การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6646
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/09/11
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1283 รหัสสำเนา 16554
คำถามอย่างย่อ
การสมรสจะช่วยส่งเสริมหรือเป็นตัวยับยั้งพัฒนาการทางศีลธรรมกันแน่? ศาสนาอิสลามและคริสต์เห็นต่างในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?
คำถาม
การสมรสจะช่วยส่งเสริมหรือเป็นตัวยับยั้งพัฒนาการทางศีลธรรมกันแน่? ศาสนาอิสลามและคริสต์เห็นต่างในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?
คำตอบโดยสังเขป

การสมรสเปรียบดั่งศิลาฤกษ์ของสังคมซึ่งมีคุณประโยชน์มากมายอาทิเช่น เพื่อบำบัดกามารมณ์ สืบเผ่าพันธุ์มนุษย์ เสริมพัฒนาการของมนุษย์ ความร่มเย็น และระงับกิเลสตัณหา ฯลฯ
ในปริทรรศน์ของอิสลาม การสมรสได้รับการเชิดชูในฐานะเกราะป้องกันกึ่งหนึ่งของศาสนา
ในเชิงสังคม การสมรสมีคุณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์ เนื่องจากจะเสริมสร้างครอบครัวให้เป็นดั่งรวงรังอันอบอุ่นที่คนรุ่นหลังสามารถพึ่งพิงได้ ความผาสุกของคนรุ่นหลังจึงขึ้นอยู่กับครอบครัวอย่างชัดเจน
พระผู้สร้างได้บันดาลให้เกิดความรักฉันสามีภรรยาและความรักฉันบุพการีและบุตรธิดา ทั้งนี้ก็เพื่อให้กำเนิด ปกปักษ์รักษา และอบรมสั่งสอนชนรุ่นหลังอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมนุษยธรรมและจิตสำนึกต่อสังคมจะเกิดขึ้นในสภาวะแวดล้อมของบ้าน และความอบอุ่นที่พ่อและแม่มอบให้ลูกตามธรรมชาติจะส่งผลให้จิตวิญญาณของเด็กอ่อนโยน

แต่นักวิชาการคริสเตียนบางคนกลับมีความเชื่อที่ว่า การสมรสจะเป็นบ่อเกิดของความเสื่อมเสียในสังคม ส่วนบางกลุ่มยอมรับการสมรสอย่างไม่มีทางเลือก เนื่องจากต้องการคงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์มนุษย์

คำตอบเชิงรายละเอียด

แม้การสมรสจะเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความสุขสมทางเพศ แต่ก็ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิและเป็นอิบาดัตในมุมมองของอิสลาม
หนึ่งในเหตุผลของภาวะดังกล่าวก็คือ การสมรสนับเป็นก้าวแรกของการข้ามผ่านการปรนเปรอตนเองไปสู่การเสียสละให้ผู้อื่น ก่อนสมรสทุกคนเคยชินกับตัวฉันและเพื่อฉันแต่เมื่อสมรสแล้ว ก็ทำให้สามารถฝ่ากรอบความคิดดังกล่าวออกไปได้ โดยการมีผู้อื่นมาเคียงข้างและมีคุณค่าต่อเรา

หากสังเกตุจะพบว่าความเสื่อมทรามของสังคมปัจจุบันนี้เกิดขึ้นเนื่องจากความอ่อนแอของสถาบันครอบครัว นั่นเพราะพ่อแม่ก็ปล่อยปละละเลยบุตรหลาน ลูกๆไม่ให้เกียรติพ่อแม่ ความผูกพันระหว่างสามีภรรยานับวันจะขาดสะบั้นลง
อีกแง่มุมหนึ่ง อิสลามมองว่าการสมรสคือปัจจัยในการดำรงชีวิตอยู่ในศีลธรรม ท่านนบี(..)กล่าวแก่เซด บิน ฮาริษะฮ์ว่าจงสมรสเถิด เพื่อเธอจะดำรงอยู่ในศีลธรรมจรรยา[1] และอีกฮะดีษกล่าวว่าจงหาคู่ครองให้บุตรหลานเถิด เพื่อมารยาทของพวกเขาจะดีขึ้น ปัจจัยยังชีพจะกว้างขวางยิ่งขึ้น และความเป็นชายชาตรีจะเพิ่มมากขึ้น[2] อีกฮะดีษหนึ่ง ท่าน(..)กล่าวแก่สตรีนางหนึ่งที่ตั้งใจว่าจะไม่แต่งงานเด็ดขาดว่าการสมรสจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการรักนวลสงวนตัว[3]

การสมรสจะช่วยให้เกิดความสงบทางจิตใจ ดังที่กุรอานกล่าวว่าสัญลักษณ์หนึ่งของพระองค์ก็คือการที่ทรงสร้างคู่ครองเสมือนสูเจ้าเพื่อบังเกิดความสงบ และทรงบันดาลให้เกิดความรักและความเมตตาระหว่างสูเจ้า[4]
อิสลามถือว่ากามารมณ์เป็นสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประทานแก่มนุษย์เพื่อรองรับสถาบันครอบครัว อันเป็นหลักประกันการอยู่รอดของเผ่าพันธุ์มนุษย์
เมื่อพิจารณาจากหน้าประวัติศาสตร์จะพบว่า ไม่มีสัญชาตญาณใดที่เป็นจุดอ่อนสำหรับมนุษย์และส่อเค้าจะพลุ่งพล่านยิ่งไปกว่ากามารมณ์ ตรงนี้เองที่ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ต้องควบคุมสัญชาตญาณนี้อย่างเข้มงวดเพียงใด

และเนื่องจากกามารมณ์เป็นบ่อเกิดของภัยคุกคามต่างๆต่อสังคมมนุษย์ นักวิชาการจึงพยายามหาทางออกเกี่ยวกับเรื่องนี้
บางสำนักคิดเช่น พุทธศาสนา ศาสนามานี และแนวคิดของเลโอ ตอลสตอย เชื่อว่าจะต้องหยุดกามารมณ์เพื่อให้มนุษย์พ้นจากภัยคุกคาม โดยให้เหตุผลว่ากามารมณ์มักจะโน้มนำสู่ความต่ำทราม และเป็นบ่อเกิดของอาชญากรรมต่างๆ
เบอร์ทรานด์ รัสเซิ้ล ปรัชญาเมธีร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงด้านสังคมเคยกล่าวไว้ว่าแนวคิดต้านกามารมณ์มีปรากฏตั้งแต่ยุคโบราณ ซึ่งจะมีอิทธิพลโดยเฉพาะในดินแดนที่คริสตศาสนาหรือพุทธศาสนาได้รับความนิยมเซอร์ ทาร์ค ได้ยกตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงแนวคิดที่เชื่อว่าเพศสัมพันธ์คละคลุ้งไปด้วยความสามานย์
ความเชื่อที่ว่าเพศหญิงคือตัวการแห่งความหายนะได้แพร่จากเปอร์เซียโบราณสู่ดินแดนทางตะวันออก ซึ่งก่อให้เกิดแนวคิดที่ว่าเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องสกปรก ความคิดดังกล่าวเมื่อได้รับการปรับปรุงเล็กน้อยก็ตรงกับทัศนคติของคริสตจักรนั่นเอง ทัศนคติเชิงลบดังกล่าวกำราบจิตใต้สำนึกของคนจำนวนมากให้ต้องหวาดผวา นักจิตวิเคราะห์หลายท่านเชื่อว่าทัศนคติเช่นนี้ก่อให้เกิดความผิดปกติทางจิตได้

อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าไม่ควรปิดกั้นกามารมณ์ไม่ว่าจะกรณีใด เพื่อไม่ให้เกิดความพลุ่งพล่านอันนำไปสู่อาชญากรรมในสังคม การปฏิบัติตามทัศนคติเช่นนี้ทำให้ประชาคมตะวันตกจมปลักอยู่ในความต่ำทราม โดยที่ศาสนาคริสต์เหลือความสำคัญในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น

ท่ามกลางสองขั้วความสุดโต่งนี้ อิสลามเชื่อว่ากามารมณ์มิไช่สิ่งเลวร้ายโดยสิ้นเชิงที่จะต้องกำราบให้หมดไป แต่ก็ไม่ควรปล่อยอิสระ ทางออกก็คือจะต้องควบคุมให้อยู่ในทำนองคลองธรรม และจะต้องอยู่ใต้อาณัติของมนุษย์ มิไช่มีอิทธิพลเหนือมนุษย์ โดยอิสลามเชื่อว่าวิธีบำบัดกามารมณ์ที่ถูกต้องตามธรรมชาติก็คือ การสมรส
ทีนี้เราจะมาดูกันว่าคริสตศาสนาในฐานะที่ไม่เห็นด้วยกับการสนองกามารมณ์ จะมีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับการสมรส
มีความเป็นไปได้ที่ทัศนคติเชิงลบของคริสตจักรเกี่ยวกับการบำบัดความไคร่ เกิดจากการตีความสถานะโสดของพระเยซู โดยถือว่าพระเยซูครองโสดก็เพราะเพศสัมพันธ์เป็นสิ่งต่ำทราม ด้วยเหตุนี้เองที่นักบุญและบาทหลวงคริสต์(หลายนิกาย)เชื่อว่าการไม่แตะต้องอิสตรีตลอดชีวิตถือเป็นเงื่อนไขสำหรับพัฒนาการทางจิตวิญญาณ ซึ่งโป๊ปก็ได้รับเลือกจากบุคคลเหล่านี้เท่านั้น

การครองโสดของบาทหลวงและพระคาร์ดินัลทำให้เริ่มเกิดทัศนคติที่ว่าสตรีเป็นเพศแห่งราคะและการเย้ายวนและถือเป็นซาตานขั้นเบื้องต้น โดยทั่วไปแล้วบุรุษเพศจะไม่ทำบาป แต่เพราะการยั่วยวนของอิสตรีจึงทำให้บุรุษเพศกระทำบาป คนกลุ่มนี้เล่าเรื่องนบีอาดัมกับพระนางเฮาวาว่า จริงๆแล้วซาตานไม่อาจจะยุแหย่อาดัมได้ จึงได้เกลี้ยกล่อมอีฟก่อน แล้วให้อีฟเกลี้ยกล่อมอาดีมอีกทอดหนึ่ง ฉะนั้นซาตานตัวจริงจะหลอกล่อสตรี แล้วให้สตรีหลอกล่อบุรุษ แต่คัมภีร์อัลกุรอานได้สวนทัศนคติเช่นนี้ โดยมิได้ถือว่าเพศใดเป็นหลักและอีกเพศเป็นเสมือนกาฝาก ทั้งนี้ก็เพราะกุรอานปรารภว่าเราได้บัญชาแก่ทั้งสองว่าเธอทั้งสองจงอย่าเข้าใกล้ต้นไม้ต้นนี้และยังกล่าวอีกว่าชัยฏอนได้หลอกลวงเขาทั้งสองมิได้กล่าวว่าหลอกลวงสตรีหนึ่งและนางหลอกลวงสามีอีกทอดหนี่ง นบีอาดัมพลาดพลั้งหลงเชื่อชัยฏอนเท่าๆกับที่พระนางเฮาวาหลงเชื่อ และอาจเป็นเพราะต้องการพิทักษ์สถานะของสตรีเพศกระมังที่กุรอานนับว่าท่านหญิงมัรยัมเป็นหนึ่งในนักบุญผู้ยิ่งใหญ่

คริสตจักรอนุมัติให้สมรสได้ก็เนื่องจากต้องคงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์มนุษย์ ในขณะที่อิสลามถือว่าการสมรสคือจารีตของศาสดา โดยเชื่อว่าหากผู้ใดทำการสมรส ถือว่าครึ่งหนึ่งของศาสนาของเขาได้รับการเติมเต็มแล้ว ส่วนผู้ที่ยังไม่มีโอกาสสมรสก็ให้สำรวมตนเพื่อควบคุมกามารมณ์ไปก่อน
ท้ายนี้ขอนำเสนอฮะดีษที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
ท่านอิมามริฎอ(.)กล่าวว่าหากแม้ไม่มีคำสั่งให้ผู้คนต้องสมรสกัน เพียงพอแล้วที่คุณานุประโยชน์ที่พระองค์ทรงกำหนดไว้สำหรับการนี้จะโน้มนำผู้มีความคิดให้แสวงหาการสมรส”(อย่างเช่นคุณประโยชน์ด้านสังคมอาทิเช่นการกระชับสัมพันธ์กับผู้อื่น)
ท่านนบี(..)กล่าวว่าจงหาคู่ครองให้ชายโสดเถิด เพื่อมารยาทของพวกเขาจะดีขึ้น ปัจจัยยังชีพจะกว้างขวางยิ่งขึ้น และความเป็นชายชาตรีจะเพิ่มมากขึ้น[5]
มีหญิงคนหนึ่งกล่าวต่อท่านอิมามศอดิก(.)ว่า ดิฉันเป็นหญิงที่สละแล้วซึ่งโลกย์ ท่านอิมามถามว่า เธอหมายความว่าอย่างไร? นางตอบว่า ดิฉันไม่คิดจะแต่งงาน อิมามถามว่า เพราะอะไรหรือ? นางตอบว่า เพราะดิฉันหวังจะได้รับผลบุญ อิมามกล่าวว่า จงกลับไปเถิด หากการครองโสดถือเป็นความประเสริฐแล้วล่ะก็ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ที่มีความประเสริฐเหนือสตรีทั้งมวลย่อมจะปฏิบัติเช่นนี้ก่อนเธอเป็นแน่!
มีรายงานจากท่านนบี(..)ว่า ประตูแห่งฟากฟ้าจะเปิดกว้างในสี่เวลา 1. ขณะฝนตก 2. ขณะที่บุตรมองใบหน้าบิดา 3. ขณะที่ประตูกะอ์บะฮ์เปิดออก 4. ขณะที่มีการอักด์สมรส[6]
ท่านอิมามศอดิก(.)กล่าวว่านมาซเพียงสองร่อกะอัตของชายที่มีภรรยาเหนือกว่านมาซของชายโสดกว่าเจ็ดสิบร่อกะอัต[7]
มีฮะดีษระบุว่า ผู้ใดไม่ยอมสมรสเนื่องจากกลัวความยากจน แสดงว่าเขาดูแคลนพระองค์ เพราะพระองค์ทรงตรัสว่า หาก(ชาย)เป็นผู้ยากไร้ พระองค์จะทรงประทานความโปรดปรานแก่เขาให้สมปรารถนา[8]
ฮะดีษมากมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า ไม่เพียงแต่อิสลามจะไม่รังเกียจการสมรสเท่านั้น แต่ยังรณรงค์ให้กระทำในฐานะที่เป็นมุสตะฮับ(ซุนนัต)

อย่างไรก็ดี ไม่ได้หมายความว่าอิสลามจะอนุมัติให้สมรสโดยไม่พิจารณาความเหมาะสมใดๆเลย เนื่องจากสังคมที่ดีย่อมเกิดจากครอบครัวที่ดี และครอบครัวที่ดีย่อมเกิดจากการสมรสที่เหมาะสมและตั้งอยู่บนการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเท่านั้น[9]
กล่าวคือ อิสลามได้นำเสนอมาตรฐานและหลักเกณฑ์ที่ดีเยี่ยมแก่เรา โดยได้ประมวลคุณลักษณะที่คู่ครองพึงมีไว้ซึ่งจะขอนำเสนอโดยสังเขปดังนี้
1. ควรมีศรัทธาที่แท้จริง เนื่องจากผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์กับพระเจ้าย่อมมีความน่าเชื่อถือมากกว่า
2. ควรมีจรรยามารยาทในชีวิต เพื่อเพิ่มความสุขและความชื่นฉ่ำใจแก่สมาชิกครอบครัว มีฮะดีษระบุว่าการมีคู่ครองที่นิสัยดุร้ายจะทำให้บุคคลแก่กว่าวัย
3. ควรมีครอบครัวที่ดีและเหมาะสม ท่านนบี(..)กล่าวว่าจงหลีกเลี่ยงต้นกล้าที่งอกเงยจากกองขยะ อันหมายถึงสตรีเลอโฉมที่เติบโตในครอบครัวที่ไม่ดีและกุรอานระบุว่า เราได้สร้างบุรุษและสตรีเพื่อกันและกัน และเป็นแหล่งพักพิงอันสงบของกันและกัน และถือว่าสตรีถือเป็นสิ่งดีๆในชีวิตบุรุษเพศ
4. ไม่ควรกำหนดมะฮัรมากเกินไป ท่านนบี(..)กล่าวว่าสตรีที่ประเสริฐสุดในประชาชาติของฉันคือสตรีที่เลอโฉมกว่าแต่ตกมะฮัรน้อยกว่า
5. ไม่ควรเน้นพิธีรีตองที่ไม่จำเป็น หรือมีการรื่นเริงเกินขอบเขต อันจะทำให้ประตูแห่งความพิโรธของพระองค์จะเปิดออกแก่คู่สมรสแทนความโปรดปราน ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็อาจทำให้ชีวิตคู่อาจไม่ได้รับความราบรื่นในอนาคต

ศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือต่อไปนี้
1. จริยธรรมทางเพศในอิสลามและโลกอรับ,ชะฮีดมุเฏาะฮะรี
2. การแต่งงานในทัศนะอิสลาม,แปลโดยอะห์มัด ญันนะตี
3. ท่านหญิงซะฮ์รอ, ฟัฎลุลลอฮ์ โคมพอนี



[1] วะซาอิลุชชีอะฮ์,เชคฮุร อามิลี,เล่ม 20,หน้า 35

[2] บิอารุ้ลอันว้าร,มุฮัมมัดบากิร มัจลิซี,เล่ม 103,หน้า 222

[3] วะซาอิลุชชีอะฮ์,เชคฮุร อามิลี,เล่ม 20,หน้า 166

[4] ซูเราะฮ์ อัรรูม, 21
و من آیاته ان خلق لکم من انفسکم ازواجا لتسکنوا الیها و جعل بینکم مودة و رحمة ان فی ذلک ‏لآیات لقوم ‏یتفکرون

[5] อันนะวาดิร,รอวันดี,หน้า 36

[6] บิอารุ้ลอันว้าร,เล่ม 100,หน้า 221, หมวด 1 کراهة العزوبة و الحث على...

[7] อ้างแล้ว

[8] อัลกาฟี,เล่ม 5,หน้า 331

[9] ดู: บทความ: ความสำคัญของการสมรสในทัศนะอิสลามและศึกษาเปรียบเทียบกับทัศนคติของคริสเตียน,พู้รซัยยิดี

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เมืองมะดีนะถูกสร้างขึ้นเมื่อใด?
    10826 ประวัติสถานที่ 2557/02/16
    นครมะดีนะฮ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอรับ และตั้งอยู่ทางทิศเหนือของนครมักกะฮ์อันทรงเกียรติ โอบล้อมด้วยหินกรวดทางทิศตะวันออกและตะวันตก เมืองนี้มีภูเขาหลายลูก อาทิเช่น ภูเขาอุฮุดทางด้านเหนือ ภูเขาอัยร์ทางใต้ ภูเขาญะมะรอตทางทิศตะวันตก มะดีนะฮ์มีหุบเขาในเมืองสามแห่งด้วยกัน คือ 1. อะกี้ก 2. บัฏฮาต 3. เกาะน้าต[1] เกี่ยวกับการสถาปนานครมะดีนะฮ์นั้น สามาถวิเคราะห์ได้สองช่วง 1. ก่อนยุคอิสลาม 2. หลังยุคอิสลาม 1. ก่อนยุคอิสลาม กล่าวกันว่าภายหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมโลกในยุคของท่านนบีนู้ห์ (อ.) มีผู้อยู่อาศัยในนครยัษริบ (ชื่อเดิมของมะดีนะฮ์) สี่กลุ่มด้วยกัน 1.1. ลูกหลานของอะบีล ซึ่งเป็นผู้รอดชีวิตจากสำเภาของท่านนบีนูห์ที่เทียบจอด ณ ภูเขาอารารัต ได้ตั้งถิ่นฐาน ณ เมืองยัษริบ ซึ่งเมืองยัษริบเองก็มาจากชื่อของบรรพชนรุ่นแรกที่ตั้งรกราก นามว่า ยัษริบ บิน อะบีล บิน เอาศ์ ...
  • ฮะดีษทุกบทที่กล่าวถึงการมุตอะฮ์เชื่อถือได้หรือไม่?
    8430 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/03
    การสมรสชั่วคราวถือเป็นหนึ่งในขนบธรรมเนียมแห่งอิสลามที่กุรอานได้อนุญาตไว้ขนบธรรมเนียมอันดีงามนี้มีการถือปฏิบัติกันในสังคมมุสลิมยุคท่านนบี(ซ.ล.)และเคาะลีฟะฮ์คนแรกตลอดจนระยะแรกของยุคเคาะลีฟะฮ์คนที่สองกระทั่งเขาได้สั่งห้ามในที่สุดแต่บรรดาอิมามมะอ์ศูมีนมักจะรณรงค์ให้มีการสมรสประเภทนี้ต่อไปเนื่องจากขนบธรรมเนียมทางศาสนาดังกล่าวถูกสั่งห้ามอย่างไม่ชอบธรรมอย่างไรก็ดีฮะดีษที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ควรได้รับการกลั่นกรองสายรายงานและเนื้อหาเสมือนฮะดีษอื่นๆทั่วไปซึ่งจะแจกแจงในคำตอบแบบสมบูรณ์ต่อไปนอกจากนี้ยังต้องพิจารณาสภาพสังคมในยุคของอิมามด้วย ...
  • บุคคลย้ำคิดย้ำทำที่ได้รับการอนุโลม ถามว่าได้รับการอนุโลมข้อสงสัยทุกประเภทหรือไม่?
    10861 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/18
    ตามหลัก “لاشکّلکثیرالشک”แล้ว ผู้ที่ชอบย้ำคิดย้ำทำ(ช่างสงสัย) ไม่ควรให้ความสำคัญแก่การสงสัยของตน อุละมาส่วนใหญ่เชื่อว่าหลักการนี้มิได้จำกัดเฉพาะกรณีการนมาซเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอะมั้ลที่กระทำก่อนนมาซ อาทิเช่น การอาบน้ำนมาซ, ฆุสุลและตะยัมมุม, อีกทั้งรวมไปถึงชุดอิบาดะฮ์อย่างเช่นการทำฮัจย์ และครอบคลุมถึงการทำธุรกรรม และประเด็นความศรัทธาด้วย อุละมายกหลักฐานสนับสนุนทัศนะของตนอันได้แก่ หลักการ لا
  • ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับจริยศาสตร์คืออะไร? สิ่งไหนครอบคลุมมากกว่ากัน? และการตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์กับจริยธรรมอันไหนครอบคลุมมากกว่า?
    21429 จริยธรรมทฤษฎี 2555/04/07
    คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน,ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี นักวิชาการด้านจริยศาสตร์,และนักปรัชญาได้ตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้มากมาย. ซึ่งในหมู่การตีความทั้งหลายเหล่านั้นของนักวิชาการสามารถนำมารวมกัน และกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า “อัคลาก ก็คือคุณภาพทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม หรือพฤติกรรมอันเหมาะสมของมนุษย์ที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตน” สำหรับ ศาสตร์ด้านจริยธรรมนั้น มีการตีความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งในคำอธิบายเหล่านั้นเป็นคำพูดของท่าน มัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุลสะอาดะฮฺว่า : ความรู้ (อิลม์) แห่งจริยศาสตร์หมายถึง การรู้ถึงคุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ” ส่วนการครอบคลุมระหว่างจริยธรรมกับศาสตร์แห่งจริยธรรมนั้น มีคำกล่าวว่า,ความแตกต่างระหว่างทั้งสองมีอยู่เฉพาะในทฤษฎีเท่านั้นเอง ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากจะกล่าวว่า สิ่งไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด ...
  • มีข้อแนะนำใดบ้างที่คุณพ่อและคุณแม่ควรปฏิบัติก่อนคลอดบุตร?
    13154 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/21
    มีข้อแนะนำบางอย่างที่คุณพ่อและคุณแม่ควรปฏิบัติก่อนจะมีบุตรอาทิเช่นปฏิบัติศาสนกิจอย่างครบถ้วนปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการร่วมหลับนอนบริโภคอาหารที่ฮะลาลและสะอาดโดยเฉพาะผลไม้นานาชนิดเข้ารับการตรวจโรคทางพันธุกรรมงดความเครียด  มองทิวทัศน์ที่สวยงามรักษาสุขอนามัยออกกำลังกายฯลฯหากปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ได้ครบถ้วนก็จะทำให้มีสมาชิกครอบครัวที่มีสุขภาพดีและประสบความสำเร็จในชีวิตส่งผลให้สังคมก้าวสู่ความผาสุกในอุดมคติ ...
  • ศาสดาอาดัม (อ.) และฮะวามีบุตรกี่คน?
    13744 تاريخ بزرگان 2554/06/22
    เกี่ยวกับจำนวนบุตรของศาสดาอาดัม (อ.) และท่านหญิงฮะวามีความคล้ายคลึงกับเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั่นหมายถึงไม่มีทัศนะที่จำกัดที่ตายตัวแน่นอนว่าต้องเป็นเช่นนั้นเพียงประการเดียวเนื่องจากตำราที่เชื่อถือได้ทางประวัติศาสตร์มีความขัดแย้งกันในเรื่องชื่อและจำนวนบุตรของท่านศาสดาการที่เป็นที่เช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าช่วงเวลาที่ยาวนานของพวกเขากับช่วงเวลาการบันทึกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์หรืออาจเป็นเพราะชื่อไม่มีความสำคัญสำหรับพวกเขาก็เป็นได้และฯลฯกอฎีนาซิรุดดีนบัยฏอวีย์ได้บันทึกไว้ในหนังสือของท่านเกี่ยวกับจำนวนบุตรของท่านศาสดาอาดัม (อ.) กับท่านหญิงฮะวากล่าวว่า:ทุกครั้งที่ท่านหญิงฮะวาตั้งครรภ์จะได้ลูกเป็นแฝดหญิงชายเสมอเขาได้เขียนไว้ว่าท่านหญิงฮะวาได้ตั้งครรภ์ถึง 120
  • มุสลิมะฮ์ท่านใดที่พูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี?
    7340 تاريخ بزرگان 2554/06/11
    มุสลิมะฮ์ท่านนี้ก็คือฟิฎเฎาะฮ์ทาสีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซึ่งตำราชั้นนำต่างระบุว่านางพูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี. ...
  • สามารถจะติดต่อกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้หรือไม่?
    6950 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/19
    โดยทั่วไป สัมพันธภาพจะไม่เกิดขึ้นระหว่างคนแปลกหน้าสองคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน นอกจากจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้จักและมีไมตรีจิตต่อฝ่ายตรงข้าม จึงจะค่อยๆสานเป็นความสัมพันธ์อันดีต่อกันในอนาคตกรณีของท่านอิมามมะฮ์ดีก็เช่นกัน ท่านรู้จักเราและมีไมตรีจิตต่อเราอย่างอบอุ่น  แต่เราซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งของสายสัมพันธ์ หากได้รู้จักฐานะภาพของท่านอย่างแท้จริง ก็จะทำให้สามารถสานสัมพันธ์และติดต่อกับท่านได้ ดังที่อุละมาอ์ระดับสูงหรือผู้ที่สำรวมตนขัดเกลาจิตใจบางท่านสามารถติดต่อกับท่านอิมาม(อ.)ได้ในอดีตกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การสานสัมพันธ์กับท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)นั้น แบ่งออกเป็นสองประเภท 1.เชื่อมสัมพันธ์ทางจิตใจ 2.เชื่อมสัมพันธ์ในระดับการเข้าพบ อย่างไรก็ดี แม้ว่าความสัมพันธ์ทั้งสองประเภทนี้จะมิไช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อม แต่หากต้องการจะมีความสัมพันธ์ในระดับเข้าพบ ก็จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษ กล่าวคือ จะต้องมีสัมพันธภาพทางจิตใจพร้อมกับจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆที่จำเป็นด้วย จึงจะถือเป็นการตระเตรียมโอกาสที่จะได้เข้าพบท่าน(อ.) ...
  • เงื่อนไขถูกต้องสำหรับการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เป็นเช่นไร?
    6583 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับศาสนาอื่นที่มองเห็นความต้องการของมนุษย์เพียงด้านเดียวและให้ความสนใจเฉพาะด้านวัตถุปัจจัยหรือด้านจิตวิญาณเพียงอย่างเดียว, อิสลามได้เลือกสายกลาง. เพื่อเป็นครรลองดำเนินชีวิตถูกต้องแก่ประชาชาติโดยให้มนุษย์เลือกใช้ความโปรดปรานต่างๆจากพระเจ้าอย่างถูกต้องและถูกวิธี
  • เพราะเหตุใดชีอะฮฺจึงตั้งชื่อตนเองว่า อับดุลฮุซัยนฺ (บ่าวของฮุซัยนฺ) หรืออับดุลอะลี (บ่าวของอะลี) และอื่นๆ? ขณะที่อัลลอฮฺตรัสว่า : จงนมัสการและเป็นบ่าวเฉพาะข้าเท่านั้น
    8035 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    1.คำว่า “อับดฺ” ในภาษาอาหรับมีหลายความหมายด้วยกัน : หนึ่ง หมายถึงบุคคลที่ให้การเคารพ นอบน้อม และเชื่อฟังปฏิบัติตาม, สอง บ่าวหรือคนรับใช้ หรือผู้ถูกเป็นเจ้าของ 2. สถานภาพอันสูงส่งของบรรดาอิมาม (อ.) ผู้บริสุทธิ์นั้นเองที่เป็นสาเหตุทำให้บรรดาผู้เจริญรอยตาม ต้องการเปิดเผยความรักและความผูกพันที่มีต่อบรรดาท่านเหล่านั้น จึงได้ตั้งชื่อบุตรหลานว่า “อับดุลฮุซัยนฺ หรืออับดุลอะลี” หรือเรียกตามภาษาฟาร์ซีย์ว่า ฆุล่ามฮุซัยนฺ ฆุล่ามอะลี และ ...อื่นๆ 3.คนรับใช้ นั้นแน่นอนว่ามิได้หมายถึงการช่วยเหลือทางโลก หรือเฉพาะการดำรงชีพในแต่ละวันเท่านั้น, ทว่าสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าและมีค่ามากไปกว่านั้นคือ การฟื้นฟูแนวทาง แบบอย่าง และการเชื่อฟังผู้เป็นนายั่นเอง, เนื่องจากแม้ร่างกายของเขาจะไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้ว, แต่จิตวิญญาณของเขายังมีชีวิตและมองดูการกระทำของเราอยู่เสมอ 4.วัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์คำว่า “อับดฺ” ในการตั้งชื่อตามกล่าวมา (เช่นอับดุลฮุซัยนฺ) เพียงแค่ความหมายว่าต้องการเผยให้เห็นถึงความรัก และการเตรียมพร้อมในการรับใช้เท่านั้น ถ้าเป็นเพียงเท่านี้ถือว่าเหมาะสมและอนุญาต, ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60363 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57911 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42462 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39734 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39118 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34219 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28263 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28187 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28128 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26068 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...