Please Wait
ผู้เยี่ยมชม
4744
4744
อัปเดตเกี่ยวกับ:
2555/09/10
รหัสในเว็บไซต์
fa23022
รหัสสำเนา
43238
หมวดหมู่
สิทธิและกฎหมาย |ฮิญาบ |ข้อมูลน่ารู้|بیشتر بدانیم
- ร่วมกัน
คำถามอย่างย่อ
การเข้าร่วมงานแต่งงานที่มีจำนวนแขกจำ ซึ่งกำหนดไว้ก่อนแล้วล่วงหนา แต่แขกที่มาไม่มีใครคุมผ้าเรียบร้อยสักคนเมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว กรณีนี้กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวไว้อย่างไร (และลักษณะงานเช่นนี้ โดยทั่วไปเจ้าบ่าวและมะฮาริมที่เข้าร่วมงานแต่ง ตลอดงานนิกาฮฺจะแยกระหว่างชายหญิง)
คำถาม
การเข้าร่วมงานแต่งงานที่มีจำนวนแขกจำ ซึ่งกำหนดไว้ก่อนแล้วล่วงหนา แต่แขกที่มาไม่มีใครคุมผ้าเรียบร้อยสักคนเมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว กรณีนี้กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวไว้อย่างไร (และลักษณะงานเช่นนี้ โดยทั่วไปเจ้าบ่าวและมะฮาริมที่เข้าร่วมงานแต่ง ตลอดงานนิกาฮฺจะแยกระหว่างชายหญิง)
คำตอบโดยสังเขป
เริ่มแรกเกี่ยวกับคำถามข้างต้น ขอกล่าวถึงทัศนะของมัรญิอฺตักลีด
1.งานสมรสตามประเพณีอิสลาม คือการร่วมแสดงความสุข รื่นเริง โดยปราศจากการกระทำความผิดบาปต่าง ๆ หรือภารกิจต่าง ๆ ที่ฮะรอม และมารยาทอันไม่ดีไม่งาม ที่มิใช่วิสัยของมนุษย์[1]
2.เมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว หรือนามะฮฺรัมคนอื่น จำเป็นต้องรักษาฮิญาบ อย่างเคร่งครัด ซึ่งตรงนี้ไม่แตกต่างกันระหว่างงานสมรส และงานชุมนุมอย่างอื่น[2]
3.การเข้าร่วมงานสมรส หรืองานสังสรรค์อื่นๆ ซึ่งภายในงานนั้นมิได้เอาใจใส่สิ่งเป็นวาญิบในอิสลาม (เช่น แขกที่มาอยู่รวมกันทั้งชายและหญิง มีการเต้นรำ หรือเปิดเพลงที่ฮะรอม อย่างเปิดเผย) ถือว่าฮะรอม[3]
4. ถ้างานสมรสมิได้เป็นไปในลักษณะที่ว่า เป็นงานสังสรรค์แบบไร้สาระ ฮะรอม เป็นบาป หรือการปรากฏตัวในงานเหล่านั้น มิได้เป็นการสนับสนุนการก่อความเสียหาย ซึ่งการเข้าร่วมในงานสังสรรค์เช่นนั้น โดยทั่วไปไม่ถือว่าเป็นการสนับสนุน ถือว่าไม่เป็นไร[4]
เมื่อพิจารณาใจความข้างต้นแล้ว ถ้าเราเข้าร่วมงานสมรสที่มีความผิด เช่น มีการเปิดเพลง หรือดนตรีที่ฮะรอม สตรีคุมผ้าไม่เรียบร้อย เมื่ออยู่ต่อหน้านามะฮฺรัม และถ้าบุคคลใดมีศักยภาพในการว่ากล่าวตักเตือนได้ และบรรยากาศในการตักเตือนก็เป็นใจ จำเป็นต้องว่ากล่าวตักเตือน เพื่อให้หลีกเลี่ยงจากสิ่งฮะรอม แต่ถ้าเงื่อนไขไม่พร้อม การว่ากล่าวตักเตือนก็ถือว่าหมดหน้าที่ไปจากเขา[5] แต่ในกรณีที่พิธีสมรสนั้นเต็มไปด้วยบาปกรรม และความผิดมากมาย จำเป็นต้องละเว้นจากงานเหล่านั้น แต่ถ้าเป็นงานสังสรรค์ที่มิได้เป็นไปในลักษณะที่ว่า เป็นงานชุมนุมความผิด และโดยทั่วไปก็ไม่ได้ระบุ หรือกล่าวว่า เป็นการเข้าร่วมงานที่เป็นบาป ดังนั้น การเข้าร่วมงานเหล่านี้เท่าที่จำเป็น เพื่อให้รู้ว่าเราได้เข้าร่วมแล้ว เป็นการให้เกียรติกับเจ้าภาพ ถือว่าไม่เป็นไร
1.งานสมรสตามประเพณีอิสลาม คือการร่วมแสดงความสุข รื่นเริง โดยปราศจากการกระทำความผิดบาปต่าง ๆ หรือภารกิจต่าง ๆ ที่ฮะรอม และมารยาทอันไม่ดีไม่งาม ที่มิใช่วิสัยของมนุษย์[1]
2.เมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว หรือนามะฮฺรัมคนอื่น จำเป็นต้องรักษาฮิญาบ อย่างเคร่งครัด ซึ่งตรงนี้ไม่แตกต่างกันระหว่างงานสมรส และงานชุมนุมอย่างอื่น[2]
3.การเข้าร่วมงานสมรส หรืองานสังสรรค์อื่นๆ ซึ่งภายในงานนั้นมิได้เอาใจใส่สิ่งเป็นวาญิบในอิสลาม (เช่น แขกที่มาอยู่รวมกันทั้งชายและหญิง มีการเต้นรำ หรือเปิดเพลงที่ฮะรอม อย่างเปิดเผย) ถือว่าฮะรอม[3]
4. ถ้างานสมรสมิได้เป็นไปในลักษณะที่ว่า เป็นงานสังสรรค์แบบไร้สาระ ฮะรอม เป็นบาป หรือการปรากฏตัวในงานเหล่านั้น มิได้เป็นการสนับสนุนการก่อความเสียหาย ซึ่งการเข้าร่วมในงานสังสรรค์เช่นนั้น โดยทั่วไปไม่ถือว่าเป็นการสนับสนุน ถือว่าไม่เป็นไร[4]
เมื่อพิจารณาใจความข้างต้นแล้ว ถ้าเราเข้าร่วมงานสมรสที่มีความผิด เช่น มีการเปิดเพลง หรือดนตรีที่ฮะรอม สตรีคุมผ้าไม่เรียบร้อย เมื่ออยู่ต่อหน้านามะฮฺรัม และถ้าบุคคลใดมีศักยภาพในการว่ากล่าวตักเตือนได้ และบรรยากาศในการตักเตือนก็เป็นใจ จำเป็นต้องว่ากล่าวตักเตือน เพื่อให้หลีกเลี่ยงจากสิ่งฮะรอม แต่ถ้าเงื่อนไขไม่พร้อม การว่ากล่าวตักเตือนก็ถือว่าหมดหน้าที่ไปจากเขา[5] แต่ในกรณีที่พิธีสมรสนั้นเต็มไปด้วยบาปกรรม และความผิดมากมาย จำเป็นต้องละเว้นจากงานเหล่านั้น แต่ถ้าเป็นงานสังสรรค์ที่มิได้เป็นไปในลักษณะที่ว่า เป็นงานชุมนุมความผิด และโดยทั่วไปก็ไม่ได้ระบุ หรือกล่าวว่า เป็นการเข้าร่วมงานที่เป็นบาป ดังนั้น การเข้าร่วมงานเหล่านี้เท่าที่จำเป็น เพื่อให้รู้ว่าเราได้เข้าร่วมแล้ว เป็นการให้เกียรติกับเจ้าภาพ ถือว่าไม่เป็นไร
[1] เวปไซต์ข่าวสารข้อมูลวิชาการ อายะตุลลอฮฺ มะการิมชีรอซี http://makarem.ir/websites/farsi/estefta/index.php
[2] เวปไซต์ข่าวสารข้อมูลวิชาการ อายะตุลลอฮฺ ซอฟี ฆุลภัยคอนี http://www.saafi.net/fa/node/2895
[3] ชีรอซี นาซิร มะการิม, อิสติฟตาอาต ญะดีด, ค้นคว้าและตรวจทานโดย, อะลียาน เนฌอดี, อบุลกอซิม, เล่ม 2, หน้า234, คำถามที่ 719, อิงเตชารอต มัดเราะซะฮฺ อิมามอะลี บิน อะบีฏอลิบ, (อ.) กุม, พิมพ์ครั้งที่ 2, ปี ฮ.ศ. 1427
[4] ฮุซัยนี คอเมเนอี ซัยยิดอะลี,อุญูบะตุล อิสติฟตาอาต, หน้า 317, คำถามที่ 1425, ดัฟตัร มะกอม ระฮฺบะรี กุม, พิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ. 1421
[5] อิมามโคมัยนี ซัยยิด รูฮุลลอฮฺ, เตาฎีฮุลมะซาอิล, เล่ม 2 หน้า 1021, ดัฟตัร อิงเตชารอต อิสลามี, กุม, พิมพ์ครั้งที่ 8, ปี ฮ.ศ. 1424
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น