การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7973
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/09/11
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1181 รหัสสำเนา 16553
คำถามอย่างย่อ
สายรายงานของฮะดีษที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวแก่ชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า“พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เพื่อให้ยอมรับการประทานกุรอาน แต่ก่อนโลกนี้จะพินาศ พวกเขาจะรบกับพวกท่านเพื่อการตีความกุรอาน”เชื่อถือได้เพียงใด?
คำถาม
ไม่นานมานี้ได้เห็นฮะดีษในนิตยสารเล่มหนึ่งระบุว่า ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่า ขอสาบานต่อพระผู้บันดาลให้เมล็ดพันธุ์งอกเงย และสร้างทุกสรรพสิ่ง แท้จริงพวกเขา(ชาวอิหร่าน)จะรบกับพวกท่านเพื่อให้หวนคืนสู่อิสลาม ดังที่พวกท่านเคยรบกับพวกเขาเพื่อให้รับอิสลาม” สายรายงานฮะดีษนี้น่าเชื่อถือหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

ในตำราฮะดีษ มีฮะดีษชุดหนึ่งที่มีนัยยะถึงการที่ท่านอิมามอลี(.)กล่าวกับชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่าพวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เนื่องด้วยการประทานกุรอาน แต่ก่อนโลกนี้จะพินาศ พวกเขาก็จะรบกับพวกท่านเนื่องด้วยการตีความกุรอาน
สายรายงานของฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้

คำตอบเชิงรายละเอียด

เราไม่พบข้อความดังที่คุณยกมาในตำราฮะดีษเล่มใด แต่มีฮะดีษที่มีนัยยะใกล้เคียงกัน โดยฮะดีษนี้มีปรากฏในหนังสือกุรบุ้ลอัสน้าด โดยรายงานจากท่านอิมามศอดิก(.) ซึ่งรายงานจากบรรพบุรุษของท่านสืบไปจนถึงอิมามอลี(.) โดยท่านกล่าวถึงชาวเปอร์เซียว่าพวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขาเนื่องด้วยการประทานกุรอาน แต่ก่อนโลกาวินาศ พวกเขาจะรบกับพวกท่านเนื่องด้วยการตีความกุรอาน[1]

เกี่ยวกับประเด็นสายรายงาน ต้องเรียนชี้แจงว่า การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแต่ละฮะดีษขึ้นอยู่กับประเภทเนื้อหา หากเป็นเนื้อหาความศรัทธาก็ย่อมต้องมีสายรายงานที่หลากหลายและน่าเชื่อถือเสียก่อน แต่ในกรณีของเนื้อหาบทบัญญัติ เพียงสายรายงานเดียวที่มีความน่าเชื่อถือ ก็นับว่าเพียงพอแล้วและสามารถประกาศใช้ได้
แต่เนื่องจากฮะดีษที่คุณยกมานั้น มิได้มีเนื้อหาทั้งสองประเภทข้างต้น จึงไม่จำเป็นต้องตรวจสอบเข้มงวดนักในแง่สายรายงาน ส่วนในแง่ตัวบทฮะดีษ ต้องเรียนชี้แจงว่าหนังสือกุ้รบุ้ลอัสน้าดเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้รู้โดยทั่วไป[2] โดยท่านฮิมยะรีผู้ประพันธ์หนังสือเล่มนี้นับเป็นหนึ่งในนักรายงานฮะดีษที่ยิ่งใหญ่และมีความน่าเชื่อถือของชีอะฮ์ สายรายงานถัดจากฮิมยะรีขึ้นไปนั้นค่อนข้างสั้น และมีชื่อของฮะซัน บิน ซ่อรีฟ และ ฮุเซน บิน อิลวาน โดยที่ฮะซัน บิน ซ่อรีฟเป็นที่ไว้วางใจในตำราวิชาริญ้าลของสายชีอะฮ์[3] แต่กรณีของฮุเซน บิน อิลวานมีทัศนะที่ขัดแย้งกัน อันเกิดจากประโยควิจารณ์ในตำราริญ้าลที่ว่าเขามิไช่ชีอะฮ์ สร้อยนามพี่ชายของเขาคืออบูมุฮัมมัด และเขาเป็นนักรายงานที่เชื่อถือได้ทั้งนี้ก็เนื่องจากไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าประโยคสุดท้าย(และเขาเป็นนักรายงานฮะดีษที่เชื่อถือได้)[4]หมายถึงตัวฮุเซน บิน อิลวานเอง หรือหมายถึงพี่ชายของเขา ดังนั้นจึงยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของเขาอยู่ อย่างไรก็ดี ท่านอายะตุ้ลลอฮ์ คูอี้ย์ถือว่าเขามีความน่าเชื่อถือ โดยท่านแสดงทัศนะว่าประโยคเช่นนี้มีมากในตำราวิชาริญ้าล ซึ่งล้วนหมายถึงนักรายงานฮะดีษหลักที่กำลังกล่าวถึงนั่นเอง[5]
อนึ่ง เมื่อพิจารณาถึงการที่ฮะดีษมากมายในหนังสือกุรบุ้ลอัสน้าดล้วนรายงานผ่านสายรายงานนี้ จึงสรุปได้ว่าสายรายงานนี้เชื่อถือได้



[1] กุรบุ้ลอัสน้าด,หน้า 52. และ บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 64,หน้า 174
 
و عنه [عن الحسن بن ظریف عن ابن علوان ]عن جعفر عن ابیه عن علی (ع)قال فی فارس ضربتموهم علی تنزیله و لا تنقضی الدنیا حتی یضربوکم علی تأویله

[2] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 1,หน้า 27

[3] ริญ้าลอันนะญาชี,หน้า 61 และ อัลคุลาเศาะฮ์,หน้า 43

[4] ริญ้าลอันนะญาชี,หน้า 52

[5] มุอ์ญัม ริญาลุ้ลฮะดีษ,เล่ม 4,หน้า 383

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60382 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57932 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42477 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39759 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39129 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34239 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28279 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28205 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28145 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26083 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...