Please Wait
7672
จุดประสงค์ของ “การตักลีด” คือการย้อนไปสู่ภารกิจที่ตนไม่มีความเชี่ยวชาญ ในคำสั่งอันเฉพาะซึ่งต้องอาศัยความความเชี่ยวชาญพิเศษ ซึ่งเหตุผลที่สำคัญที่สุดสำหรับเรื่องการตักลีดเกี่ยวกับปัญหาศาสนาคือ เหตุผลทางสติปัญญา ที่ว่าผู้ไม่มีความรู้และไม่มีความเชี่ยวชาญปัญหา ต้องปฏิบัติตามผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในปัญหานั้น แน่นอนทั้งอัลกุรอาน และรายงานจำนวนมากมายได้เน้นย้ำถึงเรื่องการตักลีดเอาไว้ โดยเฉพาะอัลกุรอานโองการที่กล่าวว่า :
"فاسئلوا أهل الذکر إن کنتم لا تعلمون"
“ดังนั้น จงถามผู้รู้ถ้าหากสูเจ้าไม่รู้”
สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือเหตุผลทั้งหมดทางคำพูดเกี่ยวกับการตักลีด ก็คือสิ่งอันเป็นที่ยอมรับของบรรดานักปราชญ์ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ มัรญิอฺตักลีดคือ ผู้มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านฟิกฮฺ มีความสามารถในการพิสูจน์บทบัญญัติของพระเจ้าจากแหล่งที่มาของบทบัญญัติ ฉะนั้น จำเป็นสำหรับบุคคลอื่นเกี่ยวกับปัญหาศาสนาต้องปฏิบัติตามพวกเขา
ศาสนาอิสลามได้วางกฎเกณฑ์เอาไว้แก่มนุษย์ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของพวกเขาทั้งในแง่ของวัตถุ ศีลธรรมจรรยา เรื่องส่วนตัว สังคมส่วนรวม ตลดจนการเมืองการปกครอง และเศรษฐศาสตร์ อิสลามได้วางกฎเกณฑ์เหล่านั้นไว้ในรูปแบบของบทบัญญัติทางฟิกฮฺที่แตกต่างกัน มีการแต่งและประพันธ์เอาไว้อันก่อให้เกิดวิชาการด้านฟิกฮฺ ซึ่งความรู้ด้านฟิกฮฺตามความเป็นจริงแล้วก็คือ แบบอย่างหลักในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ วิธีการอันถูกต้องของความเป็นมนุษย์ ความสัมพันธ์ทางสังคม และเป็นระบบอันสูงส่งสำหรับชีวิต เนื่องจากได้ครอบคลุมทุกแง่มุมในชีวิตมนุษย์ ดังคำกล่าวของอิมามโคมัยนีที่ว่า ฟิกฮฺ คือทฤษฎีที่แท้จริง มีความสมบูรณ์เพื่อควบคลุมวิถึชีวิตมุสลิม และสังคมนับตั้งแต่เปลจนถึงหลุมฝังศพ[1]
เนื่องจากการให้ความสำคัญเป็นพิเศษด้านฟิกฮฺและบทบัญญัติทางศาสนา หมู่มวลมิตรแห่งอัลลอฮฺได้เชิญชวนเหล่าผู้ปฏิบัติตามตนไปสู่การเชื่อฟังปฏิบัติตาม และจงอย่าเพิกเฉยหรือไม่ใส่ใจต่อการเรียนรู้หลักบัญญัติของอิสลาม เพราะจะเป็นสาเหตุนำไปสู่การลงโทษ
อิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า “ถ้าหากมีชายหนุ่มจากชีอะฮฺมาหาฉัน แต่ไม่ใคร่ครวญเรื่องฟิกฮฺ ฉันจะลงโทษเขา”[2]
บทบัญญัติของอิสลามนั้นมีทั้งสิ่งที่เป็นข้อบังคับ และสิ่งต้องห้ามเนื่องจากอัลลอฮ่ทรงวางกำหนดสิ่งเหล่านี้เอาไว้ เพื่อความจำเริญผาสุกของประชาชนทั้งโลกนี้และโลกหน้า ถ้าหากมนุษย์ไม่เชื่อฟังปฏิบัติตาม เขาจะไม่ไปถึงยังความผาสุกอันเป็นเป้าหมาย และจะไม่รอดพ้นการลงโทษของอัลลอฮฺ สำหรับการรู้จักบทบัญญัติอิสลาม – จำเป็นต้องรอบรู้สิ่งต่างๆมากมาย เช่น ความเข้าใจเกี่ยวกับโองการอัลกุรอาน รายงาน การรู้จักฮะดีซเชื่อถือได้ และเชื่อถือไม่ได้ วิธีการรวมฮะดีซหรือโองการเข้าด้วยกัน หรือการแยกแยะฮะดีซฮะดีซเหล่านั้น และหลีกหลายปัญหาที่จำเป็น ซึ่งการเรียนรู้จกปัญหาเหล่านั้น ต้องใช้เวลาร่ำเรียนและความพยายามอย่างสูงหลายปีด้วยกัน
ดังนั้น บนปัญหาดังกล่าวนี้ผู้ปฏิบัติตามจึงมีหน้าที่ 3 ประการด้วยกัน
ประการแรก เข้าสู่แนวทางศึกษาหาความรู้จนถึงระดับการอิจญฺติฮาด
ประการที่สอง ศึกษาค้นคว้าทัศนะต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว และถือปฏิบัติในลักษณะที่ว่าตรงหรือไม่ขัดแย้งกับคำฟัตวาเหล่านั้น ถือว่าการปฏิบัติของเขาถูกต้อง (อิฮฺติยาฏ)
ประการที่สาม ทัศนะของบุคคลที่ได้ศึกษาค้นคว้าวิชาการด้านนี้โดยสมบูรณ์ เป็นผู้เชี่ยวชาญบทบัญญัติ สามารถออกทัศนะได้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ถ้าเขาอยู่ในวิถีทางที่หนึ่งเขาต้องไปถึงระดับของการวินิจฉัยแน่นอน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านบทบัญญัติ ดังนั้น สองทางที่เหลื่อไม่จำเป็นสำหรับเขาอีกต่อไป แต่จนกว่าจะไปถึงระดับดังกล่าว เขาจำเป็นต้องท่องไปตามวิถีทางทั้งสองด้วย
แนวทางที่สองต้องอาศัยข้อมูลที่เพียงพอต่อการศึกษาทัศนะต่างๆ ในทุกปัญหาโดยต้องยึดแนวทางอิฮฺติยาฏเพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตน ซึ่งการอิฮฺติยาฏนั้นจะทำให้การดำเนินชีวิตของเขาล่าช้า ดังนั้น การเลือกแนวทางตักลีดเป็นวิธีการที่ง่ายดายที่สุด สะดวกสบายต่อการปฏิบัติอันเป็นหน้าที่ของประชาชนโดยทั่วไปที่จะต้องกระทำเช่นนั้น และนี่คือแนวทางทั้งสามแต่มิได้เป็นแนวทางอันจำกัดในการปฏิบัติตัวตามบทบัญญัติ เนื่องจากทุกสาขานั้นย่อมต้องการผู้เชี่ยวชาญพิเศษประจำสาขานั้น เช่น วิศวกรคนหนึ่งเขามีความชำนาญด้านหนึ่งแต่เมื่อเขาป่วยไม่สบาย เขาจึงมีทางเลือกอยู่สองทางคือ ศึกษาค้นคว้าหาอาการใข้ด้วยตัวเอง โดยนำเอาทัศนะแพทย์ที่มีอยู่อยู่แล้วมาศึกษาวิจัยต่อ แล้วปฏิบัติตัวด้วยความระมัดระวัง เพื่อว่าภายหลังจะได้ไม่ต้องเสียใจ หรือไปพบแพทย์ด้วยตัวเองเพื่อการเยี่ยวยารักษา.
แน่นอน วิธีการแรกนั้นผู้ป่วยไม่อาจเยี่ยวยารักษาให้หายตามปกติได้โดยด่วน ส่วนแนวทางที่สองก็ยากลำบากกับตัวเองเป็นอย่างยิ่งมิหนำซ้ำยังทำให้เขาต้องออกหลุดพ้นความเชี่ยวชาญของตน ดังนั้น วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและปฏิบัติไปตามสั่งของแพทย์
การปฏิบัติไปตามทัศนะของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนั้น นอกจากจะไม่ทำให้เขาต้องเสียใจ และไม่เสียเวลาแล้วยังทำให้เขารอดปลอดภัยและพบกับความสุขในชีวิตอีกต่างหาก บรรดาผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามทัศนะของมุจญฺตะฮิดผู้มีความเชี่ยวชาญพิเศษ นอกจากจะทำให้ท่านไม่ต้องเสียใจกับการถูกลงโทษในโลกหน้าแล้ว ท่านยังได้ปฏิบัติศาสนบัญญัติได้อย่างถูกต้องอีกต่างหาก[3]
จุดประสงค์ของ “การตักลีด” คือการย้อนไปสู่ภารกิจที่ตนไม่มีความเชี่ยวชาญ ในคำสั่งอันเฉพาะซึ่งต้องอาศัยความความเชี่ยวชาญพิเศษ ซึ่งเหตุผลที่สำคัญที่สุดสำหรับเรื่องการตักลีดเกี่ยวกับปัญหาศาสนาคือ เหตุผลทางสติปัญญา ที่ว่าผู้ไม่มีความรู้และไม่มีความเชี่ยวชาญปัญหา ต้องปฏิบัติตามผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในปัญหานั้น แน่นอนทั้งอัลกุรอาน และรายงานจำนวนมากมายได้เน้นย้ำถึงเรื่องการตักลีดเอาไว้ โดยเฉพาะอัลกุรอานโองการที่กล่าวว่า :
"فاسئلوا أهل الذکر إن کنتم لا تعلمون"
“ดังนั้น จงถามผู้รู้ถ้าหากสูเจ้าไม่รู้” [4]
หรือรายงานกล่าวว่า “สำหรับสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเจ้าจงย้อนไปหานักรายงานฮะดีซของเรา เพราะพวกเขาคือข้อพิสูจน์ของเราสำหรับพวกท่าน ส่วนพวกเราคือข้อพิสูจน์ของอัลลอฮฺ”[5]
ท่านมุฮักกิก กะรักกียฺ กล่าวว่า “บรรดาชีอะฮฺทั้งหลายต่างมีความเห็นพร้องต้องกันว่า ฟะกะฮฺที่ยุติธรรม อะมีน มีเงื่อนไขสมบูรณ์ในการออกคำวินิจฉัย ซึ่งตามหลักศาสนบัญญัติเรียกเขาว่า มุจญฺตะฮิด ซึ่งในยุคของการเร้นกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ ถือว่าพวกเขาคือตัวแทนของท่านอิมาม”
สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือเหตุผลทั้งหมดทางคำพูดเกี่ยวกับการตักลีด ก็คือสิ่งอันเป็นที่ยอมรับของบรรดานักปราชญ์ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ มัรญิอฺตักลีดคือ ผู้มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านฟิกฮฺ มีความสามารถในการพิสูจน์บทบัญญัติของพระเจ้าจากแหล่งที่มาของบทบัญญัติ ฉะนั้น จำเป็นสำหรับบุคคลอื่นเกี่ยวกับปัญหาศาสนาต้องปฏิบัติตามพวกเขา
ศึกษาเพิ่มเติมได้จากหัวข้อต่อไปนี้
1) มัรญิอ์ และตักลีด, คำถามที่ 276
2) วิลายะตุลฟะกีฮฺ และมัรญิอฺ, คำถามที่ 272
3) อะดิลละฮฺ วิลายะตุลฟะกีฮฺ, คำถามที่ 235