Please Wait
7675
1.คำว่า “อับดฺ” ในภาษาอาหรับมีหลายความหมายด้วยกัน : หนึ่ง หมายถึงบุคคลที่ให้การเคารพ นอบน้อม และเชื่อฟังปฏิบัติตาม, สอง บ่าวหรือคนรับใช้ หรือผู้ถูกเป็นเจ้าของ
2. สถานภาพอันสูงส่งของบรรดาอิมาม (อ.) ผู้บริสุทธิ์นั้นเองที่เป็นสาเหตุทำให้บรรดาผู้เจริญรอยตาม ต้องการเปิดเผยความรักและความผูกพันที่มีต่อบรรดาท่านเหล่านั้น จึงได้ตั้งชื่อบุตรหลานว่า “อับดุลฮุซัยนฺ หรืออับดุลอะลี” หรือเรียกตามภาษาฟาร์ซีย์ว่า ฆุล่ามฮุซัยนฺ ฆุล่ามอะลี และ ...อื่นๆ
3.คนรับใช้ นั้นแน่นอนว่ามิได้หมายถึงการช่วยเหลือทางโลก หรือเฉพาะการดำรงชีพในแต่ละวันเท่านั้น, ทว่าสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าและมีค่ามากไปกว่านั้นคือ การฟื้นฟูแนวทาง แบบอย่าง และการเชื่อฟังผู้เป็นนายั่นเอง, เนื่องจากแม้ร่างกายของเขาจะไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้ว, แต่จิตวิญญาณของเขายังมีชีวิตและมองดูการกระทำของเราอยู่เสมอ
4.วัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์คำว่า “อับดฺ” ในการตั้งชื่อตามกล่าวมา (เช่นอับดุลฮุซัยนฺ) เพียงแค่ความหมายว่าต้องการเผยให้เห็นถึงความรัก และการเตรียมพร้อมในการรับใช้เท่านั้น ถ้าเป็นเพียงเท่านี้ถือว่าเหมาะสมและอนุญาต, เนื่องจากการตั้งชื่อว่า อับดุลฮุซัยนฺ ในความหมายว่า ภักดีคือเป็นบ่าวทาสรับใช้ ส่อไปในทางของการตั้งภาคีย่อมได้รับความโกรธกริ้วจากอัลลอฮฺ แน่นอน
5.ชื่อเหล่านี้มิได้มีกล่าวไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์แต่อย่างใด นอกจากนั้นคำแนะนำของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ ได้แนะนำให้ตั้งชือว่า อะลี ฮะซัน และฮุซัยนฺ มุฮัมมัด หรืออับดุรเราะฮฺมานมากกว่า
คำว่า “อับดฺ” ในภาษาอาหรับมีหลายความหมายด้วยกัน : หนึ่ง หมายถึงบุคคลที่ให้การเคารพ นอบน้อม และเชื่อฟังปฏิบัติตาม, สอง บ่าวหรือคนรับใช้ หรือผู้ถูกเป็นเจ้าของ[1] (ในอีกที่หนึ่งคำว่า อาบิด หมายถึงผู้รับใช้) ตามหลักภาษาอาหรับแล้ว ความหมายทั้งสองนี้ ถือเป็นความหมายที่ดีและได้รับการยอมรับ เช่น อัลกุรอาน ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการใช้ภาษาอาหรับ ซึ่งได้ใช้ทั้งสองความหมาย
ก. ความหมายแรก: «یا ایها الناس اعبدوا ربکم الذی خلقکم...»[2]
หรือโองการกล่าวว่า [3]«قال انی عبدالله آتانی الکتاب...»
ทั้งสองโองการนี้จะสังเกตเห็นว่า อัลลอฮฺทรงถือว่าการแสดงความเคารพภักดี คู่ควรและเหมาะสมเฉพาะพระองค์เท่านั้น
ข. ความหมายที่สอง : « ضرب الله مثلاً عبداً مملوکاً لایقدر علی شیء...»[4]
โองการนี้กล่าวถึงความอ่อนแอของเทวรูปเมื่ออยู่ต่ออำนาจอันยิ่งใหญ่ของพระผู้อภิบาล โดยเปรียบเทียบว่า บ่าวของข้าที่ไร้ความสามารถและอ่อนแอเมื่ออยู่ต่อหน้าบุรุษที่มีอิสระ ซึ่งมากด้วยทรัพย์สิน และเขาได้บริจาคแก่คนยากจน
ความสูงส่งและความมีเกียรติยิ่งของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เป็นสาเหตุสำคัญทำให้บรรดามุสลิม (ชีอะฮฺ) มีความปิติและยกย่องในความสูงศักดิ์ของท่านเหล่านั้น พวกเขาจึงแสดงออกด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อบ่งบอกให้เห็นถึงความรัก และความผูกพันของพวกเขาที่มีต่อบรรดาอิมาม ดังนั้น การตั้งชื่อว่า อับดุลฮุซัยนฺ และ ...หรือตั้งตามภาษาฟาร์ซียฺว่า ฆุล่ามฮุซัยนฺ ฆุล่ามริฎอ และ... ก็เพื่อบ่งบอกให้เห็นถึงความรักและความผูกพันที่มีต่อครอบครัวของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ผู้สะอาดบริสุทธิ์ทั้งหลาย
แต่สำหรับคำตอบที่ว่า ภายหลังจากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้ชะฮีดแล้ว มีวัตถุประสงค์อะไรในการตั้งชื่อว่า อับดุลฮุซัยนฺ ขอตอบว่า : หนึ่งเนื่องจากการับใช้และการบริการหรือการยอมตนเป็นบ่าวของบรรดาอิมามมะอฺซูม มิได้เป็นความจำเป็นสำหรับโลกนี้, ทว่าการรำลึกถึงท่านเหล่านั้น การให้เกียรติ การยึดมั่นอยู่กับแนวทางหรือแบบอย่างของท่าน, กี่มากน้อยแล้วที่มีผู้รับใช้อิมามต่างกาลเวลา มีเกียรติและมีความประเสริฐยิ่งกว่าบ่าว ที่รับใช้ชีวิตทางโลกในยุคสมัยที่ท่านอิมามมีชีวิตอยู่เสียด้วยซ้ำไป. สอง การเป็นชะฮีดของบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) เฉพาะร่างกายเท่านั้นที่สูญสิ้นไป, แต่จิตวิญญาณอันสูงส่งของท่านยังมีชีวิตอยู่เสมอ ดังที่เราได้อ่านในบทซิยาเราะฮฺบรรดาอะอิมมะฮฺผู้บริสุทธิ์ว่า
«و اشهد انک تسمع کلامی و ترد سلامی» หมายถึงท่านได้ยินเสียงอ่านของเรา และตอบรับสลามของเรา[5] ดังนั้น ผู้เป็นนายของพวกเขายังมีชีวิตอยู่เสมอ แม้จะไม่มีกายแต่มิได้ตายจากไปไหน เพื่อว่าบ่าวเหล่านี้จะได้ถอดถอนมือออกจากพวกเขา, ทว่าพวกเขายังมีชีวิตอยู่ ท่านเหล่านั้นมองเห็นและล่วงรู้ถึงการกระทำของเราตลอดเวลา. สาม การรับใช้ของบุคคลหนึ่งที่มีต่อแขกผู้มาเยี่ยมเยือนสถานฝังศพของบรรดาอิมาม ไม่มีความแตกต่างกันไม่ว่าอิมามจะจากไปแล้วหรือยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม ฉะนั้น บุคคลที่ได้รับใช้บรรดาผู้มาเยี่ยมเยือนสถานฝังศพบรรดาอิมามในทุกรูปแบบ ผู้รับใช้นั้นก็จะเป็นบ่าวหรือคนรับใช้ของท่านอิมามเสมอไป
สิ่งจำเป็นต้องกล่าวถึงคือ คำว่า อุบูดียะฮฺ หมายถึงการแสดงความเคารพภักดี, การแสดงความนอบน้อมถ่อมตน และการเชือ่ฟังปฏิบัติตาม ต่อผู้เป็นนายหรือผู้มีกรรมสิทธิ์เหนือเรา, นั่นคือ อัลลอฮฺพระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดิน ดั่งที่กล่าวไว้ในโองการแรกว่า (โอ้ บรรดาปวงมนุษย์เอ๋ย) ด้วยเหตุนี้ จะพบว่าปรัชญาของการแสดงความเคารพภักดีคือ บุคคลนั้น ต้องมีความคู่ควร เหมาะสม เพราะอิบาดะฮฺนั้นเป็นอมัลเฉพาะเจาะจงสำหรับบุคคลผู้ซึ่ง หนึ่ง ได้สร้างเรามา, สอง อบรมสั่งสอนและให้การเลี้ยงดูเรา, ดังนั้น ถ้าหากวัตถุประสงค์ของบุคคลในการตั้งชื่อตามที่กล่าวมาในความหมายแรกของ อับดฺ (การแสดงความภักดี) ถือว่าออกนอกอิสลามและความศรัทธา และเป็นชิริก
ด้วยเหตุนี้เอง ในสังคมที่คาดว่าจะมีการใส่ร้ายหรือคิดไปในแง่ไม่ดี บรรดาอิมาม (อ.) จึงได้แนะนำชื่อที่ดีกว่าไว้เป็นจำนวนมาก เช่น รายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : »กล่าวกับผู้รายงานว่า เธอจงตั้งชื่อบุตรหลานของเธอเมื่อฟังแล้วบ่งบอกให้เห็นว่าเขาเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ เช่น อับดุรเราะฮฺมาน«[6] ทำนองเดียวกันรายงานกล่าวว่า ท่านได้แนะนำให้ตั้งชื่อบุตรว่า “มุฮัมมัด”[7] หรือเป็นที่ทราบกันดีท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้ตั้งชื่อบุตรชายทั้งสามคนของท่านว่า “อะลี”[8]
เมื่อได้ศึกษาประวัติศาสตร์ และหนังสือริญาลเข้าใจได้กว่า นามชื่อเช่น อับดุลอะอฺลา อับดุลมะญีด อัลดุสสลาม และ..ได้รับการแนะนำไว้อย่างมาก[9] ส่วนนามชื่อ เช่น อับดุลฮุซัยนฺ หรือนามที่คล้ายคลึงกันนี้ในสมัยก่อนมิได้รับความนิยมมากเท่าใดนัก, และมิเคยปรากฏในหนังสือริญาลแต่อย่างใด, แต่หลังจากทั้งหมดได้ทราบถึงเกียรติยศ และฐานันดรอันสูงศักดิ์ของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) และเมื่อสังคมมีความเสรีในด้านการอภิปราย และบรรยายสาระของศาสนา ประชาชนจึงมีความประสงค์ที่เผยความรัก และความผูกพันของตนที่มีต่อบรรดาอิมามผู้ยิ่งใหญ่เหล่านั้น จึงได้ตั้งชื่อบุตรหลานของตนตามชื่อของบรรดาอิมามเหล่านั้น
สรุป :
สิ่งที่สามารถสรุปได้ตรงนี้คือ นามชื่อเช่น อับดุลริฎอ อับดุลอะลี และ ..เป็นการเผยให้เห็นถึงความรักและความเตรียมพร้อมการรับใช้บรรดาอิมาม, เป็นการประกาศว่าทุกย่างก้าวจะเจริญรอยตามบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) แม้ว่าท่านเหล่านั้นจะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม และถ้านามชื่อเหล่านั้นได้ถูกตั้งขึ้นในที่ๆ ซึ่งไม่เกรงว่าจะนำไปสู่ชิริกแล้ว ถือว่าไม่เป็นไร, แม้ว่าจะสามารถเลือกนามชื่อที่ดีกว่าซึ่งได้รับการแนะนำจากบรรดาอิมามไว้ก็ตาม แต่ถ้าไม่ต้องการตกเป็นเป้าโจมตีของผู้ที่ชอบหาข้ออ้าง หรือข้อตำหนิแล้วละก็ดีกว่าให้หลีกเลี่ยงนามชื่อเหล่านี้
[1] ความหมายแรก «ان العامة اجتمعوا علی تفرقه مابین عبادالله والعبید المملوکین» มะกอยีซ อัลลุเฆาะฮฺ, เล่ม 4, หน้า 205.
[2]»โอ้ มนุษย์เอ๋ย จงเคารพภักดีพระผู้อภิบาลของพวกเจ้า ผู้ทรงบังเกิดพวกเจ้า« บทบะเกาะเราะฮฺ, 21
[3]» กล่าวว่า แท้จริงฉันเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ« บทมัรยัม, 30.
[4]»อัลลอฮฺทรงยกอุทาหรณ์ถึงบ่าวผู้เป็นทาสคนหนึ่ง ซึ่งไม่มีอำนาจในสิ่งใด« บทอันนะฮฺลุ, 75.
[5] ซิยาเราะฮฺอิมามริฎอ (อ.) มะฟาตีฮุลญินาน.
[6] วะซาอิล อัชชีอะฮฺ, เล่ม 7, หน้า 125.
[7] อ้างแล้วเล่มเดิม
[8] อะลีอักบัร, อะลีเอาซัต, และอะลีอัซฆัร.
[9] มุอฺญิมษะกอต, เล่ม 9, หน้า 255-356, เล่ม 10 และ 11