การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8357
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa17054 รหัสสำเนา 19935
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
สาเหตุของการตั้งฉายานามท่านอิมามริฎอ (อ.) ว่าผู้ค้ำประกันกวางคืออะไร?
คำถาม
สาเหตุของการตั้งฉายานามท่านอิมามริฎอ (อ.) ว่าผู้ค้ำประกันกวางคืออะไร?
คำตอบโดยสังเขป

หนึ่งในฉายานามที่มีชื่อเสียงของท่านอิมามริฎอ (.) คือ..”ผู้ค้ำประกันกวางเรื่องเล่านี้เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในหมู่ประชาชน,แต่ไม่ได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺแต่อย่างใด, แต่มีเรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกับเรื่องนี้อย่ ซึ่งมีได้รับการโจษขานกันภายในหมู่ซุนนีย, ถึงปาฏิหาริย์ที่พาดพิงไปยังเราะซูล (ซ็อล ), อิมามซัจญาดและอิมามซอดิก (.),ท่านเชคซะดูกได้บันทึกบันทึกรายงานนี้ไว้ในหนังสือ อุยูนุลอัคบาร อัรริฎอ แต่ท่านได้บันทึกเรื่องราวไว้อีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งจะกล่าวถึงในคำตอบโดยละเอียด.ผู้ที่ให้การความสนใจเฝ้าสังเกตว่าเรื่องราวนี้ได้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ท่านอิมามริฎอ (.) ได้ชะฮีดไปประมาณ 2- 3 ปี ดังที่กล่าวไปแล้วว่า, เรื่องเล่าคล้ายๆ กันได้เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของอิมามมะอฺซูมท่านอื่น แน่นอน การกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ถือว่าจำเป็นด้วยเหมือนกัน คือ เชคซะดูกได้เชื่อความน่าเชื่อถือของผู้ที่รายงานเรื่องเล่านี้

คำตอบเชิงรายละเอียด

หนึ่งในฉายานามอันลือชื่อของท่านอิมามริฎอ (.) คือ ซึ่งสาเหตุของการตั้งฉายานามนี้แก่ท่านอิมาม (.) มีที่มาที่ไปของประวัติศาสตร์โดยกล่าวสรุปได้เชนนี้ว่า :

นักล่าสัตว์กลางทะเลทรายได้ตั้งใจออกล่ากวาง แล้วเขาได้มองเห็นกวางเหยื่อตัวน้อยของเขาตั้งแต่ไกลแล้ว เขาจึงได้ไล่ล่ามาติดๆ สุดท้ายกวางตัวนั้นได้เข้าไปซ่อนอยู่ในผ้าคุมของท่านอิมามริฎอ (.) ที่เผอิญอยู่บริเวณนั้นพอดี นักล่าสัตว์ได้ตรงเข้าไปเพื่อขอกวางจากท่านอิมามริฎอ (.) แต่ท่านอิมามได้ขอร้องเขาว่าให้ปล่อยกวางไปเถิด, นักล่าสัตว์คนนั้นไม่ยอมเพราะเขาถือว่ากวางนั้นเป็นสิทธิอันชอบธรรมของเขา และเขาก็ล่าอย่างถูกต้องตามหลักชัรอียฺด้วย, เขาจึงได้อ้างหลักการเพื่อขอกวางจากท่านอิมามริฎอ (.), ท่านอิมาม (.) ได้ขอไถ่กวางตัวนั้นด้วยราคาค่อนข้างแพงกว่าราคากวาง, และพร้อมที่จะจ่ายจำนวนเงินดังกล่าวด้วยเพื่อจะไถ่กวางให้เป็นอิสระ, แต่นักล่าสัตว์คนนั้นไม่ยอมรับ เขากล่าวขึ้นว่า : ขอสาบานด้วยพระนามอัลลอฮฺว่า, ฉันต้องการกวางตัวนี้เพราะเป็นสิทธิของฉัน และไม่ต้องการสิ่งอื่นใดเป็นการแลกเปลี่ยนด้วย ... เวลานั้นกวางได้กล่าวกับท่านอิมามริฎอ (.) ว่า ฉันมีลูกที่ต้องดูแลให้นมอีกสองตัว กำลังหิวและดวงตาของเจ้าสองตัวนั้นก็ยังมองไม่เห็น ขอให้ฉันไปให้นมลูกให้อิ่มเสียก่อนได้ไหม ซึ่งสาเหตุที่ฉันวิ่งหนีเขาก็เพราะเรื่องนี้นั่นเอง ดังนั้น ฉันยากให้ท่านช่วยเป็นผู้คำประกันฉันกับนักล่าคนนี้ด้วย และขออนุญาตให้ฉันไปให้นมลูกก่อน หลังจากนั้นฉันจะมายอมจำนนกับเขาได้หรือไม่

ท่านอิมามริฎอ (.) ได้เป็นผู้ค้ำประกันกวางตัวนั้นต่อนักล่าสัตว์ โดยยอมมอบตัวเองเป็นตัวประกันอยู่ในความดูแลของนักล่าสัตว์, กวางได้รีบไปและรีกกลับมาอย่างเร่งด่วนและยอมมอบตัวเองต่อนักล่าสัตว์, เมื่อนักล่าสัตว์ได้เห็นความซื่อสัตย์ของกวางที่ปฏิบัติตามสัญญาเช่นนั้น, เขาได้เปลี่ยนใจและเวลานั้นเขาเพิ่งจะเข้าใจว่าตัวประกันของเขาคือ อะลี บุตรของมูซา อัรริฎอ (.) เป็นที่ชัดเจนว่าเขาได้รีบปล่อยกวางอย่างรวดเร็ว แล้วรีบจุมพิตมือและเท้าของท่านอิมามริฎอ (.) ทันที เขาได้วอนขออภัยจากท่านอิมาม, ท่านอิมาม (.) ได้มอบเงินจำนวนหนึ่งแก่เขา และสัญญาว่าเขาจะได้รับชะฟาอะฮฺจากท่านตาของท่านในวันฟื้นคืนชีพ ท่านได้ทำให้นักล่าสัตว์คนนั้นดีใจเป็นอย่างยิ่งและเขาก็ได้ลาจากไป, กวางเมื่อได้รับอิสรภาพแล้วก็ดีใจจึงได้ขออนุญาตท่านอิมามกลับไปยังลูกของมัน

เกี่ยวกับเรื่องเล่านี้มีประเด็นที่น่าสนใจอยู่สองสามประเด็นกล่าวคือ :

1.แม้ว่าเรื่องเล่าดังกล่าวนี้มิได้มีกล่าวไว้ในตำราเชื่อถือได้ของฝ่ายชีอะฮฺก็ตาม, แต่มีเรื่องเล่าอื่นที่คล้ายคลึงกับเรื่องเล่านี้ ซึ่งเป็นที่โจษขานกันในฝ่ายซุนนียฺ, เกี่ยวกับปาฏิหาริย์หนึ่งโดยพาดพิงไปถึงท่านศาสดา (ซ็อล ),[1] ท่านอิมามซัจญาด (.)[2] และท่านอิมามซอดิก (.)[3]

2.ท่านเชคซะดูก ได้บันทึกเรื่องเล่านี้ไว้ในหนังสือ อัลอุยูนุลอัคบาร อัรริฎอ (.) โดยบันทึกเรื่องเล่าไว้เช่นนี้ว่า :

อบุลฟัฏล์ มุฮัมมัด บินอะฮฺมัน บิน อิสมาอีล สะลีฏียฺ กล่าวว่า : ฉันได้ยินจากฮากิม รอซีย์ สหายของท่านญะอฺฟัร อะตะบีย์ ซึ่งเขาได้พูดว่า ฉันได้ถูกส่งตัวไปจาก อบูญะอฺฟัร ในฐานะของผู้ถือสาส์น ไปยังอบูมันซูร บิน อับดุลเราะซาก, และวันพฤหัสฉันได้ขอลาเขาเพื่อไปซิยารัตท่านอิมามริฎอ (.), เขาได้ตอบฉันว่า สิ่งที่ได้เกิดในมัชฮัดใกล้กับหลุมฝังศพของอิมามริฎอ ซึ่งได้เกิดกับฉันนั้น ฉันจะเล่าให้เธอฟัง : วันหนึ่งขณะที่ฉันยังเป็นวัยรุ่นอยู่นั้น ฉันไม่เคยมีความคิดดีๆ เกี่ยวกับผู้ที่รักใคร่และหลงใหลมัชฮัดเลย ในระหว่างทางฉันชอบปล้นสะดม ทรัพย์สินผู้เดินทางมาซิยารัตมัชฮัด,ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เงินทอง จดหมาย หรือเงินทำบุญของพวกเขา, แต่มาในวันหนึ่งฉันได้ออกไปล่าสัตว์ข้างนอก ฉันได้เห็นเสื้อชีต้าตัวหนึ่งกำลังวิ่งไล่ล่ากวางตัวน้อย และฉันก็วิ่งตามไป จนในที่สุดกวางตัวนั้นได้ไปหลบอยู่ข้างๆ ผนังหนึ่ง ซึ่งเสื้อชีต้าก็ยืนอยู่ตรงหน้ามัน แต่ไม่ได้เข้าไปใกล้หรือทำอันตรายกวางแต่อย่างใด ฉันพยายามทำเพื่อจะให้เสือชีต้าเข้าไปใกล้กวางตัวนั้น, แต่มันก็ไม่เข้าไปใกล้กวางและไม่กระดุกกระดิกไปไหนด้วย, แต่เมื่อกวางค่อยๆ ขยับหายพ้นไปจากผนัง เสือชีต้าก็มิได้ไล่ล่าอีกต่อไป, แต่การที่กวางได้เข้าไปหลบที่ผนัง, เสือชีต้าได้กลับออกมา จนกระทั่งกวางได้หายเข้าไปในซอก, ซึ่งภายในผนังนั้นพบว่ามีหลุมฝังศพอยู่ และฉันได้เดินเข้าไปป้อมยาม[4] ถามเขาว่า : ท่านเห็นกวางตัวหนึ่งที่เพิ่งจะเดินผ่านป้อมยามไปหรอไม่? พวกเขากล่าวว่า : พวกเราไม่เคยเห็นกวางเลย.

เวลานั้นฉันได้กลับไปตรงบริเวณที่กวางเดินเข้าไปฉันได้เห็นมูลและรอยปัสสาวะของกวาง, แต่กลับมองไม่เห็นตัวกวาง, หลังจากนั้นฉันได้สัญญาต่อพระเจ้าว่าหลังจากนี้ต่อไป ฉันจะไม่ปล้นสะดมผู้เดินทางมาซิยารัตอีก แต่ฉันจะประพฤติดีกับพวกเขาทุกคน หลังจากนั้นเรื่อยมา,เมื่อใดก็ตามที่ฉันประสบกับอุปสรรคปัญหาความยุ่งยาก หรือประสบทุกข์ในชีวิต, ฉันจะไปมัชฮัด, เพื่อซิยารัตและวอนขอสิ่งที่เป็นความยุ่งยาก ตลอดจนความต้องการอื่นๆ จากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตอบรับและขจัดความทุกข์ยากเหล่านั้นให้พ้นไปจากฉัน ฉันได้วอนขอต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) ว่า ขอพระองค์โปรดประทานบุตรชายแก่ฉัน, และแล้วพระองค์ก็ประทานบุตรชายให้ฉัน, แต่ต่อมาเมื่อบุตรชายของฉันได้เติบโตเป็นหนุ่มแล้ว เขาก็ได้ตายจากฉันไป, ฉันได้ย้อนกลับไปมัชฮัดอีกครั้งหนึ่ง และวอนขอบุตรชายต่ออัลลอฮฺ เหมือนเดิม และพระองค์ทรงเมตตาให้บุตรชายแก่ฉันอีกคนหนึ่ง,และฉันไม่เคยขอสิ่งใดจากอัลลอฮฺ (ซบ.) แล้วจะไม่ได้รับการตอบสนองจากพระองค์เลย และเหล่านี้คือสิ่งที่ตัวฉันได้ประสบในมัชฮัด นับว่าเป็นความสิริมงคลของมัชฮัด ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดสำหรับฉันมาก และฉันก็เชื่อถือต่อสิ่งเหล่านี้[5]

ผู้สนใจได้ให้การสังเกตเรื่องเล่านี้และพบว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากท่านอิมามริฎอ (.) ได้ชะฮีดไปแล้วสองสามปี และดังที่กล่าวไปแล้ว, ว่ามีเรื่องเล่าทำนองคล้ายๆ กันนี้ที่เกิดกับบรรดาอิมามมะอฺซูม (.) มากมาย, แน่นอน การกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ถือว่าจำเป็นด้วยเหมือนกัน คือ เชคซะดูกได้เชื่อความน่าเชื่อถือของผู้ที่รายงานเรื่องเล่านี้.



[1] เฏาะบัรซียฺ, ฟัฎลิบนิฮะซัน, อิอฺลามุลวะรอ, หน้า 25,ดารุลกุตุบอัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน.

[2] กุฏบุดดีน รอวันดี, อัลเคาะรออิจญฺ วัลญะรออิจญฺ, เล่ม 1 หน้า 261, สถาบันอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) กุม ปี ฮ.ศ.1409.

[3] เซาะฟาร,มุฮัมมัด บุตรของฮะซัน,บะซออิรุดดะเราะญาต, หน้า 349, ห้องสมุดอายะตุลลอฮฺมัรอะชียฺ, กุม ปี ฮ.ศ. 1404.

[4] คำว่า “รุบาฏ” ความหมายเดิมหมายถึง บริเวณเก็บดูแลม้า หรือเรียกอีกอย่างว่า คอกม้า เพื่อรักษาม้าเหล่านั้นไว้ออกศึกสงคราม หรือหมายถึงพรมแดนรักษาเขตของมุสลิม, แต่ต่อมาได้นำคำนี้ไปใช้ในความหมายที่แตกต่างกัน เช่น หมายถึงจุดพักของกองคาราวานที่เดินทางมา หรือสถานปฏิบัติตนของพวกซูฟียฺ

[5] เชคซะดูก, อุยูนุลอัคบาร อัรริฎอ, เล่ม 2 หน้า 285, เฌะฮอน, ปี ฮ.ศ. 1378.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ก่อนการปรากฏกายของท่านอิมามซะมาน (อ.) จะมีมัรญิอฺตักลีด 12 คน ในชีอะฮฺ ในอิสลามเกิดขึ้นใหม่ แต่หลังจากอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ปรากฏกายแล้ว พวกเขาจถูกสังหาร 11 คน จะมีชีวิตเหลืออยู่เพียงแค่คนเดียว? โปรดแจ้งแจงประเด็นนี้ด้วย
    7079 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    จำคำถามที่กล่าวมามีความเป็นไปได้ 2 กรณี. หนึ่งมัรญิอฺตักลีด 11 คน
  • ข้อความละอ์นัตในซิยารัตอาชูรอครอบคลุมถึงบุตรชายยะซีดด้วยซึ่งเป็นคนดี แล้วจะถือว่าซิยารัตนี้น่าเชื่อถือได้อย่างไร?
    7316 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    ในซิยารัตอาชูรอมีการละอ์นัตกลุ่มบนีอุมัยยะฮ์ซึ่งรวมถึงบุตรชายยะซีดด้วยในขณะที่นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าบุตรชายของยะซีดและสมาชิกบนีอุมัยยะฮ์บางคนเป็นคนดีเนื่องจากเคยทำประโยชน์บางประการซึ่งย่อมไม่สมควรจะถูกละอ์นัตเพื่อชี้แจงข้อสงสัยดังกล่าวควรทราบว่าบนีอุมัยยะฮ์ในที่นี้หมายความเฉพาะผู้ที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันกับพวกเขาอันหมายถึงผู้กระทำผิดผู้วางเฉยผู้ปีติยินดี ... ฯลฯต่อการแย่งชิงสิทธิอันชอบธรรมของบรรดาอิมาม(อ.) ตลอดจนการสังหารท่านเหล่านั้นและสาวกหากคำนึงถึงประโยคก่อนและหลังท่อนดังกล่าวในซิยารัตอาชูรอก็จะเข้าใจจุดประสงค์ดังกล่าวได้ไม่ยากเนื่องจากบรรยากาศของซิยารัตบทนี้เต็มไปด้วยละอ์นัตและการสาปแช่งกลุ่มบุคคลที่ยึดครองตำแหน่งคิลาฟะฮ์และพยายามจะดับรัศมีของอัลลอฮ์โดยทำทุกวิถีทางเพื่อต่อกรกับอะฮ์ลุลบัยต์รวมไปถึงกลุ่มบุคคลที่ให้การสนับสนุนและพึงพอใจในพฤติกรรมของกลุ่มแรก ฉะนั้นในทางวิชาอุศู้ลแล้วเราถือว่าการยกเว้นบุคคลที่ดีออกจากนัยยะของคำว่าบนีอุมัยยะฮ์นั้นเป็นการยกเว้นประเภท “ตะค็อศศุศ” มิไช่ “ตัคศี้ศ” หมายความว่าคำว่าบนีอุมัยยะฮ์ไม่ครอบคลุมถึงบุคคลเหล่านี้ตั้งแต่แรกแล้วจึงไม่จำเป็นต้องยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ ...
  • ฮะดีษที่ว่า "อิมามทุกท่านมีสถานะและฐานันดรเทียบเคียงท่านนบี(ซ.ล.)"(อัลกาฟีย์,เล่ม 1,หน้า 270) เชื่อถือได้หรือไม่?
    7231 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    แม้เหล่าผู้ปราศจากบาปทั้งสิบสี่ท่านจะบรรลุฐานันดรทางจิตวิญญาณอันสูงส่งแต่อย่างไรก็ดีท่านเราะซู้ล(ซ.ล.)คือผู้ที่มีสถานะสูงสุดและมีข้อแตกต่างบางประการที่อิมามมะอ์ศูมอื่นๆไม่มีดังที่ท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า "บรรดาอิมามเปรียบดั่งท่านนบี(ซ.ล.) เพียงแต่มิได้มีสถานะเป็นศาสนทูตและไม่สามารถกระทำบางกิจเฉกเช่นนบี (
  • การนั่งจำสมาธิคืออะไร? ชีอะฮฺมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับการนั่งจำสมาธิ?
    9075 รหัสยปฏิบัติ 2557/05/20
    วัตถุประสงค่ของการนั่งจำสมาธิ (การอิบาดะฮฺ 40 วัน) คือการเดินจิตด้านใน, การจาริกจิต, การคอยระมัดระวังตนเองภายใน 40 วัน, เพื่อยกระดับและพัฒนาจิตด้านในของบุคคล เพื่อเตรียมพร้อมที่จำเป็น สำหรับการรองรับวิทยญาณและวิชาการของพระเจ้า ซึ่งนักเดินจิตด้านใน และปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของโองการและรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ การอิบาดะฮฺและการตั้งเจตนาด้วยความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ ภายใน 40 วัน จึงถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ดีที่สุด แต่สิ่งที่นักเดินจิตด้านในตักเตือนไว้คือ จงอย่าให้การนั่งจำสมาธิกลายเป็นเครื่องมือละทิ้งสังคม ปลีกวิเวกจนกลายเป็นความสันโดษ ...
  • เพราะเหตุใดจึงวาญิบต้องตักลีดกับมัรญิอฺ ?
    7854 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    จุดประสงค์ของ “การตักลีด” คือการย้อนไปสู่ภารกิจที่ตนไม่มีความเชี่ยวชาญในคำสั่งอันเฉพาะซึ่งต้องอาศัยความความเชี่ยวชาญพิเศษซึ่งเหตุผลที่สำคัญที่สุดสำหรับเรื่องการตักลีดเกี่ยวกับปัญหาศาสนาคือเหตุผลทางสติปัญญาที่ว่าผู้ไม่มีความรู้และไม่มีความเชี่ยวชาญปัญหาต้องปฏิบัติตามผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในปัญหานั้นแน่นอนทั้งอัลกุรอาน
  • มีการกล่าวถึงเงื่อนไขการทำความสะอาดด้วยแสงแดดว่า»ระยะห่างระหว่างพื้นดินกับอาคารซึ่งแสงแดดส่องไปถึงนั้น ภายในต้องไม่มีอากาศหรือสิ่งอื่นกีดขวางแสดงแดด... « ประโยคนี้หมายถึงอะไร ช่วยอธิบายด้วย?
    6061 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    คำอธิบาย:แสงแดด,
  • การรัจญฺอัตหมายถึงอะไร? ครอบคลุมบุคคลใดบ้าง? และจะเกิดขึ้นเมื่อใด?
    7327 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    การรัจญฺอัตเป็นหนึ่งในความเชื่อของชีอะฮฺอิมามียะฮฺ, หมายถึงการกลับมายังโลกมนุษย์, ภายหลังจากได้ตายไปแล้วและก่อนที่จะถึงวันฟื้นคืนชีพซึ่งจะเกิดขึ้นภายหลังการปรากฎกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
  • การสักร่างกายถือว่าเป็นฮะรอมหรือไม่?
    6197 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/09
     คำตอบของอายาตุลลอฮ์มะฮ์ดีฮาดาวีเตหะรานี“หากไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและไม่ถือว่าเป็นที่น่ารังเกียจอีกทั้งไม่ทำให้ภาพพจน์ของบุคคลดังกล่าวตกต่ำลงถือว่าไม่เป็นไรคำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด ...
  • มีวิธีใดบ้างในการชำระบาป
    10433 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    วิธีแสวงหาการอภัยโทษจากอัลลอฮ์มีหลายวิธีด้วยกันอาทิเช่น1.เตาบะฮ์หรือการกลับตนเป็นคนดี (ตามเงื่อนไขที่กำหนด)2. ประกอบกุศลกรรมที่ยิ่งใหญ่อันจะสามารถลบล้างความผิดบาปได้3. สงวนใจไม่ทำบาปใหญ่ (กะบีเราะฮ์) ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับการผ่อนปรนบาปเล็ก4. อดทนต่ออุปสรรคยากเข็ญในโลกนี้รวมทั้งการชำระโทษในโลกแห่งบัรซัคและทนทรมานในการลงทัณฑ์ด่านแรกๆของปรโลก
  • สตรีสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในโลกไซเบอร์โดยไม่ขออนุญาตจากสามีหรือไม่?
    5619 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    คำตอบของบรรดามัรยิอ์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมีดังนี้อายาตุลลอฮ์คอเมเนอี “หากไม่จำเป็นที่จะต้องครอบครองทรัพย์สินของสามีก็ถือว่าไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาตแต่จะต้องคำนึงว่าการติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอมส่วนใหญ่จะทำให้เกิด... หรืออาจจะทำให้ตกในการกระทำบาปซึ่งไม่อนุญาต”อายาตุลลอฮ์ซิซตานี “การติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอมถือว่าไม่อนุญาต”อายาตุลลอฮ์ศอฟีกุลฟัยกานี “โดยรวมแล้วการติดต่อสื่อสารในลักษณะนี้แม้ว่าสามีอนุญาติก็ไม่ถือว่าสามารถจะกระทำได้”ฮาดาวีเตหะรานี “หากการติดต่อสื่อสารในโลกไซเบอร์อยู่ในขอบเขตที่อนุญาตและไม่เกรงที่จะเกิดบาปเป็นที่อนุญาตและไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาติจากสามี” ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60255 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57756 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42351 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39569 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39030 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34119 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28128 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28099 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27977 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25958 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...