าอิมามอลีมีหน้าที่ต้องรักษาชีวิตเสมือนบุคคลทั่วไปแต่ทว่าประการแรก: หน้าที่ดังกล่าวอยู่ในขอบเขตความรู้ทั่วไปมิไช่ญาณวิเศษประการที่สอง: คู่กรณีของท่าน(อิบนิมุลญัม)
  • การยกภูเขาฏู้รขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีลหมายความว่าอย่างไร?
    7035 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    ในหลายโองการมีสำนวน وَ رَفَعْنا فَوْقَكُمُ الطُّور ปรากฏอยู่ ซึ่งล้วนเกี่ยวกับบนีอิสรออีลทั้งสิ้น ตำราอรรถาธิบายกุรอานอธิบายว่าโองการเหล่านี้กล่าวถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดื้อรั้นของบนีอิสรออีลในยุคของท่านนบีมูซา(อ.) อัลลอฮ์ย่อมมีพลานุภาพที่จะยกภูเขาฏู้รบางส่วนให้ลอยขึ้นเหนือศีรษะของบนีอิสรออีล ดังที่ทรงเคยสร้างดวงดาวนับล้านๆดวง สร้างจักรภพและจักรวาลให้เคลื่อนที่ในอวกาศโดยมีระยะห่างที่เหมาะสม การที่จะเกิดเหตุการณ์ดังที่กุรอานเล่าไว้จึงไม่ไช่เรื่องเหลือเชื่อในแง่วิทยาศาสตร์และสติปัญญา ...
  • การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
    12781 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้วยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมายและยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้าจงเตือนตัวเองว่าโปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี
  • ประโยค “ทุกวันคือาชูรอ ทุกแผ่นดินคือกัรบะลา” เป็นฮาดีษหรือไม่? มีหลักฐานเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมากน้อยเพียงใด
    8963 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    จากการศึกษาตำราฮะดีษ  เราไม่พบหลักฐานใดๆที่ระบุว่าประโยคดังกล่าวเป็นฮาดีษบรรดามะศูมีนอย่างไรก็ดี ประโยคนี้ให้นิยามเหตุการณ์กัรบะลา
  • การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ จะเข้ากันกับเตาฮีดหรือไม่
    8623 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/08/22
    ถ้าเป็นการขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ด้วยความเชื่อที่ว่าบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ ท่านเหล่านั้นคือผู้ทำให้คำวิงวอนขอของท่านสมประสงค์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺอีก แน่นอน สิ่งนี้เป็นชิริกฮะรอม และเท่ากับเป็นการกระทำที่ต่อต้านเตาฮีด ถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด แต่ถ้ามีความเชื่อว่า บรรดาท่านเหล่านี้จะทำให้คำวิงวอนของท่านถูกตอบรับ โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ และโดยอำนาจที่พระองค์แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ทว่ายังเป็นหนึ่งในความหมายของเตาฮีด ซึ่งไม่มีอุปสรรคอันใดทั้งสิ้น ...
  • อิมามมะฮ์ดีสมรสแล้วหรือยัง?
    7974 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    แม้จะเป็นไปได้ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)อาจมีคู่ครองและบุตรหลาน เนื่องจากภาวะการเร้นกายมิได้จำกัดว่าจะท่านต้องงดกระทำการสมรสอันเป็นซุนนะฮ์แต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราไม่พบเหตุผลใดๆที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ สันนิษฐานว่าสาเหตุที่ประเด็นดังกล่าวไม่เป็นที่เปิดเผยนั้น อาจเป็นผลพวงมาจากความจำเป็นที่พระองค์ทรงเร้นกายท่านจากสายตาผู้คนนั่นเอง ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60039 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57407 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42130 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39199 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38864 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33934 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27952 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27869 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27678 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25699 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...