การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9858
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/08/17
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1138 รหัสสำเนา 15980
คำถามอย่างย่อ
ในเมื่อนบีมูซาสังหารชายกิบฏี แล้วจะเชื่อว่าท่านไร้บาปได้อย่างไร?
คำถาม
กุรอานระบุว่านบีมูซาฆ่าชายกิบฏี ตกลงว่าท่านไร้บาปจริงๆหรือ?
คำตอบโดยสังเขป

นบีทุกท่านล้วนเป็นผู้ปราศจากบาปและมีสถานะอันสูงส่ง  อัลลอฮ์ (ตามระดับขั้นของแต่ละท่าน) และมีภาระหน้าที่ๆหนักกว่าคนทั่วไป โดยมาตรฐานของบรรดานบีแล้ว การให้ความสำคัญต่อสิ่งอื่นนอกเหนืออัลลอฮ์ถือเป็นบาปอันใหญ่หลวง
อย่างไรก็ดี นักวิชาการมีคำอธิบายเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารชายชาวกิบฏีหลายทัศนะ
คำอธิบายที่น่าสนใจที่สุดคือ ท่านมิได้ทำบาปใดๆ เนื่องจากการสังหารชาวกิบฏีในครั้งนั้นไม่เป็นฮะรอมเพราะควรแก่เหตุ เพียงแต่ท่านไม่ควรรีบลงมือเช่นนั้น
สำนวนในโองการกุรอานก็มิได้ระบุว่าเหตุดังกล่าวคือบาปของท่าน ดังที่มะอ์มูนถามอิมามริฎอ(.)เกี่ยวกับคำพูดของนบีมูซาที่ว่านี่คือการกระทำของชัยฏอน มันคือศัตรูผู้ล่อลวงอย่างชัดแจ้งหรือที่กล่าวว่าโอ้พระผู้อภิบาล ข้าฯอธรรมต่อตนเอง ขอทรงประทานอภัยเทอญอิมามริฎอตอบว่า การกระทำของชัยฏอนหมายถึงการทะเลาะเบาะแว้งกันของชายสองคน ส่วนที่ว่าท่านอธรรมต่อตนเองหมายถึงว่าท่านไม่ควรเข้ามาในเมือง ส่วนที่กล่าวว่าฟัฆฟิรลีหมายถึงขอให้พระองค์ทรงอำพรางท่านให้พ้นสายตาของฝ่ายฟาโรห์

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อให้ได้คำตอบที่กระจ่าง ควรพิจารณาถึงข้อเท็จจริงต่อไปนี้
. อะไรคือภาวะไร้บาป(อิศมะฮ์)?
อิศมะฮ์ในความหมายทั่วไป หมายถึงการได้รับความคุ้มครองอย่างปลอดภัย และการยึดเหนี่ยวสิ่งใดสิ่งหนึ่ง[i] ส่วนความหมายเชิงเทววิทยาหมายถึงความโปรดปรานพิเศษจากอัลลอฮ์ที่หากผู้ใดมี ก็จะทำลายแรงจูงใจที่จะฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์ แม้ว่าจะมีความสามารถที่จะทำบาปก็ตาม[ii]

. เหตุผลที่บรรดานบีจำเป็นต้องมีภาวะไร้บาป
1. หากบรรดานบีไม่มีภาวะไร้บาป ย่อมขัดต่อเป้าประสงค์ของพระองค์ เนื่องจากอัลลอฮ์แต่งตั้งนบีก็เพื่อที่จะแจ้งให้มนุษยชาติรับรู้ถึงผลประโยชน์และภัยคุกคามที่แท้จริง และเพื่อตระเตรียมปัจจัยที่จำเป็นต่อการขัดเกลาจิตใจเพื่อให้บรรลุความผาสุกในโลกนี้และโลกหน้า และเป้าประสงค์ดังกล่าวจะเป็นจริงได้ต่อเมื่อบรรดานบีมีภาวะไร้บาปเท่านั้น เนื่องจากหากนบียังทำบาป ถามว่าเรายังจะต้องปฏิบัติตามท่านหรือไม่ หากไม่ต้องปฏิบัติตาม แล้วจะมีนบีไปเพื่ออะไร แต่หากต้องทำบาปตาม ก็ย่อมเป็นเรื่องต้องห้ามที่จะทำบาป
2. หากนบีทำบาป ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังดำรงตำแหน่งนบีก็ตาม ย่อมทำให้ผู้คนหมดศรัทธาและเมินต่อคำสอนของพวกท่าน
ด้วยเหตุผลเชิงสติปัญญาข้างต้นและเหตุผลอื่นๆอีกมากมาย ทำให้ทราบว่าบรรดานบีจำเป็นต้องมีภาวะไร้บาป

. โองการที่ระบุว่าท่านนบีมูซาสังหารชายชาวกิบฏีไม่ขัดแย้งกับภาวะไร้บาปของท่านหรืออย่างไร?
กุรอานกล่าวว่าเขา(นบีมูซา)ได้เข้ามาในเมืองขณะที่ชาวเมืองไม่ทราบข่าว ทันใดนั้นเขาก็ได้เห็นชายสองคนกำลังทะเลาะกันอยู่ โดยที่หนึ่งในนั้นเป็นสาวกของเขา(บนีอิสรออีล) ส่วนอีกคนเป็นศัตรู ชายที่เป็นสาวกได้ขอความช่วยเหลือ มูซาได้ต่อยที่อกศัตรูทำให้ศัตรูสิ้นใจ มูซากล่าวว่า นี่คือการกระทำของชัยฏอน มันคือศัตรูผู้ล่อลวงอย่างชัดแจ้ง และกล่าวว่า โอ้พระผู้อภิบาล ข้าฯอธรรมต่อตนเอง ขอทรงประทานอภัยเทอญ อัลลอฮ์ได้อภัยแก่เขา และพระองค์คือผู้ทรงอภัยและเปี่ยมด้วยเมตตาธรรม[iii]
คำถามก็คือ ประโยคที่นบีมูซากล่าวว่านี่คือการกระทำของชัยฏอน มันคือศัตรูผู้ล่อลวงอย่างชัดแจ้งและที่ท่านกล่าวว่าโอ้พระผู้อภิบาล ข้าฯอธรรมต่อตนเอง ขอทรงประทานอภัยเทอญจะสอดคล้องกับภาวะไร้บาปของท่านได้อย่างไร?
ในประเด็นนี้ต้องทราบว่า ชายกิบฏีคนนั้นเป็นข้าราชบริพารของฟาโรห์ ซึ่งได้บังคับให้สาวกของนบีมูซาเก็บฟืน จึงเกิดเหตุชกต่อยกันขึ้น ขณะนั้นเอง นบีมูซาได้เข้าช่วยเหลือสาวกและต่อยที่อกของกิบฏีคนนั้นจนเป็นเหตุให้เขาตาย[iv] นักอรรถาธิบายกุรอานชี้แจงว่า การกระทำของนบีมูซาเข้าข่ายตัรกุลเอาลาหมายถึงการกระทำที่มิได้เป็นฮะรอม แต่จะเป็นสาเหตุให้สูญเสียโอกาสที่ดีกว่า[v] เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ท่านต้องประสบความยากลำบากมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะทำให้ฟาโรห์สั่งไล่ล่าท่าน

หนังสือ อุยูน อัคบาริร ริฎอ บันทึกไว้ว่ามะอ์มูนได้เอ่ยถามท่านอิมามริฎอ(.)เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านตอบว่าประโยคที่ว่านี่คือการกระทำของชัยฏอนหมายถึงการทะเลาะกันของชายสองคนนั้น และที่กล่าวว่าโอ้พระผู้อภิบาล ข้าฯอธรรมต่อตนเองหมายถึงว่า ข้าฯไม่ควรทำให้เรื่องบานปลาย ข้าฯไม่น่าเข้ามาในเมืองตอนนี้ส่วนที่กล่าวว่าขอทรงประทานอภัยเทอญหมายถึงขอให้พระองค์ทรงอำพรางตัวข้าฯให้พ้นจากเงื้อมมือศัตรู ทั้งนี้ก็เพราะว่าความหมายหนึ่งของฆุฟรอนคือการอำพรางหรือหลบซ่อน[vi]
ซัยยิดมุรตะฎอ อะละมุ้ลฮุดา ได้ให้ข้อคิดเห็นสองประการในหนังสือ ตันซีฮุ้ลอัมบิยาอ์ เกี่ยวกับโองการนี้ว่า
1. อธรรมในที่นี้หมายถึงการละเว้นสิ่งอันเป็นมุสตะฮับ(สิ่งที่ดีกว่า) หมายถึงควรประวิงเวลาเข้าช่วยเหลือสาวกและสำเร็จโทษชายกิบฏี การกระทำของท่านถือเป็นตัรกุลเอาลา ซึ่งจะทำให้สูญเสียผลบุญส่วนหนึ่ง จึงเป็นเหตุให้ท่านกล่าวว่าข้าฯอธรรมต่อตนเอง
2. ประโยคนี่คือการกระทำของชัยฏอนหมายถึงการกดขี่ของชายชาวกิบฏี โดยนบีมูซามิได้เจตนาจะสังหารเขา เพียงแต่ต้องการจะปกป้องชีอะฮ์(สาวก)ของท่านเท่านั้น[vii]
เชคฏูซีกล่าวไว้ในตัฟซี้รอัตติ้บยานว่าการสังหารชายชาวกิบฏีคนนั้นมิไช่เรื่องที่น่ารังเกียจ เพราะอัลลอฮ์ทรงบัญชาให้ท่านลงไม้ลงมือกับเขา แต่สมควรจะกระทำภายหลัง เนื่องจากสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย แต่เมื่อท่านลงมือทันทีจึงเป็นการตัรกุลเอาลา ท่านจึงขออภัยโทษจากพระองค์[viii]
ส่วนผู้ประพันธ์ตัฟซี้รมัจมะอุ้ลบะยานชี้แจงไว้ดังนี้การสังหารเป็นไปเพื่อช่วยเหลือผู้ศรัทธาให้พ้นจากผู้กดขี่ โดยที่ไม่ได้เจตนาจะให้ถึงตาย ฉะนั้น จึงเป็นสิ่งที่เหมาะควรและไม่น่ารังเกียจ[ix]
ในตัฟซี้รฟัตฮุ้ลก่อดี้ร กล่าวว่าท่านขออภัยโทษจากอัลลอฮ์เนื่องจากตัรกุลเอาลา และนัยยะของข้าฯอธรรมต่อตนเองหมายถึง ข้าฯอธรรมต่อตัวเองเนื่องจากฟาโรห์จะสั่งให้ทหารไล่สังหารข้าฯจากคดีนี้อย่างแน่นอน ส่วนฟัฆฟิรลีหมายถึงขอให้พระองค์ทรงอำพรางตัวข้าอย่าให้ฟาโรห์จับได้
และหากโองการที่14 ซูเราะฮ์อัชชุอะรอ เล่าคำพูดของนบีมูซาที่ว่า  لهم علی ذنب (ฉันมีตราบาปสำหรับพวกเขา) นั่นหมายถึงบาปในมุมมองของฟาโรห์และพวก มิได้หมายความว่านบีมูซาทำบาป[x]

สุดท้ายนี้ขอสรุปว่า ตราบาปมีหลายระดับขั้น บาปที่เกิดจากการฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮ์ ย่อมขัดต่อหลักอิศมะฮ์ (ภาวะไร้บาป) แต่บางครั้ง การตัรกุลเอาลาก็ถือเป็นตราบาปในมาตรฐานระดับผู้ใกล้ชิดพระองค์อย่างบรรดานบี (แต่ไม่ไช่บาปสำหรับคนธรรมดา) ซึ่งกรณีนี้ไม่ขัดต่อหลักอิศมะฮ์แต่อย่างใด เนื่องจากเป็นไปตามสุภาษิตที่ว่าความดีของคนดีเป็นได้แค่ตราบาปของผู้ใกล้ชิดพระองค์

เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาอ่าน:
ดัชนี ภาวะไร้บาปของบรรดานบีในกุรอาน,ลำดับที่ 129
ดัชนี ภาวะไร้บาปของบรรดานบีในปริทรรศน์กุรอาน,ลำดับที 112



[i] มุฟร่อด้าตรอฆิบและอัลอัยน์ ศัพท์: عصم

[ii] บทเรียนเทววิทยา,.ญะฟัร ซุบฮานี,หน้า 405

[iii] وَ دَخَلَ الْمَدینَةَ عَلى‏ حینِ غَفْلَةٍ مِنْ أَهْلِها فَوَجَدَ فیها رَجُلَیْنِ یَقْتَتِلانِ هذا مِنْ شیعَتِهِ وَ هذا مِنْ عَدُوِّهِ فَاسْتَغاثَهُ الَّذی مِنْ شیعَتِهِ عَلَى الَّذی مِنْ عَدُوِّهِ فَوَکَزَهُ مُوسى‏ فَقَضى‏ عَلَیْهِ قالَ هذا مِنْ عَمَلِ الشَّیْطانِ إِنَّهُ عَدُوٌّ مُضِلٌّ مُبینٌ (15) قالَ رَبِّ إِنِّی ظَلَمْتُ نَفْسی‏ فَاغْفِرْ لی‏ فَغَفَرَ لَهُ إِنَّهُ هُوَ الْغَفُورُ الرَّحیمُ  ซูเราะฮ์ อัลก่อศ็อศ,15,16

[iv] ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,.มะการิม ชีรอซี,เล่ม 16,หน้า 42. ตัฟซี้รอัลบะยาน,.มะการิม ชีรอซี,เล่ม 7-8, ตัฟซี้ร อัตติ้บยาน,เชคฏูซี,เล่ม 2,หน้า 391ตัฟซี้รอิษนาอะชะรี,เล่ม 10,หน้า 94

[v] ตัฟซี้รนูรุษษะเกาะลัยน์,เล่ม 4,หน้า 119 ตัฟซี้รอิษนาอะชะรี,เล่ม 10,หน้า 94

[vi] อุยูน อัคบาริร ริฎอ(.),หน้า 155 ,หมวดที่ 15, นูรุษษะเกาะลัยน์,เล่ม 4,หน้า 119, อัลมีซาน,เล่ม 16,หน้า 18

[vii] อ้างจากมัจมะอุ้ลบะยาน

[viii] ตัฟซี้ร อัตติ้บยาน,เล่ม 2,หน้า 291

[ix] ตัฟซี้รมัจมะอุ้ลบะยาน,ฏอบัรซี,เล่ม 7,หน้า 382

[x] ตัฟซี้รฟัตฮุ้ลก่อดี้ร,เชากานี,เล่ม 4,หน้า 164

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • โองการ اخْلُفْنِی فِی قَوْمِی وَأَصْلِحْ وَلَا تَتَّبِعْ سَبِیلَ الْمُفْسِدِینَ กล่าวโดยผู้ใด และปรารภกับผู้ใด?
    6664 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/19
    โองการที่ถามมานั้น กล่าวถึงคำสั่งของท่านนบีมูซา(อ.)ที่มีแด่ท่านนบีฮารูน(อ.)ขณะกำลังจะเดินทางจากชนเผ่าของท่านไป ทั้งนี้เนื่องจากการแต่งตั้งตัวแทนจะกระทำในยามที่บุคคลกำลังจะลาจากกัน เมื่อท่านนบีมูซาได้รับบัญชาให้จาริกสู่สถานที่นัดหมายจึงแต่งตั้งท่านนบีฮารูน (ซึ่งดำรงตำแหน่งนบีอยู่แล้ว) ให้เป็นตัวแทนของท่านในหมู่ประชาชน และได้กำชับให้ฟื้นฟูดูแลประชาชน และให้หลีกห่างกลุ่มผู้นิยมความเสื่อมเสีย[1]อนึ่ง ท่านนบีฮารูน(อ.)เองก็มีฐานะเป็นนบีและปราศจากความผิดบาป อีกทั้งไม่คล้อยตามผู้นิยมความเสื่อมเสียอยู่แล้ว ท่านนบีมูซาเองก็ย่อมทราบถึงฐานันดรภาพของพี่น้องตนเองเป็นอย่างดี ฉะนั้น คำสั่งนี้จึงมิได้เป็นการห้ามมิให้นบีฮารูนทำบาป แต่ต้องการจะกำชับมิให้รับฟังทัศนะของกลุ่มผู้นิยมความเสื่อมเสีย และอย่าคล้อยตามพวกเขาจนกว่าท่านนบีมูซาจะกลับมา
  • แนวทางที่ถูกต้อง และง่ายในการเลือกมัรญิอฺตักลีดที่มีความรู้สูงสุด สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และไม่สามารถแยกแยะอุละมาอฺได้คืออะไร?
    13156 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด หมายถึงมิได้จำกัดอยู่แค่บุคคลที่มีความเชื่ยวชาญพิเศษเฉพาะปัญหาฟิกฮฺ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักชัรอียฺของตนนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามมุจญฺตะฮิดที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ สมบูรณ์ในเรื่องฟิกฮฺ และต้องเป็นผู้รู้ที่มีความรู้มากกว่ามุจญฺตะฮิดด้วยกัน ในสมัยของตน และมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดสามารถรู้จักได้จากหนึ่ง 3 วิธีดังนี้ : หนึ่ง : ตัวเราต้องมั่นใจด้วยตัวเอง สอง : มีผู้รู้สองคนที่ยุติธรรมยืนยันในความรู้ของมุจญฺตะฮิดท่านนั้น สาม : ผู้รู้กลุ่มหนึ่งได้ยืนยันและรับรองการเป็นมุจญฺตะฮิด และการเป็นผู้มีความรู้สูงสุดของเขา น่ายินดีว่าปัจจุบันบรรดาคณาจารย์ระดับสูงของสถาบันสอนศาสนา ณ เมืองกุม ได้แนะนำผู้รู้ที่มีคุณสมบัติของมุจญฺตะฮิดสมบูรณ์ ในฐานะของมัรญิอฺตักลีดไว้หลายคนด้วยกัน ซึ่งมุสลิมทุกคนสามารถเลือกปฏิบัติตามอุละมาอฺเหล่านั้น ในฐานะมัรญิอฺตักลีด ท่านหนึ่งท่านใดก็ได้ และกิจการงานของตนให้ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่าน ที่มีอยู่ในริซาละฮฺ เตาฎีฮุลมะซาอิล ในกรณีนี้ท่านจะมั่นใจได้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ทางชัรอียฺของท่านแล้ว และปัจจุบันเนื่องจากการติดต่อสื่อสารนั้นสะดวกสบาย และเป็นไปได้ในรูปแบบต่างๆ มีหลายภาษาให้เลือก ดังนั้น สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม สามารถรับรู้ข้อมูลนี้ได้อย่างง่ายดาย ...
  • โปรดอธิบาย ปรัชญาของการกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ คืออะไร?
    8823 จริยศาสตร์ 2555/06/30
    ตามคำสอนของอิสลามการแต่งงานถือเป็นข้อตกลงที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับการจัดตั้งครอบครัวและสิ่งที่ติดตามมาคือ, ระบบสังคม ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีผลสะท้อนและบทสรุปอย่างมากมาย เช่น : เพื่อตอบสนองความต้องการทางกามรมย์, ผลิตสายเลือดและรักษาเผ่าพันธุ์, สร้างความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์, สร้างความสงบมั่นแก่จิตใจ, เป็นการรักษาความสะอาดบริสุทธิ์, เป็นการส่งเสริมความผูกพันให้มั่นคง และประเด็นอื่นๆ อีกมากมาย, ดังนั้น การจัดการข้อตกลงศักดิ์สิทธิ์นี้ให้สมประสงค์ได้, มีเพียงการปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์พื้นฐาน และเงื่อนไขอันเฉพาะที่อัลลอฮฺ ทรงกำหนดไว้เท่านั้น จึงจะเป็นไปได้. เช่น เงื่อนที่ว่านั้นได้แก่การกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ ด้วยคำพูดเฉพาะ (ดังกล่าวไว้ในหนังสือริซาละฮฺต่างๆ) พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกรในฐานะของ พระเจ้าผู้ทรงกำหนดกฎระเบียบ พระองค์คือผู้ทรงกำหนดคำพูดอันทรงเกียรติยิ่งนี้ และให้ความน่าเชื่อถือ พร้อมกับการเกิดขึ้นของคำพูดดังกล่าวในฐานะ อักดฺนิกาห์, จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเป็นสามีภรรยา ระหว่างชายกับหญิงขึ้น. การแต่งงานมิได้หมายถึง ความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและการยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งสำหรับการแต่งงาน ที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับการอ่านอักดฺนิกาห์ปัจจุบันนี้ เพื่อให้การแต่งงานนั้นถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักการชัรอียฺ. การแต่งงาน มิได้หมายถึงความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการแต่งงาน ...
  • ฮุกุมของการขับร้องเพลงวันประสูติพร้อมกับการบรรเลง (ในงานเฉพาะสตรี)เป็นอย่างไร?
    5934 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    ในทัศนะของอิสลามเพลงบรรเลง[1]หรือการขับร้องที่มีลักษณะ“ฆินาอ์”ถือเป็นฮะรอมกล่าวคือไม่ว่าจะเป็นการร้อง, การแสดง, การฟังและการรับค่า
  • ปีจันทรคติมีกี่วัน? จำนวนวันในหนึ่งปีจันทรคติ กับปีจันทรคติอื่นแตกต่างกันไหม? กรณีที่แตกต่างต้องทำอย่างไร?
    4145 สิทธิและกฎหมาย 2555/07/16
    จำนวนวันของปีจันทรคตินั้นเท่ากัน ซึ่งโดยละเอียดแล้วมีจำนวน 29 วัน 12 ชั่วโมง 44 นาที และ 3 วินาที หรือ 29/53059028 วัน ทำนองเดียวกันจำนวนวันของปี ฮิจญฺเราะฮฺ เท่ากัน ซึ่งจำนวน 12 เดือน เท่ากับ 354/3670834 วัน แต่บรรดานักดาราศาสตร์ จำเป็นต้องกล่าวถึงจำนวนวันที่ถูกต้องของแต่ละเดือน (มิใช่เหลือเศษจากการคำนวณ) ซึ่งสิ่งนี้มีผลต่อคำนวณและการกำหนดปฏิทิน เพราะการกำหนดวันที่นั้นนักดาราศาสตร์ไม่สามารถ นำเอาเศษครึ่งวัน ของวันที่ 30 ของเดือนที่แล้ว หรือเอาครึ่งวันของวันที่ 30 ของเดือนนี้ไปสมทบกับเดือนหน้า, ดังนั้น เมื่อไม่มีทางเลือกอื่นเดือนจันทรคติอย่างน้อยต้องมี 29 วัน และอย่างมากมี 30 วัน ด้วยเหตุนี้เองนักดาราศาสตร์ จึงยอมรับการคำนวณเดือนจันทรคติในสองลักษณะดังนี้ กล่าวคือ (เดือนที่คิดตามการคำนวณ และเดือนที่มองเห็นจันทร์เสี้ยว) ...
  • สถานะและบุคลิกภาพของซุรอเราะฮฺ ณ บรรดาอิมามเป็นอย่างไร?
    6809 تاريخ بزرگان 2555/05/17
    ซุรอเราะฮฺ เป็นหนึ่งในสหายของอิมามมะอฺซูม (อ.) ที่มีฐานะภาพและเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ ณ อิมาม เขาถูกจัดว่าเป็นสหายอิจญฺมาอฺ หมายถึงความหน้าเชื่อถือ ความซื่อตรง และการพูดความจริงของเขา เป็นที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รับรู้กันดีในหมู่สหายของอิมาม (อ.) แม้ว่าจะมีรายงานกล่าววิจารณ์เขาอยู่บ้างก็ตาม, แต่เมื่อนำเอารายงานเหล่านั้นมารวมกันแล้ว สามารถสรุปให้เห็นถึงความถูกต้องของเขามากกว่า และจัดว่าเขาเป็นหนึ่งในสหายที่ยิ่งใหญ่ และมีเกียรติคนหนึ่งของอิมาม (อ.) ...
  • จุดประสงค์ของคำว่า “บุรูจญ์” ในกุรอานหมายถึงอะไร?
    12939 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/20
    โดยปกติความหมายของโองการที่มีคำว่า “บุรุจญ์” นั้นหมายถึงอัลลอฮฺ ตรัสว่า : เราได้ประดับประดาท้องฟ้า – หมายถึงด้านบนเหนือขึ้นไปจากพื้นดิน – อาคารและคฤหาสน์อันเป็นสถานพำนักของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์, เราได้ประดับให้สวยงามแก่ผู้พบเห็น และเครื่องประดับเหล่านั้นได้แก่หมู่ดวงดาวทั้งหลาย คำๆ นี้ตามความหมายเดิมหมายถึง ปราสาทและหอคอยที่แข็งแรงมั่นคง, ซึ่งอัลกุรอานก็ถูกใช้ในความหมายดังกล่าวด้วย หรือหมายถึง เครื่องประดับที่ทุกวันนี้ทั่วโลกได้นำไปประดับประดาสร้างความสวยงาม ตระการตา. ...
  • การคบชู้หมายถึงอะไร?
    10708 สิทธิและกฎหมาย 2557/05/22
    การซินา หมายถึง การมีเพศสัมพันธ์โดยผิดประเวณีกับหญิงอื่น ที่มิใช่ภรรยาตามชัรอีย์ (ภรรยาที่สมรสถาวร หรือชั่วคราว) การซินาในทัศนะอัลกุรอาน, ถือเป็นบาปใหญ่ อัลลอฮฺ ตรัสถึงการซินาไว้ว่า “จงอย่าเข้าใกล้การลอบผิดประเวณี เนื่องจากเป็นการลามกและทางอันชั่วช้ายิ่ง”[1],[2] การกระทำดังกล่าว ถ้ากระทำโดยหญิงมีสามี หรือชายมีภรรยาอยู่แล้ว เรียกว่า การเป็นชู้[3] แต่ถ้ามิได้เป็นไปในลักษณะดังกล่าวมา จะไม่ถือว่าเป็นการทำชู้ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบัญญัติของการซินา และการลงโทษที่จะติดตามมา อันถือว่าเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจ และหน้าขยะแขยงยิ่งนี้ กรุณาศึกษาจากคำตอบต่อไปนี้ อย่างไรหรือที่เรียกว่า ซินา, 8243 (ไซต์ 8288) การลงโทษ และการลุแก่โทษ กรณีการทำชู้ 7159 (ไซต์ 7508) ฮุกุ่มของการซินากับหญิงมีสามี 2688 (ไซต์ ...
  • ในทัศนะของอัลกุรอาน ความแตกต่างระหว่างอิบลิซ กับชัยฏอน คืออะไร?
    17688 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/08
    บนพื้นฐานของอัลกุรอาน,อิบลิซเป็นหนึ่งในหมู่ญิน เนื่องจากการอิบาดะฮฺอย่างมากมาย จึงทำให้อิบลิซได้ก้าวไปอยู่ในระดับเดียวกันกับมะลาอิกะฮฺ แต่หลังจากการสร้างอาดัม, อิบลิซได้ฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ ไมยอมกราบอาดัม, จึงได้ถูกขับออกจากสวรรค์เนรมิตแห่งนั้น ส่วนชัยฏอนนั้นจะใช้เรียกทุกการมีอยู่ ที่แสดงความอหังการ ยโสโอหัง ละเมิด และฝ่าฝืน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นมนุษย์ หรือญิน หรือสรรพสัตว์ก็ตาม ขณะเดียวกันอิบลิซนั้นได้ถูกเรียกว่าชัยฏอน ก็เนื่องจากโอหังและฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้า ดังนั้น ถ้าจะกล่าวแล้ว “ชัยฏอน” เป็นนามโดยทั่วไป ซึ่งครอบคลุมเหนือทั้งอิบลิซ และไม่ใช่อิบลิซ ...
  • สร้อยนามหมายถึงอะไร? แล้ว “อบุลกอซิม”สร้อยนามของท่านนบีนั้นได้มาอย่างไร?
    11382 تاريخ بزرگان 2555/03/04
    ตามธรรมเนียมของชาวอรับแล้ว ชื่อที่มีคำว่า “อบู”(พ่อของ...) หรือ “อุมมุ”(แม่ของ...) นำหน้านั้น เรียกกันว่า “กุนียะฮ์” (สร้อยนาม) ในทัศนะของอรับเผ่าต่างๆนั้น ธรรมเนียมการตั้งสร้อยนามถือเป็นการยกย่องบุคคล ตัวอย่างสร้อยนาม อบุลกอซิม, อบุลฮะซัน, อุมมุสะละมะฮ์, อุมมุกุลษูม ฯลฯ[1] ศาสนาอิสลามก็ให้ความสำคัญแก่สร้อยนามเช่นกัน ฆ็อซซาลีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “ท่านนบี(ซ.ล.)มักจะให้เกียรติเรียกเหล่าสหายด้วยสร้อยนามเพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรี ส่วนผู้ที่ไม่มีสร้อยนาม ท่านก็จะเลือกสร้อยนามให้เขา และจะเรียกสร้อยนามนั้น กระทั่งผู้คนก็เรียกตามท่าน แม้กระทั่งผู้ที่ไม่มีบุตรที่จะนำมาตั้งสร้อยนาม ท่านนบี(ซ.ล.)ก็จะตั้งให้เขา ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังตั้งสร้อยนามแก่เด็กๆด้วย อาทิเช่นเรียกว่าอบูนั้น อบูนี้ เพื่อเชื่อมสัมพันธ์กับเด็กๆ”[2] รายงานจากอิมามริฎอ(อ.)ว่า إذا كان الرجل حاضرا فكنه و إن ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60385 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57937 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42479 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39764 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39133 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34241 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28281 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28211 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28149 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26089 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...