การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
20372
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1638 รหัสสำเนา 28163
คำถามอย่างย่อ
อัลกุรอาน โองการสุดท้ายคืออะไร และเป็นไปได้ไหมที่จะเพิ่มเติมโองการอัลกุรอาน?
คำถาม
กรุณาอธิบายถึงอัลกุรอาน โองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และโองการนี้ประทานลงมาเมื่อใด ขณะนั้นท่านศาสดามีอายุประมาณเท่าใด? เป็นไปได้ไหมที่จะเพิ่มเติมโองการอัลกุรอาน ถ้าหากท่านศาสดามีอายุยืนยาวไปกว่านั้น เช่น ประมาณ 70 ปี?
คำตอบโดยสังเขป

เกี่ยวกับอัลกุรอาน โองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีรายงานจำนวนมากและแตกต่างกัน แต่รายงานโดยรวมเหล่านั้นสามารถกล่าวได้ว่า อัลกุรอาน ซูเราะฮฺสุดท้ายสมบูรณ์ที่ได้ประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ซูเราะฮฺ “นัซรฺ” ซึ่งได้ถูกประทานลงมาก่อนที่จะพิชิตมักกะฮฺ หรือในปีที่พิชิตมักกะฮฺนั่นเอง ส่วนซูเราะฮฺสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แต่ถ้านับโองการถือเป็นโองการเริ่มต้น ของบทบะรออะฮฺ ซึ่งไประทานลงมาในปีที่ 9 ของการอพยพ หลังจากการพิชิตมักกะฮฺ หลังจากกลับจากสงครามตะบูก แต่ในแง่ของโองการ เมื่อถามถึงโองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้แก่โองการอิกมาลุดดีน (มาอิดะฮฺ, 3) เนื่องจากโองการดังกล่าวได้ประกาศถึงความสมบูรณ์ของศาสนา และเป็นการเตือนสำทับให้เห็นว่า การประทานวะฮฺยูได้สิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งโองการนี้ได้ถูกประทานลงมาเมื่อวันที่ 18 ซุลฮิจญฺ ปี ฮ.ศ. ที่ 10 ขณะเดินทางกลับจากการประกอบพิธีฮัจญฺ อัลวะดา บางที่สามารถกล่าวได้ว่าโองการ อิกมาลุดดีน เป็นโองการสุดท้ายเกี่ยวกับ โองการอายะตุลอะฮฺกาม ส่วนโองการที่ 281 บทบะเกาะเราะฮฺ เป็นโองการสุดท้ายที่ถูกประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ)  ซึ่งโองการดังกล่าวได้ถูกประทานลงมาก่อน 21 หรื 9 หรือ 7 วัน ก่อนที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะวะฟาด

ส่วนคำตอบสำหรับคำถามส่วนที่สองที่ถามมา จำเป็นต้องกล่าวว่า ด้วยเหตุผลแน่นอนเกี่ยวกับการสิ้นสุดนะบูวัต ประกอบกับท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) เป็นศาสดาสุดท้ายที่ถูกประทานมา ดังนั้น ความเป็นไปได้ในกาเพิ่มเติมโองการอัลกุรอาน ในกรณีที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีอายุยืนยาว จึงเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากสิ่งจำเป็นที่จะเกิดตามมาคือ อัลลอฮฺ ทรงปล่อยให้สาส์นที่มีความสมบูรณ์ และเป็นสาส์นสุดท้ายเกิดความบกพร่อง และไม่สิ้นสุดนอกจากนั้นความบกพร่องยังเป็นที่ชัดเจน

คำตอบเชิงรายละเอียด

เกี่ยวกับอัลกุรอาน โองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีรายงานจำนวนมากและแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ บรรดานักตัฟซีรจึงมีทัศนะแตกต่างกัน

1.รายงานจำนวนมากทั้งจากซุนนียฺและชีอะฮฺกล่าวว่า สิ่งสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ซูเราะฮฺนัซรฺ[1]

2.อีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า โองการสุดท้ายที่ประทานลงมา คือโองการแรกของซูเราะฮฺบะรออะฮฺ ซึ่งประทานลงมาในปี ฮ.ศ.ที่ 9 หลังการพิชิตมักกะฮฺแล้ว ขณะกำลังเดินทางกลับจากสงครามตะบูก โองการดังกล่าวจึงได้ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ)[2]

3. รายงานจำนวนมากกล่าวว่า โองการสุดท้ายที่ประทานลงมาคือ โองการที่กล่าวว่า

« وَ اتَّقُوا يَوْماً تُرْجَعُونَ فيهِ إِلَى اللَّهِ ثُمَّ تُوَفَّى كُلُّ نَفْسٍ ما كَسَبَتْ وَ هُمْ لا يُظْلَمُونَ »[3]

ซึ่งหลังจากประทานแล้ว ญิบรออีลได้สั่งให้บันทึกไว้ตอนเริ่มโองการที่ 280 บทบะเกาะเราะฮฺ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้เกิดขึ้นก่อนการวะฟาดของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ประมาณ 7 หรือ 21 วัน[4]

4.อิบนุ วาฎิฮฺ ยะอฺกูบียฺ เชื่อตามรายงานที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ว่า โองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือโองการอิกมาล "الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دينَكُمْ وَ أَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتي‏ وَ رَضيتُ لَكُمُ الْإِسْلامَ ديناً" ซึ่งได้ประทานลงมาในช่วงเหตุการณ์ เฆาะดีรคุม วันแต่งตั้งท่านอิมามอะลี บุตรของอบีฏอลิบ (อ.) ให้เป็นตัวแทน[5]

มัรฮูม อายะตุลลอฮฺ มะอฺริฟัต กล่าวว่า ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ซูเราะฮฺ นัซร์ ได้ประทานลงมาก่อนโองการแรกของซูเราะฮฺเตาบะฮฺ เนื่องจากซูเราะฮฺนัซรฺ แจ้งให้ทราบถึงการพิชิตมักกะฮฺ (ดังนั้น จึงประทานลงมาก่อนพิชิตมักกะฮฺ) หรือไม่ก็ประทานในปีที่พิชิตมักกะฮฺ ซึ่งประทานลงที่มักกะฮฺ[6] ขณะที่บทบะรออะฮฺ ได้ประทานลงมาหลังจากพิชิตมักกะฮฺได้หนึ่งปี ดังนั้น เมื่อนำเอารายงานเหล่านี้มารวมกัน สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า

ก.ทัศนะที่กล่าวถึง ซูเราะฮฺ สุดท้าย ซูเราะฮฺสุดท้ายที่สมบูรณ์ที่ได้ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ซูเราะฮฺ นัซรฺ ซึ่งเป็นซูเราะฮฺสุดท้าย ส่วนโองการสุดท้ายที่ประทานลงมาคือ โองการแรกของซูเราะฮฺบะรออะฮฺ

ข) ทัศนะที่กล่าวถึง โองการ เกี่ยวกับโองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีความเห็นว่าทัศนะของยะอฺกูบียฺ เป็นทัศนะที่ถูกต้องและดีที่สุด ที่กล่าวว่า โองการอิกมาลุดดีน คือโองการสุดท้ายที่ประทานลงมา เนื่องจากโองการนี้ได้ประกาศให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของศาสนา และเป็นการสิ้นสุดการประทานวะฮฺยู

แต่ทัศนะเกี่ยวกับโองการที่ 281 บทบะเกาะเราะฮฺ มีอีก 2 ทัศนะที่กล่าวถึง

1.โองการนี้ได้ประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ในช่วงของ ฮัจญะตุลวะดา ในมินาตรงกับอีดกุรบาน[7] ถ้าหากรายงานดังกล่าวถูกต้อง อัลกุรอาน โองการสุดท้ายที่ประทานลงมาคือ โองการอิกมาลุดดีน เนื่องจากโองการนี้ได้ประทานลงมา ตรงกับวันที่ 18 เดือนซุลฮิจญฺ หลังจากการบำเพ็ญฮัจญฺตุลวะดา

2.ถ้าหากรายงานดังกล่าวถูกต้อง โองการสุดท้ายที่ประทานลงมาตรงเป็นโองการที่กำลังกล่าวถึง ในกรณีนี้สามารถกล่าวได้ว่า โองการอิกมาลุดดีนเป็นโองการสุดท้ายเกี่ยวกับอะฮฺกาม ส่วนโองการที่ 281 บทบะเกาะเราะฮฺ เป็นโองการสุดท้ายที่ประทานแก่ศาสดา (ซ็อลฯ)[8]

แต่สำหรับคำตอบในส่วนที่สองของคำถามที่ท่านได้ถามมาว่า ถ้าหากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีอายุยืนยาว เป็นไปได้ไหมที่จะมีโองการเพิ่มเติมถูกประทานลงมา จำเป็นต้องกล่าวว่า ด้วยเหตุผลอันชัดแจ้งและแน่นอนที่ว่าศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ศาสดาคนสุดท้าย และอัลกุรอานคือสาส์นฉบับสุดท้ายของอัลลอฮฺเช่นกัน บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ต้องกล่าวว่าอัลลอฮฺ ประทานสาส์นฉบับสุดท้ายที่สมบูรณ์แก่ประชาชาติ โดยผ่านท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ดังนั้น สมมุติว่าท่านศาสดามีอายุสั้นมากกว่านี้ สาส์นทั้งหมดก็ต้องถูกประทานลงมาจนหมดสิ้น ตามอายุขัยของท่านศาสดา และถ้าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีอายุยืนยาวมากกว่านี้ สาส์นก็ต้องถูกประทานลงมาจนหมด ตามอายุขัยของท่านศาสดา

ด้วยเหตุนี้ ด้วยเหตุผลอันชัดเจนที่บ่งบอกถึงการเป็นศาสดาสุดท้าย จึงเป็นไปไม่ได้ และไม่มีความหมายแต่อย่างใดที่จะมีโองการถูกประทานลงมาเพิ่มมากไปกว่านี้ เนื่องจากสิ่งจำเป็นที่จะตามมาคือ อัลลอฮฺทรงปล่อยให้สาส์นที่สมบูรณ์ ฉบับสุดท้ายของพระองค์เกิดความบกพร่อง และไม่สมบูรณ์ อีกทั้งข้อบกพร่องนี้จะเผยออกมาด้วยความชัดเจน

ในที่นี้จะนำเสนอทัศนะอุสตาด ฮาดะวี เตหะรานี ดังนี้

กุรอานกับประวัติศาสตร์

อัลกุรอานขึ้นอยู่กับความจริงและวิทยปัญญาร่วมสมัยของตนเท่านั้นหรือ ถ้าสมมติว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้ถูกแต่งตั้งลงมาในสถานที่อื่น อัลกุรอาน จะถูกประทานลงมาด้วยโองการและเป็นภาษาเหล่านี้หรือ และในที่สุดแล้วอัลกุรอานมีเพียงวิสัยทัศน์ด้านประวัติศาสตร์กระนั้นหรือ

บางคนได้ตอบคำถามนี้ โดยมุมมองเพียงด้านเดียว โดยกล่าวว่า อัลกุรอานคือวะฮฺยูของพระเจ้า อยู่นอกกาลเวลาและสถานที่ อัลกุรอานไม่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ และภารกิจด้านประวัติศาสตร์ ตามความคิดเห็นของพวกเขา ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ถ้าได้ถูกแต่งตั้งขึ้นทุกที่หรือกาลเวลาใดก็ตาม อัลกุรอานก็จะถูกประทารลงมาด้วยโองการเหล่านี้ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในแง่ภาษา หรือสาระเด็ดขาด

ในทางตรงกันข้ามมีบางกลุ่มได้ตอบคำถามนี้ในอีกลักษณะหนึ่ง โดยกล่าวว่า เนื้อหาสาระของอัลกุรอาน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอันเฉพาะเจาะจง ที่อัลกุรอานได้ประทานลงมา ถ้าหากเวลาและสถานที่ได้เปลี่ยนไป มิใช่เพียงภาษาเท่านั้นที่จะเปลี่ยนไป ทว่าเนื้อหาสาระของอัลกุรอานก็จะต่างไปด้วย พวกเขาเชื่อว่าถ้าหากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีอายุยืนยาวนานมากกว่านี้ หรือท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้รับการแต่งตั้งเร็วกว่านี้ ช่วงเวลาของการประกาศสาส์นของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ยาวกว่านี้ โองการย่อมมีมากกว่านี้ และบางที่ขนาดของอัลกุรอาน อาจใหญ่และมากกว่านี้หลายเท่า

ดังนั้น เพื่อตรวจสอบปัญหาดังกล่าวและคำตอบ ควรพิจารณาประเด็นเหล่านี้

1.ดังที่กล่าวผ่านไปแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนแปลงในชีวิตมนุษย์ เกี่ยวข้องกับสภาพชีวิตของเขา แต่ความเป็นมนุษย์ทีแท้จริง หรือธาตุแท้ของความเป็นมนุษย์จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่าสภาพจะเปลี่ยนไปก็ตาม ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว ความต่างทางสถานภาพและประวัติศาสตร์ มิอาจเปลี่ยนแปลงความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงได้

2.ศาสนามีวิสัยเกี่ยวกับตัวตนและความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง ซึ่งถือเป็นสิ่งตายตัวและไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้

อย่างไรก็ตาม ศาสนาต่างๆ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ ได้เพิ่มพูนศักยภาพแก่บุคคล เพื่อรองรับความจริง และขับเคลื่อนพวกเขาไปสู่ความสมบูรณ์ ซึ่งการพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์ในศาสนาของศาสดาสุดท้าย จะสิ้นสุดด้วยตัวเอง โดยปรากฏเป็นศาสนาที่สมบูรณ์ที่สุด ศาสนาซึ่งครอบคลุมทุกสิ่งที่วะฮฺยูได้อธิบาย โดยปราศจากการเปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุนี้ จึงไม่เหลือโอกาสพอที่จะให้ศาสนาอื่นเกิดขึ้นอีก

3.ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ผู้นำศาสนามาเผยแพร่แก่ประชาชาติ จำเป็นต้องเข้าใจภาษาประชาชน นำความจริง และวิชาการมาสอนสั่ง เพื่อพวกเขาจะได้เข้าใจในสาส์นเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากท่านศาสดาถูกแต่งตั้งขึ้นมา ท่ามกลางประชาชนที่พูดภาษาอิบรี ท่านก็ต้องพูดกับพวกเขาด้วยภาษาอิบรี อีกด้านหนึ่งท่านมีหน้าที่อรรถาธิบายสาส์นเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้พวกเขาได้เข้าใจ ดังนั้น แก่นแท้ของกาลเวลาซึ่งท่านศาสดาได้อยู่ในช่วงนั้น ย่อมมีอิทธิพลกับเนื้อหาสาระของสาส์นของท่าน ด้วยเหตุนี้ องค์ประกอบของกาลเวลา ซึ่งอยู่เคียงข้างกันองค์ประกอบที่แน่นอนได้ปรากฏในศาสนา

ดังนั้น ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว ถ้าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้ถูกแต่งตั้งขึ้นในแถบที่พูดภาษาอังกฤษ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าอัลกุรอานต้องถูกประทานลงมาเป็นภาษาอังกฤษแน่นอน หรือถ้าท่านถูกแต่งตั้งขึ้นในแผ่นดินที่ผู้คนคุ้นเคยกับนกแพนกวินแทนอูฐ อัลกุรอานก็ต้องชี้ให้เห็นถึงปาฏิหาริย์การสร้างนกเพนกวิน แทนอูฐ

แต่สิ่งเหล่านี้มิได้เป็นสาเหตุทำให้เนื้อหาสาระอันมีค่ายิ่งของอัลกุรอาน เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจาก หนึ่ง ถ้าความแตกต่างเหล่านี้ถูกพบจริง ก็จะเกี่ยวข้องเฉพาะในแง่สถานภาพที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตมนุษย์ แต่จะไม่เกี่ยวกับองค์ประกอบตายตัว เช่น ความเป็นมนุษย์เด็ดขาด อีกนัยหนึ่ง สาส์นที่เป็นอมตะนิรันดร์แห่งศาสนาของศาสดา ไม่ว่าจะอยู่ในยุคใดสมัยใดก็ตาม เหมือนกันทั้งสิ้น แม้ว่าจะปรากฏในกาลเวลาและสถานที่อื่นก็ตาม

สอง การเลือกเวลาและสถานที่ของสาส์นสำหรับศาสดาคนหนึ่ง จะเป็นไปตามวิทยปัญญาและความรู้ของพระเจ้า มิใช่เหตุบังเอิญ ดังนั้น การที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้ถูกแต่งตั้งขึ้นในแคว้นอาหรับ ในช่วงเวลาเหมาะสม แม้จะมีความยากลำบากมากมายเพียงใด ก็มิได้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยปราศจากเหตุผล และวิทยปัญญา บรรยากาศเหล่านี้เป็นตัวกำหนดว่า อัลกุรอานต้องเป็นภาษาอาหรับ แสดงให้เห็นว่าวิทยปัญญาของพระเจ้า เห็นว่าภาษานี้มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับการนำเสนอความเข้าใจ ในศาสนาสุดท้าย อีกด้านหนึ่งการที่อิสลามได้ปรากฏท่ามกลาง วัฒนธรรมของอาหรับที่โง่เขลา อธิบายความจริง ให้เห็นว่าสำหรับการอธิบายความเข้าใจอันอมตะของอิสลาม เงื่อนไขที่ดีที่สุดมีอยู่ในบรรยากาศดังกล่าว ดังนั้น ถ้าอัลกุรอานยกตัวอย่างอูฐ นั่นเป็นเพราะด้วยเหตุผลที่ว่า ผู้ฟังรู้จักและคุ้นเคยกับอูฐ แต่สำหรับการเลือกผู้ฟังกับประเภทของการรู้จัก เพื่ออธิบายแก่นแท้ของอัลกุรอาน แสดงให้เห็นว่าตัวอย่างที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องนั้นคือ อูฐ นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ สำหรับวิทยปัญญาของพระเจ้า ด้วยจำนวนโองการที่มีอยู่ ด้วยภาษาอาหรับ และด้วยตัวอย่างต่างๆ ถือว่านี่เป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะนำสารประจำศาสนาสุดท้าย สื่อให้ถึงมือประชาชน ฉะนั้น สามารถกล่าวได้ว่า ถ้าหากช่วงเวลาประกาศศาสนาของศาสดา (ซ็อลฯ) ยาวนานไปกว่านี้ จำนวนโองการและสาระเนื้อหาของกุรอานก็จะไม่เปลี่ยนแปลง

ข้อมูลและเหตุผลเกี่ยวกับ การเป็นศาสดาสุดท้ายของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ศึกษาได้จาก คำตอบและคำถามที่ 386 (ไซต์ 399) ภายใต้หัวข้อ “ความเร้นลับของการสิ้นสุดศาสดาอิสลาม)

 


[1] เฏารบัรซียฺ, มัจญฺมะอุลบะยาน, เล่ม 10, หน้า 554, บะฮฺรอนนียฺ, ตัฟซีรโบรฮาน, เล่ม 1, หน้า 29, ซุยูฏียฺ, อัลอิตกอน หน้า 27

[2] เฟฎกาชานียฺ, ตัฟซีรซอฟียฺ, เล่ม 1, หน้า 680

[3] บะเกาะเราะฮฺ 281

[4] ตัฟซีร ชุบบัร หน้า 83

[5] มาอิดะฮฺ 3

[6] อัซบาบุลนุซูล บะฮามิช ญะลาลัยนฺ เล่ม 2, หน้า 145.

[7] ซัรกะชียฺ, โบรฮาน, เล่ม 1, หน้า 187

[8] อายะตุลลอฮฺ ฮาดี มะอฺริฟัต, ตัลคีซ อัตตัมฮีด,เล่ม 1, หน้า 80-81

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ตักวาหมายถึงอะไร?
    17841 จริยธรรมทฤษฎี 2555/01/23
    ตักว่าคือพลังหนึ่งที่หยุดยั้งจิตด้านในซึ่งการมีอยู่ของมนุษย์คือสาเหตุของการมีพลังนั้นและพลังดังกล่าวจะพิทักษ์ปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นจากการกระทำความผิดฝ่าฝืนต่างๆความสมบูรณ์ของตักวานอกจากจะช่วยทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความผิดบาปและการก่ออาชญากรรมต่างๆ
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5863 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • การทำความผิดซ้ำซาก เป็นให้ถูกลงโทษรุนแรงหรือ?
    11495 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    การทำความผิดซ้ำซากมีความหมาย 2 อย่าง กล่าวคือ 1-ทำความผิดซ้ำบ่อยครั้ง, 2- กระทำผิดโดยไม่ได้คิดลุแก่โทษ หรือไม่เคยกลับตัวกลับใจ การทำความผิดซ้ำซากนั้น จะมีผลติดตามมาซึ่งหนักหนาสาหัสมาก ทั้งโองการอัลกุรอานและรายงานฮะดีซ ได้กล่าวตำหนิไว้อย่างรุนแรง และยังได้กล่าวเตือนอีกว่าผลของการกระทำความผิดนั้น เช่น การเปลื่ยนจากความผิดเล็กเป็นความผิดใหญ่, การออกนอกวงจรของผู้มีความสำรวมตน, ความอับโชคเฮงซวยทั้งหลาย, อิบาดะฮฺไม่ถูกตอบรับ, ลากพามนุษย์ไปสู่เขตแดนของผู้ปฏิเสธศรัทธาและพระเจ้า และ ... หนึ่งในผลของการทำความผิดซ้ำซากคือ การได้รับโทษทัณฑ์อันรุนแรงทั้งโลกนี้และโลกหน้า เหมือนกับบุคคลที่ได้ทำบาปใหญ่ ถ้าเป็นครั้งที่สองเขาจะถูกลงโทษและถูกเฆี่ยนตี ถ้าเป็นครั้งที่สามประหารชีวิต ...
  • การกระทำใดบ้างที่ส่งผลให้คนเราแลดูสง่ามีราศี?
    6390 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ในมุมมองของอิสลามความสง่างามแบ่งได้เป็นสองประเภทอันได้แก่ความงดงามภายนอกและภายใน.ปัจจัยที่สร้างเสริมความสง่างามภายในตามที่ฮะดีษบ่งบอกไว้ก็คือความอดทนความสุขุมความยำเกรง...ฯลฯ
  • เราจะมั่นใจได้อย่างไร สำหรับผู้รู้ที่ตักเตือนแนะนำและกล่าวปราศรัย มีความเหมาะสมสำหรับภารกิจนั้น?
    7207 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    ตามคำสอนของอิสลามที่มีต่อสาธารณชนคือ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความเข้าในคำสอนศาสนา ตนต้องค้นคว้าและวิจัยด้วยตัวเองเกี่ยวกับบทบัญญัติของศาสนา หรือให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอุละมาอฺ และเนื่องจากว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้ทั้งหมด กล่าวตนเข้าศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอนของศาสนา ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องเข้าหาอุละมาอฺในศาสนา อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการรู้จักผู้รู้ที่คู่ควรและเหมาะสมเอาไว้ว่า การได้ที่เราจะสามารถพบอุละมาอฺที่ดี บริสุทธิ์ และมีความเหมาะสมคู่ควร สำหรับชีอะฮฺแล้วง่ายนิดเดียว เช่น กล่าวว่า “ผู้ที่เป็นอุละมาอฺคือ ผู้ที่ปกป้องตัวเอง พิทักษ์ศาสนา เป็นปรปักษ์กับอำนาจฝ่ายต่ำของตน และเชื่อฟังปฏิบัติตามบัญชาของอัลลอฮฺ ฉะนั้น เป็นวาญิบสำหรับบุคคลทั่วไปที่จะต้องปฏิบัติตามเขา นอกจาคำกล่าวของอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) แล้วยังมีวิทยปัญญาอันล้ำลึกของผู้ศรัทธา ไม่ว่าเขาจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตามเขาจะใช้ประโยชน์จากมัน แม้ว่าจะอยู่ในหมู่ผู้ปฏิเสธศรัทธาก็ตาม ...
  • อยากทราบว่ามีหลักเกณฑ์ใดในการกำหนดวัยบาลิกของเด็กสาวและเด็กหนุ่ม?
    14676 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/16
    อิสลามได้กำหนดอายุบาลิกไว้เมื่อถึงวัยของการบรรลุนิติภาวะ กล่าวคือเมื่อบุคคลมีคุณลักษณะของการบรรลุนิติภาวะปรากฏขึ้น (ขั้นต่ำของลักษณะเหล่านี้คือการหลั่งอสุจิสำหรับเด็กหนุ่ม และประจำเดือนสำหรับเด็กสาว) ดังนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้ถึงวัยแห่งบาลิกแล้ว แต่ทว่าในศาสนาอิสลาม นอกจากคุณลักษณะเหล่านี้แล้ว ได้กำหนดบรรทัดฐานในด้านของอายุในการบาลิกให้กับเด็กหญิงและเด็กหนุ่มไว้ด้วย ดังนั้น หากเด็กหญิงหรือเด็กหนุ่มยังไม่มีลักษณะโดยธรรมชาติ แต่ถึงอายุที่ศาสนาได้กำหนดไว้สำหรับการบาลิกของเขาแล้ว เขาจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน เฉกเช่นผู้บาลิกคนอื่น ๆ ดังนั้น ไม่ใช่ว่าชาวซุนนีจะถือว่าเด็กสาวถึงวัยบรรลุนิติภาวะตามหลักเกณฑ์ธรรมชาติ แต่ชีอะฮ์นับจาก 9 ปีแต่อย่างใด แต่ทว่าหากเด็กสาวมีรอบเดือนหรือตั้งครรภ์แล้ว ทุกมัซฮับถือว่าเธอบรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงแม้ว่าเธอจะยังไม่ถึงวัยที่ฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้กำหนดไว้สำหรับการบรรลุนิติภาวะก็ตามa ...
  • อัลลอฮฺ ทรงพึงพอพระทัยผู้ใด? บุคคลใดที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัย, ผู้นั้นจะได้เป็นเจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความโปรดปรานหรือ? ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว โองการที่ 28 บทอันบิยาอฺที่กล่าวว่า : และพวกเขาจะมิให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด, นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย จะไม่ขัดแย้งกันดอกหรือ? อีกนัยหนึ่ง : เจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความพึงพอพระทัย จะเข้ากันได้อย่างไรกับชะฟาอะฮฺ?
    9559 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพึงพอพระทัยบุคคลที่มีศรัทธาและพึงปฏิบัติคุณงามความดี, เพียงแต่ว่าความศรัทธาและคุณงามความดีนั้นมีทั้งเข้มแข็งมั่นคงและอ่อนแอ อีกทั้งมีระดับชั้นที่แตกต่างกันออกไป, ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเขาจึงแตกต่างกันออกไปด้วยสรวงสวรรค์ ก็เช่นเดียวกันถูกแบ่งไปตามระดับชั้นของความศรัทธา คุณภาพ และปริมาณของคุณงามความดีที่ชาวสวรรค์ได้สั่งสม ซึ่งระดับชั้นของสวรรค์ก็มีความแตกต่างกันออกไป ส่วน “สวรรค์ชั้นริฎวาน” คือสวรรค์ชั้นสูงที่สุด เจ้าของสวรรค์ชั้นนี้ได้แก่ บรรดาศาสดาทั้งหลาย, บรรดาตัวแทนและบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ (ซบ.), ตลอดจนบรรดาผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ ชนกลุ่มนี้ไม่ต้องการชะฟาอะฮฺแต่อย่างใด เนื่องจากพวกเขาคือผู้ให้ชะฟาอะฮฺ และยังเป็นสักขีพยานในวันแห่งการฟื้นคืนชีพอีกต่างหาก. ด้วยเหตุนี้เอง วัตถุประสงค์ของประโยคที่ว่า “มะนิรตะฎอ” (ผู้ที่ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ) ในโองการอัลกุรอานจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นเจ้าของสวรรค์ชั้นริฏวาน เพื่อว่าระหว่างตำแหน่งชั้นของพวกเขากับโองการจะได้ไม่ขัดแย้งกันอัลกุรอาน โองการดังกล่าวอยู่ในฐานะของการขจัดความสงสัยและความเข้าใจผิด ของบรรดาผู้ปฏิเสธที่วางอยู่บนความเข้าใจที่ว่า มลาอิกะฮฺจะให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา, เนื่องจากมลาอิกะฮฺคือเจ้าหน้าที่ของอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขาจะไม่ปฏิบัติสิ่งใดที่ขัดแย้งต่อบัญชาของพระองค์, พวกเขาจะให้ชะฟาอะฮฺแก่บุคคลผู้ซึ่ง ...
  • ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์ (ตะมีม) เป็นใครมาจากใหน?
    6315 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    حصين بن نمير ซึ่งออกเสียงว่า “ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์” ก็คือคนเดียวกันกับ “ฮุศ็อยน์ บิน ตะมีม” หนึ่งในแกนนำฝ่ายบนีอุมัยยะฮ์ที่มาจากเผ่า “กินดะฮ์” ซึ่งจงเกลียดจงชังลูกหลานของอิมามอลีอย่างยิ่ง และมีส่วนร่วมในการสังหารฮะบี้บ บิน มะซอฮิร หนึ่งในสาวกของอิมามฮุเซน บิน อลีในวันอาชูรอ ปีฮ.ศ. 61 โดยได้นำศีรษะของฮะบี้บผูกไว้ที่คอของม้าเพื่อนำไปยังราชวังของ “อิบนิ ซิยาด” ...
  • ความตายคืออะไร และเราสามารถยึดเวลาความตายออกไปได้ไหม ?
    10427 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    ความตายในทัศนะของนักปรัชญาอิสลามหมายถึงจิตวิญญาณได้หยุดการบริหารและแยกออกจากร่างกายแน่นอนทัศนะดังกล่าวนี้ได้สะท้อนมาจากอัลกุรอานและรายงานซึ่งตัวตนของความตายไม่ใช่การสูญสิ้นส่วนในหลักการของอิสลามมีการตีความเรื่องความตายแตกต่างกันออกไปซึ่งทั้งหมดมีจุดคล้ายเหมือนกันอยู่ประการหนึ่งกล่าวคือความตายไม่ใช่ความสูญสิ้นหรือดับสูญแต่อย่างใดทว่าหมายถึงการเปลี่ยนหรือการโยกย้ายจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลังหนึ่งเนื่องจากมนุษย์นั้นประกอบไปด้วยร่างกายและจิตวิญญาณอีกอย่างหนึ่งความตายเท่ากับเป็นหยุดการทำงานของร่างกายภายนอกส่วนจิตวิญญาณได้โยกย้ายเปลี่ยนไปอยู่ยังปรโลกด้วยเหตุนี้ความตายจึงได้ถูกสัมพันธ์ไปยังมนุษย์
  • สร้อยนามหมายถึงอะไร? แล้ว “อบุลกอซิม”สร้อยนามของท่านนบีนั้นได้มาอย่างไร?
    11184 تاريخ بزرگان 2555/03/04
    ตามธรรมเนียมของชาวอรับแล้ว ชื่อที่มีคำว่า “อบู”(พ่อของ...) หรือ “อุมมุ”(แม่ของ...) นำหน้านั้น เรียกกันว่า “กุนียะฮ์” (สร้อยนาม) ในทัศนะของอรับเผ่าต่างๆนั้น ธรรมเนียมการตั้งสร้อยนามถือเป็นการยกย่องบุคคล ตัวอย่างสร้อยนาม อบุลกอซิม, อบุลฮะซัน, อุมมุสะละมะฮ์, อุมมุกุลษูม ฯลฯ[1] ศาสนาอิสลามก็ให้ความสำคัญแก่สร้อยนามเช่นกัน ฆ็อซซาลีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “ท่านนบี(ซ.ล.)มักจะให้เกียรติเรียกเหล่าสหายด้วยสร้อยนามเพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรี ส่วนผู้ที่ไม่มีสร้อยนาม ท่านก็จะเลือกสร้อยนามให้เขา และจะเรียกสร้อยนามนั้น กระทั่งผู้คนก็เรียกตามท่าน แม้กระทั่งผู้ที่ไม่มีบุตรที่จะนำมาตั้งสร้อยนาม ท่านนบี(ซ.ล.)ก็จะตั้งให้เขา ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังตั้งสร้อยนามแก่เด็กๆด้วย อาทิเช่นเรียกว่าอบูนั้น อบูนี้ เพื่อเชื่อมสัมพันธ์กับเด็กๆ”[2] รายงานจากอิมามริฎอ(อ.)ว่า إذا كان الرجل حاضرا فكنه و إن ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60187 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57647 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42264 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39471 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38988 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34047 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28056 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28041 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27879 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25864 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...