Please Wait
15493
อัลกุรอานถูกประทานลงมาในสองลักษณะกล่าวคือ ลงมาคราวเดียวกัน และทยอยลงมา (เป็นโองการ โองการ และเป็นซูเราะฮฺ ซูเราะฮฺ) ขณะเดียวกันได้มีเหตุผลกล่าวไว้ถึงการทยอยประทานลงมา เช่น :
1.เพื่อสร้างความมั่นคงแก่จิตใจของนะบี
2.เพื่อความต่อเนื่องของวะฮฺยู และการทยอยประทานลงมานั้นได้สร้างความอบอุ่นใจแก่ท่านนะบี (ซ็อลฯ) และบรรดามุสลิมทั้งหลาย
3.เพื่อจะได้ทิ้งช่วงในการอ่านแก่ประชาชน เป็นการง่ายดายต่อการจดจำของพวกเขา สามารถคิดใคร่ครวญได้อย่างรอบคอบ และจดจำได้สะดวกขึ้น นอกจากนั้นยังให้ความรู้และการปฏิบัติตามใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น
และเนื่องจากว่ามีประเด็นเรื่องราวถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอานมากมาย ด้วยเหตุนี้ จำเป็นต้องจัดแบ่งประเด็นเหล่านั้นให้เป็นหมวดหมู่ และหมวดหมู่เหล่านั้น ที่มีความเหมาะสมกันยังถูกจัดไว้ในหมวดเดียวกัน ซึ่งแยกไปจากหมวดอื่น ด้วยเหตุนี้เอง จึงเห็นว่าอัลกุรอานถูกจัดเป็นโองการๆ และเป็นบทแยกต่างหาก
สิ่งจำเป็นต้องกล่าวถึงขอบข่าย การเริ่มต้น และสิ้นสุดของทุกโองการ ได้ถูกกระทำขึ้นตามคำสั่งของท่านนะบี (ซ็อลฯ) ซึ่งจำเป็นต้องยอมรับสิ่งนั้นโดยปริยาย แน่นอน อัลกุรอานบางบทอาจมีขนาดเล็ก และถูกประทานลงมาในคราวเดียวกันทั้งหมด ซึ่งจะอธิบายรายละเอียดต่อไปในคำตอบโดยละเอียด
มิต้องสงสัยเลยว่า อัลกุรอานได้ถูกทยอยประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ตลอดระยะเวลาภายใน 23 ปี อีกด้านหนึ่งเรากล่าวว่า : “อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาในเดือนรอมฎอนในคืนเดียว”[1] โองการอธิบายให้เห็นว่า อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาในเดือนรอมฎอน ทำนองเดียวกันบางโองการกล่าวว่า "إِنَّا أَنْزَلْناهُ فِي لَيْلَةِ الْقَدْرِ"[2] และโองการที่กล่าวว่า
"إِنَّا أَنْزَلْناهُ فِي لَيْلَةٍ مُبارَكَةٍ"[3] แสดงให้เห็นว่าอัลกุรอาน ได้ถูกประทานลงมาทั้งหมดภายในคืนเดียวกัน ดังนั้น เมื่อเปรียเทียบกันทั้งสามโองการ ทำให้ประจักษ์ชัดว่า และคืนนั้น คือคืนหนึ่งในเดือนรอมฎอน
รายงานฮะดีซบางบทได้กล่าวเน้นย้ำถึงประเด็นนี้ว่า อัลกุรอาน ได้ถูกประทานลงมาในสองลักษณะ กล่าวคือ :
ฮัฟซ์ บิน ฆิยาษ เล่าว่า เขาได้ถามท่านอิมามญะอฺฟัร อัซซอดิก (อ.) ว่า การที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในโองการหนึ่งว่า : شَهْرُ رَمَضانَ الَّذِي أُنْزِلَ فِيهِ الْقُرْآنُ เดือนรอมฎอนเป็นเดือนแห่งการประทานกุรอาน ขณะที่อัลกุรอาน ได้ถูกทยอยประทานลงมาตั้งแต่แรก จนจบภายในระยะเวลา 23 ปีนั้นหมายถึงอะไร? กล่าวว่า : อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาในคราวเดียวกันทั้งหมด ภายในเดือนรอมฎอน ณ บัยตุลมะอฺมูร หลังจากนั้นได้ทยอยประทานลงมาภายในระยะเวลา 23 ปี[4] ขณะที่รายงานจากฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ กล่าวถึง บัยตุลอิซซะฮฺ แทนคำว่าบัยตุลมะอฺมูร
ตัฟซีรซอฟียฺ บทนำที่เก้าอธิบายว่า บัยตุลมะอฺมูร หมายถึงหัวใจของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) : ประหนึ่งว่าวัตถุประสงค์คือ การประทานอัลกุรอานลงมาที่หัวใจของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ดังที่อัลลอฮฺ ตรัสไว้อีกที่หนึ่งว่า "نَزَلَ بِهِ الرُّوحُ الْأَمِينُ عَلى قَلْبِكَ" ได้ประทานรูฮุลอามีนลงมายังหัวใจของเขา โดยทยอยประทานออกจากหัวใจของเขา ไปสู่คำพูดภายในระยะเวลา 23 ปี เวลานั้น ญิบรออีลจะลงมาเพื่ออ่านวะฮฺยูเป็นคำแก่เขา
ส่วนสาเหตุของการทยอยประทานลงมา :
ในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ทุกครั้งที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น หรือมุสลิมประสบกับชะตากรรมและปัญหา หรือในการติดต่อระหว่างกัน หรือเพื่อขจัดอุปสรรคปัญหา หรือเพื่อต้องการตอบข้อสงสัยและคำถามต่างๆ ที่ได้ถูกตั้งขึ้นในสมัยนั้น โองการกลุ่มหนึ่งหรืออัลกุรอานบางบทจึงได้ถูกประทานลงมา
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการประทานโองการลงมา โดยทั่วไปเรียกว่า สาเหตุแห่งการประทานลงมา ซึ่งการรู้จักถึงสาเหตุของการประทานลงมาก่อน จะช่วยสร้างความเข้าใจอันลึกซึ้งต่อโองการเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นตลอดระยะเวลา 23 ปี ทั้งก่อนและหลังการอพยพของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) อัลกุรอานจึงได้ถูกทยอยประทานลงมา ตามเหตุการณ์ และความเหมาะสม ซึ่งการประทานลงมาลักษณะนี้ บางครั้งก็เป็นโองการๆ และบางครั้งก็เป็นทั้งซูเราะฮฺ จนกระทั้งถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตอันจำเริญของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) หลังจากโองการต่างๆ ที่ถูกประทานลงมา ได้ถูกรวบรวมขึ้นเป็น อัลกุรอาน
การประทานลงมาในลักษณะนี้ ถือเป็นคุณลักษณะพิเศษประการหนึ่งของอัลกุรอาน ที่แตกต่างไปจากคัมภีร์แห่งฟากฟ้าฉบับอื่นๆ เนื่องจากคัมภีร์ ซุฮุฟ ของศาสดาอิบรอฮีม และอัลวาฮฺ ของมูซา (อ.) ได้ประทานลงมาในคราวเดียวกันทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เอง จึงกลายเป็นที่โจมตีของบรรดามุชริกีน อัลกุรอานกล่าวว่า : บรรดาผู้ปฏิเสธกล่าวว่า ทำไมอัลกุรอานจึงไม่ถูกประทานลงมาแก่เขาครั้งเดียวกันทั้งหมด? ได้มีคำตอบแก่พวกเขาว่า “เช่นนั้นแหละ เพื่อเราจะทำให้หัวใจของเจ้ามั่นคงหนักแน่น (ด้วยเหตุนี้) เราจึงได้ทยอยอ่านแก่เจ้า”[5] บางที่พระองค์ตรัสว่า “อัลกุรอาน (โองการ) นี้ เราได้แยกไว้อย่างชัดเจน เพื่อเจ้าจะได้อ่านแก่มนุษย์อย่างช้าๆ และเราได้ทยอยประทานลงมาเป็นขั้นตอน”[6] อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ (รฮ.) อธิบายไว้ในตัฟซีร อัลมีซานถึงประเด็นที่มีค่าอย่างยิ่งว่า : โองการเหล่านี้ นอกจากบริบทแล้วยังได้ครอบคลุมความรู้ทั้งหมดของอัลกุรอาน ซึ่งความรู้เหล่านั้นอยู่ ณ อัลลอฮฺ ในรูปของคำและประโยค ซึ่งนอกจากการทยอยประทานลงมาแล้ว มนุษย์จะไม่เข้าใจความหมาย, ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงต้องทยอยประทานลงมา อันเป็นคุณลักษณะพิเศษอันเฉพาะสำหรับโลกนี้ เพื่อประชาชนจะได้สามารถทำความเข้าใจ และคบคิดสิ่งนั้น อีกทั้งยังสะดวกต่อการท่องจำ ฉะนั้นตามที่กล่าวมา โองการข้างต้นจึงให้ความหมายดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม
« إِنَّا جَعَلْناهُ قُرْآناً عَرَبِيًّا لَعَلَّكُمْ تَعْقِلُونَ وَ إِنَّهُ في أُمِّ الْكِتابِ لَدَيْنا لَعَلِيٌّ حَكيم »[7]
แท้จริง เราได้ประทานคัมภีร์เป็นกุรอานภาษาอาหรับ เพื่อพวกเจ้าจะได้ใช้สติปัญญา แท้จริงอัลกุรอาน อยู่ในแม่บทแห่งคัมภีร์ ณ ที่เรา คือสูงส่งพรั่งพร้อมด้วยวิทยา สิ่งที่กำลังกล่าวถึงคือ วิทยปัญญาของการทยอยประทานลงมาของอัลกุรอาน และความใกล้ชิดระหว่างวิทยปัญญาและการปฏิบัติตามอัลกุรอาน กับการได้รับศักยภาพทั้งหมด[8] ในความก้าวหน้าของประชาชาติ การประทานอัลกุรอาน โดยทยอยลงมาเป็นบทๆ หรือเป็นโองการ ก็เพื่อให้ประศักยภาพทั้งหมดของประชาชน เกิดความก้าวหน้า และพัฒนาด้านวิชาการอันเป็นหลักของความศรัทธา และบทบัญญัติซึ่งถือเป็นหลักในการปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นที่ความเหมาะสมและความพอดีสำหรับปวงมนุษย์ และสิ่งนี้ก็คือ ความใกล้ชิดกันระหว่างวิทยปัญญาของอัลกุรอาน กับการปฏิบัติ เพื่อให้มนุษย์ไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการศึกษาวิชาการ และบทบัญญัติ เขาจะได้รับวิชาการติดต่อกันอันต่ออัน เพื่อว่าจะได้ไม่ประสบปัญหาเฉกเช่นคัมภีร์เตารอต ที่ได้ประทานลงมาในคราวเดียวกัน อันเป็นสาเหตุทำให้ชาวยิวไม่มีการพัฒนาด้านวิชาการ จนกระทั่งว่าถ้าหากอัลลอฮฺ ไม่นำภูเขาชูขึ้นเหนือศีรษะพวกเขา พวกเขาก็ไม่พร้อมที่จะยอมรับความจริง”[9]
ในทำนองเดียวกันสามารถเข้าใจได้จากอัลกุรอาน ถึงวิทยปัญญาของการทยอยประทานอัลกุรอานลงมา เพื่อให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และบรรดามุสลิมมีความรู้สึกว่า ตนได้ร่วมอยู่ในความการุณย์ของพระผู้อภิบาลเสมอ และพวกเขามีความสัมพันธ์กับอัลลอฮฺอย่างแนบแน่น ดังนั้น การที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาอย่างต่อเนื่อง สร้างความอบอุ่นและความมั่นใจ ให้เกิดแก่จิตใจของพวกเขา[10]
ดังนั้น การประทานอัลกุรอานในช่วงเวลาต่างๆ และตามความเหมาะสม และรวมรวมขึ้นเป็นบทต่างๆ ในรูปแบบของคัมภีร์ ซึ่งเรียกว่า “กุรอาน” จำนวนโองการต่างๆ ในแต่ละบทนั้นถือว่าเป็นคำสั่งที่เป็นการกำหนดไว้แล้ว โดยเริ่มต้นจากบทที่เล็กที่สุด (บทเกาษัร ซึ่งมีอยู่ 3 โองการ) จนถึงบทที่ใหญ่ที่สุด (บทบะเกาะเราะฮฺมีทั้งสิ้น 286 โองการ) ซึ่งการรวบรวมโองการและบทนั้น ได้รับคำสั่งอันเฉพาะจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และดำรงอยู่จนถึงปัจจุบันโดยปราศจากการยุ่งเกี่ยว ซึ่งเป็นคำสั่งอันเร้นลับซ่อนอยู่ในนั้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับปาฏิหาริย์ของอัลกุรอาน และมีความเหมาะสมกับโองการเหล่านั้น[11]
ในทำนองเดียวกันเกี่ยวกับวิธีการจัดวางบท จากโองการต่างๆ จำเป็นต้องกล่าวว่า : การเรียบเรียง, ความเป็นระบบและจำนวนโองการในบทต่างๆ ได้ถูกรวบรวมขึ้นในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) โดยปฏิบัติไปตามคำสั่งของท่าน อันถือว่าเป็นการกำหนด ซึ่งจำเป็นต้องยอมรับและต้องอ่านไปตามนั้น ในแต่ละบทจะมีบิสมิลลาฮฺ ถูกประทานลงมาตอนต้นของทุกๆ บท และโองการต่างๆ ได้ถูกบันทึกเรียงไว้ตามวาระของการประทานลงมา จนกระทั่งบิสมิลลาฮฺ ถูกประทานลงมาเท่ากับบทใหม่ได้เริ่มต้นแล้ว และนี่เป็นระเบียบทางธรรมชาติของโองการ บางครั้งก็เกิดสิ่งที่ขัดกับธรรมชาติ โดยท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้รับการบ่งชี้จากญิบรออีล เพื่อว่าให้โองการนั้นขัดกับธรรมชาติของความเป็นระเบียบ ในบทอื่น เช่น โองการที่กล่าวว่า [12]« وَ اتَّقُوا يَوْماً تُرْجَعُونَ فيهِ إِلَى اللَّهِ ثُمَّ تُوَفَّى كُلُّ نَفْسٍ ما كَسَبَتْ وَ هُمْ لا يُظْلَمُونَ» ซึ่งกล่าวว่าเป็นโองการสุดท้ายที่ถูกประทานลงมา แต่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้สั่งให้เอาโองการดังกล่าววางไว้ระหว่างโองการที่กล่าวถึง ดอกเบี้ย และโองการที่กล่าวถึง ดีน ในบทบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 281
ด้วยเหตุนี้ การบันทึกโองการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไปตามระเบียบของธรรมชาติ หรือเป็นไปตามกำหนดด้วยคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติตาม แต่ก็มิได้หมายความว่าในทุกๆ เมื่อจบเรื่องแล้ว จะเป็นการสิ้นสุดโองการ แล้วกี่มากน้อยแล้วที่เรื่องราวได้จบลงตอนตรงกลางของโองการ และไปต่อเรื่องในโองการอื่นหลังจากนั้น ดังนั้น ไม่ว่าโองการจะสั้นหรือยาวก็มิได้ขึ้นอยู่เรื่องราว สิ่งนี้เป็นคำสั่งที่กำหนดไว้แล้ว ซึ่งอดีตมีความขัดแย้งกันอยู่บ้างเล็กน้อย ด้วยเหตุนี้เอง ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงมีคำสั่งให้หยุด และไม่
ส่วนบทต่างๆ ที่ได้ถูกประทานลงมาแก่ท่านนะบี (ซ็อลฯ) ในคราวเดียวกัน ประกอบด้วยบท : อัฎฎุฮา, อัลฟาติฮะฮฺ, อิคลาซ, เกาษัร, ตับบัต, บัยยินะฮฺ, นัซรฺ, อันนาส, ฟะลัก, มุรซะลาต, มาอิดะฮฺ, อันอาม, เตาบะฮฺ, มุรสะลาต, ซ็อฟ, อาดียาต, กาฟิรูน,[13]
[1] บทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 185, "شَهْرُ رَمَضانَ الَّذِي أُنْزِلَ فِيهِ الْقُرْآنُ ".
[2] บทก็อดร์ โองการ 1.
[3] บทอัดดุคอน 3
[4] อัลกาฟียฺ, คัดลอกมาจากตัฟซีรซอฟียฺ, บทนำที่ 9
[5] บทอัลฟุรกอน, 32, กล่าวว่า وَ قالَ الَّذينَ كَفَرُوا لَوْ لا نُزِّلَ عَلَيْهِ الْقُرْآنُ جُمْلَةً واحِدَةً كَذلِكَ لِنُثَبِّتَ بِهِ فُؤادَكَ وَ رَتَّلْناهُ تَرْتيلاً
[6] บทอัลอิสรอ, 106, กล่าวว่า وَ قُرْآناً فَرَقْناهُ لِتَقْرَأَهُ عَلَى النَّاسِ عَلى مُكْثٍ وَ نَزَّلْناهُ تَنْزيلا
[7] บทซุครุฟ, 3, 4
[8] เพื่อความก้าวหน้า และการบรรลุถึงศักยภาพของประชาชน
[9] เฏาะบาเฏาะบาอีย, มุฮัมมัดฮุซัยนฺ, ตัฟซีรมีซานฉบับแปล, เล่ม 13, หน้า 305, 306.
[10] มะอฺริฟัต, มุฮัมมัดฮาดี, อุลูมกุรอาน, กุม, มุอัซเซะเซะ ฟังฮังกี ตัมฮีด, 1380, หน้า 60-61.
[11] อุลูมกุรอาน, เล่มก่อนหน้านี้, หน้า 111
[12] บะเกาะเราะฮฺ 281
[13] อัสรอร,มุซเฏาะฟา,ดอเนสตันนีฮอเยะกุรอาน, ฮะซันซอเดะฮฺ, ซอดิก, กิลีด กุรอาน, หน้า 134.