การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
20861
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2553/10/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa887 รหัสสำเนา 10190
คำถามอย่างย่อ
วะฮฺยูคืออะไร ประทานลงมาแก่ศาสดาอย่างไร
คำถาม
วะฮฺยูคืออะไร ประทานลงมาแก่ศาสดาอย่างไร
คำตอบโดยสังเขป

วะฮฺยู (วิวรณ์) "ในเชิงภาษาความถึง การบ่ชี้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่เป็นชนิดหนึ่งของคำ หรือเป็นรหัส หรืออาจเป็นเสียงอย่างเดียวปราศจากการผสม หรืออาจเป็นการบ่งชี้และสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ความหมายและการนำไปใช้ที่แตกต่างกันของคำนี้ในพระคัมภีร์กุรอาน ทำให้เราได้พบหลายประเด็นที่สำคัญ : อันดับแรก วะฮฺยูไม่ได้เฉพาะพิเศษสำหรับมนุษย์เท่านั้น ทว่าหมายรวมถึงพืช สัตว์ และสิ่งไม่มีชีวิตอื่นด้วย .... (วะฮฺยู เมื่อสัมพันธ์ไปยังสิ่งมีชีวิตก็คือ การชี้นำอาตมันและสัญชาติญาณ หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นการชี้นำในเชิงตักวีนีของพระเจ้า เพื่อชี้นำพวกเขาไปยังเป้าหมายของพวกเขา) แต่ระดับชั้นที่สูงที่สุดของวะฮฺยู เฉพาะเจาะจงสำหรับบรรดาศาสดา และหมู่มวลมิตรของพระองค์เท่านั้น ซึ่งจุดประสงค์ในที่นี้หมายถึง การดลความหมายนบหัวใจของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หรือการสนทนาของพระเจ้ากับท่านเหล่านั้น บทสรุปก็คือโดยหลักการแล้วการดลอื่นๆ ที่มีมายังมนุษย์ ถ้าพิจารณาในแง่ของรูปลักษณ์ลักษณะแล้วไม่แตกต่างกัน  แต่ในระดับชั้นนั้นมีความแตกต่างกัน ระดับชั้นที่ต่ำที่สุดเป็นระดับของสิ่งที่ไม่มีชีวิตและพืชทั้งหลาย ขณะที่ระดับสูงสุดนั้นเป็นของบรรดา ศาสดา อันดับที่สอง : กรณีที่วะฮฺยูถูกใช้ในความหมายที่แตกต่างกัน เช่น ถูกใช้ในความหมายของการบ่งชี้ การอ้างอิง, การกระซิบกระซาบ, การดลในความเข้าใจจากทางสัญชาติญาณ หรือการดลชนิดมองเห็น ซึ่งระดับชั้นที่สูงที่สุดคือ การตรัสของพระเจ้าที่มีต่อศาสดาและเราะซูลของพรองค์

คุณลักษณะของวะฮฺยูมีดังนี้ : 1) บังเกิดภายใน 2) มีครูสอนสั่ง 3) ซ่อนในจิตใจ 4) การรับรู้ผ่านแรงบันดาลใจ ขณะเดียวกันวิธีการประทานวะฮฺยูแก่บรรดาศาสดามีอยู่ 3 แบบ (แม้ตามคำกล่าวของท่านอัลลามะฮฺเฏาะบาเฏาะบาอี ทั้งสามแบบนั้นจะย้อนกลับไปสู่วิธีการเดียว นั่นก็คือการดลใจโดยปราศจากสื่อกลางจากอัลลอฮฺ) ซึ่งประกอบไปด้วย :

(1) การสนทนาของพระเจ้าโดยปราศจากสื่อ (2) การสนทนาหลังม่านปกคลุม (3) การสนทนาผ่านทูตสวรรค์หรือมลาอิกะฮฺที่ประทานลงมา ปรัชญาของการประทานวะฮฺยูและศักดิ์ศรีของมลาอิกะฮฺ สิ่งที่ย้ำเตือนให้เห็นถึงประเด็นที่ว่า การที่มลาอิกะฮฺเป็นสื่อกลางนั้นไม่ได้หมายถึงว่า มลาอิกะฮฺได้รับสิทธิ์จากพระเจ้า หลังจากนั้นได้ถ่ายทอดให้ศาสดาด้วยภาษาอันเฉพาะ  ทว่ามลาอิกะฮฺคือภาพประจักษ์แห่งสารของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ คำว่าสื่อกลางจึงไม่ได้หมายถึงภาษาอันเฉพาะ หรือมีข้อความศักดิ์สิทธิ์อยู่ระหว่างนั้น เพื่อว่าจะได้เกิดความผิดพลาดขณะพูด ในประการแรก จึงไม่มีสื่อกลางระว่างทั้งสอง, และประการที่สองและสาม ถ้าศาสดา (ซ็อล ฯ) ไม่ใส่ใจผ่านสื่อหรือผ้าคลุม ก็เท่ากับว่าท่านได้รับวะฮฺยูโดยปราศจากสื่อ ประเด็นสุดท้าย วะฮฺยู เป็นชนิดหนึ่งของความรู้ประจักษ์ จึงมีความแตกต่างกับความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ ความรู้ประจักษ์ปราศจากความผิดพลาดและไม่เป็นเท็จ ดังนั้น มนุษย์สามารถพัฒนาตัวเองขึ้นไปจนไปถึงขั้นที่ว่า มนุษย์สามารถได้รับความรู้จากพระเจ้าโดยไม่ต้องผ่านสื่อ ตรงนี้เอง ที่ส่วนใหญ่จะห่างไกลและอิสระต่อการย้อนไปหาสิ่งอื่นนอกจากพระองค์ และได้รับการคุ้มกันจากความผิดพลาด และนี่ก็คือตำแหน่งมะอฺซูมนั่นเอง

คำตอบเชิงรายละเอียด

วะฮฺยู (วิวรณ์) "ในเชิงภาษาความถึง การบ่ชี้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่เป็นชนิดหนึ่งของคำ หรือเป็นรหัส หรืออาจเป็นเสียงอย่างเดียวปราศจากการผสม หรืออาจเป็นการบ่งชี้และสิ่งที่คล้ายคลึงกัน[1]

คำๆ นี้ถูกใช้ในอัลกุรอานบ่อยครั้ง แบบฟอร์มการใช้คำ ๆ นี้ มีลักษณะแตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าอัลกุรอานนั้นไม่ได้เฉพาะเจาะจงกับมนุษย์เท่านั้น ทวาควบคลุมถึงสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ด้วย ด้วยเหตุนี้ การสร้างรวงรังของผึ้งก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของวะฮฺยู ซึ่งจะเห็นว่าวะฮฺยูได้ชี้นำทางสรรพสิ่งมีชีวิตที่ตัวตนและสัญชาติญาณ เพื่อให้สรรพสิ่งนั้นไปถึงยังจุดหมาย ประเด็นนี้ย่อมเป็นหนึ่งในเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่า โลกนั้นมีจุดหมาย มวลสรรพสิ่งทั้งหลายไปถึงยังเป้าหมายของตนได้ไม่ใช่เพราะความบังเอิญ ทว่าด้วยการชี้นำที่เป็นตักวีนีของพระเจ้า ซึ่งสิ่งนั้นก็คือการวะฮีของพระองค์ที่มีมายังสรรพสิ่งเหล่านั้น อย่างไรก็ตามวะฮีย์ของพระเจ้ามีระดับชั้นที่แตกต่างกัน วะฮีย์ที่มีมายังพืช สรรพสัตว์ และฯลฯ นั้นไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกัน ทำนองเดียวกันการชี้นำที่มีต่อสรรพสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ไม่เหมือนกับสิ่งไม่มีชีวิต[2]

ดังนั้น วะฮฺยูระดับสูงที่สุดก็คือวะฮฺยูที่ถูกประทานแก่ท่านศาสดา ซึ่งจุดประสงค์จากสิ่งนั้นคือ การดลความหมายบนจิตใจของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จากพระเจ้าและการสนทนาของพระเจ้ากับนบี[3] วะฮีย์นี้วางอยู่บนพื้นฐานความต้องการของมนุษย์ที่ต้องการคำชี้นำจากพระเจ้า เพื่อชี้นำไปถึงจุดหมายปลายทาซึ่งอยู่เบื้องหลังเส้นขอบฟ้าแห่งความรู้สึกและวัตถุ อีกด้านหนึ่งความต้องการในการดำรงอยู่ทางสังคม ที่ประกอบด้วยของการมีกฎหมายพระเจ้าอันเป็นที่ตอบรับ ดังนั้น วะฮฺยู ก็คือการได้รับการชี้นำจากพระเจ้านั่นเอง โดยการเชื่อมต่อของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กับอาณาจักรเร้นลับ ท่านศาสดาคือสื่อกลางระหว่างโลกมนุษย์กับโลกเร้นลับ (ซึ่งจะอธิบายต่อไปว่ามนุษย์ผู้มีความสมบูรณ์ ก็มีสิทธิ์ได้รับความวะฮีย์บางระดับเช่นกัน)[4]

จากคำพูดของท่านนบี (ซ็อล ฯ) ก็สามารถเข้าใจได้ว่าพื้นฐานของวะฮีย์ กับการดลอย่างอย่างอื่นที่มีแก่มนุษย์ในแง่ของแก่นสารไม่แตกต่างกัน แต่ในระดับชั้นนั้นแตกต่างกันไป ตัวอย่าง เช่น ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ขณะที่กล่าวฮะดีซได้กล่าวว่า: การมองเห็นสัจธรรมเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบ 70 ส่วนของสภาวะการเป็นนบี[5] ฮะดีซบทนี้บ่งบอกให้เห็นว่า วะฮฺยู ที่ประทานแก่ศาสดามีระดับชั้นที่สูงส่งทีสุดและเปี่ยมไปด้วยความรุ่งโรจน์ ซึ่งทั้งหมดได้รับประโยชน์จากรัศมีและปัจจัยยังชีพ ดังนั้นมีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะพิจารณาความหมายของวะฮฺยู ตามทีอัลกุรอานได้ใช้ [6] ในดำรัสของพระเจ้า วะฮียฺ ถูกใช้ในความหมายเหล่านี้ :

ถูกใช้ในความหมาย การดล ในความเข้าใจของสัตว์จากวิธีของสัญชาติญาณ “และพระผู้อภิบาลของเจ้า ทรงดลใจแก่ผึ้ง”[7] (หมายถึงพระองค์ทรงสอนผึ้งว่าเจ้าควรจะสร้างรวงรังและดูดน้ำหวานอย่างไร)

วะฮฺยู หมายถึงการกดลด้วยการมองเห็น :"และเราได้ดลใจแก่มารดาของมูซา”[8]

วะฮฺยู หมายถึง การกระซิบกระซาบ :แท้จริง บรรดาชัยฏอนนั้นจะกระซิบกระซาบแก่บรรดาสหายของมัน”[9]

วะฮฺยู หมายถึง การดลในแง่ของการบ่งชี้ : และเขาได้ชี้ใบ้แก่พวกของเขาว่า พวกท่านจงกล่าวสดุดีในยามเช้าและยามเย็น”[10]

และชนิดที่ดีที่สุดของวะฮฺยูคือ ในความหมายของการสนทนาของพระเจ้ากับษศาสดาและเราะซูล :"และไม่เป็นการบังควรแก่มนุษย์คนใดที่จะให้อัลลอฮฺตรัสแก่เขาเว้นแต่โดยทางวะ ฮียฺ”[11]

ส่วนคุณสมบัติของวะฮฺที่ประทานแก่บรรดาศาสดามี 3 ประเภทกล่าวคือ : 1) บังเกิดภายใน 2) มีครูสอนสั่ง 3) ซ่อนในจิตใจ 4) การรับรู้ผ่านแรงบันดาลใจ

คำอธิบาย : วัตถุประสงค์ของการบังเกิดภายใน หมายถึงบรรดาศาสดา, ไม่ได้รับวะฮฺยูโดยผ่านความรู้สึกภายนอก ทว่าได้รับโดยผ่านจากด้านใน อัลกุรอานกล่าวถึงประเด็นนี้โดยเรียกว่า จิตใจ ตรัสว่า

نزل به الروح الامین على قلبک[12]

จิตใจ ในที่นี้หมายถึง ภายใน กล่าวคือคือตัวตนและจิตวิญญาณ อีกด้านหนึ่งเนื่องจาก วะฮฺยู คือติดต่อกับโลกอื่นเรียกว่าวะฮฺยูด้านนอก ส่วนจุดประสงค์ของครู หมายถึงวะฮฺยูที่ลงแก่นบี เช่น ไม่เหมือนสัญชาตญาณของสัตว์ที่ไม่มีด้านการศึกษาและไม่ใช่ชนิดของแรงบันดาลใจชนิด (อิลฮามที่เกิดในมนุษย์หรือนักวิชาการบางคน) เพราะอิลฮาม (แรงบันดาลใจ) ของมนุษย์ก็เพียงแค่รู้สึกว่า เขาไม่รู้ทันใดนั้นมีสิ่งหนึ่งปรากฏบนจิตใจของเขา แต่ไม่มีความรู้สึกว่ากำลังได้รับสิ่งนั้นจากครู แต่บรรดาศาสดาจะมีความรู้สึกว่าพวกเขาได้พบกับครู อัลกุรอานกล่าวว่า :

علمه شدید القوى"[13] "علمّک مالم تکن تعلم"[14].

วัตถุประสงค์ ความรู้สึก กล่าวคือ เมื่อพระศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้รับวะฮฺยู ท่านตระหนักว่า นี่คือเนื้อหาที่ได้รับจากที่อื่น เหมือนกับเรา มีความรู้สึกว่าเรากำลังเรียนอยู่กับครูผู้สอน เรามีความรู้สึกว่า เรากำลังนั่งอยู่ต่อหน้าคุณครูและฟังครูสอน จะมีความแตกต่างกันตรงที่ว่า คุณครูของท่านนบีไม่ได้อยู่ในจักรวาลนี้ ส่วนจุดประสงค์ของ การรับรู้โดยผ่านสื่อของวะฮฺยูนั้น บางครั้งวะฮฺยู ได้ถูกดลแก่นบีโดยสิ่งอื่น ไม่ได้มาโดยตรงจากพระเจ้า สิ่งนั้นบางครั้งเรียกว่า "รูฮุลอามีน" บางครั้งเรียกว่า "รูฮุลกุดส์" บางครั้งก็เป็น "ญิบรออีล" ซึ่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) รับรู้และรู้สึกได้กับสิ่งนั้น ขณะที่ในสัญชาติญาณส่วนบุคคลมิได้เป็นเช่นนี้ และผู้นั้นก็ไม่ได้มีความรู้สึกว่าเขามีครู ดังนั้น เมื่อวะฮฺยูเป็นที่ชัดเจนแล้ว จะขออธิบายในส่วนที่สองของคำถาม และจะขอจบด้วยการอธิบายประเด็นเหล่านี้

พระมหาคัมภีร์กุรอาน กล่าวถึงรูปลักษณ์สามแบบของการประทานวะฮฺยูลงมายังมนุษย์ :

(1) การสนทนาของพระเจ้าโดยปราศจากสื่อ หมายถึงระหว่างพระเจ้ากับพระศาสดา (ซ็อล ฯ) ไม่มีสิ่งใดเป็นสื่อกลาง หรือมีม่านกั้นแต่อย่างใด ซึ่งท่านศาสดาได้รับวะฮฺยูจากแหล่งอันงดงาม (2) การสนทนาหลังม่านปกคลุม (3) การสนทนาผ่านทูตสวรรค์หรือมลาอิกะฮฺ เป็นที่ชัดเจนว่าในสองส่วนหลังนี้ แตกต่างไปจากส่วนแรก เนื่องจากมีม่านหรือสื่อหรือระหว่างพระเจ้าและศาสดา (ซ็อล ฯ) แน่นอน ความหมายของม่านปกปิดนั้นไม่ได้หมายความว่า ผู้ได้รับวะฮฺยูนั้นไม่ได้สนทนาโดยตรงกับพระเจ้า ทว่าเป็นที่ชัดเจนว่าผู้พูดคือ พระเจ้า แต่เนื่องจากวิทยปัญญาและพระประสงค์ของพระเจ้า, ซึ่งท่านศาสดาได้หันไปสู่ม่านหรือสื่อกลางนั้น และได้รับสารของพระเจ้าจากเบื้องหลังม่านหรือจากภาษาของสื่อกลาง เป็นที่ชัดเจนว่าท่านศาสดก็ได้รับข้อความของพระเจ้าโดยตรงเช่นกัน ดังนั้น ถ้าหากท่านศาสดาหันหน้าไปสู่ม่าน, จึงได้กล่าวว่าท่านได้รับวะฮฺยูจากเบื้องหลังม่าน แต่ถ้าท่านไม่ได้หันหน้าไปยังม่านนั้น ก็เท่ากับว่าท่านได้รับวะฮฺยูโดยตรง เช่นเดียวกันการที่กล่าวว่า วะฮฺยูได้ผ่าน ญิบรออีล (อ.) นั้น ถ้าหากผู้รับไม่ใส่ใจต่อสื่อก็เท่ากับว่า ท่านได้รับวะฮฺยูโดยตรงจากพระเจ้าเชนกัน

ในความเป็นจริงแล้ว มลาอิกะฮฺวะฮฺยู ก็คือการสำแดงวะฮฺยูของพระเจ้า ไม่ได้หมายความว่าท่านได้รับรู้ข้อความหรือสารผ่านชั้นบรรยากาศ หลังจากนั้นท่านได้อธิบายโดยผ่านสื่อของท่าน ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวว่ามลาอิกะฮฺวะฮฺยูอะมีน หมายความว่า ท่านเป็นผู้รักษาอะมานะฮฺ ซึ่งไม่ได้เหมือนกับการรักษาอะมานะฮฺในหมู่มนุษย์ด้วยกัน กล่าวคือผู้ที่ถืออะมานะฮฺพยายามนำเอาอะมานะนั้นไปส่งคืนให้เจ้าของ ทว่าในที่นี้แม้ว่าผู้รักษาอะมานะฮฺจะบริสุทธิ์และไม่ได้ทรยศ หรืออาตมันนั้นไม่สามารถทรยศและหักหลังได้, ทว่าสิ่งนี้เมื่อกล่าวกับมลาอิกะฮฺแล้วจะมีความหมายเป็นอย่างอื่น โดยหลักการแล้วไม่ได้หมายถึงท่านเป็นผู้รับและเป็นผู้ส่งวะฮฺยู ท่านไม่ได้เป็นสื่อกลางระหว่างอัลลอฮฺกับนบี ทว่าท่านคือการสำแดงวะฮฺยูและเป็นแหล่งปรากฏวิชาการของพระเจ้า ประหนึ่งว่าลายลักษณ์อักษรของพระเจ้าได้ปรากฏบนท่าน ถ้าหากท่านศาสดาได้หันไปสู่การสำแดงนั้น ก็จะกล่าวว่า อัลลอฮฺได้สนทนากับเราะซูลโดยผ่านสือมลาอิกะฮฺ ถ้าท่านเราะซูล แม้ว่าจะมีความรู้ของพระเจ้าหรือความรู้โดยทั่วไปของพระเจ้าได้วิวัฒนาการในสิ่งนั้นก็ตาม โดยที่ท่านไม่ได้ใส่ใจในสิ่งนั้น แต่ท่านใส่ใจในแห่ล่งวะฮฺยูเท่านั้น ดังนั้น วะฮฺยูเมื่อสัมพันธ์ไปยังศาสดาถือว่าไม่มีสื่อกลาง ประหนึ่งบุคคลหนึ่งได้ดูภาพในกระจกเขามองแต่ภาพโดยที่ไม่ได้สนใจต่อกระจก[15]

จากประเด็นนี้ ท่านอัลลามะฮฺเฏาะบาเฏาะบาอีกล่าวว่า ทุกการประทานวะฮฺยูนั้นปราศจากสื่อกลางที่มาจากพระเจ้า[16] ด้วยเหตุนี้ ในโองการต่างๆ วะฮฺยูได้สัมพันธ์ทุกกรณีกับพระเจ้า ซึ่งการสัมพันธ์ทำนองนี้ถือว่าไม่อนุญาต เช่น อัลกุรอานกล่าวว่า:

انا اوحینا الیک کما اوحینا الى نوح والنبیین من بعده

“แท้จริงเราได้มีโองการแก่เจ้าเช่นเดียวกับที่เราได้มีโองการแก่นูฮ์ และบรรดานะบีหลังจากเขา”[17]

หมายเหตุ : วะฮฺยูไม่ได้เป็นวิชาการประเภทของการเรียนรู้ ทว่าเป็นหนึ่งในความรู้ประจักษ์ การค้นพบนี้ด้วยเหตุที่ความสัจจริงได้ปรากฏชัด ณ ผู้ทำการค้นพบ ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วไม่สามารถเป็นจริงหรือเท็จได้ และไม่สามารถคิดได้ว่าสิ่งนั้นจะผิดพลาดแม้เพียงเล็กน้อย เพราะเท่ากับเป็นการปฏิเสธพื้นฐานของวะฮฺยู หรือขาดหลักการแห่งความจริง ดังนั้น ด้วยการ หลักฐานทางด้านปรัชญา และระดับของโลกทัศน์และวิชาการ ประกอบกับวิวัฒนาการของมนุษย์สามารถสรุปผลได้ว่า  มนุษย์สามารถพัฒนาตัวเองขึ้นไปจนไปถึงขั้นที่ว่า มนุษย์สามารถได้รับความรู้จากพระเจ้าโดยไม่ต้องผ่านสื่อ พระเจ้าทรงสนทนากับมนุษย์ โดยไม่ต้องการคำหรืออักษรหรือพระสุระเสียงแต่อย่างใด ในระดับชั้นนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ที่ยิ่งใหญ่ของจิตวิญญาณ ที่ส่วนใหญ่จะห่างไกลและอิสระต่อการย้อนไปหาสิ่งอื่นนอกจากพระองค์ และได้รับการคุ้มกันจากการกระซิบกระซาบ การหลงทาง และความผิดพลาด และนี่ก็คือตำแหน่งมะอฺซูมของบรรดาศาสดานั่นเอง ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวนี้จะไปถึงยังประเด็นสำคัญกล่าวคือ :

1) พื่นฐานของวะฮฺยู อาจเป็นหนึ่งในระดับของความรู้

2) แก่นแท้ของวะฮฺยู คือการได้รับความรู้ประจักษ์ และในความเป็นจริงนี้ข้อผิดพลาดจึงไม่มีความหมายอันใดทั้งสิ้น

3) มนุษย์นั้นในการวิวัฒนาการและความสมบูรณ์ของตน สามารถเข้าถึงขั้นที่ว่าวะฮฺยูได้ประทานมาที่เขา และเขาได้ไปสู่ตำแหน่งของการเป็นผู้บริสุทธิ์

สามารถศึกษาเพื่มเติมได้จาก,: Hadavi Tehrani, Mehdi, ตะอัมมุลาต ดัร อิลมุอุซูลฟิกฮฺ , เล่ม 4, บทความ  : วะฮฺคือการประจักษ์เร้นลับ



[1] รอฆิบ เอซฟะฮานี, มุฟรอดาต , หน้า 515, หมวดวะฮฺยู

[2] Morteza Motahari การเก็บรวบรวมผลงานเล่มที่ 4, หน้า 410

[3] ถึง แม้ว่าการรับรู้ที่แท้จริงถึงแก่นแท้ของวะฮฺยู และขั้นตอนการลงวะฮฺยูจะเป็นภารกิจที่ง่ายดาย  แต่ก็ไม่สามารถเป็นไปได้

[4] แม้ว่า Allameh Tabatabai (RA) ได้กล่าวไว้ : วรรณกรรมทางศาสนาว่า วะฮีย์ ไม่สามารถใช้ในคำพูดอื่นได้ยกเว้นว่าคำพูดที่ดลแด่ศาสดาและเราะซูล, ตัฟซีรมีซาน,เลม 12,หน้า 423

[5]  มุรตะฎอมุเฏาะฮะรีย, มัจญ์มุอ์อาซาร เล่ม 4,หน้า 411

[6] เฏาะบาเฏาะบาอี มุฮัมมัด ฮุซัยนฺ,ตัฟซีรอัลมีซาน เล่ม 12, หน้า 423

[7] อัล-กุรอาน บทอันนะฮฺลุ 68

[8] อัล-กุรอาน บทเกาะซ็อซ 7

[9] อัล-กุรอาน บทอันอาม 121

[10] อัล-กุรอาน บทมัรยัม 11

[11] อัลกุรอาน บทชูรอ 51

[12] อัลกุรอาน บทชุอ์รอ 193 “อัรรูห์ ผู้ซื่อสัตย์ได้นำมันลงมา ยังหัวใจของเจ้า”

[13] อัลกุรอาน บทนัจญ์มุ 5 “ผู้ทรงพลังอำนาจอันมากมาย (ญิบรีล) ได้สอนเขา”

[14] อัลกุรอาน บทนิซาอ์ 113 “และได้ทรงสอนเจ้าในสิ่งที่เจ้าไม่เคยรู้มาก่อน”

[15] Mahdi Hadavi Tehrani, มะบานีกะลามี อิจญ์ติฮาด, หน้า 76-77

[16]  อัลลามะฮฺ ฮุซัยน์เฏาะบาเฏาะบาอี, อัลมีซาน เล่ม 4 หน้า 149-150

[17] อัลกุรอาน บทนิซาอ์ 163

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ความสำคัญ และปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คืออะไร?
    7648 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    สำหรับการติดตามผลอย่างมีนัยของการให้ความสำคัญและปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้:1. ...
  • แนวทางที่ถูกต้อง และง่ายในการเลือกมัรญิอฺตักลีดที่มีความรู้สูงสุด สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และไม่สามารถแยกแยะอุละมาอฺได้คืออะไร?
    12943 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด หมายถึงมิได้จำกัดอยู่แค่บุคคลที่มีความเชื่ยวชาญพิเศษเฉพาะปัญหาฟิกฮฺ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักชัรอียฺของตนนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามมุจญฺตะฮิดที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ สมบูรณ์ในเรื่องฟิกฮฺ และต้องเป็นผู้รู้ที่มีความรู้มากกว่ามุจญฺตะฮิดด้วยกัน ในสมัยของตน และมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดสามารถรู้จักได้จากหนึ่ง 3 วิธีดังนี้ : หนึ่ง : ตัวเราต้องมั่นใจด้วยตัวเอง สอง : มีผู้รู้สองคนที่ยุติธรรมยืนยันในความรู้ของมุจญฺตะฮิดท่านนั้น สาม : ผู้รู้กลุ่มหนึ่งได้ยืนยันและรับรองการเป็นมุจญฺตะฮิด และการเป็นผู้มีความรู้สูงสุดของเขา น่ายินดีว่าปัจจุบันบรรดาคณาจารย์ระดับสูงของสถาบันสอนศาสนา ณ เมืองกุม ได้แนะนำผู้รู้ที่มีคุณสมบัติของมุจญฺตะฮิดสมบูรณ์ ในฐานะของมัรญิอฺตักลีดไว้หลายคนด้วยกัน ซึ่งมุสลิมทุกคนสามารถเลือกปฏิบัติตามอุละมาอฺเหล่านั้น ในฐานะมัรญิอฺตักลีด ท่านหนึ่งท่านใดก็ได้ และกิจการงานของตนให้ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่าน ที่มีอยู่ในริซาละฮฺ เตาฎีฮุลมะซาอิล ในกรณีนี้ท่านจะมั่นใจได้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ทางชัรอียฺของท่านแล้ว และปัจจุบันเนื่องจากการติดต่อสื่อสารนั้นสะดวกสบาย และเป็นไปได้ในรูปแบบต่างๆ มีหลายภาษาให้เลือก ดังนั้น สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม สามารถรับรู้ข้อมูลนี้ได้อย่างง่ายดาย ...
  • เพราะเหตุใดกุญแจสู่สรวงสวรรค์คือ นมาซ?
    7623 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/17
    เป้าหมายของการสร้างมนุษย์ก็เพื่อ การแสดงความเคารพภักดีและการรู้จักพระเจ้า, ซึ่งการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้านั้น จะทำให้มนุษย์ก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ และตำแหน่งอันใกล้ชิดต่อพระเจ้า, นมาซ คือภาพลักษณ์ที่ดีและสวยงามที่สุดของการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า หรือการแสดงความเป็นบ่าวที่ดีต่อพระผู้ทรงสร้าง, ความเคร่งครัดต่อนมาซ 5 เวลาคือสาเหตุของความประเสริฐและเป็นพลังด้านจิตวิญญาณ ซึ่งทำให้มนุษย์ละเว้นการทำความผิดบาป หรือการแสดงความประพฤติไม่ดี อีกด้านหนึ่งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้พลังแห่งความสำรวมตน ภายในจิตใจมนุษย์มีความเข้มแข็งขึ้น, ในกรณีนี้ เข้าใจได้ทันทีว่า เพราะอะไรนมาซ, จึงเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์ ต้องไม่ลืมที่จะกล่าวว่า, นมาซคือหนึ่งในภาคปฏิบัติที่เป็นอิบาดะฮฺ อันมีผลบุญคือ เป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์, เนื่องจากรายงานฮะดีซ,เกี่ยวกับความรักที่มีต่อบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) คือ การกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ, ความอดทน ...ก็ถือว่าเป็นกุญแจแห่งสรวงสวรรค์เช่นกัน, และเช่นกันสิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานที่ว่า นมาซพร้อมกับความศรัทธามั่นที่มีต่ออัลลอฮฺ ความเป็นเอกะของพระองค์ ขึ้นอยู่กับความรักที่มีต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องที่มีความพิเศษยิ่งต่อกัน ...
  • การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นหัวข้อหนึ่งในหลักมะฮ์ดะวียัตหรือไม่?
    6113 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/07
    การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นสำนวนที่เกี่ยวโยงกับการเร้นกายขั้นศุฆรอ ซึ่งต้องการจะสื่อว่า ในเมื่อท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เคยมีการเร้นกายขั้นศุฆรอ(เล็ก)ก่อนการเร้นกายขั้นกุบรอ(ใหญ่) ก็ย่อมจะมีการปรากฏกายชั้นศุฆรอก่อนจะปรากฏกายขั้นกุบรอระดับโลกเช่นกัน อนึ่ง สำนวนดังกล่าวไม่มีพื้นเพจากฮะดีษใดๆ ...
  • ทั้งที่ท่านอิมามอลี (อ.) ทราบถึงเจตนาชั่วของอิบนิ มุลญัม เหตุใดท่านจึงไม่ปกป้องชีวิตตนเอง?
    6496 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/29
    เหตุผลที่ท่านอิมามอลีไม่แก้ไขเหตุที่จะเกิดในอนาคตก็คือ:1.ความรู้ระดับทั่วไปคือหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติภารกิจ:เพื่อเป็นการเคารพกฏเกณฑ์ของอัลลอฮ์ท่านอิมามจึงเลือกที่จะปฏิบัติหน้าที่เสมือนบุคคลทั่วไปโดยจะไม่ปฏิบัติตามความรู้แจ้งเห็นจริงเนื่องจากว่าหากท่านจะปฏิบัติตามญาณวิเศษย่อมจะไม่สามารถเป็นแบบฉบับแก่บุคคลทั่วไปได้เพราะบุคคลทั่วไปไม่มีญาณวิเศษ2. กลไกของโลกดุนยาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทดสอบซึ่งหากจะปฏิบัติตามญาณวิเศษก็ย่อมจะทำให้กลไกดังกล่าวเสียหายเนื่องจากจะทำลายชีวิตประจำวันของผู้คนสรุปคือแม้ว่าอิมามอลีมีหน้าที่ต้องรักษาชีวิตเสมือนบุคคลทั่วไปแต่ทว่าประการแรก: หน้าที่ดังกล่าวอยู่ในขอบเขตความรู้ทั่วไปมิไช่ญาณวิเศษประการที่สอง: คู่กรณีของท่าน(อิบนิมุลญัม)
  • การยกภูเขาฏู้รขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีลหมายความว่าอย่างไร?
    7035 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    ในหลายโองการมีสำนวน وَ رَفَعْنا فَوْقَكُمُ الطُّور ปรากฏอยู่ ซึ่งล้วนเกี่ยวกับบนีอิสรออีลทั้งสิ้น ตำราอรรถาธิบายกุรอานอธิบายว่าโองการเหล่านี้กล่าวถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดื้อรั้นของบนีอิสรออีลในยุคของท่านนบีมูซา(อ.) อัลลอฮ์ย่อมมีพลานุภาพที่จะยกภูเขาฏู้รบางส่วนให้ลอยขึ้นเหนือศีรษะของบนีอิสรออีล ดังที่ทรงเคยสร้างดวงดาวนับล้านๆดวง สร้างจักรภพและจักรวาลให้เคลื่อนที่ในอวกาศโดยมีระยะห่างที่เหมาะสม การที่จะเกิดเหตุการณ์ดังที่กุรอานเล่าไว้จึงไม่ไช่เรื่องเหลือเชื่อในแง่วิทยาศาสตร์และสติปัญญา ...
  • การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
    12781 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้วยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมายและยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้าจงเตือนตัวเองว่าโปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี
  • ประโยค “ทุกวันคือาชูรอ ทุกแผ่นดินคือกัรบะลา” เป็นฮาดีษหรือไม่? มีหลักฐานเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมากน้อยเพียงใด
    8963 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    จากการศึกษาตำราฮะดีษ  เราไม่พบหลักฐานใดๆที่ระบุว่าประโยคดังกล่าวเป็นฮาดีษบรรดามะศูมีนอย่างไรก็ดี ประโยคนี้ให้นิยามเหตุการณ์กัรบะลา
  • การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ จะเข้ากันกับเตาฮีดหรือไม่
    8623 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/08/22
    ถ้าเป็นการขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ด้วยความเชื่อที่ว่าบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ ท่านเหล่านั้นคือผู้ทำให้คำวิงวอนขอของท่านสมประสงค์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺอีก แน่นอน สิ่งนี้เป็นชิริกฮะรอม และเท่ากับเป็นการกระทำที่ต่อต้านเตาฮีด ถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด แต่ถ้ามีความเชื่อว่า บรรดาท่านเหล่านี้จะทำให้คำวิงวอนของท่านถูกตอบรับ โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ และโดยอำนาจที่พระองค์แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ทว่ายังเป็นหนึ่งในความหมายของเตาฮีด ซึ่งไม่มีอุปสรรคอันใดทั้งสิ้น ...
  • อิมามมะฮ์ดีสมรสแล้วหรือยัง?
    7974 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    แม้จะเป็นไปได้ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)อาจมีคู่ครองและบุตรหลาน เนื่องจากภาวะการเร้นกายมิได้จำกัดว่าจะท่านต้องงดกระทำการสมรสอันเป็นซุนนะฮ์แต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราไม่พบเหตุผลใดๆที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ สันนิษฐานว่าสาเหตุที่ประเด็นดังกล่าวไม่เป็นที่เปิดเผยนั้น อาจเป็นผลพวงมาจากความจำเป็นที่พระองค์ทรงเร้นกายท่านจากสายตาผู้คนนั่นเอง ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60039 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57407 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42130 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39199 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38864 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33934 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27952 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27869 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27678 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25699 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...