การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10073
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/05/17
คำถามอย่างย่อ
ความหมายของเตาฮีดคอลิกียะฮฺคืออะไร?
คำถาม
ความหมายของเตาฮีดคอลิกียะฮฺคืออะไร?
คำตอบโดยสังเขป

เตาฮีด หมายถึงความเป็นเอกะหรือเอกเทศ, เตาฮีดคอลิกียะฮฺ หมายถึงจักรวาลและสรรพสิ่งทั้งหลายไม่มีผู้ใดสร้างขึ้นมา นอกจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงพิสุทธิ์ยิ่ง, สรรพสิ่งที่มีอยู่, ร่องรอยและกิจการงานของพวกเขา, แม้แต่มนุษย์และผลงานสร้างสรรค์ทั้งหมดของเขา หรือสิ่งที่พวกเขาค้นพบ โดยความเป็นจริงแล้วและมิได้เป็นการกล่าวอย่างเลยเถิด ทั้งหมดเหล่านั้นคือ สิ่งถูกสร้างของอัลลอฮฺ ทั้งสิ้น ดังนั้น ทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกใบนี้คือ สิ่งถูกสร้างของพระองค์ทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าบางสิ่งปราศจากสื่อและบางสิ่งมีสื่อในการสร้าง

คำตอบเชิงรายละเอียด

ความหมายของเตาฮีดในการสร้าง เตาฮีดคอลิกียะฮฺ

การสร้างสรรค์คือ คุณลักษณะประการหนึ่งของอัลลอฮฺ, ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวถือเป็นเหตุผลที่พิสูจน์ให้เห็นถึง การมีอยู่ของพระเจ้า เนื่องจากสาระของเหตุผลดังกล่าว, ก็คืออัลลอฮฺ ทรงเป็นปฐมเหตุในการสร้างสรรค์ และเป็นสาเหตุของการมีอยู่ของสรรพสิ่งทั้งหมด, และสิ่งสำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ อัลลอฮฺ ไม่ทรงมีหุ้นส่วนในการสร้างสรรค์ ไม่มีผู้ใดสร้างโลกและจักรวาลนอกจากพระองค์ ดังนั้น หนึ่งในสาขาสำคัญของเตาฮีดคือ เตาฮีดคอลิกียะฮฺนั่นเอง[1]

อีกนัยหนึ่ง : ความเป็นเอกเทศในการสร้างหมายถึง โลกแห่งการมีอยู่นี้ไม่มีผู้สร้างเกินหนึ่ง ผู้เป็นองค์ปฐมแห่งการสร้าง เป็นเอกเทศ การสร้างของสาเหตุอื่นอยู่ในแนวตั้งแห่งการสร้างสรรค์ของพระองค์ โดยได้รับบัญชาและการอนุญาตจากพระองค์[2]

ความเป็นเอกเทศในการสร้าง บางครั้งก็เรียกว่า เตาฮีดคอลิกียะฮฺ หรือเตาฮีดอัฟอาล ในนิยามของปรัชญาหมายถึง ระบบทั้งหมดที่มีอยู่ แบบฉบับ สาเหตุ ผลแห่งสาเหตุ และเหตุปัจจัยที่เป็นไป ทั้งหมดเป็นภารกิจของอัลลอฮฺ ซึ่งเกิดจากพระประสงค์ของพระองค์, สรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้ การมีอยู่ของสิ่งเหล่านั้นมิได้เป็นเอกเทศหรือมีอิสระจากอาตมันของอัลลอฮฺ แม้แต่ในฐานะของผลและร่องรอยก็มิได้เป็นอิสระไปจากพระองค์ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ดังที่อาตมันบริสุทธิ์ของอัลลอฮฺ ไม่มีหุ้นส่วน ภารกิจการงานของพระองค์ก็ไม่มีหุ้นส่วนด้วยเหมือนกัน เตาฮีดอัฟอาล คือองค์ประกอบสำคัญยิ่งของคำกล่าวว่า «لا حول و لا قوة الا بالله» ไม่มีการเคลื่อนและไม่มีพลังใด นอกจากโดยอัลลอฮฺ ซึ่งในเชิงปรัชญาอยู่ภายใต้หัวข้อที่ว่า «لامؤثر في الوجود الا الله» ไม่มีผลในการมีอยู่ในด นอกจากอัลลอฮฺ[3]

สติปัญญายอมรับเตาฮีดในการสร้างสรรค์หรือไม่?

สติปัญญา ต่างยอมรับความเป็นเอกเทศหรือความเป็นหนึ่งเดียวของผู้สร้างสรรค์โลกและจักรวาล, เนื่องจากด้วยเหตุผลในการพิสูจน์การมีอยู่ของพระองค์-โดยเฉพาะความเป็นไปได้และความจำเป็น-ของการมีอยู่ทั้งหมด, ความเป็นไปได้ ผลและสิ่งถูกสร้างทั้งหมด ล้วนเป็นผลมาจาก วาญิบุลบิลซาต (สิ่งจำเป็นต้องมีคือพระเจ้า) ทั้งสิ้น และด้วยเหตุผลที่ยืนยันถึง เตาฮีดซาตียฺ ความเอกเทศในการมีอยู่, วาญิบุลบิลซาต (สิ่งจำเป็นต้องมีคือพระเจ้า) และความเป็นหนึ่งเดียว. ฉะนั้น ผลสรุปก็คือไม่มีผู้สร้างโลกคนใด นอกจากอัลลอฮฺ[4]

อัลกุรอานมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว?

อัลกุรอาน หลายโองการได้เน้นย้ำในประเด็นความเป็นหนึ่งเดียวของอัลลอฮฺ ในการสร้างสรรค์โลก ดังที่กล่าวว่า ..

1. قُلِ اللَّهُ خالِقُ كُلِّ شَیْ‏ءٍ وَ هُوَ الْواحِدُ الْقَهَّارُ؛

" จงกล่าวเถิด อัลลอฮฺ คือพระผู้ทรงสร้างทุกสิ่ง และพระองค์คือผู้ทรงเอกะ พระผู้ทรงพิชิต”[5]

2. اللَّهُ خالِقُ كُلِّ شَیْ‏ءٍ وَ هُوَ عَلى كُلِّ شَیْ‏ءٍ وَكِیلٌ

อัลลอฮฺ คือผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง และพระองค์เป็นผู้ทรงดูทุกสิ่ง”[6]

3. ذلِكُمُ اللَّهُ رَبُّكُمْ خالِقُ كُلِّ شَیْ‏ءٍ لا إِلهَ إِلاَّ هُوَ؛

“นี่คืออัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลของสูเจ้าผู้ทรงสร้างทุกสิ่ง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์”[7]

4. هَلْ مِنْ خالِقٍ غَیْرُ اللَّهِ؛

“จะมีพระผู้สร้างอื่นใดจากอัลลอฮฺอีกหรือ”[8]

5. رَبُّنَا الَّذِی أَعْطى كُلَّ شَیْ‏ءٍ خَلْقَهُ ثُمَّ هَدى؛

“พระผู้อภิบาลของเราคือ พระผู้ทรงประทานทุกอย่างแก่สิ่งที่พระองค์สร้าง แล้วทรงชี้นำ”[9]

รายงานฮะดีซกับความเป็นเอกเทศในการสร้าง

รายงานฮะดีซอธิบายถึงความเป็นเอกเทศในการสร้างไว้ โดยท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า :

«لم یشركه فی فطرتها فاطر، و لم یعنه علی خلقها قادر»

“ในการสร้างมด (หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน) ไม่มีผู้ใดเป็นหุ้นส่วนของพระองค์ และไม่มีผู้ใดช่วยเหลือพระองค์ในการสร้าง”[10]

นอกจากนั้นท่านยังได้กล่าวอีกว่า «و لا شریك له اعانه علی ابتداع عجائب الامور» “อัลลอฮฺ ไม่มีหุ้นส่วนในการช่วยเหลือพระองค์ ในการสร้างสิ่งมหัศจรรย์ทั้งหลายบนโลกนี้”[11]

และรายงานอีกจำนวนมากมายที่กล่าวถึงประเด็นนี้ ..

ความเป็นเอกเทศในการสร้างเท่ากับเป็นการปฏิเสธระบบของสาเหตุปัจจัยหรือ และหมายถึงการลิขิตอันเป็นสาเหตุของการปฏิเสธเจตนารมณ์เสรีหรือ?

จากตรงนี้เองต้องยอมรับว่า ความเป็นเอกเทศในการสร้างจำกัดเฉพาะอัลลอฮฺเท่านั้น แต่มิได้หมายถึงการปฏิเสธเรื่องปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ, เนื่องจากระบบของสาเหตุปัจจัย หรือผลเป็นส่วนหนึ่งของโลกวัตถุ แต่ก็มิได้หมายความว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเอกเทศจาก สาเหตุ อันเป็นเหตุแห่งการสร้างสรรค์แต่อย่างใดไม่ ทว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงวางระบบการสร้างสรรค์เหล่านี้ไว้ในโลกวัตถุ และพระองค์คือผู้ทรงสร้างสรรค์กฎเกณฑ์เหล่านั้น. แม้ว่าดวงอาทิตย์ อากาศ มีผลกระทบสำคัญกับพื้นดิน น้ำมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชและต้นไม้, แต่การบังเกิดผลและร่องรอยต่างๆ เหล่านั้น เกิดจากการอนุญาตของพระองค์ และเป็นแบบฉบับของพระองค์ที่มีอยู่ในสรรพสิ่งทั้งหลาย. บรรดาผู้ที่เชื่อในเรื่องความเป็นเอกเทศในการสร้างสรรค์ของพระเจ้า โดยปฏิเสธระบบของสาเหตุปัจจัย และความสัมพันธ์ในแง่ของวัตถุที่มีระหว่างส่วนต่างๆ ของโลก ถือว่าเข้าใจผิดมหันต์ ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงถือว่าศาสนาปฏิเสธเรื่ององค์ความรู้ และต่อต้านคำสอนของศาสนา[12]

ฉะนั้น เตาฮีด ในเรื่องการสร้างสรรค์ มิได้หมายถึงเป็นการปฏิเสธเจตนารมณ์เสรี หรือหมายถึงการบังคับก็หาไม่,ทว่าทุกการสร้างสรรค์คือภารกิจของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ ทุกการประดิษฐ์และความต้องการของเราอยู่ในแนวตั้งแห่งพระประสงค์ของพระองค์

 

 


[1] ร็อบบานียฺ ฆุลภัยฆอนียฺ, อะลี, อะกออิด อิสติดลาลียฺ, ไซต์อันดีเชะฮ์ กุม

[2] ไซต์ เฮาเซะฮ์ เน็ต

[3] อัสฟาร, เล่ม 2,หน้า 216-219, เนะฮายะฮฺ อัลฮิกมะฮฺ, เล่ม 3, หน้า 677, มุเฏาะฮะรียฺ มัจญฺมูอ์อาซาร, เล่ม 2, หน้า 103, อิฮฺซาน, เตาฮีดและระดับของเตาฮีด

[4] อบบานียฺ ฆุลภัยฆอนียฺ, อะลี, อะกออิด อิสติดลาลียฺ, ไซต์อันดีเชะฮ์ กุม

[5] บทอัรเราะอฺดุ, 16.

[6] บทอัซซุมัร, 62.

[7] บทฆอฟิร, 62

[8] บทฟาฏิร, 3

[9] บทฏอฮา, 50.

[10] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนาที่ 185.

[11] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนาที่ 91.

[12] ซุบฮานียฺ,ญะอฺฟัร, แปลโดยมุฮัดดิซ, ญะวาด, ชีมออะกออิดชีอะฮฺ, หน้า 56, มัชอัร

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ฮะดีษที่ระบุว่า ในยุคของอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะมีผู้คนบางกลุ่มสูญเสียศรัทธา ส่วนกาฟิรบางกลุ่มรับอิสลามนั้น หมายถึงบุคคลกลุ่มใดบ้าง?
    8218 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/04/02
    ฮะดีษที่คุณอ้างอิงจากหนังสือมีซานุลฮิกมะฮ์นี้ รายงานมาจากหนังสือ“อัลฆ็อยบะฮ์”ของท่านนุอ์มานี ซึ่งต้นฉบับดังกล่าวระบุถึงสถานภาพของเหล่าสาวกในยุคที่อิมามมะฮ์ดี(อ.)ลุกขึ้นสู้ว่า “รายงานจากอิบรอฮีมเล่าว่า มีผู้รายงานจากอิมามศอดิก(อ.)แก่ฉันว่า เมื่อมะฮ์ดี(อ.)ลุกขึ้นสู้ กลุ่มผู้ที่เคยคิดว่าตนเองเป็นสหายของท่านจะออกจากภารกิจนี้(การเชื่อฟังอิมาม) ส่วนกลุ่มที่คล้ายผู้บูชาสุริยันและจันทราจะเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อท่านแทน”[1] แม้ว่าสายรายงานของฮะดีษนี้จะน่าเชื่อถือ แต่ยังถือว่าเป็นสายรายงานที่“มุรซั้ล”(ขาดตอน) เนื่องจากผู้รายงาน (อิบรอฮีม บิน อับดิลฮะมี้ดซึ่งเป็นสหายของอิมามกาซิม(อ.))นั้น กล่าวว่ารายงานจากบุคคลผู้หนึ่งที่ได้ยินจากอิมามศอดิก(อ.) โดยผู้รายงานมิได้เปิดเผยชื่อของบุคคลดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ฮะดีษข้างต้นจึงถือว่าขาดตอนในแง่สายรายงาน ส่วนในแง่เนื้อหานั้น ฮะดีษข้างต้นมีใจความว่า ในยุคที่อิมามมะฮ์ดี(อ.)ปรากฏกายนั้น เหล่าสหายที่คิดว่าตนเองเป็นพรรคพวกของท่านจะบิดพริ้วไม่เชื่อฟังท่าน แต่ในขณะเดียวกันก็มีบุคคลบางกลุ่มที่มิไช่ผู้ศรัทธา(ซึ่งฮะดีษใช้สำนวนว่า “เปรียบดังผู้บูชาสุริยันจันทรา”) กลับเลื่อมใสและเข้าสวามิภักดิ์ต่อท่าน และกลายเป็นสาวกแท้จริงที่ช่วยเหลือภารกิจต่างๆของท่าน กล่าวได้ว่าฮะดีษข้างต้นต้องการจะตำหนิกลุ่มบุคคลที่อ้างว่าศรัทธาและภักดีต่อท่าน แต่แล้วเมื่อประสบกับการทดสอบในภาคปฏิบัติ ก็ไม่อาจจะทนอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของท่านได้อีกต่อไป บุคคลเหล่านี้ไม่เพียงแต่ไม่ได้รับอานิสงส์ใดๆจากการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.) แต่กลับต้องประสบกับความวิบัติอีกด้วย ซึ่งอาจจะหนักข้อถึงขั้นลุกขึ้นต่อต้านท่านอิมาม ทว่าในทางตรงกันข้าม บุคคลที่เคยมีความศรัทธาบกพร่อง (กาฟิรและมุชริกีนบางกลุ่ม) อาจจะเอือมระอาต่อการอยู่ใต้อาณัติของผู้กดขี่ เมื่อได้เห็นรัฐบาลที่เที่ยงธรรมของอิมามก็อาจจะเข้ารับอิสลามและสวามิภักดิ์ต่อท่านก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี อัลลามะฮ์มัจลิซีได้รายงานฮะดีษนี้ตามสายรายงานเดียวกันนี้ ทว่ามีข้อแตกต่างในเนื้อหาเล็กน้อยว่า: “เมื่อมะฮ์ดี(อ.)ลุกขึ้นต่อสู้ บุคคลบางกลุ่มที่เคยคิดว่าตนเองเป็นสาวกของท่านจะออกจากแนวทางของท่าน และแปรสภาพประดุจเหล่าผู้บูชาสุริยันและจันทรา”[2] กล่าวคือผู้ที่มีศรัทธาสั่นคลอนนั้น ...
  • เพราะสาเหตุอันใดงานชุมนุมบางแห่งจึงได้วาดภาพการถูกกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ?
    6672 ชีวประวัตินักปราชญ์ 2554/12/20
    มีคำกล่าวว่ามีความทุกข์และความเศร้าโศกอย่างหนักได้ถาถมเข้ามาก่อนที่ท่านอิมามจะถูกทำชะฮาดัต, และโศกนาฏกรรมที่ประดังเข้ามาหลังจากชะฮาดัต, โดยตัวของมันแล้วได้ก่อให้เกิดภาพการถูกกดขี่อย่างรุนแรงของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)ฉะนั้น
  • อะไรคือตาบู้ตที่อัลลอฮ์สั่งให้ท่านนบี(ซ.ล.)ส่งมอบแก่ท่านอิมามอลี(อ.)ในวันเฆาะดี้ร?
    7809 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ในฮะดีษเฆาะดี้รมีคำว่าตาบู้ตอยู่จริงซึ่งกุรอานก็กล่าวถึงเช่นกัน... أَنْ یَأْتِیَکُمُ التَّابُوتُ فیهِ سَکینَةٌ مِنْ رَبِّکُمْ ... โองการนี้ต้องการจะสื่อว่า  แม้ศาสนทูตอิชมูอีลจะแจ้งแก่บนีอิสรออีลว่าตอลู้ตได้รับภารกิจจากอัลลอฮ์แต่พวกเขาก็ยังเคลือบแคลงสงสัยอยู่และขอให้ศาสนทูตระบุหลักฐานให้ชัดเจนศาสนทูตจึงกล่าวว่าสัญลักษณ์การปกครองของเขาก็คือเขาจะมายังพวกท่านพร้อมกับตาบู้ต(หีบบรรจุพันธะสัญญา)ส่วนที่ว่าตาบู้ตหรือหีบแห่งพันธะสัญญาของบนีอิสรออีลคืออะไรใครเป็นคนสร้างขึ้นบรรจุสิ่งใดบ้างนั้นมีคำอธิบายมากมายจากฮะดีษตัฟซี้รและบทพันธะสัญญาเดิม (โตร่าห์) แต่ที่ค่อนข้างชัดเจนที่สุดก็คือคำอธิบายที่ได้จากฮะดีษของอะฮ์ลุลบัยต์และทัศนะของนักตัฟซี้รบางท่านที่ว่า:   ตาบู้ตเป็นหีบไม้ที่มารดาของท่านนบีมูซา(อ.)ได้ใช้วางทารกไว้ตามพระบัญชาของอัลลอฮ์และปล่อยไปตามกระแสของแม่น้ำไนล์ สามารถเชื่อมโยงสองเหตุการณ์ระหว่างการที่บนีอิสรออีลเรียกร้องให้ตอลู้ตแสดงหีบตาบู้ตให้เห็นกับการที่อัลลอฮ์ทรงบัญชาให้ท่านนบี(ซ.ล.)ส่งมอบศาสตราวุธและหีบตาบู้ตให้แก่ท่านอิมาม(อ.)ในวันเฆาะดี้รโดยได้ข้อสรุปว่าอุปกรณ์เหล่านี้คือสิ่งที่ส่งมอบกันมาจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงอิมามท่านสุดท้ายและอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะแสดงหีบและศาสตราวุธนี้เป็นสัญลักษณ์ให้ชาวโลกประจักษ์ ...
  • การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ จะเข้ากันกับเตาฮีดหรือไม่
    8684 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/08/22
    ถ้าเป็นการขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ด้วยความเชื่อที่ว่าบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ ท่านเหล่านั้นคือผู้ทำให้คำวิงวอนขอของท่านสมประสงค์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺอีก แน่นอน สิ่งนี้เป็นชิริกฮะรอม และเท่ากับเป็นการกระทำที่ต่อต้านเตาฮีด ถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด แต่ถ้ามีความเชื่อว่า บรรดาท่านเหล่านี้จะทำให้คำวิงวอนของท่านถูกตอบรับ โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ และโดยอำนาจที่พระองค์แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ทว่ายังเป็นหนึ่งในความหมายของเตาฮีด ซึ่งไม่มีอุปสรรคอันใดทั้งสิ้น ...
  • ตักวาหมายถึงอะไร?
    17806 จริยธรรมทฤษฎี 2555/01/23
    ตักว่าคือพลังหนึ่งที่หยุดยั้งจิตด้านในซึ่งการมีอยู่ของมนุษย์คือสาเหตุของการมีพลังนั้นและพลังดังกล่าวจะพิทักษ์ปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นจากการกระทำความผิดฝ่าฝืนต่างๆความสมบูรณ์ของตักวานอกจากจะช่วยทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความผิดบาปและการก่ออาชญากรรมต่างๆ
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57580 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวชื่อรุก็อยยะฮ์หรือสะกีนะฮ์ไช่หรือไม่ ที่เสียชีวิตที่ดามัสกัสขณะอายุได้สามหรือสี่ขวบ?
    7202 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    แม้ว่านักประวัติศาสตร์จะมิได้กล่าวถึงบุตรสาวตัวน้อยของอิมามฮุเซน(อ.) ที่มีนามว่ารุก็อยยะฮ์หรือฟาฏิมะฮ์ศุฆรอฯลฯแต่ตำราบางเล่มก็สาธยายเรื่องราวอันน่าเวทนาของเด็กหญิงคนนี้ณซากปรักหักพังในแคว้นชามเราพบว่ามีเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปรากฏในตำราประวัติศาสตร์บางเล่มอาทิเช่นก. เมื่อท่านหญิงซัยนับ(ส.) ได้เห็นศีรษะของอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นพี่ชายนางได้รำพึงรำพันบทกวีที่มีเนื้อหาว่า “โอ้พี่จ๋าโปรดคุยกับฟาฏิมะฮ์น้อยสักนิดเถิดเพราะหัวใจนางกำลังจะสูญสลาย”
  • หากประสบกับภาวะน้ำแพง จะอาบน้ำยกหะดัสใหญ่อย่างไร?
    7871 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    โดยปกติแล้วการทำอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ถือเป็นมุสตะฮับแต่จะเป็นวาญิบต่อเมื่อต้องทำนมาซฟัรดูหรืออิบาดะฮ์อื่นๆ[1]แต่ถ้าหากน้ำที่ใช้เพื่ออาบน้ำยกหะดัสใหญ่นั้นมีราคาสูงเสียจนอาจสร้างปัญหาแก่คุณในแง่ทุนทรัพย์ในกรณีเช่นนี้การหาน้ำและการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ก็ไม่เป็นวาญิบอีกต่อไปและสามารถทำตะยัมมุมแทนได้[2]ควรใช้น้ำสำหรับการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่เท่าที่ความสามารถของท่านจะอำนวยฉะนั้นการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่กับน้ำนั้นจะเป็นวาญิบเฉพาะกรณีที่เงื่อนไขด้านน้ำเอื้ออำนวยเท่านั้นอนึ่งหากในหนึ่งวันท่านสามารถอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ได้เพียงครั้งเดียวท่านสามารถเลื่อนการนมาซซุฮริ-อัซริออกไปและอาบน้ำยกหะดัสใหญ่เพื่อให้สามารถทำนมาซซุฮ์ริ, อัซริ, มักริบและอีชาด้วยกับการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ครั้งเดียวได้และหากท่านสามารถอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ได้๒ครั้งให้อาบน้ำยกหะดัสใหญ่สำหรับนมาซซุบฮิหนึ่งครั้งและทำอาบน้ำยกหะดัสใหญ่สำหรับนมาซ๔เวลาที่เหลือดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น (โดยเลื่อนการนมาซซุฮริและอัศริออกไปจนใกล้ถึงเวลานมาซมักริบและอิชา)[1]ประมวลปัญหาศาสนาโดยบรรดามัรญะอ์,เล่ม 1,
  • อัลกุรอานที่อยู่ในมือของเรา ณ ปัจจุบันนี้ ได้ถูกรวบรวมตั้งแต่เมื่อใด?
    8803 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ความแตกต่างระหว่างจิตฟุ้งซ่านกับชัยฎอนคืออะไร?
    10551 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    ตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ซึ่งได้ถูกตีความว่าเป็นตัวตนหรือจิต, มีหลายมิติด้วยกันซึ่งอัลกุรอานได้แบ่งไว้ 3 ระดับด้วยกัน (จิตอัมมาเราะฮฺ, เลาวามะฮฺ, และมุตมะอินนะฮฺ)

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60137 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57580 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42225 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39382 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38957 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34011 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28028 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27974 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27812 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25806 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...