Please Wait
21231
คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน,ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี
นักวิชาการด้านจริยศาสตร์,และนักปรัชญาได้ตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้มากมาย. ซึ่งในหมู่การตีความทั้งหลายเหล่านั้นของนักวิชาการสามารถนำมารวมกัน และกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า “อัคลาก ก็คือคุณภาพทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม หรือพฤติกรรมอันเหมาะสมของมนุษย์ที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตน”
สำหรับ ศาสตร์ด้านจริยธรรมนั้น มีการตีความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งในคำอธิบายเหล่านั้นเป็นคำพูดของท่าน มัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุลสะอาดะฮฺว่า : ความรู้ (อิลม์) แห่งจริยศาสตร์หมายถึง การรู้ถึงคุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ”
ส่วนการครอบคลุมระหว่างจริยธรรมกับศาสตร์แห่งจริยธรรมนั้น มีคำกล่าวว่า,ความแตกต่างระหว่างทั้งสองมีอยู่เฉพาะในทฤษฎีเท่านั้นเอง ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากจะกล่าวว่า สิ่งไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด
อัคลากในความหมายด้านภาษา
คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน[1],ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี
อัคลากในความหมายของนักปราชญ์
นักวิชาการด้าน อิลมุอัคลาก ได้อธิบายความหมายของ อัคลาก ไว้จำนวนมากมาย เช่น :
ก) บางคนกล่าวว่า อัคลาก หมายถึง ความเคยชินทางจิตวิญญาณ กล่าวคือสิ่งนี้เป็นตัวกำหนดการงานต่างๆ ที่ออกมาจากมนุษย์ โดยมิต้องอาศัยการคิดหรือการใคร่ครวญแต่อย่างใด
ข) บางคนกล่าวว่า อัคลาก จะใช้ได้เฉพาะสิ่งที่เป็นความดีทางความประพฤติเท่านั้น และมักจะใช้กับสิ่งที่ต่อต้านอัคลาก
ค) บางครั้งก็หมายถึงพื้นฐานด้านจริยธรรมในการดำเนินชีวิต[2]
ด้วยเหตุนี้ คำว่า อัคลาก ตามความหมายในทัศนะของนักปราชญ์จึงถูกอธิบายในความหมายที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งไม่อาจนำสิ่งนั้นมารวมกันได้โดยละเอียด, แต่สามารถนำเอา อัคลาก ในทัศนะของนักปราชญ์อิสลามมารวมกันในความหมายกว้างๆ ได้ อันได้แก่ “อัคลาก” ที่หมายถึงการจาริกสำหรับจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งความประพฤติที่เหมาะสมได้ถูกปฏิบัติออกมาจากมนุษย์” หมายถึงถ้าการจาริกสำหรับจิตวิญญาณนั้นดีเขาก็จะปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี แต่ถ้าเป็นการจาริกไม่ดี การกระทำของเขาก็จะไม่ดีตามไปด้วย, ฉะนั้น อัคลาก จึงแบ่งเป็นอัคลากดี, อัคลากไม่ดี, ซึ่งการจาริกจิตใจอาจเป็นไปได้ว่าอาจออกมาในรูปลักษณ์ที่ไม่ดี หรืออาจเป็นไปในลักษณะของความเคยชินแห่งจิตใจ
จริยศาสตร์ :
สำหรับ จริยศาสตร์ นั้นได้มีการตีความไว้จำนวนมากมาย เช่น
นักวิชาการอิสลามและนักวิชาการตะวันตกได้นำเสนอการตีความสำหรับ จริยศาสตร์ ไว้มากมาย ซึ่งจะขอนำเสนอบางประการดังต่อไปนี้
ก) บางคนกล่าวว่า “อิลมุลอัคลาก” หมายถึงศาสตร์ที่ค้นหาความประพฤติอันดีงาม ซึ่งบนพื้นฐานดังกล่าว จะสร้างสรรค์ให้การกระทำและบุคลิกภาพของบุคคลนั้นดี[3]
ข) มีบางคนเรียกว่า ศาสตร์ แห่งวิธีการดำเนินชีวิต[4]
ค) บางคนได้ตีความ อัคลาก ตามความหมายเชิงภาษาของคำว่า อัคลาก, เช่น ตีความ อิลมุอัคลาก ว่าหมายถึง ความตระหนัก ศาสตร์และความรู้เกี่ยวกับนิสัย มารยาท และความเคยชินของมนุษย์[5]
ง) ท่านมัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุสสะอาดะฮฺ ว่า อิลมุลอัคลาค คือ การรอบรู้คุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ”[6]
เมื่อพิจารณาหนังสือต่างๆ ทางจริยธรรม, เช่น ญามิอุสสะอาดะฮฺ, มิอ์รอจญุสสะอาดะฮฺ และ ..[7] สามารถกล่าวได้ว่า อิลมุลอัคลาค ในทัศนะของนักวิชาการอิสลาม, หมายถึงความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะที่ดีและไม่ดี,และนำสิ่งนั้นมาวิเคราะห์วิจัยและอธิบายความ, วิธีการค้นหาคุณลักษณะที่ดีมีคุณภาพและมีความสูงส่ง ขณะเดียวกันก็อธิบายถึงวิธีการกำจัดคุณลักษณะที่เลวร้ายให้หมดไป
ด้วยเหตุนี้ ประเด็นของอิลมุลอัคลาก จึงประกอบด้วยการค้นหาคุณลักษณะที่ดี และแนวทางในการค้นหา และคุณลักษณะต่ำทรามพร้อมกับวิธีการกำจัดให้หมดไป, คุณลักษณะที่ดีและไม่ดีนั้นในแง่หนึ่งเนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับการกระทำ และเจตนารมณ์เสรีของมนุษย์ จึงได้รับการพิจารณาใน อิลมุลอัคลาค จุดหมายอันเป็นบั้นปลายสุดท้ายของวิชา อิลมุลอัคลาค คือ การนำพามนุษย์ไปถึงยังความสมบูรณ์ ความจำเริญผาสุก ความนิรันดร และสถานภาพอันเป็นเป้าหมาย ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อไปให้ถึงยังจุดนั้น ดังที่กล่าวไปแล้วว่า อิลมุลอัคลาค เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาในความหมายทั่วไป
ครอบคลุมที่สุดของคำอธิบาย
อัคลาค หมายถึง : วิธีการหรือแนวทางทั้งดีและไม่ดี, ส่วนอิลมุลอัคลาค, หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับวิธีการหรือแนวทางนั้นว่า อันไหนจำเป็นต้องปฏิบัติ, อีกนัยหนึ่งความแตกต่างของอัคลาคและอิลมุลอัคลาค, มีอยู่เฉพาะในทฤษฎีและประสิทธิภาพทางการกระทำ ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าว, คำพูดที่ว่าอันไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายอันใดทั้งสิ้น
[1] กุเรชีย์,ซัยยิด อะลี อักบัร, กอมูซอัลกุรอาน, เล่ม 2 หน้า 293, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, พิมพ์ครั้งที่ 6, ปี 1371, เฏาะรีฮียฺ, ฟัครุดดีน, มัจญฺมะอุลบะฮฺเรน, เล่ม 5, หน้า 156, ร้านขายหนังสือ มุรตะฎอวี, เตหะราน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ปี 1375.
[2] สำหรับการอธิบายเพื่อความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โปรดศึกษาได้จากไซต์ “พอยเฆาะฮฺ เฮาเซะฮฺ เน็ต”
[3] ฏูซียฺ, คอเญะฮฺนะซีรุดดีน, อัคลาก นาซิรียฺ, หน้า 14, ร้านขายหนังสือ อิสลามียะฮฺ, บีทอ, เตหะราน
[4] มุเฏาะฮะรียฺ, มุรตะฎอ, ออเชนอบออุลูม อิสลามี, เล่ม 2, หน้า 190, ซ็อดรอ, เตหะราน, พิมพ์ครั้งที่ 6, 1368
[5] ฌอเนะฮฺ, พีร, อัคลาก, หน้า 53, แปลโดยบัดรุดดีน กิทอบี, เอซฟาฮาน, สำนักพิมพ์ออมูเซซ วะพัรวะริช, 1373
[6] นะรอกียฺ, มุฮัมมัด มะฮฺดียฺ, ญามิอุสสะอาดะฮฺ เล่ม 1, หน้า 34, นะญัฟ, สำนักพิมพ์ อัซซะฮฺรอ 1368.
[7] นะรอกียฺ, มุฮัมมัด มะฮฺดียฺ, ญามิอุสสะอาดะฮฺ, สถาบันอะอฺลัมมียฺ, เบรูต,พิมพ์ครั้งที่ 6, ฮ.ศ. 1408, นะรอกียฺ, มุลลาอะฮฺมัด, มิอ์รอจญุสสะอาดะฮฺ, เตหะราน, สำนักพิมพ์ เราชีดี, เตหะราน, บีทอ