การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
11979
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/21
คำถามอย่างย่อ
การรวบรวมอัลกุรอาน กระทำอย่างไร?
คำถาม
อัลกุรอาน ถูกรวบรวมขึ้นด้วยความเห็นชอบของเหล่าเซาะฮาบะฮฺ หรือว่าถูกรวบรวมขึ้นตามความเห็นชอบ โดยสมบูรณ์ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ท่านอุษมาน มิได้ใช้สถานภาพทางการเมือง นำเอาโองการที่มีความขัดแย้งกัน รวบรวมไว้ในโองการที่ว่าด้วยเรื่องหลักปฏิบัติดอกหรือ? การจัดพิมพ์อัลกุรอานไปตามการประทานลงมา ถือว่าเป็นบิดอะฮฺหรือไม่? ถ้าไม่เป็นบิดอะฮฺ แล้วเป็นเพราะสาเหตุอันใดสาธารณรัฐอิสลาม แห่งอิหร่านจึงไม่จัดพิมพ์อัลกุรอาน ไปตามการประทานลงมาอย่างถูกต้อง? ยังไม่ถึงเวลาอีกหรือ ทั้งที่ทุกวันนี้เป็นยุคของข่าวสารข้อมูล ซึ่งอย่างน้อยที่สุดรัฐอิสลามสามารถสร้างความเข้าใจ และขจัดความไม่เข้าใจ ปัญหาด้านศาสนา และนิกาย แก่คนอื่น หรือรัฐอิสลามเสนอตัวแก้ไขสิ่งที่เซาะฮาบะฮฺได้กระทำไว้ โดยการอ้างอิงถึงประวัตศาสตร์การประทานโองการลงมา ภายใต้นิยามที่ว่าอัลกุรอานกับต้นฉบับใหม่ ที่ตรงตามการประทานลงมาในสมัยท่านศาสดา (ซ็อลฯ)
คำตอบโดยสังเขป
ตามประวัติศาสตร์การประทานอัลกุรอานลงมา จะเห็นว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ผู้ระบุสถานที่ของโองการว่าสมควรอยู่ ณ ที่ใด มิใช่ความพอใจของเซาะฮาบะฮฺว่า จะให้โองการนั้น โองการนี้อยู่ที่ใดก็ได้ตามความพอใจ หมายถึงทุกโองการที่ประทานลงมานั้น ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นผู้กำกับและออกตำสั่งว่าโองการนั้น หรือโองการนี้ควรจะอยู่ที่ใด ฉะนั้น อัลกุรอานที่มีอยู่ในมือพวกเราทุกวันี้ ก็คืออัลกุรอานที่ถูกรวบรวมในสมัยของท่านอุษมาน ซึ่งท่านได้ใช้วิธีรวบรวมโดยมีนักอ่าน และนักท่องจำจำนวนหนึ่งให้ความร่วมมือ อีกด้านหนึ่งอัลกุรอานฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็ได้รับการสนับสนุนและเห็นชอบโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ฉะนั้น อัลกุรอาน ฉบับที่มีอยู่นี้มิอาจกล่าวได้ว่า ถูกรวบรวมโดยความเห็นชอบของท่านอุษมานแต่เพียงฝ่ายเดียว เพื่อว่าท่านจะได้สับเปลี่ยนโองการตามใจชอบ
 
คำตอบเชิงรายละเอียด
การรวบรวมอัลกุรอานถูกระทำใน 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นตอนของการจัดระเบียบ และการจัดวางโองการต่างๆ ไว้เคียงข้างกัน จึงทำให้เกิดบท (ซูเราะฮฺ) ต่างๆ ขั้นตอนนี้ถูกกระทำขึ้นในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) โดยคำสั่งของท่าน ซึ่งสถานที่แต่ของละโองการท่านศาสดาเป็นผู้กำหนด
2. ขั้นที่สองคือการรวมรวมต้นฉบับต่างๆ  และจำนวนหน้าที่ถุกบันทึกแยกกันไว้ โดยนำเอาต้นฉบับเหล่านั้นมารวมเป็นเล่มเดียวกัน ซึ่งขั้นตอนนี้ถูกกระทำขึ้นในสมัยของท่านอบูบักรฺ
3.ขั้นตอนที่สามคือ การรวบรวมอัลกุรอานทั้งเล่ม โดยนำเอาต้นฉบับที่บันทึกไว้ในทีต่างๆ ซึ่งการนำเอาต้นฉบับเหล่านั้นมารวมกัน เพื่อป้องกันความผิดพลาด และความแตกต่างในการอ่าน ซึ่งขั้นตอนนี้ถูกรวบรวมในสมัยของท่านอุษมาน[1]
คำอธิบาย
ภายหลังการวะฟาดของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) การรวบรวมอัลกุรอาน ได้ถูกกระทำอย่างเป็นทางการ โดยคำสั่งของท่านอบุบักรฺ เคาะลิฟะฮฺที่ 1 โดยความช่วยเหลือของท่าน “ซัยดฺ บิน ษาบิต” ซึ่งก่อนหน้านั้นท่านอิมามอะลี (อ.) ในฐานะที่รู้จักอัลกุรอาน มากกว่าใครทั้งสิ้นท่านได้เรียบเรียงต้นฉบับอัลกุราอนขึ้น ประกอบกับอิสลาม ได้ขยายตัวกว้างราวทศวรรษที่ 30 ฮิจญฺเราะฮฺศักราช ประชาชนจำนวนมากมายได้หลั่งไหลเข้ารับอิสลาม และพวกเขาต้องการมีคัมภีร์ไว้ศึกษา จนเป็นสาเหตุทำให้ต้องมีคัมภีร์ไว้ศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้และวิชาการ จึงเป็นที่มาของการจัดทำกุรอานเป็นรูปเล่ม จากต้นฉบับที่เชื่อถือไว้ จากท้องที่ต่าง ๆ จากตำราอ้างอิงทางประวัติศาสตร์จำนวนมาก อ้างถึงความแตกต่างกันในการอ่าน ที่ปรากฎอยู่ในหมู่มุสลิมทั้งหลาย ซึ่งกล่าวว่ารากเหง้าของความขัดแย้ง กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความแตกแยกกัน[2]
การเสนอให้มีการอ่านและการรวมอัลกุรอาน เป็นเล่มเดียวกันเสนอโดย “ฮุดัยฟะฮฺ” ซึ่งท่านอุษมานก็มีความเห็นพร้องต้องกัน ถึงความจำเป็นดังกล่าว ด้วยเหตุนี้เอง ท่านเคาะลิฟะฮฺ ที่สามจึงได้ขอคำปรึกษาหารือจากเหล่าเซาะฮาบะฮฺ ซึ่งทั้งหมดก็เห็นดีเห็นงามถึงความจำเป็นดังกล่าว แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะความยากลำบากเพียงใดก็ตาม ท่านอุษมานได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นมากลุ่มหนึ่งจำนวน 4 คน ประกอบด้วย ท่านซัยดฺ บิน ษาบิต อับดุลลอฮฺ อิบนุ ซุบัยร์ สะอีด บิน อาศ และอับดุรเราะฮฺมาน บิน ฮาริษ แต่หลังจากนั้นกลุ่มดังกล่าวได้ขยายตัวเป็น 12 คน  ซึ่งเคาะลิฟะฮฺ ได้มีคำสั่งแก่พวกเขาว่า เนื่องจากอัลกุรอาน ถูกประทานลงมาด้วยภาษากุเรช ดังนั้น ท่านทั้งหลายจงเขียนด้วยภาษากุเรช
กลุ่มที่ประสงค์ต้องการทำให้อัลกุรอาน เป็นฉบับเดียวกันถูกจัดตั้งขึ้น เมื่อราวปีฮิจญฺเราะฮฺที่ 25 การดำเนินการครั้งแรกได้รับคำสั่งจากท่านอุษมาน ซึ่งท่านได้สั่งให้รวบรวมอัลกุรอาน จากต้นฉบับที่บันทึกไว้ตามหัวเมืองต่าง ๆ ในแคว้นอิสลามสมัยนั้น
ในขั้นตอนนี้ หลังจากอัลกุรอานได้ถูกรวบรวมเป็นฉบับเดียวกันแล้ว ก็ถูกส่งไปยังมะดีนะฮฺ หลังจากนั้นท่านเคาะลิฟะฮฺได้สั่งให้ทำลายต้นฉบับเดิมทิ้งเสีย หรือโยนไปต้มในน้ำเดือด ด้วยเหตุนี้นี้เองท่านอุษมานจึงได้รับฉายาว่า “ฮัรรอกุลมะซอฮิบ” หมายถึงผู้เผาต้นฉบับทิ้ง ขั้นตอนสุดท้ายคือการจัดส่งต้นฉบับที่รวบรวมแล้ว ไปยังสถานที่และศูนย์กลางสำคัญ ขณะที่ส่งต้นฉบับไปยังหัวเมืองต่างๆ นั้น ท่านเคาะลิฟะฮฺ ได้จัดส่งนักกอรีไปด้วย เพื่อให้เขาอ่านกุรอานให้ประชาชนได้รับฟัง[3]
บรรดานักประวัติศาสตร์ได้นับจำนวน ต้นฉบับที่ถูกจัดทำขึ้น และถูกจัดส่งไปยังหัวเมืองต่างๆ ในครั้งนี้ แตกต่างกัน “อิบนุ อบีดาวูด” กล่าวว่ามีจำนวน 6 เล่ม ซึ่งถูกส่งไปยังเมืองต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ มักกะฮฺ กูฟะฮฺ บัศเราะฮฺ ชาม บะฮฺเรน และเยเมน และถูกเก็บรักษาไว้ในมะดีนะฮฺ เล่มหนึ่ง ซึ่งเรียกต้นฉบับนั้นว่า “อัม” หรือ “อิมาม” ท่านยะอฺกูบียฺ บันทึกไว้ในหนังสือของท่าน โดยเพิ่มต้นฉบับเข้าไปอีก 2 เล่ม ซึ่งถูกส่งไปยังอียิปต์ และอัลญะซีเราะฮฺ  ส่วนต้นฉบับที่ถูกส่งไปยังเมืองต่างๆ นั้น ได้ถูกส่งไปยังศูนย์กลาง และถูกเก็บรักษาอยู่ที่นัน นอกจากนั้นยังมีต้นฉบับอื่นๆ อีกที่คัดลอกไปจากต้นฉบับดังกล่าว เพื่อให้ทั่วถึงและสะดวกสำหรับประชาชน[4]
การเรียงตามต้นฉบับของอุษมาน ก็คือการเรียงดังกุรอานในปัจจุบัน ซึ่งเหมือนการเรียงอยู่ในต้นฉบับต่างๆ ของบรรดาเซาะฮาบะฮฺ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงกับต้นฉบับของ อบี บิน กะอับ ซึงในสมัยนั้นการเขียนลายมือ เป็นที่รู้จักมักคุ้นกันดีของชนอาหรับในยุคนั้น ฉะนั้น การจดบันทึกจึงปราจาคสระและวรรยุกต์[5]
ส่วนผู้รู้ฝ่ายชีอะฮฺ มีความเชื่อว่าอัลกุรอานที่มีอยู่ในมือของเราในปัจจุบัน ก็คืออัลกุรอานสมบูรณ์และครบถ้วนแล้ว ซึ่งต้นฉบับของอุษมานก็คือ อัลกุรอานที่มีอยู่ในมือของเราเล่มปัจจุบัน ซึ่งปราศจากการแก้ไขเพิ่มเติม การสังคายนา และการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ ทั้งสิ้น แม้ว่าในชวงเวลาเดียวกันท่านอิมามอะลี (อ.) จะบันทึกอัลกุรอานไว้ด้วยตัวของท่านเอง โดยบันทึกไปตามการประทานลงมาอย่างเป็นระเบียบก้ตาม แต่ทว่าอัลกุรอานเล่มที่มีอยู่เดิมนี้ ก็ได้รับการรับรองและการยืนยันจากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ทุกท่าน ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นอันใดทั้งสิ้น ที่เราต้องจัดพิมพ์อัลกุรอานอีกเล่มหนึ่ง โดยพิมพ์เรียงไปตามวาระการถูกประทานลงมา แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะไม่เป็นบิดอะฮฺก็ตาม เนื่องจากว่า “บิดอะฮฺ” หมายถึง การนำสิ่งต่างๆ เข้ามาในศาสนา ซึ่งสิ่งนั้นไม่เคยมีอยู่ก่อน แน่นอนว่า การกระทำดังกล่าวเป็น ฮะรอม และบรรดาอิมามของชีอะฮฺ ก็ชี้ให้เห็นถึงประเด็นดังกล่าวไว้แล้ว
ชายคนหนึ่งอ่านและกล่าวเกี่ยวกับอัลกุรอาน ต่อหน้าท่านอิมามซอดิก (อ.) แต่ต่างไปจากที่ประชาชนอ่านและเข้าใจทั่วไป ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “เจ้าอย่าอ่านคำนี้เช่นนี้อีก แต่เจ้าจงอ่านเหมือนที่ทั่วไปอ่าน”[6]
ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้แสดงเห็นชอบด้วยกับการที่จะรวบรวม ต้นฉบับอัลกุรอานไว้ในเล่มเดียวกัน ท่านอิบนุอบีดาวูด รายงานจากท่านซูอิด บิน ฆ็อฟละฮฺว่า ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺว่า อุษมานมิได้กระทำสิ่งใดเกี่ยวกับอัลกุรอานเลย เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับคำปรึกษาหารือแล้ว”[7]
อีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า “ถ้าหากการสั่งให้รวบรวมต้นฉบับ ต้นมาถึงฉัน ฉันก็คงต้องทำเฉกเช่นที่อุษมานได้กระทำ”[8]
สรุปสิ่งที่กล่าวมา ตามประวัติการรวบรวมอัลกุรอาน ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือผู้กำหนดว่า โองการไหนควรจะอยู่ที่ใด มิใช่ความเห็นชอบ หรือความพอใจของเซาะฮาบะฮฺแต่อย่างใด กล่าวคือทุกโองการที่ประทานลงมา ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นผู้กำกับเองว่าควรจัดวางไว้ตรงที่ใด และอัลกุรอานที่อยู่ในมือของเราปัจจุบันนี้ก็คือ อัลกุรอานที่ถูกรวบรวมในสมัยของท่านอุษมาน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากนักกอรี และนักท่องจำอัลกุรอานกลุ่มใหญ่ อีกด้านหนึ่งอัลกุรอานเล่มปัจจุบัน ได้รับการยอมรับจากบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ดังนั้น ไม่สามารถกล่าวได้ว่า อัลกุรอานเล่มนี้ ถูกรวบรวมขึ้นตามความพอใจของท่านอุษมาน เพื่อว่าท่านจะได้สามารถกำหนดสถานที่ของโองการตามความพอใจได้

[1]ชากีรีน ฮะมี ริฎอ กุรอานเชนอซี หน้า 19 ดัฟตัรนัชรฺ มะอาริฟ, พิมพ์ครั้งที่ 7 1386
[2] ดัรซ์ นอเมะฮฺ อุลูมกุรอานี ฮุซัยนฺ ญะวาด ออรอซเตะฮฺ หน้า 198, สำนักพิมพ์ ดัฟตัร ตับลีฆอต อิสลามี, กุม, พิมพ์ครั้งที่ 3 ปี 1378
[3] อ้างแล้ว เล่มเดิม หน้า 203
[4] ออมูเซซ อุลูมกุรอาน ฉบับแปล อัตตัมฮีม ฟี อุลูมิลกุรอาน, มุฮัมมัด ฮาด มะอฺริฟัต ผู้แปล อบูมุฮัมมัด วะกีลี เล่ม 1, หน้า 425, สำนักพิมพ์ มัรกัซ จอพ วะ นัชรฺ ซอเซมอน ตับลีฆอต อิสลามี กุม พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 1371
[5] อ้างแล้ว เล่ม 1, หน้า 433
[6] อ้างแล้ว เล่ม 1 หน้า 416
[7] อัลอิตติกอน ฟี อุลูม กุรอาน, ญะลาลุดดีน ซุยูฏี เล่ม 1 หน้า 170 สำนักพิมพ์ อัซรียะฮฺ พิมพ์ที่เบรุต ปี ฮ.ศ. 1408
[8] มุฮัมมัด อิบนุ มะฮฺมูด แต่ถูกรู้จักกันในนามของ อิบนุ ญะซะรียฺ, อันนัชรฺ ฟิล กะรออาต อัลอะชะเราะ,เล่ม 1 หน้า 8, สำนักพิมพ์ ดารุลกุตุบ อัลอะละมียะฮฺ พิมพ์ เบรูต
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ตักวาหมายถึงอะไร?
    17841 จริยธรรมทฤษฎี 2555/01/23
    ตักว่าคือพลังหนึ่งที่หยุดยั้งจิตด้านในซึ่งการมีอยู่ของมนุษย์คือสาเหตุของการมีพลังนั้นและพลังดังกล่าวจะพิทักษ์ปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นจากการกระทำความผิดฝ่าฝืนต่างๆความสมบูรณ์ของตักวานอกจากจะช่วยทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความผิดบาปและการก่ออาชญากรรมต่างๆ
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5863 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • การทำความผิดซ้ำซาก เป็นให้ถูกลงโทษรุนแรงหรือ?
    11495 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    การทำความผิดซ้ำซากมีความหมาย 2 อย่าง กล่าวคือ 1-ทำความผิดซ้ำบ่อยครั้ง, 2- กระทำผิดโดยไม่ได้คิดลุแก่โทษ หรือไม่เคยกลับตัวกลับใจ การทำความผิดซ้ำซากนั้น จะมีผลติดตามมาซึ่งหนักหนาสาหัสมาก ทั้งโองการอัลกุรอานและรายงานฮะดีซ ได้กล่าวตำหนิไว้อย่างรุนแรง และยังได้กล่าวเตือนอีกว่าผลของการกระทำความผิดนั้น เช่น การเปลื่ยนจากความผิดเล็กเป็นความผิดใหญ่, การออกนอกวงจรของผู้มีความสำรวมตน, ความอับโชคเฮงซวยทั้งหลาย, อิบาดะฮฺไม่ถูกตอบรับ, ลากพามนุษย์ไปสู่เขตแดนของผู้ปฏิเสธศรัทธาและพระเจ้า และ ... หนึ่งในผลของการทำความผิดซ้ำซากคือ การได้รับโทษทัณฑ์อันรุนแรงทั้งโลกนี้และโลกหน้า เหมือนกับบุคคลที่ได้ทำบาปใหญ่ ถ้าเป็นครั้งที่สองเขาจะถูกลงโทษและถูกเฆี่ยนตี ถ้าเป็นครั้งที่สามประหารชีวิต ...
  • การกระทำใดบ้างที่ส่งผลให้คนเราแลดูสง่ามีราศี?
    6390 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ในมุมมองของอิสลามความสง่างามแบ่งได้เป็นสองประเภทอันได้แก่ความงดงามภายนอกและภายใน.ปัจจัยที่สร้างเสริมความสง่างามภายในตามที่ฮะดีษบ่งบอกไว้ก็คือความอดทนความสุขุมความยำเกรง...ฯลฯ
  • เราจะมั่นใจได้อย่างไร สำหรับผู้รู้ที่ตักเตือนแนะนำและกล่าวปราศรัย มีความเหมาะสมสำหรับภารกิจนั้น?
    7207 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    ตามคำสอนของอิสลามที่มีต่อสาธารณชนคือ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความเข้าในคำสอนศาสนา ตนต้องค้นคว้าและวิจัยด้วยตัวเองเกี่ยวกับบทบัญญัติของศาสนา หรือให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอุละมาอฺ และเนื่องจากว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้ทั้งหมด กล่าวตนเข้าศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอนของศาสนา ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องเข้าหาอุละมาอฺในศาสนา อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการรู้จักผู้รู้ที่คู่ควรและเหมาะสมเอาไว้ว่า การได้ที่เราจะสามารถพบอุละมาอฺที่ดี บริสุทธิ์ และมีความเหมาะสมคู่ควร สำหรับชีอะฮฺแล้วง่ายนิดเดียว เช่น กล่าวว่า “ผู้ที่เป็นอุละมาอฺคือ ผู้ที่ปกป้องตัวเอง พิทักษ์ศาสนา เป็นปรปักษ์กับอำนาจฝ่ายต่ำของตน และเชื่อฟังปฏิบัติตามบัญชาของอัลลอฮฺ ฉะนั้น เป็นวาญิบสำหรับบุคคลทั่วไปที่จะต้องปฏิบัติตามเขา นอกจาคำกล่าวของอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) แล้วยังมีวิทยปัญญาอันล้ำลึกของผู้ศรัทธา ไม่ว่าเขาจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตามเขาจะใช้ประโยชน์จากมัน แม้ว่าจะอยู่ในหมู่ผู้ปฏิเสธศรัทธาก็ตาม ...
  • อยากทราบว่ามีหลักเกณฑ์ใดในการกำหนดวัยบาลิกของเด็กสาวและเด็กหนุ่ม?
    14676 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/16
    อิสลามได้กำหนดอายุบาลิกไว้เมื่อถึงวัยของการบรรลุนิติภาวะ กล่าวคือเมื่อบุคคลมีคุณลักษณะของการบรรลุนิติภาวะปรากฏขึ้น (ขั้นต่ำของลักษณะเหล่านี้คือการหลั่งอสุจิสำหรับเด็กหนุ่ม และประจำเดือนสำหรับเด็กสาว) ดังนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้ถึงวัยแห่งบาลิกแล้ว แต่ทว่าในศาสนาอิสลาม นอกจากคุณลักษณะเหล่านี้แล้ว ได้กำหนดบรรทัดฐานในด้านของอายุในการบาลิกให้กับเด็กหญิงและเด็กหนุ่มไว้ด้วย ดังนั้น หากเด็กหญิงหรือเด็กหนุ่มยังไม่มีลักษณะโดยธรรมชาติ แต่ถึงอายุที่ศาสนาได้กำหนดไว้สำหรับการบาลิกของเขาแล้ว เขาจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน เฉกเช่นผู้บาลิกคนอื่น ๆ ดังนั้น ไม่ใช่ว่าชาวซุนนีจะถือว่าเด็กสาวถึงวัยบรรลุนิติภาวะตามหลักเกณฑ์ธรรมชาติ แต่ชีอะฮ์นับจาก 9 ปีแต่อย่างใด แต่ทว่าหากเด็กสาวมีรอบเดือนหรือตั้งครรภ์แล้ว ทุกมัซฮับถือว่าเธอบรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงแม้ว่าเธอจะยังไม่ถึงวัยที่ฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้กำหนดไว้สำหรับการบรรลุนิติภาวะก็ตามa ...
  • อัลลอฮฺ ทรงพึงพอพระทัยผู้ใด? บุคคลใดที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัย, ผู้นั้นจะได้เป็นเจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความโปรดปรานหรือ? ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว โองการที่ 28 บทอันบิยาอฺที่กล่าวว่า : และพวกเขาจะมิให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด, นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย จะไม่ขัดแย้งกันดอกหรือ? อีกนัยหนึ่ง : เจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความพึงพอพระทัย จะเข้ากันได้อย่างไรกับชะฟาอะฮฺ?
    9559 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพึงพอพระทัยบุคคลที่มีศรัทธาและพึงปฏิบัติคุณงามความดี, เพียงแต่ว่าความศรัทธาและคุณงามความดีนั้นมีทั้งเข้มแข็งมั่นคงและอ่อนแอ อีกทั้งมีระดับชั้นที่แตกต่างกันออกไป, ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเขาจึงแตกต่างกันออกไปด้วยสรวงสวรรค์ ก็เช่นเดียวกันถูกแบ่งไปตามระดับชั้นของความศรัทธา คุณภาพ และปริมาณของคุณงามความดีที่ชาวสวรรค์ได้สั่งสม ซึ่งระดับชั้นของสวรรค์ก็มีความแตกต่างกันออกไป ส่วน “สวรรค์ชั้นริฎวาน” คือสวรรค์ชั้นสูงที่สุด เจ้าของสวรรค์ชั้นนี้ได้แก่ บรรดาศาสดาทั้งหลาย, บรรดาตัวแทนและบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ (ซบ.), ตลอดจนบรรดาผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ ชนกลุ่มนี้ไม่ต้องการชะฟาอะฮฺแต่อย่างใด เนื่องจากพวกเขาคือผู้ให้ชะฟาอะฮฺ และยังเป็นสักขีพยานในวันแห่งการฟื้นคืนชีพอีกต่างหาก. ด้วยเหตุนี้เอง วัตถุประสงค์ของประโยคที่ว่า “มะนิรตะฎอ” (ผู้ที่ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ) ในโองการอัลกุรอานจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นเจ้าของสวรรค์ชั้นริฏวาน เพื่อว่าระหว่างตำแหน่งชั้นของพวกเขากับโองการจะได้ไม่ขัดแย้งกันอัลกุรอาน โองการดังกล่าวอยู่ในฐานะของการขจัดความสงสัยและความเข้าใจผิด ของบรรดาผู้ปฏิเสธที่วางอยู่บนความเข้าใจที่ว่า มลาอิกะฮฺจะให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา, เนื่องจากมลาอิกะฮฺคือเจ้าหน้าที่ของอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขาจะไม่ปฏิบัติสิ่งใดที่ขัดแย้งต่อบัญชาของพระองค์, พวกเขาจะให้ชะฟาอะฮฺแก่บุคคลผู้ซึ่ง ...
  • ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์ (ตะมีม) เป็นใครมาจากใหน?
    6315 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    حصين بن نمير ซึ่งออกเสียงว่า “ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์” ก็คือคนเดียวกันกับ “ฮุศ็อยน์ บิน ตะมีม” หนึ่งในแกนนำฝ่ายบนีอุมัยยะฮ์ที่มาจากเผ่า “กินดะฮ์” ซึ่งจงเกลียดจงชังลูกหลานของอิมามอลีอย่างยิ่ง และมีส่วนร่วมในการสังหารฮะบี้บ บิน มะซอฮิร หนึ่งในสาวกของอิมามฮุเซน บิน อลีในวันอาชูรอ ปีฮ.ศ. 61 โดยได้นำศีรษะของฮะบี้บผูกไว้ที่คอของม้าเพื่อนำไปยังราชวังของ “อิบนิ ซิยาด” ...
  • ความตายคืออะไร และเราสามารถยึดเวลาความตายออกไปได้ไหม ?
    10427 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    ความตายในทัศนะของนักปรัชญาอิสลามหมายถึงจิตวิญญาณได้หยุดการบริหารและแยกออกจากร่างกายแน่นอนทัศนะดังกล่าวนี้ได้สะท้อนมาจากอัลกุรอานและรายงานซึ่งตัวตนของความตายไม่ใช่การสูญสิ้นส่วนในหลักการของอิสลามมีการตีความเรื่องความตายแตกต่างกันออกไปซึ่งทั้งหมดมีจุดคล้ายเหมือนกันอยู่ประการหนึ่งกล่าวคือความตายไม่ใช่ความสูญสิ้นหรือดับสูญแต่อย่างใดทว่าหมายถึงการเปลี่ยนหรือการโยกย้ายจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลังหนึ่งเนื่องจากมนุษย์นั้นประกอบไปด้วยร่างกายและจิตวิญญาณอีกอย่างหนึ่งความตายเท่ากับเป็นหยุดการทำงานของร่างกายภายนอกส่วนจิตวิญญาณได้โยกย้ายเปลี่ยนไปอยู่ยังปรโลกด้วยเหตุนี้ความตายจึงได้ถูกสัมพันธ์ไปยังมนุษย์
  • สร้อยนามหมายถึงอะไร? แล้ว “อบุลกอซิม”สร้อยนามของท่านนบีนั้นได้มาอย่างไร?
    11184 تاريخ بزرگان 2555/03/04
    ตามธรรมเนียมของชาวอรับแล้ว ชื่อที่มีคำว่า “อบู”(พ่อของ...) หรือ “อุมมุ”(แม่ของ...) นำหน้านั้น เรียกกันว่า “กุนียะฮ์” (สร้อยนาม) ในทัศนะของอรับเผ่าต่างๆนั้น ธรรมเนียมการตั้งสร้อยนามถือเป็นการยกย่องบุคคล ตัวอย่างสร้อยนาม อบุลกอซิม, อบุลฮะซัน, อุมมุสะละมะฮ์, อุมมุกุลษูม ฯลฯ[1] ศาสนาอิสลามก็ให้ความสำคัญแก่สร้อยนามเช่นกัน ฆ็อซซาลีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “ท่านนบี(ซ.ล.)มักจะให้เกียรติเรียกเหล่าสหายด้วยสร้อยนามเพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรี ส่วนผู้ที่ไม่มีสร้อยนาม ท่านก็จะเลือกสร้อยนามให้เขา และจะเรียกสร้อยนามนั้น กระทั่งผู้คนก็เรียกตามท่าน แม้กระทั่งผู้ที่ไม่มีบุตรที่จะนำมาตั้งสร้อยนาม ท่านนบี(ซ.ล.)ก็จะตั้งให้เขา ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังตั้งสร้อยนามแก่เด็กๆด้วย อาทิเช่นเรียกว่าอบูนั้น อบูนี้ เพื่อเชื่อมสัมพันธ์กับเด็กๆ”[2] รายงานจากอิมามริฎอ(อ.)ว่า إذا كان الرجل حاضرا فكنه و إن ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60187 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57647 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42264 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39471 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38988 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34047 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28056 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28041 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27879 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25864 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...