Please Wait
6099
สิ่งหนึ่งที่สังเกตุเห็นได้ชัดเจนในคำถามก็คือ คุณสองคนยังรักกันตามปกติ อีกทั้งคุณต้องการจะทำหน้าที่ภรรยาอย่างสุดความสามารถ สมควรอย่างยิ่งที่จะคำนึงถึงสองจุดเด่นนี้ให้มากเพื่อจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาในเรื่องอื่นๆ
บรรยากาศในครอบครัวควรอบอวลไปด้วยความรักความเข้าใจ มิไช่การยกตนข่มท่าน ด้วยเหตุนี้เอง บางปัญหาที่ว่าหนักเกินแบกรับ ก็สามารถแก้ไขได้อย่างไม่ยากเย็น
บางเรื่องที่เรามองว่าเป็นจุดบกพร่องอาจจะมิไช่จุดบกพร่องเสมอไป ฉะนั้นจึงต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าพฤติกรรมใดคือจุดบกพร่อง แล้วจึงคิดที่จะเยียวยารักษา
เชื่อว่าหลักการง่ายๆเพื่อตักเตือนสามีก็คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ลองคิดว่าถ้าหากมีใครสักคนต้องการจะตักเตือนเรา เราอยากได้ยินคำตักเตือนลักษณะใด ให้ถือว่านั่นคือสิ่งที่ควรถือปฏิบัติ
เมื่อคำนึงถึงการที่คุณสองคนเพิ่งจะแต่งงานกันได้ไม่นาน ย่อมจะยังไม่เข้าใจอุปนิสัยของคู่รักอย่างละเอียดละออนัก จึงไม่ควรจะด่วนสรุปจนกว่าจะเข้าใจกันและกันอย่างละเอียด หากทำได้ดังนี้ก็สามารถจะบรรลุเป้าหมายได้โดยต้องไม่สร้างแรงกดดันแก่คู่ครองของคุณ
ในคำถามของคุณมีจุดเด่นหนึ่งที่น่าประทับใจก็คือ คุณสองคนรักกันและคุณเองก็พยายามที่จะเป็นภรรยาที่ดีที่สุดสำหรับสามี สมควรอย่างยิ่งที่จะเน้นสองข้อนี้ให้มาก เพื่อจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาในประเด็นความไม่เข้าใจกันในหลายๆเรื่อง อย่างไรก็ดี เพื่อจะได้คำตอบที่แม่นยำยิ่งขึ้น ควรไขปริศนาต่อไปนี้เป็นอันดับแรก
หนึ่ง. เบื้องต้นจะต้องทราบว่าจะเป็นคู่ครองที่ดีได้อย่างไร?
สอง. สิ่งใดคือคุณสมบัติของคู่ครองที่ดีในมุมมองอิสลาม?
สาม. สิ่งที่เรามองว่าเป็นจุดบกพร่อง แท้ที่จริงแล้วเป็นจุดบกพร่องหรือไม่?
สี่. ในกรณีที่เป็นจุดบกพร่อง เราจะแจ้งให้ฝ่ายตรงข้ามทราบได้หรือไม่? มีเงื่อนไขอย่างไร?
เราจะร่วมกันไขปริศนาข้างต้นไปพร้อมๆกัน
หนึ่ง. อิสลามและบรรดาผู้รู้ทางศาสนาของเราสอนว่า ชีวิตคู่ควรจะต้องอบอวลไปด้วยความรักไคร่กลมเกลียวและความจริงใจ มิไช่คละคลุ้งไปด้วยความเย่อหยิ่งทรนง ด้วยเหตุนี้เอง หากสามีภรรยาสามารถประคองความรักความเข้าใจต่อไปได้ ด้วยเหตุนี้เอง บางปัญหาที่ว่าหนักเกินแบกรับ ก็สามารถแก้ไขได้อย่างไม่ยากเย็น อย่างไรก็ดี ควรคำนึงเสมอว่าการบริหารกิจการครอบครัวเป็นหน้าที่ของสามี (แต่มิไช่เพราะภรรยามีสถานะด้อยกว่า) โดยสมาชิกครอบครัวสามารถจะช่วยเสริมคุณภาพชีวิตได้ด้วยข้อคิดข้างต้น
สอง. คำตอบของปริศนานี้มีการนำเสนอแล้วในระเบียน “คุณสมบัติของคู่ครองที่ดี”คำถามที่ ในเว็บไซต์นี้
สาม. เกี่ยวกับการวินิจฉัยจุดบกพร่องนั้น เบื้องต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นจุดบกพร่องในแง่ใด ในแง่ศาสนา หรือในแง่ของสังคมและขนบธรรมเนียม หรือว่าเป็นเรื่องส่วนตัว สองมุมมองแรกจะต้องขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญศาสนาหรือนักสังคมวิทยา อย่างไรก็ดี แม้เราจะยอมรับว่าพฤติกรรมบางอย่างถือเป็นจุดบกพร่องได้โดยไม่ต้องสงสัย แต่ส่วนใหญ่มักจะมิได้เป็นเช่นนั้น หลายครั้งหลายคราที่เราถือว่าพฤติกรรมบางอย่างเป็นจุดบกพร่องทั้งที่ในความเป็นจริงไม่จัดว่าเป็นจุดบกพร่อง[1]
ข้อคิดส่งท้าย
สมมุติว่าเราเห็นพฤติกรรมอันเป็นจุดบกพร่องจริงๆ ถามว่าเราสามารถจะบอกให้เขารับรู้ โดยไม่จำเป็นจะต้องคำนึงเรื่องกาลเทศะไช่หรือไม่?
บ่อยครั้งที่เราตักเตือนด้วยความห่วยใย แต่เนื่องจากปราศจากความรอบคอบในแง่ของกาลเทศะจึงไม่บังเกิดผลอย่างที่มุ่งหวังหรืออาจจะส่งผลเสียได้ วิธีที่ดีที่สุดก็คือวิธีเอาใจเขามาใส่ใจเรา ซึ่งจะทำให้ทราบว่าควรจะตักเตือนด้วยคำพูดใดจึงจะเหมาะสมและน่ารับฟัง ที่สำคัญจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างทางบุคลิกและขีดความอดทนของแต่ละคนด้วย
เมื่อคำนึงถึงการที่คุณสองคนเพิ่งจะแต่งงานกันได้ไม่นาน แน่นอนว่ายังไม่เข้าใจอุปนิสัยของคู่รักอย่างละเอียดละออนัก จึงไม่ควรจะด่วนสรุปจนกว่าจะเข้าใจกันและกันอย่างละเอียด เมื่อนั้นจึงสามารถบรรลุเป้าหมายได้โดยต้องไม่สร้างแรงกดดันต่ออีกฝ่าย
ท้ายนี้ขอมอบฮะดีษที่น่าสนใจจากท่านอิมามอลี(อ.)ดังต่อไปนี้
ท่านอิมามอลี(อ.)เคยกล่าวสั่งเสียแก่ท่านอิมามฮะซัน(อ.)ไว้ว่า “โอ้ลูกพ่อ จงเปรียบตนเองกับผู้อื่น เมื่อลูกคาดหวังสิ่งใดก็จงคาดหวังให้ประสพแด่ผู้อื่นด้วย หากรังเกียจสิ่งใดก็จงอย่าประพฤติต่อผู้อื่นเช่นนั้น จงอย่ากดขี่ดังที่เธอเองก็ไม่อยากถูกกดขี่ จงทำดีดังที่อยากให้ผู้อื่นทำดีกับเธอ จงรังเกียจพฤติกรรมที่เธอไม่ประสงค์จะเห็นผู้อื่นกระทำ จงพอใจพฤติกรรมที่เธอพอใจให้เกิดแก่ตนเอง จงอย่าพูดในสิ่งที่เธอไม่รู้ จงพูดแต่สิ่งที่รู้ และจงอย่าพูดในสิ่งที่ไม่ประสงค์จะได้ยินผู้อื่นพูดกับเธอ”[2]
[1] เกี่ยวกับเรื่องนี้โปรดศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขของการกำชับสู่ความดีและห้ามปรามสู่ความชั่ว ทางเราได้คัดมาจากตำราประมวลปัญหาศาสนาของอิมามโคมัยนี(พร้อมภาคผนวก) เล่ม 2 หน้า 765 ภาคเสริมของอายะตุลลอฮ์โฆลเพฆอนีและอายะฯศอฟีดังต่อไปนี้
เงื่อนไขของการกำชับความดีหรือปรามความชั่วมีห้าประการดังนี้
หนึ่ง. ผู้กระทำการนี้จะต้องทราบเกี่ยวกับความดีและความชั่วเป็นอย่างดี และมั่นใจว่าความดีความชั่วนั้นๆเป็นข้อบังคับ และแน่ใจว่าพิจารณาไม่ผิดพลาด
สอง. คาดว่าการรณรงค์หรือห้ามปรามดังกล่าวจะสัมฤทธิ์ผล แต่หากมองว่าเป็นไปไม่ได้ ย่อมไม่จำเป็นต้องกระทำ
สาม. มั่นใจว่าผู้กระทำผิดมีเจตนาจะกระทำผิดต่อไป แต่หากเห็นว่าผู้กระทำผิดมีท่าทีสำนึกผิดและไม่กระทำซ้ำ ถือว่าไม่จำเป็นต้องกำชับหรือห้ามปราม
สี่. มั่นใจว่าไม่มีข้อยกเว้นใดๆในการงดกระทำความดีหรือประกอบกรรมชั่ว แต่ในกรณีที่ผู้กระทำผิดเชื่อมั่นโดยสเน่หาว่ามิได้กระทำผิด ถือว่าไม่จำเป็นต้องกำชับตักเตือน อันหมายรวมถึงกรณีที่ผู้กระทำผิดทุกกรณีที่กระทำไปโดยมีเหตุจำเป็น อนึ่ง การตักเตือนผู้ไม่รู้ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องกระทำ
ห้า. การกำชับตักเตือนจะต้องไม่นำมาซึ่งความเสื่อมเสียและอันตรายที่จะตามมา และหากสันนิษฐานว่าจะเป็นเช่นนั้น ถือว่าไม่จำเป็นต้องกำชับตักเตือน
[2] มัจลิซี,มุฮัมมัด บากิร, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 72,หน้า 29,สถาบันอัลวะฟา,เบรุต,ฮ.ศ.1404