การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8650
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/09
คำถามอย่างย่อ
การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ จะเข้ากันกับเตาฮีดหรือไม่
คำถาม
ในหลายที่ทั้งเขียนและกล่าวไว้ว่า ยาอัลลอฮฺ ยามุฮัมมัด ยาอะลี ยาฮะซัน ยาฮุซัยนฺ และอื่นๆ ซึ่งบางคนกล่าวว่า นอกจากเอ่ยนามของอัลลอฮฺแล้ว การใช้ประโยชน์หรือเอ่ยนามอื่นถือว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากเป็นการขอจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ คำพูดนี้ถูกต้องหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

ถ้าเป็นการขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ด้วยความเชื่อที่ว่าบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ ท่านเหล่านั้นคือผู้ทำให้คำวิงวอนขอของท่านสมประสงค์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺอีก แน่นอน สิ่งนี้เป็นชิริกฮะรอม และเท่ากับเป็นการกระทำที่ต่อต้านเตาฮีด ถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด

แต่ถ้ามีความเชื่อว่า บรรดาท่านเหล่านี้จะทำให้คำวิงวอนของท่านถูกตอบรับ โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ และโดยอำนาจที่พระองค์แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ทว่ายังเป็นหนึ่งในความหมายของเตาฮีด ซึ่งไม่มีอุปสรรคอันใดทั้งสิ้น

คำตอบเชิงรายละเอียด

ความเข้าใจเกี่ยวกับชิริก

ชิริกหมายถึง การที่คนเราได้ตั้งภาคีเทียบเทียมอัลลอฮฺในแง่ของอาตมัน การสร้างสรรค์ การบริบาล และอิบาดะฮฺ ซึ่งถือว่าภาคีที่ตั้งขึ้นมานั้นเป็นหุ้นส่วนของอัลลอฮฺ ในภารกิจเหล่านี้ ดังนั้น ถ้าการขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ เป็นไปในลักษณะที่ว่าการกระทำนั้นคือ ความจำเป็นของชิริกต่ออัลลอฮฺแล้วละก็ เช่น ขอจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ เพื่อให้สิ่งนั้นทำให้ดุอาอฺของตนสมประสงค์ อย่างเป็นเอกเทศโดยไม่ต้องพึ่งพาอำนาจของอัลลอฮฺ แน่นอน การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นชิริกและเป็นฮะรอมห้ามกระทำโดยเด็ดขาด แต่ถ้าได้ขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ โดยมิได้เชื่อว่าสิ่งนั้นจะมีอำนาจเอกเทศโดยไม่ต้องพึ่งพิงอำนาจของอัลลอฮฺ ทว่าอยู่ในอำนาจของอัลลอฮฺ ในแนวตั้ง หรือได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺ หรือได้รับอำนาจจากอัลลอฮฺ แน่นอน การกระทำลักษณะนี้นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ทว่าหลักฐานที่ปรากฏในอัลกุรอาน ซุนนะฮฺท่านศาสดา และวิสัยทัศน์ของบรรดานักปราชญ์ยังให้การสนับสนุนไว้อีกต่างหาก

ด้วยเหตุนี้ ถ้าเราขอดุอาอฺผ่านท่านศาสดา (ซ็อลฯ) อิมาม และหมู่มิตรของอัลลอฮฺ เพื่อให้ท่านเหล่านั้นกระทำตามที่เราขอโดยอนุญาตของอัลลอฮฺ สิ่งนี้ไม่เป็นชิริกอยางแน่นอน เนื่องจากเรามิได้มอบให้ท่านเหล่านั้นเป็นผู้มีอำนาจเคียงอัลลอฮฺ หรือมีอำนาจเป็นเอกเทศแต่อย่างใด ฉะนั้น การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ในลักษณะดังกล่าวนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการทำอิบาดะฮฺกับพวกเขา

ความเข้าใจเกี่ยวกันดุอาอฺในอัลกุรอาน

ความเข้าใจผิดในความหมายของดุอาอฺในอัลกุรอาน เป็นสาเหตุนำไปสู่ความเข้าใจผิดในบางประเด็น ซึ่งจะเห็นว่าการวิงวอนขอนอกเหนือจากอัลลอฮฺ หรือการส่งเสียงเรียกที่นอกเหนือจากพระองค์ เป็นชิริก และผู้ใดกระทำเช่นนั้น ถือว่าเป็นการเฟร เลือดของเขาฮะลาลทันที คนกลุ่มนี้เขาได้ยึดเอาโองการบางโองการเป็นหลักฐานอ้างอิง เช่น โองการที่กล่าวว่า “แท้จริง บรรดามัสยิดเป็นของอัลลอฮฺ ดังนั้น จงย่าวิงวอนขอผู้ใดเคียงคู่กับอัลลอฮฺ”[1] ขณะที่คำว่า ดุอาอฺ ในอัลกุรอานถูกใช้ในความหมายที่แตกต่างกัน เช่น :

1.บางครั้ง ดุอาอฺ หมายถึง อิบาดะฮฺ อย่างโองการข้างต้น[2]

2. บางครั้ง ดุอาอฺ หมายถึง การเชิญชวน หรือการเรียกร้องไปสู่บางสิ่ง เช่น คำกล่าวของศาสดานูฮฺ (อ.) ที่ว่า “(นูฮฺ) กล่าวว่า โอ้ พระผู้อภิบาลของข้าฯ แท้จริงข้าฯ ได้เชิญชวนหมู่ชนของข้าฯ ทั้งราตรีและทิวากาล  ทว่าการเชิญชวนของข้าฯ มิได้เพิ่มพูนสิ่งใดแก่พวกเขา นอกจากการหลบหนี”[3] คำว่าดุอาอฺ ในโองการหมายถึง การเชิญชวนพวกเขาไปสู่ความศรัทธา แน่นอน ดุอาอฺลักษณะนี้ นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ยังเป็นตัวตนของความศรัทธาด้วยซ้ำไป การกระทำเช่นนั้นจึงเป็นวาญิบสำหรับบรรดาศาสดา

3. บางครั้ง ดุอาอฺ หมายถึง การอ้อนวอนในสิ่งที่เป็นความต้องการ ซึ่งบางครั้งก็กระทำผ่านหนทางปกติธรรมทั่วไป เช่น “พยานต้องไม่ปฏิเสธเมื่อพวกเขาถูกเรียกตัว”[4] ดุอาอฺตรงนี้ มีความหมายทั่วไป แน่นอน ถ้าบุคคลใดได้กระทำเขาจะไม่เป็นกาเฟรเด็ดขาด

บางครั้งอาจมีการกระทำเกิดขึ้น แต่มิได้เป็นไปในลักษณะทั่วไป ประหนนึ่งเป็นปาฏิหาริย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

ก) บางครั้งมีความเชื่อว่าสิ่งนั้นมีผลที่เป็นเอกเทศจากอัลลอฮฺ แน่นอน ส่วนนี้ถือว่าเป็นชิริก เนื่องจากเฉพาะอัลลอฮฺ เท่านั้นที่มีอำนาจเหนือ หรือก่อให้เกิดผลได้ ซึ่งนอกเหนือจากพระองค์แล้ว แม้จะเป็นสาเหตุธรรมดาทั่วไป ไม่ว่าจะมีอำนาจมากน้อยเพียงใด ล้วนมาจากพระองค์ทั้งสิ้น และก่อให้เกิดผลได้ก็ด้วยอนุญาตของพระองค์ อัลกุรอาน กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “จงกล่าวเถิด พวกเจ้าจงเรียกร้องบรรดาสิ่งที่พวกเจ้ากล่าวอ้าง (เป็นพระเจ้า) อื่นจากพระองค์ (แต่พวกนั้น) ไม่มีอำนาจที่จะปลดเปลื้องความทุกข์ยากและเปลี่ยนแปลงพวกเจ้าได้”[5] ดังนั้น ผู้ศรัทธาที่มีสติปัญญาต่างเชื่อมั่นว่า ความเชื่อเหล่านี้ไม่มีอยู่ในตัวของเหล่าบรรดาศาสดา หรือหมู่มิตรของอัลอฮฺ อย่างแน่นอน

ข) บางครั้งขอผ่านบุคคล เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นขอต่ออัลลอฮฺให้แก่เรา การขอลักษณะนี้บ่งบอกให้เห็นว่า เตาฮีดในตัวของบุคคลนั้นมีความสมบูรณ์ เนื่องจากเขาได้ให้บุคคลที่มีเกียรติกว่าเป็นสื่อกลาง ของการช่วยเหลือ ณ อัลลอฮฺ ซึ่งเขาเชื่อมั่นว่าปฐมเหตุสมบูรณ์ที่แท้จริงคือ อัลลอฮฺ มิใช่ผู้อื่น ดังนั้น ด้วยการตะวัซซุลไปยังหมู่มิตรของอัลลอฮฺ โดยขอผ่านพวกเขา ให้พวกเขาเหล่านั้นช่วยวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺ ให้สิ่งที่เขาต้องการสมประสงค์ การกระทำเช่นนี้คือ องค์ของเตาฮีด อีกทั้งเป็นการยืนยันให้เห็นถึง การเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียวอีกด้วย อัลกุรอาน กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า เมื่อวงศ์วานอิสราเอลได้มาหามูซา และวอนต่อมูซาว่า ให้พระเจ้าประทานสำรับอาหารนานาชนิดลงมาแก่พวกเขา กล่าวว่า “โอ้ มูซา เราไม่สามารถทนต่ออาหารชนิดเดียวได้ ดังนั้น จงวิงวอนต่อพระผู้อภิบาลของท่าน ให้มีสิ่งงอกเงยขึ้นจากดิน ทั้งพืชผัก แตงกวา ข้าวสาลี ถั่ว และหัวหอมแก่พวกเรา”[6] มูซา มิได้ทักท้วงพวกเขาว่า ทำไมพวกท่านจึง เรียกร้องจากเราว่า “ยามูซา” ทำไมพวกท่านจึงไม่วอนขอต่อพระเจ้าโดยตรงเล่า สิ่งนี้เป็นชิริก และเป็นกาเฟร ทว่าในทางกลับกัน มูซา ได้วอนขอต่ออัลลอฮฺตามที่พวกเขาต้องการ และความต้องการของพวกเขาก็สมประสงค์

ความเชื่อที่มีต่อบทบาทของ สิ่งถูกสร้าง ที่มีต่อมรรคผบชล หรือเชื่อในผลหรือเหตุปัจจัยที่มีต่อ ผู้ให้บังเกิดผล ไม่ถือว่าเป็นชิริก สิ่งจำเป็นสำหรับเตาฮีด มิได้หมายความว่าต้องปฏิเสธระบบของเหตุปัจจัยทางโลก หรือทุกร่องรอยที่เกิดขึ้นปราศจากสื่อกลาง สิ่งนั้นมาจากอัลลอฮฺ และสำหรับเหตุปัจจัยแล้วถือว่าไม่มีบทบาทอันใดทั้งสิ้น แม้ว่าจะอยู่ในแนวตั้งของอัลลอฮฺก็ตาม เราไม่เชื่อหรือว่า ไฟมีบทบาทในการเผาไหม้ น้ำช่วยดับกระหาย ฝนช่วยให้เกิดการเจริญงอกงาม อัลลอฮฺเท่านั้นที่ทำให้เกิดการเผาไหม้ ดับกระหาย และให้การเจริญงอกงาม ซึ่งความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น เพราะยังมีเหตุปัจจัยอื่นอันกฎที่เป็นไปธรรมชาติทั่วไป โดยที่พระองค์มิได้เป็นเหตุของการเกิดสิ่งนั้นโดยตรง ซึ่งสิ่งเหล่านั้นทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้อำนาจของอัลลอฮฺ ดังนั้น การที่เราเชื่อในสิ่งถูกสร้าง มิได้หมายความว่าสิ่งนั้นเท่าเทียมอัลลอฮฺ หรือเป็นชิริกในอาตมันบริสุทธิ์ของพระองค์ หรือเชื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นพระเจ้าองค์ที่สอง ทว่าสิ่งเหล่านั้นคือ ความสมบูรณ์ในความเชื่อที่มีต่อพระเจ้าองค์เดียว ขณะเดียวกันการเชื่อในเรื่องผลและเหตุปัจจัย หรือการมีบทบาทของสิ่งถูกสร้างในระบบธรรมชาติ ดังเช่นที่ว่า ทุกสิ่งบนโลกนี้ไม่มีสิ่งใดมีความเป็นเอกเทศด้วยตัวมัน โดยไม่ต้องพึ่งพาอัลลอฮฺ และมิได้เป็นเอกเทศในการเกิดผล ความเชื่อเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็น ชิริกแต่อย่างใด เมื่อเป็นเช่นนั้นจะเห็นว่า เขตแดนของชิริกและเตาฮีด จึงมิได้หมายความว่า การที่เราจะเชื่อหรือไม่เชื่อในสิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺว่ามีบทบาท ทว่าชิริก นั้นหมายถึงการที่เราเชื่อว่าสิ่งอื่นมีอำนาจเทียบเทียมอัลลอฮฺ ทั้งในแนวตั้งและในแนวนอน นอกจากนั้นยังเชื่อเหล่านั้นมีอำนาจเป็นเอกเทศในการบังเกิดผล

อีกนัยหนึ่งการเชื่อในอำนาจหรือบทบาทของสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ เช่น มะลาอิกะฮฺ บรรดาศาสดา หรืออิมาม เหมือนกับการเชื่อในบทบาทและเหตุปัจจัยธรรมดาทั่วไป ไม่ถือว่าเป็นชิริก หรือการมีอำนาจเหนือปัจจัยทางธรรมชาติ ก็มิได้หมายความว่าเป็นการเชื่อในอำนาจที่ตรงกันข้ามกับอัลลอฮฺ ทุกสรรพสิ่งที่มีอยู่บนโลกนี้การมีอยู่ของสิ่งนั้นขึ้นอยู่กับการมีอยู่ของอัลลอฮฺ และพระประสงค์ของพระองค์ ไม่มีสิ่งใดมีอำนาจหรืออยู่อย่างเอกเทศด้วยตัวเองโดยปราศจากอัลลอฮฺ แม้ว่าสิ่งนั้นจะมีอำนาจเหนือธรรมชาติ โดยอ้างว่าเป็นอำนาจของตน อำนาจนั้นก็ยังเป็นของพระเจ้าอยู่ดี เขาเป็นเพียงผู้ปฏิบัติที่อยู่ภายใต้อำนาจของอัลลอฮฺ ดังเช่นที่ ญิบรออีลคือ สื่อกลางแห่งความเมตตา ความรู้ และวะฮฺยูของอัลลอฮฺ หรือมีกาอีลคือ สื่อแห่งความโปรดปรานของพระองค์ อิสราฟีลสื่อแห่งความเป็นและความตาย และมะลาอิกะตุลเมาต์คือสื่อในการถอดดวงวิญญาณ

ดังนั้น สำหรับความชัดเจนในประเด็นนี้ จะขอยกตัวอย่างจากอัลกุรอานสัก 2 โองการ ดังนี้ :

1.อัลกุรอาน จากคำพูดของอีซา (อ.) กล่าวว่า “ฉันจะจำลอง [สิ่งหนึ่ง] จากดินดั่งรูปนกสำหรับพวกท่าน แล้วฉันจะเป่าไปบนมัน  แล้วมันจะกลายเป็นนกโดยอนุมัติ [บัญชา] ของอัลลอฮฺ   ฉันจะรักษาคนตาบอดโดยกำเนิด  คนเป็นโรคเรื้อนให้หายปกติ ฉันจะให้ผู้ที่ตายแล้วมีชีวิตขึ้น[7]

2.บรรดาลูกๆ ของศาสดายะอฺกูบ (อ.) หลังจากได้สำนึกผิดแล้ว ได้เข้าไปหาบิดาของพวกตน “กล่าวว่า โอ้ พ่อของเรา โปรดขออภัยโทษแก่เราในความผิดของเรา แท้จริง เราเป็นผู้ผิด กล่าวว่า ฉันจะขออภัยโทษจากพระผู้อภิบาลของฉันให้พวกเจ้าในไม่ช้านี้ แท้จริง พระองค์เป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ”[8]

ซึ่งจะเห็นว่า บรรดาลูกๆ ของยะอฺกูบ ได้ใช้ประโยคว่า “โอ้ พ่อของเรา” ทั้งที่ศาสดายะอฺกูบมิได้ตำหนิหรือห้ามปรามว่า อย่าพูดเช่นนั้น หรือกล่าวว่า พวกเจ้าวิงวอนขอต่อพระเจ้าโดยตรงซิ ดังนั้น เป็นที่ชัดเจนว่า สิ่งเหล่านี้มิได้ขัดแย้งกับเตาฮีดแต่อย่างใดไม่

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแหล่งความรู้ดงต่อไปนี้ :

1.การตะวัซซุล และความสัมพันธ์กับอัลลอฮฺ โดยปราศสื่อกลาง, คำถามที่ 524 (ไซต์ : 590)

2.ตะวัซซุล ในอัลกุรอานและซุนนะฮฺ, คำถามที่ 2032 (ไซต์ : 2265)

3.ปรัชญาการตะวัซซุลต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) คำถามที่ 1321 (ไซต์ : 1316)

4.มุเฏาะฮะรียฺ,มุรตะฎอ, เฌะฮอนบีนี เตาฮีดดี, เตหะราน, ซ็อดรอ, พิมพ์ครั้งที่ 21, ปี 1384

5.มะการิมชีรอซียฺ,นาซิร,วะฮาบี บัรซัร โดเราะฮี, กุม, มัดเราะเซะฮฺ อิมามอะลี บิน อะบีฏอลิบ (อ.) พิมพ์ครั้งแรก, ปี 1384

 


[1] บทญิน, 18, "وَ أَنَّ الْمَساجِدَ لِلَّهِ فَلا تَدْعُوا مَعَ اللَّهِ أَحَدا".

[2] บทญิน, 18,

[3] บทนูฮฺ, 5-6.

[4] บทบะเกาะเราะฮฺ, 282,  ." وَ لَا يَأْبَ الشهَُّدَاءُ إِذَا مَا دُعُواْ"

[5] บทอัสรออฺ, 56, "قُلِ ادْعُواْ الَّذِينَ زَعَمْتُم مِّن دُونِهِ فَلَا يَمْلِكُونَ كَشْفَ الضُّرِّ عَنكُمْ وَ لَا تحَوِيلا"

[6] บทบะเกาะเราะฮฺ, 61 กล่าวว่า ..

."وَ إِذْ قُلْتُمْ يَمُوسىَ‏ لَن نَّصْبرِ عَلىَ‏ طَعَامٍ وَاحِدٍ فَادْعُ لَنَا رَبَّكَ يخُرِجْ لَنَا ممِّا تُنبِتُ الْأَرْضُ مِن بَقْلِهَا وَ قِثَّائهَا وَ فُومِهَا وَ عَدَسِهَا وَ بَصَلِهَا"

[7] บทอาลิอิมรอน, 49

[8] บทยูซุฟ, 97, 98.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ถูกต้องไหม ขณะที่ท่านอิมามอะลี (อ.) ถูกฟันศีรษะขณะนมาซซุบฮฺ,อิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ มิได้อยู่ด้วย?
    7966 تاريخ بزرگان 2554/12/20
    รายงานเกี่ยวกับการถูกฟันของท่านอิมามอะลี (อ.) ซึ่งขณะนั้นท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ร่วมอยู่ด้วยนั้นมีจำนวนมากด้วยเหตุนี้เองจึงมีความเป็นไปได้หลายกรณีเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังวิภาษกันอยู่กล่าวคือ:1.
  • ชาวสวรรค์ทุกคนจะได้ครองรักกับฮูรุลอัยน์หรือไม่? ฮูรุลอัยน์แต่ละนางมีสามีได้เพียงคนเดียวไช่หรือไม่? และจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
    10790 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศจากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่า “ฮูรุลอัยน์”คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงานส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้นตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.ส่วนคำถามที่ว่าสตรีในสวรรค์สามารถมีสามีหลายคนหรือไม่นั้นจากการศึกษาโองการกุรอานและฮะดีษทำให้ได้คำตอบคร่าวๆว่าหากนางปรารถนาจะมีคู่ครองหลายคนในสวรรค์ก็จะได้ตามที่ประสงค์ทว่านางกลับไม่ปรารถนาเช่นนั้น ...
  • เนื่องจากการเสริมสวยใบหน้า ดังนั้น กรณีนี้สามารถทำตะยัมมุมแทนวุฎูอฺได้หรือไม่?
    9275 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    ทัศนะบรรดามัรญิอฺ ตักลีดเห็นพร้องต้องกันว่า สิ่งที่กล่าวมาในคำถามนั้นไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้าง เพื่อละทิ้งวุฎูอฺหรือฆุซลฺ และทำตะยัมมุมแทนได้เด็ดขาด[1] กรณีลักษณะเช่นนี้ ผู้ที่มีความสำรวมตนส่วนใหญ่จะวางแผนไว้ก่อน เพื่อไม่ให้โปรแกรมเสริมสวยมามีผลกระทบกับการปฏิบัติสิ่งวาญิบของตน ซึ่งส่วนใหญ่จะทราบเป็นอย่างดีว่าเวลาที่ใช้ในการเสริมสวยแต่ละครั้งจะไม่เกิน 6 ชม. ดังนั้น ช่วงเวลาซุฮฺรฺ เจ้าสาวสามารถทำวุฏูอฺและนะมาซในร้านเสริมสวย หลังจากนั้นค่อยเริ่มแต่งหน้าเสริมสวย จนกว่าจะถึงอะซานมัฆริบให้รักษาวุฏูอฺเอาไว้ และเมื่ออะซานมัฆริบดังขึ้น เธอสามารถทำนะมาซมัฆริบและอิชาอฺได้ทันที ดังนั้น ถ้าหากมีการจัดระเบียบเวลาให้เรียบร้อยก่อน เธอก็สามารถทำได้ตามกล่าวมาอย่างลงตัว อย่างไรก็ตามเจ้าสาวต้องรู้ว่าเครื่องสำอางที่เธอแต่งหน้าไว้นั้น ต้องสามารถล้างน้ำออกได้อย่างง่ายดาย และต้องไม่เป็นอุปสรรคกีดกั้นน้ำสำหรับการทำวุฎูอฺเพื่อนะมาซซุบฮฺในวันใหม่ [1] มะการิมชีรอซียฺ,นาซิร,อะฮฺกามบานูวอน, ...
  • กฏการโกนเคราและขนบนร่างกายคืออะไร?
    15065 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    เฉพาะการโกนเคราบนใบหน้า[1]ด้วยมีดโกนหรือเครื่องโกนหนวดทั่วไปถึงขั้นที่ว่าบุคคลอื่นเห็นแล้วกล่าวว่าบนใบหน้าของเขาไม่มีหนวดแม้แต่เส้นเดียว, ฉะนั้นเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบถือว่าไม่อนุญาต
  • ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวไว้ดังนี้หรือไม่? “หากผู้คนล่วงรู้ถึงอภินิหารของอลี(อ.) จะทำให้พวกเขาปฏิเสธพระเจ้าเพราะจะโจษขานว่าอลีก็คือพระเจ้านั่นเอง(นะอูซุบิลลาฮ์)”
    9185 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    เราไม่พบฮะดีษที่คุณยกมาในหนังสือเล่มใดแต่มีฮะดีษชุดที่มีความหมายคล้ายคลึงกันปรากฏอยู่ในตำราหลายเล่มซึ่งขอหยิบยกฮะดีษบทหนึ่งจากหนังสืออัลกาฟีมานำเสนอพอสังเขปดังนี้อบูบะศี้รเล่าว่าวันหนึ่งขณะที่ท่านนบี(ซ.ล.)นั่งพักอยู่ท่านอิมามอลี(อ.)ก็เดินมาหาท่านท่านนบีกล่าวแก่อิมามอลี(อ.)ว่า “เธอคล้ายคลึงอีซาบุตรของมัรยัมและหากไม่เกรงว่าจะมีผู้คนบางกลุ่มยกย่องเธอเสมือนอีซาแล้วฉันจะสาธยายคุณลักษณะของเธอกระทั่งผู้คนจะเก็บดินใต้เท้าของเธอไว้เพื่อเป็นสิริมงคล ...
  • ชีอะฮ์มีสำนักตะศ็อววุฟหรืออิรฟานเหมือนซุนหนี่หรือไม่? เป็นไปได้หรือไม่ที่จะจาริกอย่างชีอะฮ์ในสังคมปัจจุบัน และหากเป็นไปได้ เราควรเริ่มจากจุดใด? สามารถจะจาริกในหนทางนี้โดยปราศจากครูบาอาจารย์ได้หรือไม่? ฯลฯ
    5971 รหัสยทฤษฎี 2555/03/12
    มีอาริฟ(นักจาริก)ในโลกชีอะฮ์มากมายที่ค้นหาสารธรรมโดยอิงคำสอนอันบริสุทธิ์ของบรรดาอิมาม หรืออาจกล่าวได้ว่าวิถีชีอะฮ์ก็คือการจำแลงอิรฟานและการรู้จักพระเจ้าในรูปคำสอนของอิมามนั่นเอง ในยุคปัจจุบัน ไม่เพียงแต่สามารถจะขัดเกลาจิตใจและจาริกทางอิรฟานได้ หากแต่ต้องถือเป็นวาระจำเป็นเร่งด่วน เหตุเพราะการจะบรรลุถึงตักวาในยุคที่โลกเต็มไปด้วยเทคโนโลยีแห่งโลกิยะนั้น จะกระทำได้ต่อเมื่อเข้าถึงแก่นธรรมแห่งอิรฟานแล้วเท่านั้น ซึ่งจะสามารถพบแหล่งกำเนิดอิรฟานที่ถูกต้องและสูงส่งที่สุดได้ ณ แนวทางอิมามียะฮ์ ...
  • นมาซหมายถึงอะไร? เพราะเหตุใดเยาวชนจึงหลีกเลี่ยงการนมาซ
    14725 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    นมาซ,คือขั้นสุดท้ายของการพัฒนาจิตวิญญาณของผู้ขัดเกลาทั้งหลาย ซึ่งเขาจะได้สัมผัสและสนทนากับพระเจ้าของตนโดยปราศจากสื่อกลางในการพูดอัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า : จงนมาซเถิด เพื่อจะได้ฟื้นฟูการรำลึกถึงฉัน และฉันจะรำลึกถึงพวกท่านโดยผ่านนมาซ ถ้าหากการรำลึกถึงอัลลอฮฺจะปรากฏออกมาโดยผ่านนมาซแล้วละก็, จะทำให้หัวใจของมนุษย์มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น, เนื่องจากการรำลึกถึงพระเจ้าจะทำให้จิตใจมีความเชื่อมั่น, ผู้นมาซทุกท่านเท่ากับได้ทำลายสัญชาติญาณแห่งความเป็นเดรัจฉานของตน และฟื้นฟูธรรมชาติแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเองให้มีชีวิตชีวา,คุณลักษณะพิเศษของนมาซ, คือการฟื้นฟูธรรมชาติแห่งตัวตน,ผู้นมาซทุกคนที่ได้รับความมั่นใจ และความสงบอันเกิดจากนมาซ จะไม่แสดงความอ่อนไหวต่อสภาพชีวิตการเป็นอยู่ จะไม่แสดงความอ่อนแอแม้จะอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่และมีความลำบากยิ่ง ถ้าหากมีความดีงามมาถึงยังพวกเขา, พวกเขาจะไม่กีดกันและจะไม่หวงห้ามสำหรับคนอื่นนมาซคือ เกาซัร (สระน้ำ) ...
  • อัลกุรอานเป็นความมหัศจรรย์ในสามลักษณะ : ก.คำ, ข. เนื้อหา, ค.ผู้นำอัลกุรอานมาเผยแผ่ และทั้งสามลักษณะบ่งบอกว่าอัลกุรอานมาจากพระเจ้าได้เพียงมากน้อยเพียงใด ?
    8342 วิทยาการกุรอาน 2553/10/11
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • จุดประสงค์ของโองการที่ 85-87 บทอัลฮิจญฺร์ คืออะไร?
    6768 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวในโองการโดยบ่งชี้ให้เห็นถึง, ความจริงและการมีเป้าหมายในการชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินของพระองค์ ทรงแนะนำแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า จงแสดงความรักและความห่วงใยต่อบรรดาผู้ดื้อรั้น, พวกโง่เขลาทั้งหลาย, บรรดาพวกมีอคติ, พวกบิดพลิ้วที่ชอบวางแผนร้าย, พวกตั้งตนเป็นปรปักษ์ด้วยความรุนแรง, และพวกไม่รู้, จงอภัยแก่พวกเขา และจงแสดงความหวังดีต่อพวกเขา ในตอนท้ายของโองการ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปลอบใจท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และให้กำลังใจท่าน ว่าไม่ต้องเป็นกังวลหรือเป็นห่วงในเรื่องความรุนแรงจากฝ่ายศัตรู ผู้คนจำนวนมากกว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีกว่า และทรัพย์สินจำนวนมากมายที่อยู่ในครอบครองของพวกเขา, เนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงมอบความรัก ความเมตตา และเหตุผลในการเป็นศาสดาแก่ท่าน ซึ่งไม่มีสิ่งใดบนโลกนี้จะดีและเสมอภาคกับสิ่งนั้นโดยเด็ดขาด ...
  • การรู้พระเจ้าเป็นไปได้ไหมสำหรับมนุษย์ ขอบเขตและคุณค่าของการรู้จักมีมากน้อยเพียงใด ?
    7158 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์สามารถรู้พระเจ้าด้วยวิธีการที่แตกต่างกันหลายวิธีซึ่งเป็นไปได้ที่การรู้จักอาจผ่านเหตุผล (สติปัญญา)หรือผ่านทางจิตใจบางครั้งอาจเป็นเหมือนปราชญ์ผู้ชาญฉลาดซึ่งรู้จักโดยผ่านทางความรู้ประจักษ์หรือการช่วยเหลือทางความรู้สึกและสิตปัญญาในการพิสูจน์จนกระทั่งเกิดความเข้าใจหรือบางครั้งอาจเป็นเหมือนพวกอาริฟ (บรรลุญาณ),รู้จักเองโดยไม่ผ่านสื่อเป็นความรู้ที่ปรากฏขึ้นเองซึ่งเรียกว่าจิตสำนึกตัวอย่างเช่นการค้นพบการมีอยู่ของไฟบางครั้งผ่านควันไฟที่พวยพุ่งขึ้นทำให้เกิดความเข้าใจหรือเวลาที่มองเห็นไฟทำให้รู้ได้ทันทีหรือเห็นรอยไหม้บนร่างกายก็ทำให้รู้ได้เช่นกันว่ามีไฟ

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60084 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57473 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42165 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39265 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38910 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33969 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27985 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27906 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27730 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25745 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...