Please Wait
8836
วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً หมายถึงกุรอาน แม้ว่านักอรรถาธิบายจะตีความคำว่าวจนะอันหนักอึ้งแตกต่างกันไปตามแต่ละแง่มุมของโองการ แต่สันนิษฐานว่าความเป็นวจนะอันหนักอึ้ง (อันหมายถึงกุรอานอย่างมิต้องสงสัย) เกิดจากแง่มุมต่างๆอันได้แก่ ความหนักอึ้งในแง่เนื้อหาโองการ ในแง่การแบกรับด้วยหัวใจ ในแง่การเผยแพร่คำสอน ในแง่การวางแผนและปฏิบัติ ฯลฯ
ความหนักอึ้ง (ษิกล์) เป็นคุณสมบัติของวัตถุที่บรรทุกและขนย้ายลำบาก บางครั้งมีการใช้คำนี้ในกรณีอื่นที่ไม่ไช่วัตถุ อย่างเช่นใช้เป็นการเปรียบเปรยเชิงนามธรรม อาทิเช่น เราเรียนหนักทุกวิชา ซึ่งหมายถึงว่าวิชาเหล่านี้เข้าใจยาก หรือสำนวนที่ว่า การอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นทางวิชาการในวันนี้ค่อนข้างหนักสำหรับคนทั่วไป คำว่าหนักในสำนวนเหล่านี้ใช้กับสิ่งที่มิไช่วัตถุและเป็นนามธรรมที่เข้าใจลำบาก หรือข้อเท็จจริงที่เข้าถึงค่อนข้างยาก หรือเป็นคำสั่งที่ปฏิบัติตามค่อนข้างยาก
กุรอานซึ่งเป็นวจนะของอัลลอฮ์ก็มีความหนักอึ้งทั้งในแง่การทำความเข้าใจและในแง่การนำสู่การปฏิบัติ หนักในแง่การทำความเข้าใจก็เนื่องด้วยกุรอานเป็นวจนะที่พระองค์ทรงวิวรณ์แก่ท่านนบี(ซ.ล.) แน่นอนว่าวจนะเช่นนี้ บุคคลที่บริสุทธิ์ปราศจากมลทินและกิเลสทุกประการ และมีสัมพันธ์อันดีกับพระองค์เท่านั้นที่จะเข้าใจ ทั้งนี้ กุรอานเป็นวจนะของพระองค์และเป็นคัมภีร์อันทรงเกียรติที่มีทั้งด้านตื้นและด้านลึกที่ต้องอาศัยการตีความ เป็นเครื่องยืนยันทุกสิ่ง เราสามารถเข้าใจความหนักอึ้งของกุรอานได้จากคำบอกเล่าของผู้ที่เห็นสภาพของท่านนบี(ซ.ล.)ขณะรับวิวรณ์จากพระองค์
ส่วนในแง่การนำสัจธรรมกุรอานสู่การปฏิบัติก็เช่นกัน เพราะการที่จะนำหลักเตาฮี้ดและสารธรรมทางความเชื่อและจริยธรรมดังกล่าวไปปฏิบัตินั้น เป็นเรื่องยากถึงขั้นที่กุรอานเปรียบเปรยไว้ว่า
لَوْ أَنْزَلْنا هذَا الْقُرْآنَ عَلى جَبَلٍ لَرَأَیْتَهُ خاشِعاً مُتَصَدِّعاً مِنْ خَشْیَةِ اللَّهِ... [1]
จะเห็นได้ว่าแม้ภูเขาก็ยังไม่อาจจะแบกรับกุรอานได้ เพราะจะแตกเป็นเสี่ยงๆด้วยความยำเกรงต่อพระองค์
ไม่เพียงแต่กุรอานจะมีความหนักอึ้งในสองแง่มุมข้างต้น แต่ในแง่ของการรณรงค์ให้ปฏิบัติอย่างแพร่หลายในสังคมก็หนักอึ้งเช่นกัน เพราะการรณรงค์ให้สังคมปฎิบัติศาสนกิจอิสลามและส่งเสริมให้อยู่เหนือศาสนาอื่นๆเป็นเรื่องที่ลำบากยิ่ง ซึ่งจะเห็นได้จากอุปสรรคและความยากลำบากนานัปการที่ท่านนบี(ซ.ล)ยอมแบกรับเพื่อพระองค์ ดังที่กุรอานเองก็เล่าถึงความทุกข์เข็นและคำเสียดสีที่เหล่ากาฟิรมุชริกีนและมุนาฟิกีนใช้โจมตีท่านมาตลอด ด้วยเหตุนี้เอง กุรอานจึงกล่าวว่า إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلًا ثَقِیلًا ซึ่งวจนะอันหนักอึ้งในที่นี้ก็หมายถึงอัลกุรอานนั่นเอง
สรุปคือ แม้ว่านักอรรถาธิบายจะตีความคำว่าวจนะอันหนักอึ้งแตกต่างกันไปตามแต่ละแง่มุมของโองการ แต่สันนิษฐานว่าความเป็นวจนะอันหนักอึ้ง (อันหมายถึงกุรอานอย่างมิต้องสงสัย) เกิดจากแง่มุมต่างๆอันได้แก่ ความหนักอึ้งในแง่เนื้อหาโองการ ในแง่การแบกรับด้วยหัวใจ ในแง่การเผยแพร่คำสอน ในแง่การวางแผนและปฏิบัติ ฯลฯ[2]