การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7147
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/11
 
รหัสในเว็บไซต์ fa843 รหัสสำเนา 14394
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
มุสลิมะฮ์ท่านใดที่พูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี?
คำถาม
ใครคือสุภาพสตรีที่พูดคุยด้วยโองการกุรอานนานถึงสี่สิบปี?
คำตอบโดยสังเขป

มุสลิมะฮ์ท่านนี้ก็คือ ฟิฎเฎาะฮ์ ทาสีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซึ่งตำราชั้นนำต่างระบุว่านางพูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี.

คำตอบเชิงรายละเอียด

ตำราที่เชื่อถือได้ต่างระบุว่า ฟิฎเฎาะฮ์ ทาสีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ และมารดาของวะฮับ บิน อับดุลลอฮ์ คือสุภาพสตรีที่ตอบทุกคำถามด้วยโองการกุรอานนานกว่ายี่สิบปี ดังกรณีตัวอย่างที่รายงานจากตำราบิฮารุลอันวารต่อไปนี้:

อบุลกอซิม กุชัยรี อ้างคำพูดของเพื่อนในหนังสือของตนว่า: ฉันท่องไปในทะเลทรายกระทั่งได้พบสตรีนางหนึ่ง จึงถามนางว่าเธอคือใคร?
สตรี:  และจงกล่าวสลาม และเจ้าจะรู้ในไม่ช้า[1]
ฉันจึงกล่าวสลามนางแล้วถามว่า: เธอมาทำอะไรที่นี่เล่า?
สตรี: และผู้ที่พระองค์นำทาง จะไม่มีใครชักนำให้หลงทาง[2]
ฉัน: เธอเป็นคนหรือญินกันแน่?
สตรี: โอ้พงศ์พันธุ์ของอาดัมเอ๋ย พึงประดับประดาตัวสูเจ้า....”[3]
ฉัน: เธอเดินทางมาจากใหน?
สตรี: จากถิ่นอันไกลโพ้น[4]
ฉัน: แล้วเธอจะเดินทางไปที่ใด?
สตรี: และเป็นสิทธิของพระองค์เหนือประชาชาติที่จะพวกเขาจะประกอบพิธีฮัจย์[5]
ฉัน: เธอเดินทางมากี่วันแล้ว?
สตรี: เราได้สร้างชั้นฟ้าและผืนดินในหกวัน[6]
ฉัน: เธออยากทานอะไรหรือเปล่า?
สตรี: เรามิได้กำหนดให้พวกเขาเป็นเรือนร่างที่ไม่บริโภค[7]
ฉันจึงให้อาหารนางแล้วบอกนางว่า: ช่วยเดินให้เร็วกว่านี้ได้ไหม?
สตรี: อัลลอฮ์มิได้ทรงกำหนดหน้าที่ผู้ใดเหนือขีดความสามารถของเขา[8]
ฉัน: เธอจะขึ้นขี่พาหนะซ้อนท้ายฉันหรือเปล่า?
สตรี: หากชั้นฟ้าและผืนดินมีพระเจ้าสององค์ไซร้ ย่อมเสื่อมเสียเป็นแน่แท้[9]
ฉันจึงลงจากอูฐและให้นางขึ้นขี่แทน นางรำพันว่ามวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของพระผู้ทรงสยบ(พาหนะ)นี้แก่เรา[10]
เราเดินมาจนถึงกองคาราวานของนาง ฉันจึงถามว่าเธอรู้จักใครหรือไม่?”
สตรี: โอ้ดาวูด เราได้แต่งตั้งเจ้าเป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดิน[11], “และมุฮัมมัดคือศาสนทูตของพระองค์มิไช่อื่นใด[12], “โอ้ยะฮ์ยา จงรับคัมภีร์[13], “โอ้มูซา ข้านี้คือพระเจ้า[14]
ฉันจึงเรียกขานทั้งสี่ชื่อดังกล่าว ปรากฏว่ามีเด็กหนุ่มสี่คนรีบเดินมารับสตรีแปลกหน้าคนนั้น! ฉันจึงถามว่า:  หนุ่มสี่คนนี้เป็นอะไรกับเธอหรือ?”
สตรี: ทรัพย์สินและบุตรคือเครื่องประดับของชีวิตในโลกนี้[15]
นางได้กล่าวแก่เด็กหนุ่มว่าโอ้พ่อจ๋า จ้างเขาเถิด แท้จริงผู้ที่เหมาะแก่การจ้างมากที่สุดคือผู้ที่แข็งแรงและซื่อสัตย์[16]
พวกเขาจึงได้มอบของกำนัลแก่ฉัน นางพูดขึ้นว่า: และอัลลอฮ์จะเพิ่มพูนแก่ผู้ที่พระองค์เห็นควร[17]
ลูกชายของนางจึงเพิ่มของกำนัลให้ฉัน ฉันจึงถามลูกๆของนางว่านางเป็นใครกันแน่? พวกเขาตอบว่า แม่ของเราคือฟิฎเฎาะฮ์ ทาสีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ยี่สิบปีมาแล้วที่นางตอบทุกคำถามด้วยกุรอานเท่านั้น[18]

เป็นไปได้ว่านางอาจมีชีวิตอยู่และสนทนาด้วยกุรอานหลังเหตุการณ์นี้อีกยี่สิบปี อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ว่านางสนทนาด้วยกุรอานถึงสี่สิบปีคงต้องได้รับการค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งคงไม่สะดวก  ที่นี้.



[1] ซุครุฟ, 89

[2] ซุมัร, 37

[3] อัลอะอ์รอฟ, 31

[4] ก่อศ็อศ, 44

[5] อาลิ อิมรอน, 97

[6] กอฟ, 38

[7] อันบิยาอ์, 8

[8] บะเกาะเราะฮ์, 286

[9] อันบิยาอ์, 22

[10] ซุครุฟ, 13

[11] ศอด, 26

[12] อาลิอิมรอน, 144

[13] มัรยัม, 12

[14] ก่อศ็อศ, 30

[15] อัลกะฮ์ฟิ, 46

[16] ก่อศ็อศ, 26

[17] บะเกาะเราะฮ์, 261

[18] หนังสือบิฮารุลอันวาร, เล่ม43 หน้า87:

"أَبُو الْقَاسِمِ الْقُشَیْرِیُّ فِی کِتَابِهِ قَالَ بَعْضُهُمْ انْقَطَعْتُ فِی الْبَادِیَةِ عَنِ الْقَافِلَةِ فَوَجَدْتُ امْرَأَةً فَقُلْتُ لَهَا مَنْ أَنْتِ

فَقَالَتْ وَ قُلْ سَلَامٌ فَسَوْفَ تَعْلَمُونَ

فَسَلَّمْتُ عَلَیْهَا فَقُلْتُ مَا تَصْنَعِینَ هَاهُنَا

قَالَتْ مَنْ یَهْدِ اللَّهُ فَلَا مُضِلَّ لَهُ

فَقُلْتُ أَ مِنَ الْجِنِّ أَنْتِ أَمْ مِنَ الْإِنْسِ

قَالَتْ یا بَنِی آدَمَ خُذُوا زِینَتَکُمْ

فَقُلْتُ مِنْ أَیْنَ أَقْبَلْتِ

قَالَتْ یُنادَوْنَ مِنْ مَکانٍ بَعِیدٍ

َقُلْتُ أَیْنَ تَقْصِدِینَ

قَالَتْ وَ لِلَّهِ عَلَى النَّاسِ حِجُّ الْبَیْتِ

فَقُلْتُ مَتَى انْقَطَعْتِ

قَالَتْ وَ لَقَدْ خَلَقْنَا السَّماواتِ وَ الْأَرْضَ... فِی سِتَّةِ أَیَّامٍ

فَقُلْتُ أَ تَشْتَهِینَ طَعَاماً

فَقَالَتْ وَ ما جَعَلْناهُمْ جَسَداً لا یَأْکُلُونَ الطَّعامَ

فَأَطَعَمْتُهَا ثُمَّ قُلْتُ هَرْوِلِی وَ لَا تَعَجَّلِی

قَالَتْ لا یُکَلِّفُ اللَّهُ نَفْساً إِلَّا وُسْعَها

فَقُلْتُ أُرْدِفُکِ

فَقَالَتْ لَوْ کانَ فِیهِما آلِهَةٌ إِلَّا اللَّهُ لَفَسَدَتا

فَنَزَلْتُ فَأَرْکَبْتُهَا فَقَالَتْ سُبْحانَ الَّذِی سَخَّرَ لَنا هذا

فَلَمَّا أَدْرَکْنَا الْقَافِلَةَ قُلْتُ أَ لَکِ أَحَدٌ فِیهَا

قَالَتْ یا داوُدُ إِنَّا جَعَلْناکَ خَلِیفَةً فِی الْأَرْضِ وَ ما مُحَمَّدٌ إِلَّا رَسُولٌ یا یَحْیى‏ خُذِ الْکِتابَ یا مُوسى‏ إِنِّی أَنَا اللَّهُ

فَصِحْتُ بِهَذِهِ الْأَسْمَاءِ فَإِذَا أَنَا بِأَرْبَعَةِ شَبَابٍ مُتَوَجِّهَیْنِ نَحْوَهَا فَقُلْتُ مَنْ هَؤُلَاءِ مِنْکِ

قَالَتْ الْمالُ وَ الْبَنُونَ زِینَةُ الْحَیاةِ الدُّنْیا

فَلَمَّا أَتَوْهَا قَالَتْ یا أَبَتِ اسْتَأْجِرْهُ إِنَّ خَیْرَ مَنِ اسْتَأْجَرْتَ الْقَوِیُّ الْأَمِینُ

فَکَافُونِی بِأَشْیَاءَ فَقَالَتْ وَ اللَّهُ یُضاعِفُ لِمَنْ یَشاءُ

فَزَادُوا عَلَیَّ فَسَأَلْتُهُمْ عَنْهَا

فَقَالُوا هَذِهِ أُمُّنَا فِضَّةُ جَارِیَةُ الزَّهْرَاءِ ع مَا تَکَلَّمَتْ مُنْذُ عِشْرِینَ سَنَةً إِلَّا بِالْقُرْآنِ".

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ความสัมพันธ์ระหว่างพระประสงค์ของพระเจ้ากับความต้องการของมนุษย์เป็นอย่างไร
    6710 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์คือการมีอยู่อยู่ประเภทที่เป็นไปได้หมายถึงแก่นแท้แห่งการมีอยู่ของมนุษย์นั้นมาจากพระเจ้าพระเจ้าทรงรังสรรค์มนุษย์ขึ้นมาด้วยเจตนารมณ์เสรีและพระประสงค์ของพระองค์และด้วยความพิเศษนี้เองพระองค์ได้ทำให้เขามีความสูงส่งกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆด้วยเหตุนี้มนุษย์คือสรรพสิ่งมีอยู่ที่ดีที่สุดพระองค์ทรงวางกฎหมายและมอบให้มนุษย์เป็นผู้ที่พระองค์กล่าวถึงอีกทั้งทรงอนุญาตให้มนุษย์สามารถตัดสินใจได้เองว่าจะเชื่อฟังปฏิบัติตามหรือจะปฏิเสธอนุญาตให้มนุษย์เลือกและจัดการกับชะตากรรมของพวกเขาเองและนี่คือมนุษย์เขาสามารถเลือกในสิ่งดีงาม
  • ความรุ่งเรืองและความสมบูรณ์แบบของมนุษย์อยู่ในอะไร
    6261 จริยธรรมปฏิบัติ 2553/10/21
    คำตอบที่ครอบคลุมสำหรับคำถามนี้ขึ้นอยู่กับการตอบคำถาม 2 ข้ออันเป็นพื้นฐานสำคัญ1) ความรุ่งเรืองคืออะไร ความรุ่งเรืองแยกออกจากความสมบูรณ์หรือไม่2) มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตแบบไหน? มนุษย์เป็นวัตถุบริสุทธิ์ หรือ ... ?
  • การพิสูจน์การเป็นวะฮฺยูของคำและรวบรวมอัลกุรอาน หรือการเป็นวะฮฺยูของการเรียบเรียงตามลำดับของบทและโองการต่างๆ นั้น มีมาตรฐานในการยึดมั่นอัลกุรอานอย่างไร จึงจะมีบทบาทต่อการให้ได้มาซึ่งศาสนบัญญัติ ?
    18879 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ขณะวุฎูอฺ แต่ไม่ได้อยู่ในสภาพที่จำเป็น, โดยมีบุคคลอื่นราดน้ำลงบนมือและแขนให้เรา ถือว่ามีปัญหาทางชัรอียฺหรือไม่?
    6313 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    วุฎูอฺ มีเงื่อนไขเฉพาะตัว ดังนั้น การไม่ใส่ใจต่อเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง เป็นสาเหตุให้วุฎูอฺบาฏิล หนึ่งในเงื่อนไขของวุฎูอฺคือ การล้างหน้า มือทั้งสองข้าง การเช็ดศีรษะ และหลังเท้าทั้งสองข้าง ผู้วุฎูอฺ ต้องทำด้วยตัวเอง ถ้าหากมีบุคคลอื่น วุฎูอฺ ให้แก่เขา, หรือช่วยเขาราดน้ำที่ใบหน้า มือทั้งสองข้างแก่เขา หรือช่วยเช็ดศีรษะและหลังเท้าทั้งสองแก่เขา วุฎูอฺ บาฏิล[1] มีคำกล่าวว่า บรรดานักปราชญ์แสดงความเห็นเกี่ยวกับเงื่อนไขนี้ ต่างกัน : 1.บางท่านแสดงทัศนะว่า : บุคคลต้อง วุฏูอฺ ด้วยตัวเอง ถ้าหากมีบุคคลอื่นช่วยเขาวุฎูอฺ ในลักษณะที่ว่าถ้าคนอื่นเห็นจะไม่พูดว่า บุคคลดังกล่าวกำลังวุฎูอฺ ถือว่าวุฏูอฺ บาฏิล
  • การนั่งจำสมาธิคืออะไร? ชีอะฮฺมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับการนั่งจำสมาธิ?
    8969 รหัสยปฏิบัติ 2557/05/20
    วัตถุประสงค่ของการนั่งจำสมาธิ (การอิบาดะฮฺ 40 วัน) คือการเดินจิตด้านใน, การจาริกจิต, การคอยระมัดระวังตนเองภายใน 40 วัน, เพื่อยกระดับและพัฒนาจิตด้านในของบุคคล เพื่อเตรียมพร้อมที่จำเป็น สำหรับการรองรับวิทยญาณและวิชาการของพระเจ้า ซึ่งนักเดินจิตด้านใน และปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของโองการและรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ การอิบาดะฮฺและการตั้งเจตนาด้วยความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ ภายใน 40 วัน จึงถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ดีที่สุด แต่สิ่งที่นักเดินจิตด้านในตักเตือนไว้คือ จงอย่าให้การนั่งจำสมาธิกลายเป็นเครื่องมือละทิ้งสังคม ปลีกวิเวกจนกลายเป็นความสันโดษ ...
  • เพราะสาเหตุอันใด อับดุลลอฮฺ บิน ญะอฺฟัรจึงไม่ได้ร่วมเดินทางไปกัรบะลาพร้อมท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)?
    6226 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    ประเด็นที่ว่าอับดุลลอฮฺบินญะอฺฟัรไม่ได้เข้าร่วมขบวนการไปกับท่านอิมามฮุซัยนฺ
  • ทั้งที่ท่านอิมามอลี (อ.) ทราบถึงเจตนาชั่วของอิบนิ มุลญัม เหตุใดท่านจึงไม่ปกป้องชีวิตตนเอง?
    6574 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/29
    เหตุผลที่ท่านอิมามอลีไม่แก้ไขเหตุที่จะเกิดในอนาคตก็คือ:1.ความรู้ระดับทั่วไปคือหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติภารกิจ:เพื่อเป็นการเคารพกฏเกณฑ์ของอัลลอฮ์ท่านอิมามจึงเลือกที่จะปฏิบัติหน้าที่เสมือนบุคคลทั่วไปโดยจะไม่ปฏิบัติตามความรู้แจ้งเห็นจริงเนื่องจากว่าหากท่านจะปฏิบัติตามญาณวิเศษย่อมจะไม่สามารถเป็นแบบฉบับแก่บุคคลทั่วไปได้เพราะบุคคลทั่วไปไม่มีญาณวิเศษ2. กลไกของโลกดุนยาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทดสอบซึ่งหากจะปฏิบัติตามญาณวิเศษก็ย่อมจะทำให้กลไกดังกล่าวเสียหายเนื่องจากจะทำลายชีวิตประจำวันของผู้คนสรุปคือแม้ว่าอิมามอลีมีหน้าที่ต้องรักษาชีวิตเสมือนบุคคลทั่วไปแต่ทว่าประการแรก: หน้าที่ดังกล่าวอยู่ในขอบเขตความรู้ทั่วไปมิไช่ญาณวิเศษประการที่สอง: คู่กรณีของท่าน(อิบนิมุลญัม)
  • ชีวิตและจิตวิญญาณต้องนอนหลับหรือตายด้วยหรือไม่ ?
    6730 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    ปัญหาเรื่องจิตวิญญาณและแก่นแท้ของมันเป็นปัญหาที่พิพาทถกเถียงกันมาตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันซึ่งจัดได้ว่าเป็นปัญหาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคำถามข้างต้นก็ได้ก็เป็นผลพวงและแหล่งที่มาจากคำถามนี้เองที่ว่าแก่นแท้ของมนุษย์ก็คือ กายภาพอันเป็นวัตถุตามลักษณะที่ปรากฏกระนั้นหรือหรือว่าเบื้องหลังของมันยังมีสิ่งอื่นที่ซ่อนเร้นอยู่อีกซึ่งตาเนื้อธรรมดาไม่อาจมองเห็นได้ซึ่งอยู่นอกเหนือคุณสมบัติของวัตถุและมีลักษณะศักดิ์สิทธิ์และถ้าเป็นเช่นนั้นจริงสิ่งนั่นเป็นวัตถุหรือนามธรรมที่ไร้สถานะและชะตากรรมของสิ่งนั้นภายหลังจากการตายของร่างกายจะเป็นอย่างไร?คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นนี้สามารถอธิบายในเชิงของทฤษฎีบท,ในลักษณะที่เป็นเชิงตรรกะเพื่อจะได้ไปถึงยังบทสรุป
  • ถูกต้องแล้วหรือ ที่บางคนปวารณาตัวเองเป็นสัตว์ชนิดต่างๆเพื่อให้เกียรติบรรดาอิมาม(อ.)? (อย่างเช่นเรียกตัวเองว่าเป็นสุนัขของอิมามฮุเซน(อ.))
    7844 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/16
    กุรอานและฮะดีษจากนบีและบรรดาอิมามล้วนกำชับให้เห็นถึงความสำคัญของการให้เกียรติเพื่อนมนุษย์โดยเฉพาะมุอ์มินนอกจากนี้ยังได้สอนว่าการตั้งชื่ออันไพเราะและการเรียกขานผู้อื่นด้วยชื่ออันไพเราะนั้นนับเป็นการให้เกียรติเพื่อนมนุษย์ประการหนึ่งเช่นในซูเราะฮ์ฮุญุรอตได้กล่าวว่า“จงอย่าเรียกขานกันและกันด้วยชื่ออันน่ารังเกียจ” ยิ่งไปกว่านั้นอิสลามสอนเราว่าผู้ศรัทธามีเกียรติยิ่งกว่าวิหารอัลกะอ์บะฮ์ ผู้ศรัทธาทุกคนจึงไม่ควรจะทำลายศักดิ์ศรีของตนเองหรือผู้อื่นท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)ก็คงจะไม่ยินดีปรีดาหากต้องเห็นกัลญาณมิตรดูถูกตนเองเพื่อเทิดเกียรติแด่ท่านอย่างไรก็ดีการจะตัดสินว่าพฤติกรรมใดขัดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้นย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมแต่ละพื้นที่ ชื่อบางชื่อในวัฒนธรรมหนึ่งอาจเป็นการดูหมิ่นแต่สำหรับอีกวัฒนธรรมหนึ่งนอกจากจะไม่น่ารังเกียจแล้วกลับจะเป็นที่ภาคภูมิใจด้วยซ้ำแน่นอนว่าเขาภูมิใจในความหมายเชิงอุปมาอุปไมยและความหมายประเภทนี้ไม่ขัดต่อศักดิ์ศรีของผู้ศรัทธาแต่อย่างใด ...
  • เกี่ยวกับวิลายะฮฺที่มีเหนือมุอฺมิน ซึ่งอยู่ในอำนาจของอะอิมมะฮฺ, ท่านมีทัศนะอย่างไร?
    5931 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/01/23
    คำตอบของท่านอายะตุลลอฮฺ มะฮฺดี ฮาดะวี เตหะรานนี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครอง) มีรายละเอียดดังนี้ :บรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) มีวิลายะฮฺทั้งวิลายะฮฺตักวีนีและตัชรีอียฺเหนือบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย แต่การปฏิบัติวิลายะฮฺขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60154 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57613 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42238 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39425 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38968 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34025 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28038 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28010 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27843 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25829 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...