Please Wait
12354
แนวคิดที่ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่บนเส้นทางช้างเผือกหรือดาวเคราะห์ดวงอื่น หรือมีสิ่งมีสติปัญญาอื่นอยู่อีกหรือไม่, เป็นหนึ่งในคำถามที่มนุษย์เฝ้าติดตามค้นหาคำตอบอยู่จนถึงปัจจุบันนี้, แต่ตราบจนถึงเดี๋ยวนี้ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่นอน. อัลกุรอานบางโองการได้กล่าวถึงสิ่งมีชีวิตอื่นในชั้นฟ้าเอาไว้ อาทิเช่น
1. ในการตีความของคำว่า “มินดาบะติน” ในโองการที่กล่าวว่า :”และหนึ่งจากบรรดาสัญญาณ (อำนาจ) ของพระองค์ คือการสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และสิ่งที่ (ประเภท) มีชีวิตทั้งหลายพระองค์ทรงแพร่กระจายไปทั่วในระหว่างทั้งสอง และพระองค์เป็นผู้ทรงอานุภาพที่จะรวบรวมพวกเขาเมื่อพระองค์ทรงประสงค์”[1]
2.ในการตีความประโยคที่ว่า “มันฟิซซะมาวาติ” และ “มาฟิซซะมาวาติ” ในโองการที่กล่าวว่า :
“ทั้งหมดที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินต่างวอนขอต่อพระองค์ ,ทุก ๆ วันพระองค์ทรงมีภารกิจ”[2]
“สิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย และสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน ที่เป็นเหล่าสัตว์โลกและมลาอิกะฮฺ,จะกราบอัลลอฮฺเท่านั้น ขณะที่พวกเขา (มลาอิกะฮฺ) จะไม่หยิ่งผยอง,[3]
“ชั้นฟ้าทั้งเจ็ดและแผ่นดิน และทุกคนที่อยู่ในนั้นต่างสดุดีสรรเสริญแด่พระองค์”[4]
3. ในการตีความประโยคที่ว่า “มะชาริกิวะมะฆอริบิ” ในโองการที่กล่าวว่า :
“ขอสาบานต่อพระผู้อภิบาลแห่งทิศตะวันออกและทิศตะวันตกว่า แท้จริงเรา เป็นผู้มีความสามารถ”[5]
4. ในการตีความประโยคที่ว่า “อัลอาละมีน”[6] ในโองการที่กล่าวว่า :
“การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก”[7]
บรรดาโองการต่างๆ ที่ยกมานั้น เฉพาะโองการแรก[8] และโองการที่มีคำว่า อัลอาละมีน เท่านั้นที่มีความเป็นไปได้ว่าโองการอาจบ่งชี้ให้เห็นถึงสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่น[9]
อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี (รฮ.) อธิบายโองการแรกไว้ว่า : ภายนอกของโองการให้ความหมายว่าในชั้นฟ้าทั้งหลาย มีสิ่งมีชีวิตอื่น (สรรพสัตว์) เหมือสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้[10]
เจ้าของตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ กล่าวว่า : โองการนี้บ่งบอกให้เห็นว่ามีสิ่งมีชีวิตในชั้นฟ้าอื่นอีก แม้ว่าปัจจุบันนักวิชาการยังไม่พบหลักฐานแน่นอน และยังไม่ได้ประเมินผลประเด็นดังกล่าวก็ตาม แต่ได้ลงความเห็นคร่าวๆ ว่า มีสิ่งมีชีวิตบนดาวดวงอื่น, แต่อัลกุรอานได้กล่าวอย่างตรงไปตรงมาถึงความจริงดังกล่าวว่า ในท้องฟ้าอันกว้างไพศาลนี้ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่น,อีกมากมาย[11]
รายงานฮะดีซจากท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : “บรรดาดาวทั้งหลายที่อยู่ในฟากฟ้า,ประหนึ่งเมืองต่างๆบนโลกนี้, ซึ่งแต่ละเมือง (ดาวแตะละดวงมีสัมพันธ์กับดาวดวงอื่น) มีความเกี่ยวข้องกันของแสง[12]
เกี่ยวกับการบ่งชี้ของโองการดังกล่าวที่ว่า มีสิ่งมีชีวิตบนดาวดวงอื่นนั้น จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นต่อไปนี้
1. คำว่า “สะมาอฺ” และ “สะมาวาต” ในอัลกุรอานนั้น มีหลายความหมายด้วยกัน เช่น : หมายถึงด้านบน, ดาวเคราะห์ในฟากฟ้า, ชั้นบรรยากาศของพื้นโลก และ ...[13]
การบ่งชี้ของโองการถึงสิ่งมีชีวิตบนดาวดวงอื่นจะถูกต้องก็ต่อเมื่อ คำว่า “สะมาวาต” ในโองการที่กำลังวิพากกันอยู่ให้ความหมายว่า ดาวเคราะห์แห่งฟากฟ้า ขณะที่เป็นไปได้ว่าคำว่า “สะมาวาต” ในโองการข้างต้นอาจหมายถึง ชั้นต่างๆ ของชั้นบรรยากาศที่อยู่รายลอบพื้นโลก และวัตถุประสงค์ของ ดาบะติน อาจหมายถึง ชิ้นส่วนเล็ก ๆ (เช่นไวรัส, ฯลฯ) และสิ่งของขนาดใหญ่ (เช่น นกทั้งหลาย) ที่มีการกระจายตัวในบรรยากาศรอบตัวเรา
2. ประกอบกับปัจจุบันในแง่ของความรู้และวิชาการ ยังมิได้มีการพิสูจน์แน่ชัดลงไปว่ายังมีสิ่งมีชีวิตบนดาวดวงอื่นอีก เพียงแค่เป็นการคาดการณ์ว่าน่าจะมีเท่านั้น, ด้วยเหตุนี้ จึงไม่อาจกล่าวได้อย่างมั่นใจว่า, มีสิ่งมีชีวิตบนดาวดวงอื่นโดยพาดพิงไปถึงอัลกุรอานได้.
สรุปได้ว่า อัลกุรอานกลุ่มโองการบนพื้นฐานของการตีความที่เป็นไปได้ ของความเชื่อมั่นทางวิชาการในอนาคต ซึ่งเนื้อหาทางวิชาการ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์โดยนักวิชาการทั้งหลาย
[1] อัลกุรอาน บทชูรอ โองการ 29 : "و من آیاته خلق السموات و الارض و ما بث فیهما من دابة و هو علی جمعهم اذا یشاء قدیر
[2] อัลกุรอาน บทอัรเราะฮฺมาน โองการ 29 : "یسئله من فی السموات و الارض کل یوم هو فی شأن"
[3] อัลกุรอาน บทอันนะฮฺลุ โองการ 49 : "و لله یسجد ما فی السموات و ما فی الارض من دابٌة و الملائکة و هم لا یستکبرون"
[4] อัลกุรอาน บทอัลอิสรออฺ โองการ 44 : "تسبح له السموات السبع و الارض و من فیهن"
[5] อัลกุรอาน บทอัลมะอาริจญ์ โองการ 40 : "فَلا أُقْسِمُ بِرَبِّ الْمَشارِقِ وَ الْمَغارِبِ إِنَّا لَقادِرُون"، โองการที่ 5 บทอัซซอฟาต, โองการที่ 137 บทอะอฺรอฟ.
[6] คำๆ นี้ถูกกล่าวในอัลกุรอานถึง 61 ครั้งด้วยกัน
[7] อัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ โองการ 2
[8] อัลกุรอาน บทชูรอ โองการ 29.
[9] เพื่อการศึกษาเพิ่มเติม ศึกษาได้จากหนังสือ : ริฏออียฺ เอซฟาฮานี, พะชูฮิชชียฺ ดัร อิอฺญาซ อิลมี กุรอาน,เล่ม 1 หน้า 195-206.
[10] ศึกษาได้จาก : ตัฟซีร อัลมีซาน, เล่ม 18, หน้า 58
[11] ศึกษาได้จาก : ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 20, หน้า 436-439.
[12] สะฟีนะตุลบิฮาร, เล่ม 2, หน้า 574, หมวดคำว่า “นัจมุ”, คัดลอกมาจาก ตัฟซีร อะลี บิน อิบรอฮีมว่า
"ذه النجوم فی السماء مدائن مثل المدائن التی فی الارض مربوطة کل مدینة الی عمود من نور"
[13]ศึกษาได้จาก : ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 1, หน้า 165-166.