การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
14020
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2551/04/20
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2473 รหัสสำเนา 27002
คำถามอย่างย่อ
ความหมายของอักษรย่อในอัลกุรอานคือ อะไร?
คำถาม
อักษรย่อในอัลกุรอานมีความหมายอะไร? เป็นรหัสที่ไม่อาจเข้าใจได้สำหรับสามัญชน ระหว่างอัลลอฮฺกับเราะซูล? ขณะที่บางที่กล่าวว่า ถ้าหากเอาอักษรย่อเหล่านั้นมารวมกัน จะได้ประโยคหนึ่งคือ «صراط علی حق نمسکه» ถามว่าถูกต้องไหม?
คำตอบโดยสังเขป

อักษรย่อ หมายถึงอักษาซึ่งได้เริ่มต้นบทอัลกุรอาน บางบท ไม่มีความหมายเป็นเอกเทศ ตัฟซีรกุรอาน มีการตีความอักษรเหล่านี้ด้วยทัศนะที่แตกต่างกัน ซึ่งทัศนะที่ถูกต้องที่สุดคือ อักษรย่อเป็นรหัส ซึ่งเท่าเราะซูลและหมู่มิตรของอัลลอฮฺ เข้าใจในสิ่งนั้น ประโยคที่ว่า «صراط علی حق نمسکه» นักค้นคว้าบางคนกล่าวว่า ไม่มีที่มาจากแหล่งรายงานฮะดีซ

คำตอบเชิงรายละเอียด

อักษรย่อนี้ จะปรากฏในตอนเริ่มต้นกุรอาน 29 บทด้วยกัน ซึ่งอาจจะมีอักษรย่อเพียงตัวเดียว หรือสองและสามหรือมากกว่านั้น, แต่เมื่อนับรวมกันแล้วมีทั้งสิ้น 78 ตัว จะเป็นคำซ้ำกัน 14 ตัว กล่าวคือครึ่งหนึ่งของอักษรย่อเป็น ฮุรูฟฮะญาอฺ ซึ่งมี 28 ตัว และเรียกอักษรเหล่านี้ทั้งหมดว่า “ฮุรูฟมุก็อดเฏาะอะฮฺ” หรือ “ฮุรูฟนูรอนนี”

เกี่ยวกับอักษรย่อมีทัศนะแตกต่างกันมากมาย ซึ่งจะขอนำเสนอบางทัศนะเหล่านั้น ดังนี้ :

1.อักษรเหล่านี้บ่งชี้ให้เห็นถึงว่า คัมภีร์แห่งฟากฟ้าเล่มนี้ที่มีความยิ่งใหญ่ และมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ได้สร้างความฉงนสนเท่ห์ให้แก่ชาวอารับและมิใช่อารับมาอย่างช้านาน นอกจากนั้นบรรดานักวิชาการทั่วทั้งปฐพี ก็ไม่มีผู้ใดสามารถประดิษฐ์สิ่งที่คล้ายคลึงเยี่ยงกุรอานขึ้นมาได้ แต่อัลกุรอานเล่มนี้ได้ถูกสร้างขึ้นด้วย คำและอักษร ธรรมดา ที่มีอยู่ในมือของทุกคน

2.อักษรย่อถือว่าเป็น สิ่งคุมเครือของอัลกุรอาน ซึ่งไม่มีวันจะเข้าใจได้ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งไม่อาจถูกรู้ได้ตลอดกาล ซึ่งแนวทางของความรู้ในเรื่องนี้ ได้ถูกปิดโดยสมบูรณ์สำหรับสามัญชน

3.อักษรเหล่านี้ เป็นอักษรเดี่ยวไม่มีใครสามารถเข้าใจรหัสและความหมายได้ นอกจากกลุ่มชนอันเฉพาะเท่านั้น ปรัชญาของการนำเอาอักษรเหล่านี้มาในตอนเริ่มต้นบทบางบทของอัลกุรอาน ก็มิได้มีสิ่งใดเกินเลยไปจากคำและเสียง การอ่านคำเหล่านี้ในช่วงอ่านอัลกุรอาน เป็นเหตุให้ได้รับความสนใจจากผู้ฟัง เพื่อพวกเขาจะได้ตั้งใจสดับรับฟังกุรอาน เนื่องจาก ความหมายของมันต่อเนื่องกัน จึงทำให้เกิดเสียงร่ำลือต่างๆ เพื่อว่าอัลกุรอาน จะได้ไม่ไปถึงหูของชนอาหรับทั้งหลาย

4.อักษรย่อเหล่านี้ บ่งบอกให้เห็นว่าอักษรเหล่านี้ถูกใช้มากในบทดังกล่าว ในตอนแรกอักษรเหล่านี้จะเกิดรวมกัน เช่น อักษร ก็อฟ ที่ปรากฏในแต่ละบทของบท ฏ็อฟ หรือ ฮามีม อีน ซีน ก็อฟ ซึ่งจะมีการกล่าวซ้ำกันทั้งหมด 57 ครั้ง ขณะที่เมื่อเทียบกับอักษรอื่นในบทนั้น อักษรเหล่านี้จะถูกใช้มากกว่า ยกเว้นบางบท เช่น อัชชัมซ์ กิยามะฮฺ และฟะลัก ได้มีนักอักษรศาสตร์คนหนึ่งนับจำนวนอักษรที่สลับซับซ้อนเหล่านี้ด้วยคอบมพิวเตอร์ ซึ่งอักษรเหล่านี้ได้บ่งบอกให้เห็นว่า อัลกุรอานบทนั้นได้ใช้อักษรนี้มากครั้งกว่าอักษรอื่น และสิ่งนี้ย่อมบ่งบอกให้เห็นถึงความมหัศจรรย์

5. อักษรเหล่านี้ถูกใช้ไปเพื่อสาบาน สาบานกับอักษรดังกล่าวก็เนื่องด้วยสาเหตุว่า รากหลักของคำพูดของทุกภาษาวางอยู่บนรากฐานของอักษรเหล่านี้

6.ระหว่างอักษรเหล่านี้กับสาระของบทต่างๆ มีความเกี่ยวข้องกัน เนื่องจากเมื่อใคร่ครวญบทต่างๆ กับอักษรย่อ จะพบว่าบทเหล่านี้ในแง่ของสาระแล้วมีความละม้ายคล้ายกัน[1]

7.อักษรย่อบางตัวเป็นรหัสยะอันเฉพาะที่บ่งบอกให้เห็นพระนามอันไฟจิตรของพระเจ้า และอักษรบางตัวเป็นรหัสที่บ่งบอกให้เห็นถึงนามของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ซึ่งแต่ละพระนามของพระเจ้าได้ถูกประกอบขึ้นด้วยอักษรหลายตัว และแต่ละนามชื่ออักษรได้ถูกเลือกโดยไม่มีความสัมพันธ์เชื่อมต่อกัน ในตอนเริ่มต้นแต่ละบท รายงานจาก ยะวีรียะฮฺ ซึ่งรายงานมาจากซุฟยาน อัษษูรี โดยกล่าวว่า ฉันได้ถามญะอฺฟัร บุตรของมอฮัมมัด บุตรของอะลี บุตรของฮุซัยนฺ (อ.) ว่า “โอ้บุตรของเราะซูล ความหมายของคำเหล่านี้จากคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ที่ตรัสว่า อลีฟ ลาม มีม และอื่นๆ นั้นหมายถึงอะไร?

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “ความหมายของ อลีฟลามมีม ในตอนต้นบทบะเกาะเราะฮฺ หมายถึง "انا الله الملك" ข้าคืออัลลอฮฺผู้ทรงอภิสิทธิ ส่วน อลีฟลามมีม ในตอนเร่มต้นบท อาลิอิมรอน หมายถึง “ข้าคือมะญี” และ ....

8. อักษรย่อเหล่านี้คือส่วนหนึ่งแห่งพระนามของอัลลอฮฺ

9.อักษรเหล่านี้บ่งชี้ให้เห็นถึงจำนวนโองการและบทต่างๆ ของอัลกุรอาน

10.อักษรเหล่านี้ในทุกๆ บทคือชื่อของบทนั้น ดังเช่น บท ยาซีน ฏอฮา ซ็อซด์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละบทจะเริ่มต้นด้วยอักษรย่อ และชื่อบทตามอักษรย่อนั้น

11.อักษรเหล่านี้บ่งบอกให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของประชาชาติอิสลาม

12.อักษระเหล่านี้เป็นรหัสที่ถูกจัดวางขึ้นเพื่อเป็นรหัสของบทต่างๆ แสดงให้เห็นว่าบทก่อนหน้าได้จบลงแล้ว และเป็นการเริ่มต้นบทใหม่หลังจากนั้น

13.อักษรเหล่านี้อยู่ในฐานะของการสรุปสาส์นและสาระโดยรวมของบท

14.อักษรเหล่านี้ บ่งชี้ให้เห็นถึงบุคคลที่มีต้นฉบับอัลกุรอานอยู่ในครอบครอง เช่น “ซีน” บ่งชี้ให้เห็นถึง สะอฺดิบนิ อะบีวะกอซ[2]

15.อักษรเหล่านี้คือรหัส ระหว่างอัลลอฮฺกับเราะซูล (ซ็อลฯ) ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถล่วงรู้ได้ ทัศนะนี้เป็นทียอมรับของนักปราชญ์ส่วนใหญ่[3]

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “อลีฟลามมีม” คือรหรัสระหว่างอัลลอฮฺ และผู้เป็นที่รักยิ่งของพระองค์มุฮัมมัด (ซ็อลฯ) พระองค์ประสงค์มิให้ผู้ใดล่วงรู้ในอักษรเหล่านั้น นอกจากพระองค์ ทรงให้เป็นอักษรเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นรหัสที่ปกปิดสายตาศัตรู แต่เป็นที่ชัดเจนแก่หมู่มิตรของพระองค์[4]

เมื่อนำเอาอักษรย่อเหล่านั้นมาจัดเรียงไว้เคียงข้างกัน จะสามารได้รับคำและประโยคจำนวนมากมาย เช่น บุคคลที่เป็นนักคิดเมื่อคำนึงถึงความเชื่อของตน ได้นำเอาอักษรดังกล่าวมารวมกันทำให้เกิดประโยคตามประสงค์ของตน เช่น บัดรุดดีน ซัรกะชี กล่าวว่า “จากการนำเอาอักษรย่อมารวมกันสามารถสร้างเป็นประโยคได้ เช่น «نص حکیم قاطع له سر» ส่วนเฟฎกาชานี (รฮ.) กล่าวว่าเมื่อนำอักษรย่อมารวมกันจะได้ประโยค «صراط علی حق نمسکه» แนวทางของอะลีคือสัจธรรม จงยึดมั่นกับแนวทางนั้นเถิด[5] แต่ทั้งหมดเหล่านั้นไม่มีที่มาจากฮะดีซแต่อย่างใด

 


[1] อัลมีซาน, ตอนอธิบายโองการที่ 6, บทชูรอ

[2] ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบทความ “อักษรย่อ” ไซต์ฟังฮังวะมะอาริฟกุรอาน

[3] มะอฺริฟัต ฮาดี, อุลูมกุรอาน, หน้า 138.

[4] อิบนิฏอวูซ สะอฺดิบนิ สะอูด หน้า 217 พิมพ์นะญัฟ

[5] ตัฟซีรซอฟียฺ, เล่ม 1, หน้า 91

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ก่อนการปรากฏกายของท่านอิมามซะมาน (อ.) จะมีมัรญิอฺตักลีด 12 คน ในชีอะฮฺ ในอิสลามเกิดขึ้นใหม่ แต่หลังจากอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ปรากฏกายแล้ว พวกเขาจถูกสังหาร 11 คน จะมีชีวิตเหลืออยู่เพียงแค่คนเดียว? โปรดแจ้งแจงประเด็นนี้ด้วย
    7079 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    จำคำถามที่กล่าวมามีความเป็นไปได้ 2 กรณี. หนึ่งมัรญิอฺตักลีด 11 คน
  • ข้อความละอ์นัตในซิยารัตอาชูรอครอบคลุมถึงบุตรชายยะซีดด้วยซึ่งเป็นคนดี แล้วจะถือว่าซิยารัตนี้น่าเชื่อถือได้อย่างไร?
    7316 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    ในซิยารัตอาชูรอมีการละอ์นัตกลุ่มบนีอุมัยยะฮ์ซึ่งรวมถึงบุตรชายยะซีดด้วยในขณะที่นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าบุตรชายของยะซีดและสมาชิกบนีอุมัยยะฮ์บางคนเป็นคนดีเนื่องจากเคยทำประโยชน์บางประการซึ่งย่อมไม่สมควรจะถูกละอ์นัตเพื่อชี้แจงข้อสงสัยดังกล่าวควรทราบว่าบนีอุมัยยะฮ์ในที่นี้หมายความเฉพาะผู้ที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันกับพวกเขาอันหมายถึงผู้กระทำผิดผู้วางเฉยผู้ปีติยินดี ... ฯลฯต่อการแย่งชิงสิทธิอันชอบธรรมของบรรดาอิมาม(อ.) ตลอดจนการสังหารท่านเหล่านั้นและสาวกหากคำนึงถึงประโยคก่อนและหลังท่อนดังกล่าวในซิยารัตอาชูรอก็จะเข้าใจจุดประสงค์ดังกล่าวได้ไม่ยากเนื่องจากบรรยากาศของซิยารัตบทนี้เต็มไปด้วยละอ์นัตและการสาปแช่งกลุ่มบุคคลที่ยึดครองตำแหน่งคิลาฟะฮ์และพยายามจะดับรัศมีของอัลลอฮ์โดยทำทุกวิถีทางเพื่อต่อกรกับอะฮ์ลุลบัยต์รวมไปถึงกลุ่มบุคคลที่ให้การสนับสนุนและพึงพอใจในพฤติกรรมของกลุ่มแรก ฉะนั้นในทางวิชาอุศู้ลแล้วเราถือว่าการยกเว้นบุคคลที่ดีออกจากนัยยะของคำว่าบนีอุมัยยะฮ์นั้นเป็นการยกเว้นประเภท “ตะค็อศศุศ” มิไช่ “ตัคศี้ศ” หมายความว่าคำว่าบนีอุมัยยะฮ์ไม่ครอบคลุมถึงบุคคลเหล่านี้ตั้งแต่แรกแล้วจึงไม่จำเป็นต้องยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ ...
  • ฮะดีษที่ว่า "อิมามทุกท่านมีสถานะและฐานันดรเทียบเคียงท่านนบี(ซ.ล.)"(อัลกาฟีย์,เล่ม 1,หน้า 270) เชื่อถือได้หรือไม่?
    7231 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    แม้เหล่าผู้ปราศจากบาปทั้งสิบสี่ท่านจะบรรลุฐานันดรทางจิตวิญญาณอันสูงส่งแต่อย่างไรก็ดีท่านเราะซู้ล(ซ.ล.)คือผู้ที่มีสถานะสูงสุดและมีข้อแตกต่างบางประการที่อิมามมะอ์ศูมอื่นๆไม่มีดังที่ท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า "บรรดาอิมามเปรียบดั่งท่านนบี(ซ.ล.) เพียงแต่มิได้มีสถานะเป็นศาสนทูตและไม่สามารถกระทำบางกิจเฉกเช่นนบี (
  • การนั่งจำสมาธิคืออะไร? ชีอะฮฺมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับการนั่งจำสมาธิ?
    9075 รหัสยปฏิบัติ 2557/05/20
    วัตถุประสงค่ของการนั่งจำสมาธิ (การอิบาดะฮฺ 40 วัน) คือการเดินจิตด้านใน, การจาริกจิต, การคอยระมัดระวังตนเองภายใน 40 วัน, เพื่อยกระดับและพัฒนาจิตด้านในของบุคคล เพื่อเตรียมพร้อมที่จำเป็น สำหรับการรองรับวิทยญาณและวิชาการของพระเจ้า ซึ่งนักเดินจิตด้านใน และปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของโองการและรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ การอิบาดะฮฺและการตั้งเจตนาด้วยความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ ภายใน 40 วัน จึงถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ดีที่สุด แต่สิ่งที่นักเดินจิตด้านในตักเตือนไว้คือ จงอย่าให้การนั่งจำสมาธิกลายเป็นเครื่องมือละทิ้งสังคม ปลีกวิเวกจนกลายเป็นความสันโดษ ...
  • เพราะเหตุใดจึงวาญิบต้องตักลีดกับมัรญิอฺ ?
    7854 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    จุดประสงค์ของ “การตักลีด” คือการย้อนไปสู่ภารกิจที่ตนไม่มีความเชี่ยวชาญในคำสั่งอันเฉพาะซึ่งต้องอาศัยความความเชี่ยวชาญพิเศษซึ่งเหตุผลที่สำคัญที่สุดสำหรับเรื่องการตักลีดเกี่ยวกับปัญหาศาสนาคือเหตุผลทางสติปัญญาที่ว่าผู้ไม่มีความรู้และไม่มีความเชี่ยวชาญปัญหาต้องปฏิบัติตามผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในปัญหานั้นแน่นอนทั้งอัลกุรอาน
  • มีการกล่าวถึงเงื่อนไขการทำความสะอาดด้วยแสงแดดว่า»ระยะห่างระหว่างพื้นดินกับอาคารซึ่งแสงแดดส่องไปถึงนั้น ภายในต้องไม่มีอากาศหรือสิ่งอื่นกีดขวางแสดงแดด... « ประโยคนี้หมายถึงอะไร ช่วยอธิบายด้วย?
    6061 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    คำอธิบาย:แสงแดด,
  • การรัจญฺอัตหมายถึงอะไร? ครอบคลุมบุคคลใดบ้าง? และจะเกิดขึ้นเมื่อใด?
    7327 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    การรัจญฺอัตเป็นหนึ่งในความเชื่อของชีอะฮฺอิมามียะฮฺ, หมายถึงการกลับมายังโลกมนุษย์, ภายหลังจากได้ตายไปแล้วและก่อนที่จะถึงวันฟื้นคืนชีพซึ่งจะเกิดขึ้นภายหลังการปรากฎกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
  • การสักร่างกายถือว่าเป็นฮะรอมหรือไม่?
    6197 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/09
     คำตอบของอายาตุลลอฮ์มะฮ์ดีฮาดาวีเตหะรานี“หากไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและไม่ถือว่าเป็นที่น่ารังเกียจอีกทั้งไม่ทำให้ภาพพจน์ของบุคคลดังกล่าวตกต่ำลงถือว่าไม่เป็นไรคำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด ...
  • มีวิธีใดบ้างในการชำระบาป
    10433 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    วิธีแสวงหาการอภัยโทษจากอัลลอฮ์มีหลายวิธีด้วยกันอาทิเช่น1.เตาบะฮ์หรือการกลับตนเป็นคนดี (ตามเงื่อนไขที่กำหนด)2. ประกอบกุศลกรรมที่ยิ่งใหญ่อันจะสามารถลบล้างความผิดบาปได้3. สงวนใจไม่ทำบาปใหญ่ (กะบีเราะฮ์) ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับการผ่อนปรนบาปเล็ก4. อดทนต่ออุปสรรคยากเข็ญในโลกนี้รวมทั้งการชำระโทษในโลกแห่งบัรซัคและทนทรมานในการลงทัณฑ์ด่านแรกๆของปรโลก
  • สตรีสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในโลกไซเบอร์โดยไม่ขออนุญาตจากสามีหรือไม่?
    5619 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    คำตอบของบรรดามัรยิอ์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมีดังนี้อายาตุลลอฮ์คอเมเนอี “หากไม่จำเป็นที่จะต้องครอบครองทรัพย์สินของสามีก็ถือว่าไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาตแต่จะต้องคำนึงว่าการติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอมส่วนใหญ่จะทำให้เกิด... หรืออาจจะทำให้ตกในการกระทำบาปซึ่งไม่อนุญาต”อายาตุลลอฮ์ซิซตานี “การติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอมถือว่าไม่อนุญาต”อายาตุลลอฮ์ศอฟีกุลฟัยกานี “โดยรวมแล้วการติดต่อสื่อสารในลักษณะนี้แม้ว่าสามีอนุญาติก็ไม่ถือว่าสามารถจะกระทำได้”ฮาดาวีเตหะรานี “หากการติดต่อสื่อสารในโลกไซเบอร์อยู่ในขอบเขตที่อนุญาตและไม่เกรงที่จะเกิดบาปเป็นที่อนุญาตและไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาติจากสามี” ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60255 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57756 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42351 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39569 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39030 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34119 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28128 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28099 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27977 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25958 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...