Please Wait
18330
การประทานอัลกุรอานในคราวเดียวกันบนจิตใจของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ได้เกิดขึ้นเมื่อค่ำคืนแห่งอานุภาพ (ลัยละตุลก็อดฺร์) อันเป็นหนึ่งในค่ำคืนสำคัญยิ่งแห่งเดือนรอมฏอน และเมื่อได้ศึกษารายงานฮะดีซบางบทและอัลกุรอานบางโองการแล้ว จะเห็นว่ารายงานและโองการเหล่านั้นได้สนับสนุนความเป็นไปได้ดังกล่าวว่า ค่ำคืนแห่งอานุภาพนั้นก็คือ ค่ำคืนที่ 23 ของเดือนรอมฎอน และการประทานอัลกุรอานลงมาในคราวเดียวกันนั้น ได้เกิดขึ้นประมาณ 56 วัน หลังการแต่งตั้งท่านศาสดาอย่างเป็นทางการ
ความพิเศษของการประทานทยอยอัลกุรอานลงมา มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมากมาย แต่ในความแตกต่างเหล่านั้นมีอยู่ 2 ทัศนะที่มีความสำคัญมากกว่าทัศนะอื่น กล่าวคือ
1- - การประทานอัลกุรอานแบบทยอยลงมา ได้เริ่มต้นใกล้ๆ กับการแต่งตั้งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จนกระทั่งสิ้นอายุขัยอันจำเริญของท่านศาสดา ซึ่งทัศนะนี้เป็นทัศนะที่ส่วนใหญ่ให้การยอมรับ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 เดือนเราะญับ ตรงกับเดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 610 และได้อำลาจากโลกไปเมื่อวันที่ 28 เดือนเซาะฟัร ปี ฮ.ศ. ที่ 11
2 - - ช่วงเวลาใกล้กับการแต่งตั้งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) นั้น ได้มีโองการสองสามโองการถูกประทานลงมา แต่การประทานแบบทยอยลงมาในรูปแบบของคัมภีร์แห่งฟากฟ้า ได้เริ่มต้นอย่างจริงจังหลังจากการแต่งตั้งศาสดาผ่านพ้นไปแล้ว 3 ปี โดยเริ่มต้นจำคำคืนแห่งอานุภาพไปจนสิ้นอายุขัยอันจำเริญของท่านศาสดา
ด้วยเหตุผลนี้เอง ถ้าหากพิจารณาถึงยุคสมัยปัจจุบันที่เรามีชีวิตอยู่ สามารถคำนวณได้เองนับตั้งแต่ปีแรกที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นระยะเวลานานเท่าใดแล้ว
ประเด็นเกี่ยวกับการประทานลงมาในคราวเดียวกันนั้น เรารู้ได้เพียงว่าถูกประทานลงมาในค่ำคืนอานุภาพ[1] และจากการที่อัลกุรอานกล่าวว่า[2] เดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมา ขณะที่ค่ำคืนแห่งอานุภาพ (ลัยละตุลก็อดฺร์) ก็อยู่ในเดือนรอมฎอน
แต่ค่ำคืนแห่งอานุภาพเป็นค่ำคืนใดในเดือนรอมฏอนนั้น ไม่มีผู้ใดรู้ชัดแจ้งแน่นอนว่าเป็นคืนใด ซึ่งจะเห็นว่มีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้[3] แต่มีความเป็นไปได้จากทัศนะที่มีอยู่นี้จะเห็นว่า ค่ำคืนที่ 23 ของเดือนรอมฏอนเป็นค่ำคืนแห่งอานุภาพนั้น มีความเป็นไปได้สูงมาก เนื่องจากรายงานฮะดีซและอัลกุรอานหลายโองการได้สนับสนุนแนวคิดนี้[4]
แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีสิ่งใดระบุได้ชัดเจนว่า ปีใดหรือที่สิ่งนี้ได้เกิดขึ้น แต่สามารถกล่าวได้เพียงว่า แม้ว่าค่ำคืนแห่งอานุภาพนี้จะเป็นค่ำคืนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาแล้ว ยังเป็นค่ำคืนแห่งการขึ้นมิอฺรอจญ์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อีกด้วย เนื่องจากอัลกุรอานนั้นบันทึกอยู่ในเลาฮุนมะฟูซ ณ พระผู้อภิบาล[5] มนุษย์ตราบที่ยังไม่ได้ขึ้นมิอ์รอจญ์ เขาก็จะไม่ได้รับอัลกุรอานที่บันทึกอยู่ในแผ่นบันทึก ณ พระผู้อภิบาล[6] จากตรงนี้เข้าใจได้ว่าการประทานอัลกุรอานลงมาในคราวเดียวกันนั้น อยู่ในช่วงเวลาที่ท่านศาสดาได้ไปถึงยังระดับดังกล่าวแล้ว ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถกล่าวได้ว่าการประทานอัลกุรอานลงมาในคราวเดียวกันนั้น ถูกประทานในปีแรกของการได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา กล่าวคือประมาณ 56 วันหลังจากหลังการแต่งตั้ง
จำนวนดังกล่าวได้คำนวณจากวันแห่งการแต่งตั้งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งตรงกับวันที่ 27 เดือนเราะญับ และค่ำคืนแห่งอานุภาพ (ลัยละตุลก็อดฺร์) ตรงกับวันที่ 23 เดือนรอมฏอน และโดยประมาณแล้วเดือนหนึ่งมี 30 วัน ดังนั้น เหตุการณ์ดังกล่าวจึงเกิดขึ้นหลังจาก 56 วันผ่านไปแล้ว
ความพิเศษของการประทานแบบทยอยลงมานั้น[7] ใกล้กับการแต่งตั้งท่านศาสดา แต่เนี่องจากมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับวันแต่งตั้งท่านศาสดา[8] ทำให้วันนี้แตกต่างกันไปด้วย
ทัศนะทั่วไปที่ว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดาเมื่อวันจันทร์ ที่ 27 เดือนเราะญับ ตรงกับวันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 610[9] ในเวลานั้นอัลกุรอาน 5 โองการแรกของบทอัลอะลัก ได้ถูกประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) [10] หลังจากนั้นอัลกุรอานโองการอื่นๆ ก็ได้ถูกทยอยประทานลงมา ตราบจนสิ้นอายุขัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งรวมระยะเวลาได้ประมาณ 23 ปีเต็ม
บางกลุ่มมีความเชื่อว่า ช่วงเวลาของการแต่งตั้งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กับช่วงเวลาของการประทานอัลกุรอานแบบทยอยลงมา ในฐานะที่เป็นคัมภีร์แห่งฟากฟ้านั้นมีความแตกต่างกัน ตามทัศนะของพวกเขาแม้ว่าในช่วงแรกของการแต่งตั้งจะมีอัลกุรอานถูกประทานลงมา 5 โองการก็ตาม แต่ในช่วงนั้นท่านศาสดาไม่มีหน้าที่เผยแพร่ต่อหน้าสาธารณชน ท่านมีหน้าที่เชิญชวนแบบลับๆ แต่หลังจากเวลาผ่านพ้นไปประมาณ 3 ปี ได้มีบัญชาให้ท่านเชิญชวนแบบเปิดเผยต่อสาธารณชน[11] นับตั้งแต่ช่วงเวลานั้นเป็นต้นไปอัลกุรอาน ในฐานะคัมภีร์แห่งฟากฟ้าก็ได้ถูกทยอยประทานลงมา ดังนั้น แม้ว่าการแต่งตั้งท่านศาสดาให้เป็นศาสดาได้เกิดขึ้นในช่วงเดือนเราะญับก็ตาม แต่อัลกุรอานได้ทยอยประทานลงมาหลังจากนั้น 3 ปีไปแล้ว ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ค่ำคืนแห่งอานุภาพ ของเดือนรอมฏอนเป็นต้นไป[12]
ทัศนะที่สนับสนุนทัศนะดังกล่าวนี้คือ รายงานฮะดีซที่กล่าวว่า ช่วงเวลาของการประทานอัลกุรอานคือ 23 ปี[13] ด้วยเหตุผลนี้เองทัศนะและความเชื่อ[14] ที่ว่าช่วงเวลาของการประทานอัลกุรอาน แบบทยอยลงมาในฐานะของคัมภีร์แห่งฟากฟ้านั้น ได้เริ่มต้นจริงในปีที่ 4 ของการได้รับการแต่งตั้ง กล่าวคือ ประมาณ 3 ปีกับ 56 วันหลังการแต่งตั้งและยาวนานไปจนถึงการสิ้นอายุขัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งตรงกับวันที่ 28 เดือนเซาะฟัร ปี ฮ.ศ. ที่ 11
สรุป ตราบจนถึงปัจจุบันนี้ ตรงกับปี ฮ.ศ. ที่ 1431 นับตั้งแต่การอพยพครั้งแรก และรวมกับอีก 13 ปีก่อนการอพยพ ถ้าสมมุติว่าถือตามทัศนะแรก โองการแรกที่ได้ประทานลงมาก็ประมาณ 1440 กว่าปีของปีฮิจญ์เราะศักราช แต่ถ้าถือตามทัศนะที่สอง โองการแรกที่ถูกประทานลงมาตราบจนถึงปัจจุบัน ก็ประมาณ 1437 กว่าปี
จากรายงานของนักประวัติศาสตร์บางคน ช่วงเวลาของการแต่งตั้งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. ที่ 610 และนับตั้งแต่บัดนั้นจวบจนถึงปัจจุบันคือ ค.ศ. 2012 เราสามารถคำนวณนับได้ด้วยตัวเองว่า ช่วงเวลาของการประทานอัลกุรอานโองการแรก จวบจนถึงปัจจุบันเป็นเวลานานกี่ปีแล้ว
[1] อัลกุรอาน บทดุคอน โองการ 3 บทก็อดร์ โองการ 1 สำหรับการศึกษาเพิ่มเติม โปรดศึกษาได้จาก ตัฟซีรอัลมีซาน เล่ม 8 หน้า 130-134 เล่ม 2 หน้า 14 -23 เล่ม 13 หน้า 220-221
[2] อัลกุรอาน บทบะเกาะฮฺ 185 กล่าวว่า เดือนรอมะฎอนนั้นเป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาเป็นการชี้นำสำหรับ มนุษย์และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับการชี้นำนั้น
[3] ตารีคฏ็อบรีย์ เล่ม 2 หน้า 300 ซีเราะฮฺอิบนุฮิชาม เล่ม 1 หน้า 236,239, 240 อายะตุลลอฮฺ มะอฺริฟัต อัตตัมฮีด ฟีอุลูมิลกุรอาน หน้า 100,129,อายะตุลลอฮฺ คูอีย์ อับบะยาน เล่ม 1 หน้า 244, มัจญฺมะอุลบะยาย เล่ม 9 หน้า 61, เล่ม 10 หน้า 518, 520, ตารีคอบิลฟิดาอ์ เล่ม 1 หน้า 115, ตารีคยะอฺกูบบีย์ เล่ม 2 หน้า 17, เชคฏูซีย์ อัตติบยาน เล่ม 9 หน้า 224 มุฮัมมัด บิน ญะรีร ฏ็อบรีย์ ญามิอุลบะยาน เล่ม 25 หน้า 107 และ 108, ตัฟซีร อัลมีซาน เล่ม 2 หน้า 29
[4] วะซาอิลุชชีอะฮฺ หมวด 32 อะฮฺกามเดือนรอมฏอน เล่ม 7 หน้า 262 ฮะดีซที่ 16, คิซอลซะดูก เล่ม 2 หน้า 102 มุฮัมมัดบากิร ฮุจญฺตีย์ ประวัติอัลกุรอาน หน้า 38 - 62
[5] อัลกุรอาน บทซุครุฟ โองการ 4 แท้จริงอัลกุรอานนั้นอยู่ในกระดานที่ถูกพิทักษ์ ณ เรา คือสูงส่งพรั่งพร้อมด้วยปรัชญา
[6] อายะตุลลอฮฺ ญะวาดีย์ ตัฟซีรเมาฎูอีย์ เล่ม 3 หน้า 153- 139
[7] อัลกุรอาน บทอัสรอ โองการ 106, บทฟุรกอน โองการ 32, บท มุฮัมมัด โองการ 20, บทเตาบะฮฺ โองการ 127, สำหรับการศึกษาเพิ่มเติมโปรดศึกษาได้จากตัฟซีร อัลมีซาน เล่ม 2 หน้า 14 - 23
[8] ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 17 ตารีค อัลเคาะมีส เล่ม 1 หน้า 280, 281 ตารีคอบิลฟะดาอ์ เล่ม 1 หน้า 115
[9] ประวัติอัลกุรอาน หน้า 36, บิฮารุลอันวาร เล่ม 18 หน้า 189, ฮะดีซที่ 21 ฟุรูคกาฟีย์ เล่ม 4 หน้า 149 ฮะดีซที่ 1 และ 2 วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 7 หน้า 329 หมวดที่ 15 บาบศีลอดมุสตะฮับ ซีเราะตุลฮะละบี เล่ม 1 หน้า 238 อัตตัมฮีด ฟี อุลูมมิลกุรอาน หน้า 100 - 107
[10] บิฮารุลอันวาร เล่ม 18 หน้า 206 ฮะดีซ 36
[11] อัลกุรอาน บทอัลฮิจญฺร์ โองการ 94, ตัฟซีรกุมมี หน้า 533, บิฮารุลอันวาร เล่ม 18 หน้า 53 ฮะดีซที่ 7 หน้า 179 ฮะดีซที่ 10 หน้า 177 ฮะดีซที่ 4 หน้า 193 ฮะดีซที่ 29 ตารีคยะอ์กูบีย์ เล่ม 1 หน้า 343, อัซซีเราะฮฺ อิบนุฮิชาม เล่ม 1 หน้า 280, อัลมะนากิบ เล่ม 1 หน้า 40 เชคฏูซีย์ อัลฆัยบะฮฺ หน้า 217
[12] มัจญฺมะอุลบะยาน เล่ม 2 หน้า 276 อัลอิตติกอน เล่ม 1 หน้า 40 ตัฟซีรกะบีร อิมามรอซีย์ เล่ม 5 หน้า 85, อัลมะนากิบ เล่ม 1 หน้า 150 เชคมุฟีด ชัรฮฺอะกออิด ซะดูก หน้า 58, ซัยยิดมุรตะฎอ ฟี ญะวาบิลมะซาอิล อัฏรอบิซิยาติล อัซซาละซะฮฺ หน้า 403 - 405
[13] อุซูลกาฟีย์ เล่ม 2 หน้า 628 ฮะดีซที่ 6 ตัฟซีรอะยาชีย์ เล่ม 1 หน้า 80 ฮะดีซที่ 184, ซะดูก อัลอิอ์ติกอดาต หน้า 101, บิฮารุลอันวาร เล่ม 18 หน้า 250, ฮะดีซที่ 3 และหน้า 253, อัลอิตติกอน เล่ม 1 หน้า 40,45 ตัฟซีรชุบัร หน้า 350, มุสตัดร็อกอัลฮากิม เล่ม 2 หน้า 610, อัสบาบุลนุซูล หน้า 3 อัลบิดายะฮฺ วันนิฮายะฮฺ เล่ม 3 หน้า 4 ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 18
[14] สำหรับการศึกษาเพิ่มเติม โปรดศึกษาได้จากหนังสือ อัตตัมฮีด ฟี อุลูมิลกุรอาน หน้า 100 - 129