การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6462
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/07
คำถามอย่างย่อ
เพราะสาเหตุใด มุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ จึงไม่ได้ช่วยเหลือท่านอิมามฮุซัยนฺ ในขบวนการอาชูรอ และสิ่งที่กล่าวพาดพิงถึงท่านที่ว่า ท่านได้อ้างตัวการเป็นอิมามะฮฺถูกต้องหรือไม่?
คำถาม
เพราะสาเหตุใด มุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ จึงไม่ได้ช่วยเหลือท่านอิมามฮุซัยนฺ ในขบวนการอาชูรอ และสิ่งที่กล่าวพาดพิงถึงท่านที่ว่า ท่านได้อ้างตัวการเป็นอิมามะฮฺถูกต้องหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

การตัดสินเกี่ยวกับบุคลภาพ ความประเสริฐ ความศรัทธาและจริยธรรมของมุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ หรือการค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอบบิดเบือนตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับบุคลิกภาพ สถานะภาพของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ มิใช่สิ่งที่ง่ายดายแต่อย่างใดเลย แต่จากการศึกษาค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ปัจจุบัน พร้อมกับอาศัยสัญลักษณ์ที่กระจัดกระจายอยู่ตามตำราอ้างอิงต่าวๆ สามารถเข้าใจมุมมองหนึ่งจากชีวประวัติของบุรุษผู้นี้ได้ เช่น คำพูดที่พูดพาดพิงถึงบุตรชายคนนี้ของท่านอิมามอะลี (อ.) สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้, กล่าวคือเขาเป็นบุรุษที่มีความยิ่งใหญ่คนหนึ่ง เป็นที่รักใคร่ของท่านอิมามอะลี และอิมามฮะซะนัยฺ (อ.) เขามีความเชื่อศรัทธาต่อสถานการณ์เป็นอิมามของบรรดาอิมาม (อ.) เขามิเพียงไม่ได้กล่าวอ้างการเป็นอิมามเพียงอย่างเดียว ทว่าเขายังเป็นทหารผู้เสียสละคอยปกป้อง และรับใช้ท่านอิมามอะลี (อ.) อิมามฮะซัน และอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ด้วยดีมาโดยตลอด

เกี่ยวกับสาเหตุที่ท่านมิได้เข้าร่วมเหตุการณ์ในกัรบะลาอฺ หนึ่งในสาเหตุนั้นก็คือ การยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นั้นมีชะฮาดัตรอคอยอยู่ และการที่เป้าหมายดังกล่าวจะบังเกิดสมจริงได้นั้น ก็ด้วยจำนวนสหายดังกล่าวที่ได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับท่านอิมามฮุซัยน (อ.) ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เห็นว่าไม่มีความสมควรแต่อย่างใด ในการสู้รบหนึ่งซึ่งผลที่ออกมาทั้งสหาย และบุรุษลูกหลานในครอบครัวแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน จะต้องเข้าร่วมโดวยพร้อมหน้ากัน

อีกเหตุผลหนึ่ง เนื่องจากท่านมุฮัมมัด ฮะนะฟียฺ ไม่สบายจึงไม่อาจเข้าร่วมได้ เหตุผลที่สาม เนื่องจากท่านได้รับมอบหมายหน้าที่จากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ให้เฝ้าคอยระวังมะดีนะฮฺในช่วงที่ท่านอิมามฮุซัยนฺ  (อ.) ไม่อยู่ แล้วคอยส่งข่าวให้ท่านได้รับทราบ

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อการรู้จักบุคลิกภาพของมุฮัมมัด ฮะนะฟียฺ ให้มากยิ่งขึ้นจำเป็นต้องวิภาษประเด็นดังต่อไปนี้

อันดับแรกขอกล่าวถึงบทนำเกี่ยวกับการลอบสังหารบุรุษจากครอบครัวอิมามมะฮฺ โดยน้ำมือของศัตรูตลอดหน้าประวัติศาสตร์ผ่านมา หลังจากนั้น

1.อธิบายถึงความรักผูกพันระหว่างมุฮัมมัด บินฮะนีฟะฮฺ กับบิดาผู้ยิ่งใหญ่ ท่านอิมามอะลี (อ.) และความรักผูกพันที่อิมามอะลีมีต่อเขา

2.อธิบายถึงความรักผูกพันระหว่างมุฮัมมัด บินฮะนีฟะฮฺ กับอิมามฮะซัน (อ.) และความรักผูกพันที่อิมามฮะซันมีต่อเขา

3.อธิบายถึงความรักผูกพันระหว่างมุฮัมมัด บินฮะนีฟะฮฺ กับอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และความรักผูกพันที่อิมามฮุซัยนฺมีต่อเขา

4.อธิบายถึงความรักผูกพันระหว่างมุฮัมมัด บินฮะนีฟะฮฺ มีผู้ยืนหยัดต่อสู้และบรรดาผู้ทวงหนี้เลือดทั้งหลายของอะอิมมะฮฺ

การวิเคราะห์และอธิบายปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพของลูกอิมามอะลี (อ.) ซึ่งจะนำเสนอในลำดับต่อไป

บทนำ

การเผชิญหน้าของประวัติศาสตร์กับบรรดาบุรุษที่พาดพิงถึงครอบครัวของท่านอิมามอะลี (.)

การศึกษาค้นคว้าอย่างไม่พิถีพถัน และการวิเคราะห์หลักฐานทั้งหมด ตลอดจนเครื่องหมายทั้งหลายเพื่อนำมาอธิบายความจริงดังกล่าว ต้องอาศัยเวลามากกว่านี้ แน่นอนว่าสิ่งนั้นเกินความจำเป็นของบทความนี้ ด้วยเหตุนี้ จำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงความจริงบางอย่างเท่าที่เพียงพอในโอกาสนี้

. เป็นที่ยอมรับกันว่าตำราด้านประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ได้ถูกประพันธ์ขึ้นตามความต้องการของผู้ปกครอง ในลักษณะที่ว่าสิ่งนั้นต้องไม่ขัดแย้ง หรือหรือสร้างความรู้สึกไม่ดีกับการปกครองของตน ด้วยเหตุนี้ อิบนุฮิชาม นักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งจึงได้เขียน และสรุปประวัติศาสตร์ ซีเราะฮฺ อิบนุ อิสฮาก ตามวิถีของตนกล่าวว่า : บางอย่างที่บันทึกอยู่ในหนังสือของอิบนุอิสฮาก ฉันมิได้นำมากล่าวถึง เนื่องจากเป็นสิ่งที่ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ไม่เคยกระทำหรือมิได้เป็นผลมาจากการกระทำของท่าน หรือสิ่งเหล่านั้นไม่มีหลักฐานปรากฏในอัลกุรอาน หรือไม่มีตัฟซีรอ้างและพาดพิงถึงแต่อย่างใด .. ทำนองเดียวกันบทกวีที่นักกวีทั้งหลายมิได้ประพันธ์ขึ้นมา หรือมิรู้จักกับบทกวีเหล่านั้น หรือเป็นบทกวีที่ประชาชนส่วนใหญ่รังเกลียดและไม่ชอบ[1]

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าวัตถุประสงค์ของอิบนุฮีชาม ที่กล่าวถึงประชาชนในที่นี้ (ที่ประพฤติชั่วบางอย่าง) หมายถึงชนชั้นผู้ปกครอง เพราะถ้าเป็นประชาชนธรรมดาทั่วไป จะไม่สามารถขัดขวางการบันทึก หรือทำให้อิบนุฮิชามต้องบันทึกประวัติชนิดบิดเบือนความจริงได้อย่างแน่นอน

. เมื่อได้ศึกษาประวัติศาสตร์แล้วพบว่า นักประวัติศาสตร์บางคนก็มิได้เจริญรอยตามวิถีของ อิบนุฮิชาม แต่เนื่องจากมีปัจจัยภายนอกอย่างอื่นจำนวนมากมาย ทำให้พวกเขาต้องบันทึกประวัติศาสตร์ไปตามความเห็นชอบ และความต้องการของผู้ปกครอง ตัวอย่าง เมื่อประวัติศาสตร์ได้บันทึกตามความถูกต้องไว้ว่า ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ตั้งแต่วันแรกที่ยะซีดขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺ ท่านได้ตั้งตนเป็นปรปักษ์กับเขาทันที และกล่าวแก่วะลีด ผู้ปกครองมะดีนะฮฺสมัยนั้นว่า  : พวกเราเป็นอะฮฺลุลบัยตฺของท่านศาสดา เป็นคลังแห่งสาส์น เป็นสถานที่ไปมาของมวลมลาอิกะฮฺ และ ....ขณะที่ยะซีดคือ ผู้ก่อความเสียหายบนหน้าแผ่นดิน ดื่มสุรา เล่นการพนัน สังหารชีวิตบริสุทธิ์ที่ไร้ความผิด มีพฤติกรรมเป็นพวกกลับกลอก และ ... ดังนั้น บุคคลเยี่ยงฉันจะไม่ให้สัตยาบันกับยะซีดอย่างแน่นอน[2]

พวกเขาได้บิดเบือนคำพูดนี้อย่างจงใจแล้วพาดพิงถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) โดยกล่าวว่า ท่านอิมามได้ขอร้องให้วะลีดพาท่านไปพบยะซีด ฉะนั้น เป็นที่ชัดเจนว่า นี่เป็นคำพูดบิดเบือนอันชัดแจ้ง เพราะพวกเขาได้ทำไปตามความต้องการของผู้ปกครองหรือเคาะลิฟะฮฺแห่งยุคสมัย ดังนั้น เมื่อนักประวัติศาสตร์สามารถเปลี่ยนแปลงคำพูดที่ชัดแจ้งของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้เพียงนี้ สิ่งอื่นก็มิต้องกล่าวถึงแล้วว่าจะเป็นเช่นไร

. นักประวัติศาสตร์และนักรายงานฮะดีซจำนวนหนึ่ง, เนื่องจากพวกเขามีความหวาดกลัวต่ออำนาจปกครองของเคาะลิฟะฮฺ หรือความเผด็จการของพวกเขา, พวกเขาจึงปฏิเสธเรื่องความประเสริฐของท่านอิมามอะลี (อ.) และในทางกลับกันสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความประเสริฐของท่านอิมามอะลี (อ.) และอะฮฺลุลบัยตฺพวกเขากับยกย่อง บุคคลเหล่านั้นจึงได้กุเรื่องเท็จเพื่อยกย่องเกียรติของพวกเขาให้สูงส่ง[3] ด้วยเหตุนี้ สามารถกล่าวด้วยความมั่นใจได้ว่า ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.)  โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับลูกหลานของท่านอิมามอะลี (อ.) แล้วได้รับการบิดเบือนมากเป็นพิเศษ ห่างไกลจากความจริงและความยุติธรรมทางสังคม ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องนำเอาหลักฐานและเครื่องหมายที่กระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ หรือในหนังสือประวัติศาสตร์ แล้วรวบรวมเข้าด้วยกันเพื่อประกอบความเข้าใจเกี่ยวกับบุคลลิคของมุฮัมมัด ฮะนะฟียฺ ซึ่งเครื่องหมายเหล่านั้นประกอบด้วย:

1 .ความรักผูกพันระหว่างมุฮัมมัด บินฮะนีฟะฮฺ กับบิดาผู้ยิ่งใหญ่ ท่านอิมามอะลี (.) และความรักที่อิมามอะลีมีต่อเขา

บุคคลใดก็ตามได้ติดตามประเด็นนี้ หรือได้ค้นคว้าเกี่ยวกับช่วงเวลาที่รายงานต่างๆ ได้กระจัดกระจายออกไปและปรากฏอยู่ในตำราทั้งฝ่ายซุนนีย์ และชีอะฮฺ ซึ่งเป็นฮะดีซเกี่ยวกับอิมาม (อ.) จะเข้าใจได้ทันทีว่า ท่านอิมามอะลี (อ.) นั้นรักบรรดาบุตรของท่านมากน้อยเพียงใด ถึงขั้นที่ว่าบางคนท่านได้กล่าวกับพวกเขาว่า “ใครก็ตามที่ต้องการทำดีกับฉันทั้งโลกนี้และโลกหน้า เขาต้องทำดีกับมุฮัมมัดบุตรชายของฉันคนนี้”[4]

เจ้าของหนังสือ อัลอิตติฮาฟ วะซียัตอิมาม (อ.) กล่าวว่า “หลังจากอิมามได้มองไปยังมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ แล้วกล่าวว่า : เจ้ายังจำได้ไหมสิ่งที่พ่อได้สั่งเสียและแนะนำเกี่ยวกับพี่ชายทั้งสองของเจ้า? มุฮัมมัด กล่าวว่า ได้ครับ หลังจากนั้นท่านอิมามได้กล่าวว่า : ดังนั้น พ่อขอสั่งเจ้าอีกเหมือนเช่นเคยว่า เจ้าต้องให้ความเคารพพี่ทั้งสอง เนื่องจากเขาทั้งสองมีบุญคุณใหญ่หลวงนักกับเจ้า เจ้าจงเชื่อฟังคำสั่งของเขา จงอย่ากระทำการใดๆ โดยปราศจากคำปรึกษาจากทั้งสอง หลังจากนั้นท่านอิมามได้กำชับอีกว่า : พ่อขอกำชับเจ้าทั้งสอง (ฮะซะนัยนฺ) เกี่ยวกับมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ, เนื่องจากเขาเป็นน้องชายของเจ้าทั้งสอง[5]และเป็นลูกของบิดาของเจ้าทั้งสอง และเจ้าทั้งสองรู้ดีว่าบิดาของเจ้าทั้งสองคักเขามากเพียงใด”[6]

ประโยคนี้เป็นหนึ่งในคำสั่งเสียของท่านอิมามอะลี (อ.) ซึ่งบ่งบอกให้เห็นว่าท่านนั้นรักและเป็นห่วงมุฮัมมัด ฮะนะฟียฺมากน้อยเพียงใด ทว่ายังเห็นได้อีกว่าท่านอิมามพยายามเสริมสร้างความรักระหว่างพี่น้องด้วยกันให้มีความเข็มแข็งขึ้น

ในโอกาสนี้ มีความเหมาะสมยิ่งที่จะหยิบยกคำสั่งเสียของท่านอิมาม (อ.) ที่มีความยึดยาวพอสมควร ซึ่งท่านเชคซะดูก ได้กล่าวเอาไว้เป็นการบงชี้ให้เห็นถึง การเอาใจใส่เป็นพิเศษของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่มีต่อ มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ บุตรชายของท่าน แต่เนื่องจากคำสั่งเสียนั้นมีความยาวจึงขอหยิบยกบางส่วนจากท่อนแรก และท่อนสุดท้ายมากล่าวเป็นตัวอย่างแก่ท่านผู้อ่านดังนี้ : คำสั่งเสียของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่มีต่อบุตรชายคนหนึ่งของท่าน มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ท่านกล่าวว่า : โอ้ บุตรชายของฉัน จงระวังตัวเชื่อถือความฝันทางโลกนี้เป็นจริงจัง เนื่องจากความหวังทั้งหลาย ....ถ้าหากเจ้าต้องการได้รับความดีงามทั้งจากโลกนี้และโลกหน้า จงตัดขาดจากขาดจากความอยากได้ทั้งหลายที่อยู่ในมือของประชาชน”[7]

เป็นที่ชัดเจนว่าพินัยกรรมนี้เป็นพินัยกรรมสุดท้ายของท่านอิมามอะลี (อ.) ซึ่งได้สาธยายถึงความผูกพันและความรักของท่านอิมาม (อ.) ที่มีต่อมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ และความกรุณาที่ท่านมอบต่อบุคลิก และการชี้นำไปสู่แนวทางของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ในลักษณะที่ว่าท่านอิมามมีปัญหารอบด้านรายล้อมอยู่ กระนั้นท่านย้งเขียนพินัยกรรมอันยาวนี้ขึ้นมา สิ่งนี้บ่งบอกให้เห็นถึงความสำคัญของประเด็นดังกล่าว

2.อธิบายถึงความรักผูกพันระหว่างมุฮัมมัด บินฮะนีฟะฮฺ กับอิมามฮะซัน (อ.) และความรักผูกพันที่อิมามฮะซันมีต่อเขา

หลักฐานและเครื่องหมายเกี่ยวกับคำพูดดังกล่าวมีจำนวนมาก ซึ่งในที่นี้จะขอหยิบยกบางประเด็นมาอธิบายดังต่อไปนี้

2.1 เป็นที่ชัดเจนว่าท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ปกป้องชีวิตของอิมามฮะซะนัยฺ (อ.) ไว้อย่างมั่นคงและเข็มแข็งที่สุด เนื่องความต่อเนื่องการเป็นอิมามด้านหนึ่ง และอีกด้านหนึ่งสายตระกูลของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต่อสืบทอดจากทั้งสอง นั่นหมายความว่ามีความเกี่ยวข้องกับปัญหาการมีชีวิตของท่านอิมามทั้งสอง ด้วยเหตุนี้เอง ท่านอิมาม (อ.) จึงต้องมอบหน้าที่อันตรายยิ่งกว่าให้เป็นหน้าที่ของมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ดังนั้น บางคนจึงต้องการสร้างความแตกแยกระหว่างมุฮัมมัดฮะนะฟียะฮฺ กับพี่ชายทั้งสอง -หรือถ้าจะคิดดีกับพวกเขา- พวกเขาได้พยายามที่จะค้นหาเหตุผลในพฤติกรรมที่แตกต่างของท่านอิมามอะลี (อ.) ก็ต้องถามเขาว่า บิดาของท่านส่งท่านให้ไปปฏิบัติหน้าที่อันตรายได้อย่างไร ทำไมไม่ส่งฮะซะนัยนฺไปทำแทน? พวกเขาพยายามสร้างสถานการณ์ให้มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ โดยสร้างคำพูดที่ก่อให้เกิดความคิดแตกแยกทางความคิด ความรัก และความศรัทธาที่แตกต่างกับพี่ชายทั้งสอง และการตัดสินใจของบิดาของพวกเขา แต่เขาได้ตอบข้อสงสัยของบุคคลเหล่านั้นว่า : พี่ชายทั้งสองของฉันคือ แก้วตาดวงใจของบิดา ส่วนฉันคือมือของท่าน แน่นอน ถูกต้องแล้วที่บิดาของฉันใช้มือของท่านปกป้องดวงตาของตน[8]

2.2 เมื่อท่านอิมามฮะซัน (อ.) ใกล้ที่จะสิ้นชีพ ท่านได้เรียกฆัมบัรให้เข้ามาหา แล้วสั่งว่า เธอจงเรียกมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ มาพบฉันหน่อยซิ ฆัมบัร กล่าวว่า เมื่อฉันได้บอกกับมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺว่า อิมามฮะซัน (อ.) ได้ให้มาตามท่าน เขาได้ถามฉันทันทีว่า มีอะไรเกิดขึ้นกับท่านอิมามหรือ? ฉันตอบว่า ท่านจงไปหาท่านอิมามเถิด และเขาได้รีบไปหาท่านอิมามอย่างรวดเร็ว เมื่อมาถึงแล้วเขาได้กล่าวสลาม แล้วท่านอิมามได้กล่าวกับเขาว่า จงนั่งลงซิ โอ้ มุฮัมมัด บุตรของอะลี ฉันไม่เคยหวาดกลัวเรื่องความริษยาที่มีต่อเธอ ดังเช่นที่อัลลอฮฺ ทรงสาธยายถึงคุณลักษณะเหล่านี้เอาไว้แก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย และฉันก็ไม่เห็นว่าชัยฏอนจะมีหนทางหลอกลวงเธอได้ ...หลังจากนั้นมุฮัมมัด ได้กล่าวแก่พี่ชายของท่านว่า : ท่านคืออิมามและเป็นนายของฉัน และแนวทางของฉันที่ไปสู่ศาสดา ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ฉันปรารถนาความตายก่อนที่จะได้ยินคำพูดเหล่านี้จากท่าน[9]

คำพูดนี้คือตัวอธิบายระดับชั้นของความศรัทธาของมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ และความเชื่อของเขาที่มีต่ออิมามะฮฺของพี่ชาย[10]

และคำยืนยันของท่านอิมามฮะซัน (อ.) ที่กล่าวถึงมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ว่าเขานั้นห่างไกลจากความอิจฉาริษยา และชัยฏอนไม่อาจมีอิทธิพลเหนือตัวเขาได้ แน่นอน มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ คือ หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของโองการที่ว่า : ชัยฏอนไม่มีอำนาจเหนือปวงบ่าวทีแท้จริงของฉัน[11] สิ่งนี้ย่อมเป็นเหตุผลอันชัดแจ้งที่ยืนยันให้เห็นถึงบุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่ของท่าน

2.3 เมื่อท่านอิมามฮะซัน (อ.) ได้ชะฮาดัต มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ได้เสียใจเป็นที่สุด ท่านร่ำไห้และพรรณนาถึงพี่ชายสุดที่รักแถบขาดใจตาย เสียงรำพันและถ้อยคำที่เอื้อนเอ่ยออกมา บ่งบอกให้เห็นถึงความจงรักภักดีที่ท่านมีต่อพี่ชาย

ยะอฺกูบียฺ นักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : เมื่อร่างของท่านอิมามฮะซัน (อ.) ได้วางลงเพื่อกะฟั่น มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺกล่าวว่า : โอ้ อะบามุฮัมมัด ขออัลลอฮฺ ทรงเมตตาท่าน ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ชีวิตของท่านเปี่ยมไปด้วยเกียรติยศ ความตายของท่านคือการชี้นำทาง ไม่ว่าดวงวิญญาณจะอยู่ในร่างของท่านเหรือไม่ก็ตาม หรือร่างที่ปราศจากดวงวิญญาณซึ่งกำลังจะถูกกะฟั่นในไม่ช้านี้, แล้วทำไมจะไม่เป็นเช่นนี้เล่า ขณะที่ท่านมาจากมวลผู้ให้การชี้นำทาง ท่านคือพันธแห่งความสำรวมตน เป็นหนึ่งในห้าท่านจากบุคคลที่ได้รับอาหารสวรรค์จากอัลลอฮฺ ท่านได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากบ้านแห่งอิสลาม, ท่านได้ดื่มน้ำนมจากอกของหญิงที่เป็นแหล่งความศรัทธา, ท่านได้ดำรงชีวิตอย่างผู้บริสุทธิ์และจากโลกนี้ไปด้วยความสะอาด ขออัลลอฮฺทรงสรรเสริญและประสาทพรแด่ท่าน ...[12]

ถ้าหากบุคคลใดพิจารณาใคร่ครวญคำพูดของมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺอย่างรอบคอบแล้วละก็จะเห็นว่า ท่านได้ยกย่องเกียติของพี่ชายด้วยคำพูดสั้นๆ แต่เปี่ยมด้วยความหมาย คำพูดของเขาเป็นหนึ่งในคำพูดที่ดีที่สุดที่บ่งบอกถึงเกียรติยศและความประเสริฐ แล้วยังจะได้พบอีกว่าคำพูดของเขาครอบคลุมเหนือความจริงที่ปรากฏ และเมื่อเขาได้สาธยายถึงเรือนร่าง และวิญญาณของท่านอิมามฮะซัน ทำให้รู้ว่ายังจะมีผู้ใดที่รู้จักฐานะภาพของอิมามยิ่งไปกว่ามุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺอีก[13]

3. ความรักผูกพันระหว่างมุฮัมมัด บินฮะนีฟะฮฺ กับอิมามฮุซัยนฺ (.) และความรักผูกพันที่อิมามฮุซัยนฺมีต่อเขา

หลักฐานที่ยืนยันให้เห็นถึงความผูกพันทั้งสองฝ่าย จึงทำให้บังเกิดสิ่งตามมาคือ :

3.1 ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า เมื่อท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) อยู่ต่อหน้าท่านอิมามฮะซัน เพื่อให้เกียรติและเคารพพี่ชายท่านจะไม่กล่าวสิ่งใด ทำนองเดียวกันเมื่อมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ อยู่ต่อหน้าท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ก็จะปฏิบัติเช่นเดียวกัน[14]

3.2 ซิบฏ์ บิน เญาซียฺ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ตัซกิเราะตุลคอซ” ว่า : เมื่อมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ทราบข่าวการเดินทางของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ขณะนั้นเขากำลังวุฎูอฺ เขาได้เสียใจและร้องไห้อย่างหนัก” สิ่งนี้คือเครื่องยืนยันให้เห็นถึงความผูกพันอย่างยิ่ง ระหว่างมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺกับท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) พี่ชาย ผู้เป็นหนึ่งในอะฮฺลุลบัยตฺที่ยิ่งใหญ่[15]

3.3 คำสนทนาระหว่างท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กับมุฮัมมัดฮะนะฟียะฮฺ ดังที่ฏ็อบรียฺได้บันทึกไว้ : โอ้ พี่ชายของฉัน ท่านคือบุคคลที่เป็นที่รักยิ่งและมีเกียรติที่สุดในหมู่ประชาชน ณ ฉัน และ...[16]

จากสิ่งที่กล่าวมาจะพบว่า สถานภาพของมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ณ บิดาผู้ยิ่งใหญ่ของเขา ท่านอิมามอะลี (อ.) หรือ ณ พี่ชายทั้งสองท่านอิมามฮะซะนัยนฺ (อ.) เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนยิ่ง

แต่ก็ยังมีคำถามเกิดขึ้นว่า เพราะเหตุใดมุฮัมมัด ฮะนะฟียฺ ไม่ร่วมเดินทางไปกัรบะลาอฺพร้อมกับท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)

ปรัชญาของการไม่เข้าร่วมในเหตุการณ์กัรบะลาอฺ ของมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺคือ อะไร

นี่คือคำถาม ที่ได้รับการอธิบายต่างๆ นานา, ดังที่ปรากฏในสาระของคำถามตั้งแต่ต้นแล้ว ดังนั้น เพื่อความชัดเจนของเรืองนี้ คำตอบสำหรับประเด็นดังกล่าวจึงต้องพิจารณาหลายด้านด้วยกัน :

1.เนื่องจากการเดินทางของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นั้นมีชะฮีดอยู่ ณ เบื้องหน้า และการที่จะทำให้เป้าหมายดังกล่าวสำเร็จสมบูรณ์ก็ด้วยจำนวนสหายที่ร่วมเดินทางไปพร้อมกับท่านเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จึงเห็นว่าไม่สมควรแต่อย่างใด ที่จะให้ลูกหลานแห่งอะฮฺลุลบัยตฺเข้าร่วมทั้งหมดโดยพร้อมหน้ากัน เนื่องจากการสู้รบในครั้งนี้บทสรุปคือการเป็นชะฮีดของเหล่าสหายทุกคน ซึ่งทัศนะนี้เป็นหลักฐานที่ยืนยันมาจากคำพูดของมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ที่ว่า : สหายพวกนั้นทุกคนชื่อของเขาและชื่อบิดาของเขาได้ถูกบันทึกไว้แล้ว ณ พวกเรา”[17]

2.อีกทัศนะหนึ่งกล่าวว่า ขณะที่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (ฮ.) ออกเดินทางนั้นเขาไม่สบายมาก แต่มีความขัดแย้งกันเรื่องอาการไข้ที่เขาเป็นอยู่[18]

3.ทัศนะที่สามเป็นทัศนะที่มีเหตุผลในการยอมรับมากที่สุดกล่าวคือ, ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้มอบหมายหน้าที่ให้มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ น้องชายเป็นผู้ดูแลจัดการแทนท่านในมะดีนะฮฺ ขณะที่ท่านไม่อยู่ ซึ่งทัศนะดังกล่าวนี้มีหลักฐานยืนยันประกอบหลายประการด้วยกัน กล่าวคือ :

. อัลลามะฮฺ มัจญฺลิซซียฺ และอัลลามะฮฺมุฮฺซิน อะมีน กล่าวว่า, ท่านอิมาม (อ.) ได้มอบหมายให้น้องชายคอยระวังศัตรูและดูแลการเคลื่อนไหวของพวกเขาให้มะดีนะฮฺ, ขณะที่ท่านอิมาม (อ.) กับสหายและครอบครัวได้เคลื่อนขบวนออกจากมะดีนะฮฺ ไปยังมักกะฮฺ ท่านได้แต่งตั้งน้องชายไว้ในฐานะเป็นผู้สืบข่าวกรอง ซึ่งคอยแจ้งข่าวแก่ท่านแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นในมะดีนะฮฺก็อย่าให้เล็ดรอดการับรู้ของท่านอิมาม : ท่านอิมามกล่าวว่า ส่วนเธอจะไม่อยู่ในมะดีนะฮฺ เว้นเสียแต่ว่าต้องเป็นหูเป็นตาแทนฉันในมะดีนะฮฺ และคอยส่งข่าวการเคลื่อนไหวของฝ่ายศัตรูให้ฉันทราบทุกระยะ”[19] และนี่เป็นตัวอย่างของเหตุผลที่ว่า ท่านอิมามได้มอบหมายภารกิจสำคัญให้เขาดูแลและรับผิดชอบ เป็นธรรมดาที่ว่าท่านอิมาม (อ.) ย่อมให้ความสำคัญกับเมืองใหญ่ของอิสลาม เฉกเช่นมะดีนะฮฺเป็นต้น ดังนั้น เมื่อท่านเดินทางออกไปก็ไม่ต้องการให้ตัวท่านตกข่าวการเคลื่อนไหวของเมืองนั้น

. หลักฐานที่สอง : จดหมายฉบับสุดท้ายที่อิมาม (อ.) ได้เขียนถึงมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ นักประวัติศาสตร์กล่าวว่า จดหมายฉบับสุดท้ายที่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เขียนคือ จดหมายที่ท่านเขียนส่งให้น้องชายคือ มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ซึ่งท่านอิมามบากิร (อ.) ได้กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า : ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ไดเขียนจดหมายจากกัรบะลาอฺ เพื่อส่งให้น้องชายที่อยู่ในมะดีนะฮฺว่า : ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ พระผู้ทรงเมตตา พระผู้ทรงปรานียิ่งเสมอ จากฮุซัยนฺ บุตรของอะลี (อ.) ถึงมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ บุตรของอะลี จากแผ่นดินกัรบะลาอฺ, โลกมิได้รับการปฏิเสธ ขณะเดียวกันปรโลกก็มิเคยถูกทำลายให้สิ้นไป”[20]

ด้วยเหตุนี้, ถ้าหากท่านอิมามไม่พอใจน้องชายที่ไม่ร่วมขบวนการกัรบะลาอฺกับท่านแล้วไซร์ ท่านจะไม่มีวันเขียนจดหมายฉบับสุดท้ายส่งให้น้องชายอย่างแน่นอน

. หลักฐานที่สาม : ความจริงจังและความพยายามของฮะนะฟียะฮฺ ในการยืนหยัดต่างๆ หลังจากนั้น โดยมีเจตนาเพื่อทวงหนี้เลือดให้แก่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)  ถ้าหากเขาไม่ได้ช่วยเหลือท่านอิมามเป็นความผิดแล้วละก็ ท่านอิมามต้องท้วงติงเขาในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ว่า ทำไมไม่ช่วยเหลืออิมาม ขณะที่มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ได้ท้วงติงมุคตารในความล่าช้าที่จะประหารชีวิต อุมะริบนิสะอัด, ท่านอายะตุลลอฮฺ คูอียฺ กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺได้นั่งร่วมกับบรรดาชีอะฮฺ ในงานชุมนุมหนึ่ง ได้ท้วงติงมุคตารในการประหารชีวิตอุมะริบสะอัด และไม่ทันที่ท่านจะกล่าวจบศรีษะของศัตรูสองคนได้ถูกนำมาวางตรงหน้าท่าน หลังจากนั้นท่านได้ลงซัจญฺดะฮฺขอบคุณ และยกมือดุอาอฺ พร้อมกับกล่าวว่า : โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค์อย่าทรงลืมวันเวลาเหล่านี้ของมุคตาร โปรดให้เขาเป็นสหายที่ดีที่สุดของอะฮฺลุลบัยตฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ด้วยเถิด หลังจากนั้น ท่านได้สาบานว่าหลังจากนี้ฉันจะไม่ขอทักท้วงงานของมุคตารอีกต่อไป[21]

. ตัวอย่างที่สี่ เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์โดยละเอียดถี่ถ้วนแล้ว เราจะพบว่าประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งว่า ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) ได้ขอให้อาของท่านมาช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษาในการยืนหยัดต่างๆ ใจความจดหมายของท่านอิมามซัจญาด (อ.) : โอ้ ท่านอาที่รัก ถ้าหากท่านมีความเสียใจและเป็นห่วงเป็นใยอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นวาญิบสำหรับประชาชนต้องช่วยเหลือเขา ดังนั้น ฉันเห็นว่าท่านมีความสมควรอย่างยิ่งสำหรับภารกิจนี้ ฉะนั้น สิ่งใดที่ท่านเห็นสมควรจงกระทำเถิด”[22]

การมอบหมายการเป็นผู้นำในการยืนหยัดจากท่านอิมามซัจญาด ที่มีต่ออาของท่าน ฮะนะฟียะฮฺ เป็นวิถีที่ดีที่สุด, เนื่องจากท่านได้รับการใส่ร้ายจากผู้ปกครองว่า เป็นผู้ต่อต้านการปกครอง และเป็นความเข้าใจผิดจากศัตรู เนื่องจากท่านมิได้ติดตามตำแหน่งอิมามะฮฺ แต่อย่างใด ขณะเดียวกันท่านอิมามซัจญาด (อ.) ก็ได้รับการควบคลุมพฤติกรรมอย่างใกล้ชิดจากฝ่ายปกครอง เนื่องจากท่านอิมามอยู่ในฐานะของ วะลี ผู้มีสิทธิทวงหนี้เลือดบรรดาชะฮีดแห่งกัรบะลาอฺ อีกทั้งมีคุณสมบัติในการเป็นอิมามดีด้วย, เนื่องจากความรู้ ความสำรวมตน ความประเสริฐและเกียรติยศของท่าน, ขณะเดียวกันท่านอิมามก็มิได้เล็ดรอดสายตาของสายสืบจากรัฐบาล ซึ่งมีชีอะฮฺบางกลุ่มเชื่อมั่นในการเป็นอิมามของท่าน, ด้วยเหตุนี้เอง เป็นความจำเป็นที่อิมามต้องปกป้องชีวิตให้รอดพ้นจากน้ำมือของพวกบนีอุมัยยะฮฺ และต้องฟื้นฟูแนวทางของศาสนา ขณะเดียวกันต้องจัดเตรียมความพร้อมเพื่อก่อตั้งรัฐปกครองแห่งความยุติธรรม ซึ่งท่านอิมาม (อ.) มิได้ละเลยหน้าที่หรือเพิกเฉยต่อการทวงหนี้เลือดของบรรดาชีอะฮฺแม้แต่น้อย[23] และบุคคลใดก็ตามหากพิจารณาอย่างรอบคอบเขาก็จะพบว่า การยืนหยัดดังกล่าวไม่อาจเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน ถ้าปราศจากการพยายามของมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ

การพาดพิงคำกล่าวอ้างการเป็นอิมามไปยังฮะนะฟียะฮฺ

จากสิ่งที่อธิบายมาเป็นที่ประจักษ์ชัดถึงบุคลิกภาพทั้งในแง่สวนตัว และสังคม และฐานะภาพของฮะนะฟียะฮฺในหน้าประวัติศาสตร์, และด้วยบุคลิกภาพทั้งหมดที่มี พร้อมทั้งความพิเศษต่างๆ ที่กล่าวไปแล้วเกี่ยวกับเขา หากจะเชื่อว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์คนหนึ่งที่ไม่มีความผิดพลาดแต่อย่างใด ซึ่งเราจะเห็นว่าท่านอายะตุลลอฮฺ คูอียฺ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ มากด้วยประสบการและความรู้ และมีควมเชี่ยวชาญด้าน ริญาล เป็นอย่างดี กล่าวว่า ฉันไม่พบรายงานที่กล่าวขัดแย้ง หรือกล่าวท้วงติงอีมานของมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ แต่อย่างใด หรือแม้แต่รายงานที่กล่าวพาดพิงว่าเขาได้กล่าวอ้างการเป็นอิมาม ฉันก็ไม่เห็นว่าจะมีรายงานใดถูกต้องสักรายงานเดียว และความศรัทธาของเขาก็ไม่เป็นที่สงสัยแต่อย่างใด ซัยยิดคูอียฺ กล่าวอีกว่า : รายงานที่เชื่อได้บ่งบอกให้เห็นถึงความศรัทธามั่นคงของมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ความเชื่อศรัทธาของเขาที่มีต่อสถานะการเป็นอิมามของท่านอิมามซัจญาด (อ.)[24]

ตามความคิดเห็นของเราทัศนะของอายะตุลลอฮฺ คูอียฺ ถูกต้อง, เนื่องจากถ้าหากบุคคลใดใคร่ครวญรายงานดังกล่าวด้วยความรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท่อนแรกของรายงาน เขาก็จะพบประโยคที่มีความสวยงาม คำพูดที่แฝงเร้นไว้ด้วยมารยาทอันดีงาม จากมุฮัมมัดฮะนะฟียะฮฺเกี่ยวกับบุตรของพี่ชายของเขา อิมามซัจญาด (อ.) และในตอนท้ายของารยงานได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนถึงการยอมรับการเป็นอิมามของท่านอิมามซัจญาด (อ.) รายงานกล่าวว่า :“หลังจากมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺได้กลับมา เขาได้ให้สัตยาบันยอมรับวิลายะฮฺของท่านอิมามซัจญาด (อ.)[25]

 


[1] อิบนุฮิชาม, อับดุลมาลิก บุตรขิงชองฮิชาม อัลฮะมีรี อัลมะอาฟิรี, ซีเราะฮฺนะบะวียฺ, เล่ม 1, หน้า 4, ค้นคว้าโดย, มุศเฏาะฟา อัสสะกอ และอิบรอฮีม อัลอบียารี และอับดล ฮะฟีซ ชะลียี, เบรุต ดารุลมะอฺริฟัต บีทอ.

[2] อิบนุ อะอ์ษัม, อบูมุฮัมมัด อะฮฺมัดอัลกูฟี, กิตาบอัลฟะตูฮฺ, เล่ม 5, หน้า 14, ค้นคว้าโดย อะลี ชีรียฺ, เบรูต, ดารุลอัฎวาอ์, พิมพ์ครั้งแรก, ฮ.ศ. 1411, คศ. 1991.

[3] เกี่ยวกับประเด็นนี้ เพียงพอแล้วที่ท่านอัลลามะฮฺอะมีนนี ได้บันทึกไว้ถึง 10 รายการด้วยกันในหนังสือ เมาซูอะฮฺ ภายใต้หัวข้อว่า ฆุลู ฟี ฟะซออิล

[4] กาฟียฺ, เล่ม 1 หน้า 300, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 44, หน้า 174.

[5] ฟุตูห์ อิบนุ อะอ์ซัม, เล่ม 4, หน้า 28, ได้กล่าวด้วยประโยคว่า "أوصيت أخاكما بكما و أوصيكما به".

[6] ฏ็อบรียฺ อบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด บิน ญะรีร, ตารีคอัลอุมัม วัลมะลูก, เล่ม 5, หน้า 147, ค้นคว้าโดยมุฮัมมัด อบุลฟัลฎ์ อิบรอฮีม, เบรูต,ดารุลตุรอษ, พิมพ์ครั้งที่ 2, ปี ฮศ. 1387, คศ 1967.

[7] เชคซะดูก, อบูญะอฺฟัร, มันลายะเฎาะเราะฮูลฟะกีฮฺ, เล่ม 4, หน้า 284+292 ญามิอฺมุดัรริซซีน, กุม ฮศ. 1413.

[8]อิบนุอิมาด อัลฮันบะลียฺ ชะฮาบุดดีน อบุล ฟัลลาฮฺ อัดดิมิชกียฺ,ชัซรอตุซซะฮับ ฟี อัคบาร มิน ซิฮับ, เล่ม 1, หน้า 331, ค้นคว้าโดยอัลอัรนาอูฏ ดะมิชก์ เบรูต, ดารุ อิบนุ กะซีร, พิมพ์ครั้งแรก, ฮศ. 1406, คศ. 1986.

[9] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 44, หน้า 176, 177, กาฟียฺ, เล่ม 1, หน้า 300.

[10] อีกรายงานหนึ่งได้บ่งชี้ให้เห็นถึง ความเชื่อที่มีต่ออิมามะฮฺของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) แต่เพือไม่ให้เยิ่นเย้อในบทความจึงไม่ได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้

[11] อัลกุรอาน บท ฮิจญฺร์, 42.

[12] ยะอฺกูบียฺ, อะฮฺมัดบินอบียะอฺกูบ บินญะอฺฟัร, ตารีคยะอฺกูบียฺ, เล่ม 2, หน้า 225, เบรูต, ดารุลซอดิร, บีทอ.

[13] นะญะฟียฺ อะลี บิน อัลฮุซัยนฺ อัลฮาชิมี, มุฮัมมัด บิน อัลฮะนะฟี, หน้า 94, ค้นคว้าโดย สถาบันอิสลามียะฮฺ สำหรับการวิพากษ์เกี่ยวกับวิชาการ, พิมพ์ครั้งแรก ปี ฮศ. 1424

[14] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 43, หน้า 319.

[15] ตัซกิเราะตุลคอซ, หน้า 217, คัดลอกมาจาก นะญะฟี, อลี บิน อัลฮุซัยนฺ อัลฮาชิมี, มุฮัมมัด บิน อัลฮะนะฟียะฮฺ, หน้า 100.

[16] ตารีค ฏ็อบรียฺ, เล่ม 5, หน้า 341.

[17] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 44, หน้า 186, อิบนุ ชะฮฺริ อาชูบ, อัลมะนากิบ, เล่ม 4, หน้า 53, สำนักพิมพ์ อัลลามะฮฺ, กุม 1379.

[18]มุฮัมมัด บิน ฮะนะฟียะฮฺ, หน้า 109-112, คัดลอกมาจากเชคญะอฺฟัร, อันนักดี, อัซซัยยิดะฮฺ ซับนับ อัลกุบรอ, หน้ 9, เมะฮฺนาบ บิน ซินาน จากริญาลของอัลลามะฮฺ ลาฮีญี, หน้า 119, ฉบับเขียนด้วยลายมือ

[19] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 44, หน้า 329, อะอฺยานุลชีอะฮฺ , เล่ม 1 หน้า 588. ดารุตตะอาริฟ ลิลมัฏบูอาต, เบรูต

[20] กุมมี, กามิล อัซซิยารัต, หน้า 75, สำนักพิมพ์ มุรตะเฎาะวียะฮฺ, นะญัฟ ฮศ. 1356.

[21] คูอียฺ, ซัยยิดอบุลกอซิม, มุอฺญิม ริญาล อัลฮะดีซ, เล่ม 18, หน้า 100, คัดลอกมาจากบิฮารุลอันวาร, บาบอะฮฺวาลมุคตาร, เล่ม 45.

[22] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 45, หน้า 365.

[23] ฮุซัยนี ญ

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ตักวาหมายถึงอะไร?
    17841 จริยธรรมทฤษฎี 2555/01/23
    ตักว่าคือพลังหนึ่งที่หยุดยั้งจิตด้านในซึ่งการมีอยู่ของมนุษย์คือสาเหตุของการมีพลังนั้นและพลังดังกล่าวจะพิทักษ์ปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นจากการกระทำความผิดฝ่าฝืนต่างๆความสมบูรณ์ของตักวานอกจากจะช่วยทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความผิดบาปและการก่ออาชญากรรมต่างๆ
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5863 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • การทำความผิดซ้ำซาก เป็นให้ถูกลงโทษรุนแรงหรือ?
    11495 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    การทำความผิดซ้ำซากมีความหมาย 2 อย่าง กล่าวคือ 1-ทำความผิดซ้ำบ่อยครั้ง, 2- กระทำผิดโดยไม่ได้คิดลุแก่โทษ หรือไม่เคยกลับตัวกลับใจ การทำความผิดซ้ำซากนั้น จะมีผลติดตามมาซึ่งหนักหนาสาหัสมาก ทั้งโองการอัลกุรอานและรายงานฮะดีซ ได้กล่าวตำหนิไว้อย่างรุนแรง และยังได้กล่าวเตือนอีกว่าผลของการกระทำความผิดนั้น เช่น การเปลื่ยนจากความผิดเล็กเป็นความผิดใหญ่, การออกนอกวงจรของผู้มีความสำรวมตน, ความอับโชคเฮงซวยทั้งหลาย, อิบาดะฮฺไม่ถูกตอบรับ, ลากพามนุษย์ไปสู่เขตแดนของผู้ปฏิเสธศรัทธาและพระเจ้า และ ... หนึ่งในผลของการทำความผิดซ้ำซากคือ การได้รับโทษทัณฑ์อันรุนแรงทั้งโลกนี้และโลกหน้า เหมือนกับบุคคลที่ได้ทำบาปใหญ่ ถ้าเป็นครั้งที่สองเขาจะถูกลงโทษและถูกเฆี่ยนตี ถ้าเป็นครั้งที่สามประหารชีวิต ...
  • การกระทำใดบ้างที่ส่งผลให้คนเราแลดูสง่ามีราศี?
    6390 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ในมุมมองของอิสลามความสง่างามแบ่งได้เป็นสองประเภทอันได้แก่ความงดงามภายนอกและภายใน.ปัจจัยที่สร้างเสริมความสง่างามภายในตามที่ฮะดีษบ่งบอกไว้ก็คือความอดทนความสุขุมความยำเกรง...ฯลฯ
  • เราจะมั่นใจได้อย่างไร สำหรับผู้รู้ที่ตักเตือนแนะนำและกล่าวปราศรัย มีความเหมาะสมสำหรับภารกิจนั้น?
    7207 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    ตามคำสอนของอิสลามที่มีต่อสาธารณชนคือ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความเข้าในคำสอนศาสนา ตนต้องค้นคว้าและวิจัยด้วยตัวเองเกี่ยวกับบทบัญญัติของศาสนา หรือให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอุละมาอฺ และเนื่องจากว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้ทั้งหมด กล่าวตนเข้าศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอนของศาสนา ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องเข้าหาอุละมาอฺในศาสนา อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการรู้จักผู้รู้ที่คู่ควรและเหมาะสมเอาไว้ว่า การได้ที่เราจะสามารถพบอุละมาอฺที่ดี บริสุทธิ์ และมีความเหมาะสมคู่ควร สำหรับชีอะฮฺแล้วง่ายนิดเดียว เช่น กล่าวว่า “ผู้ที่เป็นอุละมาอฺคือ ผู้ที่ปกป้องตัวเอง พิทักษ์ศาสนา เป็นปรปักษ์กับอำนาจฝ่ายต่ำของตน และเชื่อฟังปฏิบัติตามบัญชาของอัลลอฮฺ ฉะนั้น เป็นวาญิบสำหรับบุคคลทั่วไปที่จะต้องปฏิบัติตามเขา นอกจาคำกล่าวของอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) แล้วยังมีวิทยปัญญาอันล้ำลึกของผู้ศรัทธา ไม่ว่าเขาจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตามเขาจะใช้ประโยชน์จากมัน แม้ว่าจะอยู่ในหมู่ผู้ปฏิเสธศรัทธาก็ตาม ...
  • อยากทราบว่ามีหลักเกณฑ์ใดในการกำหนดวัยบาลิกของเด็กสาวและเด็กหนุ่ม?
    14676 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/16
    อิสลามได้กำหนดอายุบาลิกไว้เมื่อถึงวัยของการบรรลุนิติภาวะ กล่าวคือเมื่อบุคคลมีคุณลักษณะของการบรรลุนิติภาวะปรากฏขึ้น (ขั้นต่ำของลักษณะเหล่านี้คือการหลั่งอสุจิสำหรับเด็กหนุ่ม และประจำเดือนสำหรับเด็กสาว) ดังนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้ถึงวัยแห่งบาลิกแล้ว แต่ทว่าในศาสนาอิสลาม นอกจากคุณลักษณะเหล่านี้แล้ว ได้กำหนดบรรทัดฐานในด้านของอายุในการบาลิกให้กับเด็กหญิงและเด็กหนุ่มไว้ด้วย ดังนั้น หากเด็กหญิงหรือเด็กหนุ่มยังไม่มีลักษณะโดยธรรมชาติ แต่ถึงอายุที่ศาสนาได้กำหนดไว้สำหรับการบาลิกของเขาแล้ว เขาจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน เฉกเช่นผู้บาลิกคนอื่น ๆ ดังนั้น ไม่ใช่ว่าชาวซุนนีจะถือว่าเด็กสาวถึงวัยบรรลุนิติภาวะตามหลักเกณฑ์ธรรมชาติ แต่ชีอะฮ์นับจาก 9 ปีแต่อย่างใด แต่ทว่าหากเด็กสาวมีรอบเดือนหรือตั้งครรภ์แล้ว ทุกมัซฮับถือว่าเธอบรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงแม้ว่าเธอจะยังไม่ถึงวัยที่ฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้กำหนดไว้สำหรับการบรรลุนิติภาวะก็ตามa ...
  • อัลลอฮฺ ทรงพึงพอพระทัยผู้ใด? บุคคลใดที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัย, ผู้นั้นจะได้เป็นเจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความโปรดปรานหรือ? ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว โองการที่ 28 บทอันบิยาอฺที่กล่าวว่า : และพวกเขาจะมิให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด, นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย จะไม่ขัดแย้งกันดอกหรือ? อีกนัยหนึ่ง : เจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความพึงพอพระทัย จะเข้ากันได้อย่างไรกับชะฟาอะฮฺ?
    9559 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพึงพอพระทัยบุคคลที่มีศรัทธาและพึงปฏิบัติคุณงามความดี, เพียงแต่ว่าความศรัทธาและคุณงามความดีนั้นมีทั้งเข้มแข็งมั่นคงและอ่อนแอ อีกทั้งมีระดับชั้นที่แตกต่างกันออกไป, ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเขาจึงแตกต่างกันออกไปด้วยสรวงสวรรค์ ก็เช่นเดียวกันถูกแบ่งไปตามระดับชั้นของความศรัทธา คุณภาพ และปริมาณของคุณงามความดีที่ชาวสวรรค์ได้สั่งสม ซึ่งระดับชั้นของสวรรค์ก็มีความแตกต่างกันออกไป ส่วน “สวรรค์ชั้นริฎวาน” คือสวรรค์ชั้นสูงที่สุด เจ้าของสวรรค์ชั้นนี้ได้แก่ บรรดาศาสดาทั้งหลาย, บรรดาตัวแทนและบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ (ซบ.), ตลอดจนบรรดาผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ ชนกลุ่มนี้ไม่ต้องการชะฟาอะฮฺแต่อย่างใด เนื่องจากพวกเขาคือผู้ให้ชะฟาอะฮฺ และยังเป็นสักขีพยานในวันแห่งการฟื้นคืนชีพอีกต่างหาก. ด้วยเหตุนี้เอง วัตถุประสงค์ของประโยคที่ว่า “มะนิรตะฎอ” (ผู้ที่ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ) ในโองการอัลกุรอานจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นเจ้าของสวรรค์ชั้นริฏวาน เพื่อว่าระหว่างตำแหน่งชั้นของพวกเขากับโองการจะได้ไม่ขัดแย้งกันอัลกุรอาน โองการดังกล่าวอยู่ในฐานะของการขจัดความสงสัยและความเข้าใจผิด ของบรรดาผู้ปฏิเสธที่วางอยู่บนความเข้าใจที่ว่า มลาอิกะฮฺจะให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา, เนื่องจากมลาอิกะฮฺคือเจ้าหน้าที่ของอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขาจะไม่ปฏิบัติสิ่งใดที่ขัดแย้งต่อบัญชาของพระองค์, พวกเขาจะให้ชะฟาอะฮฺแก่บุคคลผู้ซึ่ง ...
  • ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์ (ตะมีม) เป็นใครมาจากใหน?
    6315 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    حصين بن نمير ซึ่งออกเสียงว่า “ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์” ก็คือคนเดียวกันกับ “ฮุศ็อยน์ บิน ตะมีม” หนึ่งในแกนนำฝ่ายบนีอุมัยยะฮ์ที่มาจากเผ่า “กินดะฮ์” ซึ่งจงเกลียดจงชังลูกหลานของอิมามอลีอย่างยิ่ง และมีส่วนร่วมในการสังหารฮะบี้บ บิน มะซอฮิร หนึ่งในสาวกของอิมามฮุเซน บิน อลีในวันอาชูรอ ปีฮ.ศ. 61 โดยได้นำศีรษะของฮะบี้บผูกไว้ที่คอของม้าเพื่อนำไปยังราชวังของ “อิบนิ ซิยาด” ...
  • ความตายคืออะไร และเราสามารถยึดเวลาความตายออกไปได้ไหม ?
    10427 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    ความตายในทัศนะของนักปรัชญาอิสลามหมายถึงจิตวิญญาณได้หยุดการบริหารและแยกออกจากร่างกายแน่นอนทัศนะดังกล่าวนี้ได้สะท้อนมาจากอัลกุรอานและรายงานซึ่งตัวตนของความตายไม่ใช่การสูญสิ้นส่วนในหลักการของอิสลามมีการตีความเรื่องความตายแตกต่างกันออกไปซึ่งทั้งหมดมีจุดคล้ายเหมือนกันอยู่ประการหนึ่งกล่าวคือความตายไม่ใช่ความสูญสิ้นหรือดับสูญแต่อย่างใดทว่าหมายถึงการเปลี่ยนหรือการโยกย้ายจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลังหนึ่งเนื่องจากมนุษย์นั้นประกอบไปด้วยร่างกายและจิตวิญญาณอีกอย่างหนึ่งความตายเท่ากับเป็นหยุดการทำงานของร่างกายภายนอกส่วนจิตวิญญาณได้โยกย้ายเปลี่ยนไปอยู่ยังปรโลกด้วยเหตุนี้ความตายจึงได้ถูกสัมพันธ์ไปยังมนุษย์
  • สร้อยนามหมายถึงอะไร? แล้ว “อบุลกอซิม”สร้อยนามของท่านนบีนั้นได้มาอย่างไร?
    11184 تاريخ بزرگان 2555/03/04
    ตามธรรมเนียมของชาวอรับแล้ว ชื่อที่มีคำว่า “อบู”(พ่อของ...) หรือ “อุมมุ”(แม่ของ...) นำหน้านั้น เรียกกันว่า “กุนียะฮ์” (สร้อยนาม) ในทัศนะของอรับเผ่าต่างๆนั้น ธรรมเนียมการตั้งสร้อยนามถือเป็นการยกย่องบุคคล ตัวอย่างสร้อยนาม อบุลกอซิม, อบุลฮะซัน, อุมมุสะละมะฮ์, อุมมุกุลษูม ฯลฯ[1] ศาสนาอิสลามก็ให้ความสำคัญแก่สร้อยนามเช่นกัน ฆ็อซซาลีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “ท่านนบี(ซ.ล.)มักจะให้เกียรติเรียกเหล่าสหายด้วยสร้อยนามเพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรี ส่วนผู้ที่ไม่มีสร้อยนาม ท่านก็จะเลือกสร้อยนามให้เขา และจะเรียกสร้อยนามนั้น กระทั่งผู้คนก็เรียกตามท่าน แม้กระทั่งผู้ที่ไม่มีบุตรที่จะนำมาตั้งสร้อยนาม ท่านนบี(ซ.ล.)ก็จะตั้งให้เขา ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังตั้งสร้อยนามแก่เด็กๆด้วย อาทิเช่นเรียกว่าอบูนั้น อบูนี้ เพื่อเชื่อมสัมพันธ์กับเด็กๆ”[2] รายงานจากอิมามริฎอ(อ.)ว่า إذا كان الرجل حاضرا فكنه و إن ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60187 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57647 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42264 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39471 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38988 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34047 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28056 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28041 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27879 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25864 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...