การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8204
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/03
 
รหัสในเว็บไซต์ fa4098 รหัสสำเนา 20407
คำถามอย่างย่อ
ฮะดีษทุกบทที่กล่าวถึงการมุตอะฮ์เชื่อถือได้หรือไม่?
คำถาม
บางครั้งบรรดาอิมามอาจจะกล่าวฮะดีษสอดคล้องกับสถานการณ์หรือกรณีฟิกเกาะฮ์ในลักษณะบทเฉพาะกาล เป็นที่น่าเศร้าใจที่มีฮะดีษปลอมปรากฏในตำราศาสนาของเราบางเล่ม น่าเสียใจที่มีผู้เคร่งศาสนาบางคนที่หวังดีและอยากจะนำเสนอประเด็นการสมรสชั่วคราว แต่กลับอ้างอิงถึงฮะดีษบางบทที่ไม่น่าเชื่อถือแง่ไวยากรณ์และสำนวนทางเทววิทยา กรุณาวิจารณ์ฮะดีษเหล่านี้ด้วยค่ะ
1. อะบาน บิน ตัฆลิบ ถามอิมามศอดิก(อ.)ว่า หากพบสตรีโฉมงามที่พร้อมจะสมรสชั่วคราว แต่ไม่มั่นใจว่าเธอมีสามีหรือไม่ จะต้องทำอย่างไรขอรับ? ท่านตอบว่า “ไม่จำเป็นต้องสืบประวัติเธอ คำพูดที่ว่าเธอไม่มีสามีถือว่าเพียงพอแล้ว” (หมวดมุตอะฮ์ เชคมุฟี้ด,ฮะดีษที่ 37)
2. ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “ผู้ที่กระทำมุตอะฮ์หนึ่งครั้ง เท่ากับว่าเศษหนึ่งส่วนสามของเขาเป็นอิสระแล้วจากไฟนรก ผู้ที่กระทำสองครั้ง สองในสามของเขาปลอดภัย ผู้ที่กระทำสามครั้ง เขาจะปลอดภัยจากไฟนรกทั้งเรือนร่าง
3. ซุรอเราะฮ์ บิน อะอ์ยัน รายงานจากอิมามบากิร(อ.)ว่า ความสุขของผู้ศรัทธามีสามประการ หนึ่ง มุตอะฮ์กับอิสตรี สอง หยอกล้อกับมิตรสหาย สาม นมาซตะฮัจญุด (หนังสือ สมรสชั่วคราว: ความจำเป็นแห่งยุคสมัย,อับบาสซอเดะฮ์)
4. ฮิมยะรีส่งสาส์นถามท่านอิมามมะฮ์ดีว่า มีชายชีอะฮ์คนหนึ่งที่ยอมรับว่ามุตอะฮ์เป็นที่อนุมัติ และมีภรรยาที่ดีและปรนนิบัติอย่างเต็มที่ เขาจึงสัญญากับนางว่าจะไม่สมรสอีก ไม่ว่าจะถาวรหรือชั่วคราว เขารักษาสัญญาไว้ถึงสิบเก้าปี แม้บางครั้งต้องเดินทางไปต่างบ้านต่างเมืองแต่เขาก็อดทน เขายอมรับว่ามุตอะฮ์เป็นสิ่งอนุมัติก็จริง แต่เนื่องจากรักภรรยาเป็นอย่างยิ่ง จึงไม่ยอมมุตอะฮ์กับสตรีคนใดเลย ถามว่าการที่เขางดกระทำมุตอะฮ์ ถือเป็นบาปหรือไม่ขอรับ? คำตอบจากท่านอิมามส่งถึงเขาดังนี้ “เนื่องจากเขาสัญญาในสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืนอัลลอฮ์ จึงจำเป็นต้องเชื่อฟังพระองค์ และกระทำมุตอะฮ์หนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อย” (บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 100,หน้า 298 และ หมวดมุตอะฮ์,เชคมุฟี้ด,หน้า 48)
5. ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “ผู้ใดที่ตายไปโดยที่ยังไม่เคยมุตอะฮ์ จะมีหน้าตาอัปลักษณ์เสมือนคนที่จมูกแหว่ง”
คำตอบโดยสังเขป

การสมรสชั่วคราวถือเป็นหนึ่งในขนบธรรมเนียมแห่งอิสลามที่กุรอานได้อนุญาตไว้
ขนบธรรมเนียมอันดีงามนี้มีการถือปฏิบัติกันในสังคมมุสลิมยุคท่านนบี(..)และเคาะลีฟะฮ์คนแรก ตลอดจนระยะแรกของยุคเคาะลีฟะฮ์คนที่สอง กระทั่งเขาได้สั่งห้ามในที่สุด
แต่บรรดาอิมามมะอ์ศูมีนมักจะรณรงค์ให้มีการสมรสประเภทนี้ต่อไป เนื่องจากขนบธรรมเนียมทางศาสนาดังกล่าวถูกสั่งห้ามอย่างไม่ชอบธรรม อย่างไรก็ดี ฮะดีษที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ควรได้รับการกลั่นกรองสายรายงานและเนื้อหาเสมือนฮะดีษอื่นๆทั่วไป ซึ่งจะแจกแจงในคำตอบแบบสมบูรณ์ต่อไป นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาสภาพสังคมในยุคของอิมามด้วย

คำตอบเชิงรายละเอียด

การสมรสชั่วคราวถือเป็นหนึ่งในขนบแห่งอิสลามที่กุรอานได้อนุญาตไว้
ขนบธรรมเนียมอันดีงามนี้มีการถือปฏิบัติกันในสังคมมุสลิมยุคท่านนบี(..)และเคาะลีฟะฮ์คนแรก ตลอดจนระยะแรกของยุคเคาะลีฟะฮ์คนที่สอง กระทั่งเขาได้สั่งห้ามในที่สุด
แต่บรรดาอิมามมะอ์ศูมีนมักจะรณรงค์ให้มีการสมรสประเภทนี้ต่อไป เนื่องจากขนบธรรมเนียมทางศาสนานี้ถูกสั่งห้ามอย่างไม่ชอบธรรม การกระทำดังกล่าวจึงนับว่าเป็นการดื้อแพ่งต่อคำสั่งห้ามอันเป็นบิดอะฮ์ และนี่คือเหตุผลที่การสมรสประเภทนี้ถือเป็นมุสตะฮับในทัศนะของชีอะฮ์ ซึ่งมีการอธิบายไว้ในสำนวนฮะดีษหลายบท

ส่วนการวิจารณ์ฮะดีษนั้น ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะการวิจารณ์ฮะดีษต้องอาศัยความชำนาญอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์สายรายงานว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ และไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์เนื้อหาฮะดีษว่า แม้ฮะดีษน่าเชื่อถือจริง แต่จะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง ตัวอย่างเช่น ข้อพึงสังเกตุที่ว่าฮะดีษกล่าวขึ้นในบริบทใด เรื่องใด และตอบคำถามใดหรือไม่?

เราเห็นพ้องกับคุณในประเด็นที่ว่า ผู้ที่ไม่มีความชำนาญไม่ควรนำเสนอฮะดีษตามใจชอบ ด้วยเหตุนี้เองที่แม้ในยุคของบรรดาอิมามเองก็มีบุคคลจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้รายงานฮะดีษ
ก่อนจะวิเคราะห์ฮะดีษที่คุณอ้างอิงไว้ จำเป็นต้องวิจารณ์สายรายงานและเนื้อหาโดยละเอียดดังต่อไปนี้:

ฮะดีษแรก
ฮะดีษนี้ปรากฏในหนังสืออัลกาฟีด้วยสายรายงานต่อไปนี้:

عدة من أصحابنا ، عن أحمد بن محمد بن خالد ، عن محمد بن علی ، عن محمد بن أسلم ، عن إبراهیم بن الفضل ، عن أبان بن تغلب قال : قلت لأبی عبد الله ( علیه السلام ) : إنی أکون فی بعض الطرقات أرى المرأة الحسناء و لا آمن أن تکون ذات بعل أو من العواهر؟ قال: لیس هذا علیک إنما علیک أن تصدقها فی نفسها[1]

ในสายรายงานนี้มีมุฮัมมัด บิน อลี และ มุฮัมมัด บิน อัสลัม ซึ่งเป็นพวกสุดโต่งและไม่น่าเชื่อถือ ส่วน อิบรอฮีม บิน ฟัฎล์ อัลฮาชิมีก็เป็นบุคคลที่ไม่มีใครรู้จัก
อย่างไรก็ดี ในหมวดดังกล่าว(หมวดเชื่อสตรีได้ในเรื่องที่เกี่ยวกับตัวนางเอง) มีฮะดีษถัดไปที่มีสายรายงานที่เศาะฮี้ห์ อันหมายถึงผู้รายงานทุกคนเชื่อถือได้ เป็นอิมามียะฮ์ และเชื่อมถึงอิมาม โดยมีเนื้อหาตรงตามนั้น

แต่เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว ฮะดีษมีทั้งประเภทที่มีเนื้อหากว้างและเนื้อหาเจาะจง หรือประเภทมีเงื่อนไขและปราศจากเงื่อนไข บางกรณีมีเนื้อหาหักล้างกันเอง ซึ่งทำให้เข้าใจลำบากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงต้องสอบถามผู้รู้เฉพาะทางในสายฮะดีษ (บรรดามุจตะฮิด) เพื่อมิให้เข้าใจผิดเพี้ยนหรือตีความตามอำเภอใจ อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับกันว่า หากหญิงคนใดกล่าวว่าตนไม่มีสามีก็สามารถเชื่อตามนั้นได้ (หากไม่เป็นที่รู้กันว่านางชอบโกหกพกลม)[2]

ส่วนฮะดีษบทที่สองที่คุณอ้างไว้ เราไม่พบในตำราเล่มใด จึงไม่อาจจะแสดงทัศนะได้

ส่วนฮะดีษบทที่สาม ตัวบทฮะดีษมีอยู่ว่า 

أبی عن سعد ، عن حماد بن یعلی ، عن أبیه، عن حماد بن عیسى عن زرارة ، عن أبی جعفر (ع) قال : لهو المؤمن فی ثلاثة أشیاء: التمتع بالنساء و مفاکهة الاخوان و الصلاة باللیل[3]

ในสายรายงานนี้มี ฮัมม้าด บิน ยะอ์ลา และพ่อของเขา ยะอ์ลา บิน ฮัมม้าด ซึ่งทั้งสองคนไม่เป็นที่รู้จัก จึงทำให้กลายเป็นฮะดีษเฎาะอี้ฟ ทว่าไม่มีข้อด้อยในแง่เนื้อหา เนื่องจากการสมรสชั่วคราวนั้น แม้ว่าจะกระทำเพียงเพื่อให้มีความสุขก็ถือว่าถูกต้อง อย่างไรก็ดี การแสวงหาความสุข (ตะมัตตุอ์)ในที่นี้อาจหมายถึงการสมรสถาวรก็ได้ ซึ่งในกรณีดังกล่าวย่อมอยู่นอกเหนือประเด็นของเรา

ส่วนฮะดีษบทที่สี่
อันดับแรก: ฮะดีษนี้มีสองสายรายงานซึ่งอ่อนทั้งคู่ ทว่ามีฮะดีษอีกบทหนึ่งซึ่งเป็นเศาะฮี้ห์ อันหมายถึงผู้รายงานทุกคนเชื่อถือได้ เป็นอิมามียะฮ์ และเชื่อมถึงอิมาม จึงสามารถอ้างอิงและใช้ประโยชน์ในแง่เนื้อหาได้
สอง: ความหมายที่ถูกต้องของฮะดีษดังกล่าวคือ เป็นสิ่งบังควร (มิไช่บังคับ) ที่เขาจะเชื่อฟังอัลลอฮ์ด้วยการกระทำมุตอะฮ์ และควรกระทำแม้สักครั้งเพื่อเป็นการเพิกถอนสัญญาอันเป็นมะอ์ศิยัตดังกล่าว[4]

ส่วนฮะดีษที่ห้านั้น เราไม่พบในตำราเล่มใด

สรุปคือ อุละมาชีอะฮ์มีทัศนะเป็นเอกฉันท์ในเรื่องการอนุมัติให้มุตอะฮ์ได้ แม้จะกระทำเพื่อความสุขทางเพศเพียงอย่างเดียวก็ตาม ซึ่งข้อสรุปข้างต้นสังเคราะห์มาจากเนื้อหาของฮะดีษอื่นๆจำนวนไม่น้อยที่นอกเหนือจากฮะดีษที่กล่าวมาทั้งหมด ซึ่งล้วนมีความน่าเชื่อถือเพียงพอ

หากต้องการศึกษาเพิ่มเติม กรุณาอ่าน:
ระเบียน การสมรสชั่วคราวและความสงบทางจิตใจ เลขที่ 2925 (เว็บไซต์ 3130)
ระเบียน การสมรสชั่วคราวในกุรอานและจารีตของมะอ์ศูมีน เลขที่ 2965  (เว็บไซต์ 3467)
ระเบียน การอนุมัติให้สมรสชั่วคราวได้ เลขที่ 844 (เว็บไซต์ 915)
ระเบียน ผลเสียที่จะเกิดจากการปล่อยให้มีการสมรสชั่วคราวในสังคม เลขที่ 347 (เว็บไซต์ 353)



[1] ษิเกาะตุลอิสลาม กุลัยนี, อัลกาฟี,เล่ม 5,หน้า 462, ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,..1365

[2] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมามโคมัยนี(พร้อมภาคผนวก),เล่ม 2,หน้า 499, ปัญหาที่ 2456 และเชิงอรรถของอายะตุลลอฮ์ ฟาฎิลลังกะรอนี, ซีซตานี, และมะการิม ชีรอซี

[3] เชคเศาะดู้ก,อัลคิศ้อล,เล่ม 1,หน้า 161,สำนักพิมพ์ญามิอะฮ์มุดัรริซีน,กุม,.. 1403

[4] อามิลี, เชคฮุร,วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 21,หน้า 17 (หมวดมุสตะฮับให้มุตอะฮ์แม้จะสัญญาหรือบนบานว่าจะไม่กระทำ),สถาบันอาลุลบัยต์,กุม,..1409   .".... یستحب له أن یطیع الله تعالى بالمتعة لیزول عنه الحلف فی المعصیة و لو مرة واحدة

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ความสำคัญ และปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คืออะไร?
    7648 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    สำหรับการติดตามผลอย่างมีนัยของการให้ความสำคัญและปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้:1. ...
  • แนวทางที่ถูกต้อง และง่ายในการเลือกมัรญิอฺตักลีดที่มีความรู้สูงสุด สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และไม่สามารถแยกแยะอุละมาอฺได้คืออะไร?
    12943 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด หมายถึงมิได้จำกัดอยู่แค่บุคคลที่มีความเชื่ยวชาญพิเศษเฉพาะปัญหาฟิกฮฺ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักชัรอียฺของตนนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามมุจญฺตะฮิดที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ สมบูรณ์ในเรื่องฟิกฮฺ และต้องเป็นผู้รู้ที่มีความรู้มากกว่ามุจญฺตะฮิดด้วยกัน ในสมัยของตน และมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดสามารถรู้จักได้จากหนึ่ง 3 วิธีดังนี้ : หนึ่ง : ตัวเราต้องมั่นใจด้วยตัวเอง สอง : มีผู้รู้สองคนที่ยุติธรรมยืนยันในความรู้ของมุจญฺตะฮิดท่านนั้น สาม : ผู้รู้กลุ่มหนึ่งได้ยืนยันและรับรองการเป็นมุจญฺตะฮิด และการเป็นผู้มีความรู้สูงสุดของเขา น่ายินดีว่าปัจจุบันบรรดาคณาจารย์ระดับสูงของสถาบันสอนศาสนา ณ เมืองกุม ได้แนะนำผู้รู้ที่มีคุณสมบัติของมุจญฺตะฮิดสมบูรณ์ ในฐานะของมัรญิอฺตักลีดไว้หลายคนด้วยกัน ซึ่งมุสลิมทุกคนสามารถเลือกปฏิบัติตามอุละมาอฺเหล่านั้น ในฐานะมัรญิอฺตักลีด ท่านหนึ่งท่านใดก็ได้ และกิจการงานของตนให้ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่าน ที่มีอยู่ในริซาละฮฺ เตาฎีฮุลมะซาอิล ในกรณีนี้ท่านจะมั่นใจได้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ทางชัรอียฺของท่านแล้ว และปัจจุบันเนื่องจากการติดต่อสื่อสารนั้นสะดวกสบาย และเป็นไปได้ในรูปแบบต่างๆ มีหลายภาษาให้เลือก ดังนั้น สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม สามารถรับรู้ข้อมูลนี้ได้อย่างง่ายดาย ...
  • เพราะเหตุใดกุญแจสู่สรวงสวรรค์คือ นมาซ?
    7623 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/17
    เป้าหมายของการสร้างมนุษย์ก็เพื่อ การแสดงความเคารพภักดีและการรู้จักพระเจ้า, ซึ่งการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้านั้น จะทำให้มนุษย์ก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ และตำแหน่งอันใกล้ชิดต่อพระเจ้า, นมาซ คือภาพลักษณ์ที่ดีและสวยงามที่สุดของการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า หรือการแสดงความเป็นบ่าวที่ดีต่อพระผู้ทรงสร้าง, ความเคร่งครัดต่อนมาซ 5 เวลาคือสาเหตุของความประเสริฐและเป็นพลังด้านจิตวิญญาณ ซึ่งทำให้มนุษย์ละเว้นการทำความผิดบาป หรือการแสดงความประพฤติไม่ดี อีกด้านหนึ่งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้พลังแห่งความสำรวมตน ภายในจิตใจมนุษย์มีความเข้มแข็งขึ้น, ในกรณีนี้ เข้าใจได้ทันทีว่า เพราะอะไรนมาซ, จึงเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์ ต้องไม่ลืมที่จะกล่าวว่า, นมาซคือหนึ่งในภาคปฏิบัติที่เป็นอิบาดะฮฺ อันมีผลบุญคือ เป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์, เนื่องจากรายงานฮะดีซ,เกี่ยวกับความรักที่มีต่อบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) คือ การกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ, ความอดทน ...ก็ถือว่าเป็นกุญแจแห่งสรวงสวรรค์เช่นกัน, และเช่นกันสิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานที่ว่า นมาซพร้อมกับความศรัทธามั่นที่มีต่ออัลลอฮฺ ความเป็นเอกะของพระองค์ ขึ้นอยู่กับความรักที่มีต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องที่มีความพิเศษยิ่งต่อกัน ...
  • การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นหัวข้อหนึ่งในหลักมะฮ์ดะวียัตหรือไม่?
    6113 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/07
    การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นสำนวนที่เกี่ยวโยงกับการเร้นกายขั้นศุฆรอ ซึ่งต้องการจะสื่อว่า ในเมื่อท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เคยมีการเร้นกายขั้นศุฆรอ(เล็ก)ก่อนการเร้นกายขั้นกุบรอ(ใหญ่) ก็ย่อมจะมีการปรากฏกายชั้นศุฆรอก่อนจะปรากฏกายขั้นกุบรอระดับโลกเช่นกัน อนึ่ง สำนวนดังกล่าวไม่มีพื้นเพจากฮะดีษใดๆ ...
  • ทั้งที่ท่านอิมามอลี (อ.) ทราบถึงเจตนาชั่วของอิบนิ มุลญัม เหตุใดท่านจึงไม่ปกป้องชีวิตตนเอง?
    6496 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/29
    เหตุผลที่ท่านอิมามอลีไม่แก้ไขเหตุที่จะเกิดในอนาคตก็คือ:1.ความรู้ระดับทั่วไปคือหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติภารกิจ:เพื่อเป็นการเคารพกฏเกณฑ์ของอัลลอฮ์ท่านอิมามจึงเลือกที่จะปฏิบัติหน้าที่เสมือนบุคคลทั่วไปโดยจะไม่ปฏิบัติตามความรู้แจ้งเห็นจริงเนื่องจากว่าหากท่านจะปฏิบัติตามญาณวิเศษย่อมจะไม่สามารถเป็นแบบฉบับแก่บุคคลทั่วไปได้เพราะบุคคลทั่วไปไม่มีญาณวิเศษ2. กลไกของโลกดุนยาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทดสอบซึ่งหากจะปฏิบัติตามญาณวิเศษก็ย่อมจะทำให้กลไกดังกล่าวเสียหายเนื่องจากจะทำลายชีวิตประจำวันของผู้คนสรุปคือแม้ว่าอิมามอลีมีหน้าที่ต้องรักษาชีวิตเสมือนบุคคลทั่วไปแต่ทว่าประการแรก: หน้าที่ดังกล่าวอยู่ในขอบเขตความรู้ทั่วไปมิไช่ญาณวิเศษประการที่สอง: คู่กรณีของท่าน(อิบนิมุลญัม)
  • การยกภูเขาฏู้รขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีลหมายความว่าอย่างไร?
    7035 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    ในหลายโองการมีสำนวน وَ رَفَعْنا فَوْقَكُمُ الطُّور ปรากฏอยู่ ซึ่งล้วนเกี่ยวกับบนีอิสรออีลทั้งสิ้น ตำราอรรถาธิบายกุรอานอธิบายว่าโองการเหล่านี้กล่าวถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดื้อรั้นของบนีอิสรออีลในยุคของท่านนบีมูซา(อ.) อัลลอฮ์ย่อมมีพลานุภาพที่จะยกภูเขาฏู้รบางส่วนให้ลอยขึ้นเหนือศีรษะของบนีอิสรออีล ดังที่ทรงเคยสร้างดวงดาวนับล้านๆดวง สร้างจักรภพและจักรวาลให้เคลื่อนที่ในอวกาศโดยมีระยะห่างที่เหมาะสม การที่จะเกิดเหตุการณ์ดังที่กุรอานเล่าไว้จึงไม่ไช่เรื่องเหลือเชื่อในแง่วิทยาศาสตร์และสติปัญญา ...
  • การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
    12781 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้วยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมายและยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้าจงเตือนตัวเองว่าโปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี
  • ประโยค “ทุกวันคือาชูรอ ทุกแผ่นดินคือกัรบะลา” เป็นฮาดีษหรือไม่? มีหลักฐานเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมากน้อยเพียงใด
    8963 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    จากการศึกษาตำราฮะดีษ  เราไม่พบหลักฐานใดๆที่ระบุว่าประโยคดังกล่าวเป็นฮาดีษบรรดามะศูมีนอย่างไรก็ดี ประโยคนี้ให้นิยามเหตุการณ์กัรบะลา
  • การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ จะเข้ากันกับเตาฮีดหรือไม่
    8623 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/08/22
    ถ้าเป็นการขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ด้วยความเชื่อที่ว่าบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ ท่านเหล่านั้นคือผู้ทำให้คำวิงวอนขอของท่านสมประสงค์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺอีก แน่นอน สิ่งนี้เป็นชิริกฮะรอม และเท่ากับเป็นการกระทำที่ต่อต้านเตาฮีด ถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด แต่ถ้ามีความเชื่อว่า บรรดาท่านเหล่านี้จะทำให้คำวิงวอนของท่านถูกตอบรับ โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ และโดยอำนาจที่พระองค์แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ทว่ายังเป็นหนึ่งในความหมายของเตาฮีด ซึ่งไม่มีอุปสรรคอันใดทั้งสิ้น ...
  • อิมามมะฮ์ดีสมรสแล้วหรือยัง?
    7974 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    แม้จะเป็นไปได้ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)อาจมีคู่ครองและบุตรหลาน เนื่องจากภาวะการเร้นกายมิได้จำกัดว่าจะท่านต้องงดกระทำการสมรสอันเป็นซุนนะฮ์แต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราไม่พบเหตุผลใดๆที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ สันนิษฐานว่าสาเหตุที่ประเด็นดังกล่าวไม่เป็นที่เปิดเผยนั้น อาจเป็นผลพวงมาจากความจำเป็นที่พระองค์ทรงเร้นกายท่านจากสายตาผู้คนนั่นเอง ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60039 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57407 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42130 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39199 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38864 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33934 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27952 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27869 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27678 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25699 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...