Please Wait
7549
สื่อมีความหมายกว้างมาก ซึ่งครอบคลุมถึงทุกสิ่ง หรือทุกภารกิจอันเป็นสาเหตุนำเราเข้าใกล้ชิดพระผู้อภิบาลได้ถือว่าเป็นสื่อ ขณะที่โลกนี้วางอยู่บนพื้นฐานของระบบเหตุและผล,สาเหตุและสิ่งเป็นสาเหตุ, ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการชี้นำมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์, ดังเช่นที่ความต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์ทั้งหลาย บรรลุและดำเนินไปโดยปัจจัยและสาเหตุทางวัตถุ, ความเมตตาอันล้นเหลือด้านศีลธรรมของพระเจ้า, เฉกเช่นการชี้นำทาง, การอภัยโทษ, การสอนสั่ง, ความใกล้ชิดและความสูงส่งของมนุษย์ก็เช่นเดียวกันวางอยู่บนพื้นฐานของระบบอันเฉพาะเจาะจง ซึ่งได้ถูกกำหนดสำหรับมนุษย์แล้วโดยผ่านสาเหตุและปัจจัยต่างๆ แน่นอนถ้าปราศจากปัจจัย สื่อ และสาเหตุเหล่านี้ไม่อาจเป็นไปได้แน่นอน ที่มนุษย์จะได้รับความเมตตาอันล้นเหลือจากพระเจ้า หรือเข้าใกล้ชิดกับพระองค์ อัลกุรอานหลายโองการ และรายงานจำนวนมากมายได้แนะนำปัจจัยและสาเหตุเหล่านั้นเอาไว้ และยืนยันว่าถ้าปราศจากสื่อเหล่านั้น มนุษย์ไม่มีวันใกล้ชิดกับอัลลอฮฺได้อย่างแน่นอน
สำหรับคำตอบในเรื่องนี้, อันดับแรกต้องทำความเข้าใจกับความหมายของ สื่อ เสียก่อน
อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฎาะบาอีกล่าวไว้ในตัฟซีร อัลมีซาน เกี่ยวกับโองการที่ว่า :
"یا ایها الذین آمنوا اتقوا الله و ابتغوا الیه الوسیلة"
“โอ้ บรรดาผู้ศรัทธา! พึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และจงแสวงหาสื่อไปสู่พระองค์”[1] ซึ่งในการอธิบายถึงสื่อ ณ อัลลอฮฺ (ซบ.) ว่า : “แก่นแท้ของคำว่าสื่อ ณ อัลลอฮฺ,คือการใส่ใจในแนวทางของอัลลอฮฺ. ในลักษณะที่ว่า ประการแรก : จงถวิลหาความรู้เกี่ยวกับบทบัญญัติของพระองค์ ประการที่สอง : จงแสดงความเคารพภักดีต่อพระองค์ ประการที่สาม : พยายามค้นหาแนวทางการปฏิบัติสิ่งที่เป็นมุสตะฮับ ... เนื่องจาก “วะซีละฮฺ” คือการติดต่อสัมพันธ์ประเภทหนึ่ง และการสัมพันธ์กับอัลลอฮฺ (ซบ.) ผู้ซึ่งเป็นนามธรรม ปราศจากสถานที่และกายภาพ, เป็นการสร้างสัมพันธ์ด้านจิตวิญญาณเพื่อค้นหาสายสัมพันธ์ ระหว่างพระผู้อภิบาลกับปวงบ่าว และอีกด้านระหว่างบ่าวกับพระเจ้าไม่มีสายสัมพันธ์อันใดทั้งสิ้น เว้นเสียแต่ความต่ำต้อยด้อยค่าและความเป็นบ่าว, แน่นอน ด้วยสื่อของการแสดงความเคารพภักดี ทำให้แก่นแท้ของการแสดงความเคารพภักดีบังเกิดขึ้นในตัวเอง และพบว่าตนเป็นผู้ยากไร้และอนาถา ณ เบื้องพระพักตร์ของพระองค์ ดังนั้น สื่อที่โองการกล่าวถึงก็คือความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้เอง[2]
ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ ตอนอธิบายโองการดังกล่าวข้างต้นกล่าวถึงความหมายของ วะซีละฮฺ ว่า : วะซีละฮฺ เป็นคำที่มีความหมายกว้าง กล่าวคือครอบคลุมทุกภารกิจการงาน หรือทุกสิ่งอันเป็นสาเหตุทำให้ใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งสำคัญที่สุดของสื่อเหล่านั้นคือ อีมานต่อพระผู้อภิบาลและศาสดา (ซ็อล ฯ) การญิฮาดและอิบาดะฮฺ เฉกเช่น นมาซ, บริจาคทานบังคับ,ศีลอด, อัจญฺ การสร้างสายสัมพันธ์กับเครือญาติ การบริจาคในหนทางของอัลลอฮฺ ซึงครอบคลุมทั้งการบริจาคที่เปิดเผยและปิดบัง ตลอดจนทุกการงานที่ดี ...ทำนองเดียวกันการชะฟาอะฮฺของบรรดาศาสดา อิมามผู้บริสุทธิ์ บ่าวผู้เป็นกัลป์ญาณชนของอัลลอฮฺ ตามที่อัลกุรอานได้ระบุไว้ เหล่านี้เป็นสาเหตุให้ใกล้ชิดกับพระผู้อภิบาล, และอยู่ในความหมายอันกว้างของการตะวัซซุลด้วย. ทำนองเดียวกันการปฏิบัติตามเราะซูลและบรรดาอิมาม การเจริญรอยตามแนวทางของพวกท่าน, เนื่องจากทั้งหมดเหล่านี้คือสาเหตุทำให้ใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ (ซบ.) แม้กระทั่งการสาบานต่ออัลลอฮฺ ตำแหน่งของศาสดา อิมาม บ่าวผู้บริสุทธิ์ และฯลฯ[3]
ดังนั้น วัตถุประสงค์ของอัลกุรอานจากคำว่า สื่อหรือการตะวัซซุลของบรรดาผู้มีความสำรวมตนจากความชั่ว ให้ยึดมั่นกับสื่อเพื่อสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ ก็คือความหมายตามกล่าวมา
อัลกุรอาน นอกจากโองการที่กล่าวแล้ว, โองการที 97 บทยูซุฟกล่าวว่า : พี่น้องของยูซุฟได้ขอร้องบิดา (ยะอฺกูบ) ให้ขอลุกแก่โทษแก่พวกเขา “กล่าวว่า โอ้ พ่อของเรา โปรดขออภัยโทษแก่เราในความผิดของเรา แท้จริง เราเป็นผู้ผิด”
อัลกุรอาน บทเตาบะฮฺ กล่าวถึงการขออภัยโทษของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ให้แก่บิดาของท่าน ซึ่งเป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่า บทบาทของดุอาอฺของบรรดาศาสดา (อ.) ในการขออภัยโทษให้แก่บุคคลอื่น[4]
รายงานจำนวนมากมายจากสายรายงานทั้งชีอะฮฺและซุนนียฺ,กล่าวถึงบทบาทสำคัญของการตะวัซซุล.
หนังสือ”วะฟาอุลวะฟา” เขียนโดยซัมฮูดี (ซุนนีย) กล่าวว่า : การขอความช่วยเหลือและชะฟาอะฮฺจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จากตำแหน่งและบุคลิกภาพของท่าน, หรือก่อนการสร้างท่านเป็นสิ่งอนุญาตทั้งสิ้น ตลอดจนหลังการกำเนิดและก่อนการจากไปของท่าน หรือหลังจากการจากไป, ในโลกบัรซัคและในวันฟื้นคืนชีพ[5] หรือหลังจากประโยคต่างๆ,รายงานกล่าวถึงการตะวัซซุลของศาสดาอาดัม (อ.) ที่มีไปยังท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) รายงานจากอุมัร บิน คัฏฏ็อบว่า : อาดัมได้วอนขอต่ออัลลฮฺ (ซบ.) จากความรู้ที่ว่าในอนาคตจะมีการสร้างศาสดาอิสลามขึ้นมาว่า :
"یا رب اسئلک بحق محمد (ص) لما غفرت لی"
“โอ้ พระผู้อภิบาลฉันขอวิงวอนต่อพระองค์ ด้วยสิทธิของมุฮัมมัด ขอทรงโปรดอภัยแก่ฉันเถิด”[6] รายงานบทอื่นจากซุนนีย์ที่บันทึกไว้ เช่น นะซาอียฺและติรมิซียฺกล่าวว่า : มีชายตาบอดคนหนึ่งได้ขอให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ดุอาอฺแก่เขาเพื่อการชะฟาะฮฺอาการป่วยไข้, ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้สั่งให้เขาดุอาอฺเช่นนี้ว่า : โอ้ อัลลอฮฺ ฉันขอวิงวอนต่อพระองค์ และขอมุ่งสู่พระองค์ ผ่านศาสดาของพระองค์ มุฮัมมัด ศาสดาแห่งเมตตา, โอ้ มุฮัมมัด ณ เบื้องพระพักตร์ของพระผู้อภิบาลของฉัน ฉันขอมุ่งยังท่าน โปรดทำให้ดุอาอฺของฉันถูกยอมรับ โอ้ อัลลอฮฺ โปรดให้นบีเป็นผู้ให้ชะฟาอะฮฺแก่ฉัน”[7]
บัยฮะกียฺ กล่าวว่า ช่วงยุคสมัยการปกครองของเคาะลิฟะฮฺที่ 2, มีความแห้งแล้งมากประมาณเกือบ 2 ปี ท่านบิลาลพร้อมกับเซาะฮาบะฮฺ ท่านอื่นได้เดินทางไปยังหลุมฝังศพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แล้วกล่าวว่า : โอ้ ยาเราะซูลลัลลอฮฺ โปรดขอฝนให้แก่ประชาชาติของท่านด้วย เนื่องจากความ (แห้งแล้ง) กำลังจะคร่าชีวิตพวกเรา ...[8]
แต่เป็นเพราะสาเหตุใด เราจึงต้องการสื่อด้วย ? คำตอบคือ โลกใบนี้ดำรงอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการชี้นำมวลมนุษย์ไปสู่ความพัฒนาและความสมบูรณ์ ซึ่งความต้องการของมนุษย์นั้นบางครั้งสัมฤทธิผลด้วย ปัจจัยอันเป็นวัตถุและบางครั้งก็ด้วยสาเหตุอื่นที่มิใช่วัตถุ
ตามความเป็นจริงแล้ว สื่อต่างๆ มีบทบาทต่อสาเหตุปัจจัยในการสร้างความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺทั้งสิ้น, เนื่องจากความเมตตาอันเหลือของพระองค์, เช่น การชี้นำทาง, การอภัยโทษ และ ...เช่นเดียวกันบนพื้นฐานของระบบอันเฉพาะพระองค์ได้ประทานแก่มนุษย์ ประกอบกับความประสงค์ที่เปี่ยมด้วยวิทยปัญญาของพระองค์ ที่ครอบคลุมสิ่งเหล่านั้นซึ่งทั้งหมดได้มาถึงมนุษย์ด้วยหนทางแห่งสาเหตุปัจจัยอันเฉพาะ และสาเหตุที่ระบุเอาไว้แล้ว.ด้วยเหตุนี้เอง, ดังที่ปรากฏในโลกของวัตถุ,จะเห็นว่าคำถามเหล่านี้ไร้สาระ : เพราะเหตุใดอัลลอฮฺจึงให้โลกสว่างไสวด้วยแสงอาทิตย์? เพราะเหตุใดความกระหายของมนุษย์จึงถูกขจัดด้วยการดื่มน้ำ? เพราะเหตุใดตนจึงไม่ตอบสนองความต้องการของตน และของสรรพสิ่งอื่น โดยปราศจากสื่อเหล่านี้เล่า? ในโลกของจิตวิญญาณเช่นกันไม่สามารถกล่าวได้ว่า เพราะเหตุใดอัลลอฮฺจึงไม่ให้การอภัยโทษ ความใกล้ชิด และการชี้น้ำครอบคลุมปวงบ่าว โดยปราศจากสื่อเล่า? อย่างไรก็ตามดั่งเช่นที่ทราบกันดีว่า พืชถ้าปราศน้ำ ดิน ปุ๋ย อากาศ และแสงสว่างแล้วละก็ไม่สามารถเจริญงอกงามไปสู่ความสมบูรณ์ได้, มนุษย์ก็เช่นเดียวกันถ้าปราศจาการช่วยเหลือจากสื่ออันเป็นความเมตตาอันล้นเหลือจากพระเจ้าแล้ว,เขาก็ไม่อาจไปถึงยังเป้าหมายอันเป็นที่ยอมรับได้
ชะฮีด มุเฏาะฮะรี กล่าวว่า : การงานของพระเจ้า, มีระบบและระเบียบ ถ้าหากใครไม่ต้องการใส่ใจกับระบบการสร้างสรรค์ เขาก็จะหลงทาง. ด้วยสาเหตุนี้เอง อัลลอฮฺ (ซบ.) จึงทรงชี้นำทางบรรดาผู้กระทำผิดทั้งหลายว่า จงไปบ้านของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และนอกจากจะขอการอภัยโทษแล้ว ก็จงขอร้องให้ท่านศาสดาช่วยวิงวอนขออภัยโทษให้แก่พวกตนด้วย อัลกุรอานกล่าวว่า[9] : และแม้นว่าพวกเขา ขณะที่อธรรมต่อตนเอง ได้มาหาเธอ แล้วขออภัยโทษต่ออัลออหฺ และศาสนทูตก็ได้ขออภัยโทษให้แก่พวกเขาด้วยแล้ว แน่นอน พวกเขาก็ย่อมพบว่า อัลลอฮฺนั้นคือพระผู้ทรงอภัยโทษ พระผู้ทรงปรานีเสมอ[10] [11]
เนื่องจากการใส่ใจต่อแบบฉบับของพระเจ้า ซึ่งโองการและรายงานต่างๆ (ซุนนะฮฺ) ได้เน้นย้ำเอาไว้อย่างมากมายถึงเรื่องสือ, การตะวัซซุลกับสื่อต่างๆ ในการอภัยโทษและสร้างความใกล้ชิด
อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า : “โอ้ บรรดาผู้ศรัทธา! พึงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺเถิด (อย่าฝ่าฝืน) และจงแสวงหาสื่อไปสู่พระองค์”[12]
อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี ได้กล่าวถึงบทบาทอันกว้างไกลของผู้ให้ชะฟาะฮฺ ในบทวิพากเรื่องชะฟาอะฮฺไว้ว่า ตามความเป็นจริงแล้วบุคคลที่ตะวัซซุล,ไปยังผู้ให้ชะฟาอะฮฺเนื่องจากพลังของตนฝ่ายเดียวไม่เพียงพอต่อการไปถึงยังเป้าหมาย ด้วยเหตุนี้ ตนจึงได้ผสมผสานพลังของตนเข้ากับพลังของผู้ให้ชะฟาอะฮฺ ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มพูนพลังให้มากขึ้น,และได้รับในสิ่งที่ปรารถนา,ในลักษณะที่ว่าถ้าไม่ทำเช่นนั้นโดยใช้พลังงานของตนเพียงอย่างเดียว,จะไม่สามารถไปถึงเป้าหมายได้, เนื่องจากพลังงานของตนฝ่ายเดียวไม่สมบูรณ์ อ่อนแอ และไม่ยั้งยืน...ดังนั้นชะฟาะฮฺจึงเป็นสื่อหนึ่งเพื่อความสมบูรณ์ของสาเหตุ...[13]
จำเป็นต้องกล่าวถึงประเด็นสำคัญสองสามประเด็นในตอนท้าย :
1.แม้ว่าความต้องการด้านวัตถุปัจจัยของมนุษย์ได้บรรลุผล เนื่องจากสาเหตุทางวัตถุ,แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่วัตถุ เช่น ดุอาอฺ การตะวัซซุล จะไม่มีบทบาทสำคัญในการสมปรารถนาด้านวัตถุ, สาเหตุทางจิตวิญญาณบางครั้งเป็นสาเหตุแห่งการสร้างสรรค์ และบางครั้งก็ให้ประโยชน์ล้นเหลือ,กล่าวคือบางครั้งผลอาจเกิดจากสาเหตุของวัตถุ,แต่การที่จะให้ผลเหล่านั้นบังเกิดขึ้นมันมาจากดุอาอฺ และ ...และบางครั้งดุอาอฺก็เป็นตัวลบล้างผลทางวัตถุ, เช่น ไฟจำเป็นต้องลุกไหม้,แต่เนื่องจากลมแรงทำให้ไฟไม่ติด อย่างไรก็ตามสาเหตุหลักที่แท้จริงคือ อัลลอฮฺ พระองค์ทรงสามารถให้ยาบังเกิดผล,พร้อมกับให้สาเหตุทางจิตวิญญาณสมจริง
2.วัตถุประสงค์ของการตะวัซซุลกับนบี (ซ็อล ฯ) บรรดาอิมาม (อ.) หรือหมู่มิตรของอัลลอฮฺในการเป็นสื่อ ก็เนื่องจากตำแหน่งและฐานันดรอันยิ่งใหญ่ของพวกเขา ณ อัลลอฮฺ ซึ่งตามความเป็นจริงเท่ากับได้ใช้ตำแหน่งความใกล้ชิดของพวกเขา เพื่อให้พวกเราได้ใกล้ชิดกับพระองค์เนื่องจากตำแหน่งของพวกเขา[14]
[1] อัลกุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ,35
[2] ตัฟซีร อัลมีซาน,ฉบับแปล, เล่ม 5, หน้า 535
[3] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ,เล่ม 4, หน้า 364-367
[4] อัลกุรอาน บทเตาบะฮฺ, 114
[5] วะฟาอุลวะฟาอฺ, เล่ม 3, หน้า 1371, คัดลอกมาจากตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 4 หน้า 367
[6] อ้างแล้วเล่มเดิม
[7] "اللهم انی اسئلک و اتوجه الیک بنبیک محمد نبی الرحمة، یا محمد انی توجهک بک الی ربی فی حاجتی لتقضی لی اللهم شفعه فی"
วะฟาอุลวะฟาอฺ, เล่ม 2, หน้า 1372
[8] "یا رسول الله استسق لامتک فانهم قدهلکوا..."،อัตตะวัซซุล อิลา ฮะกีเกาะติลตะวัซซุล,หน้า 329, คัดลอกมาจากเล่มเดิม, หน้า 368-369
[9] "ولو انهم اذظلموا انفسهم جاؤوک فاستغفروا الله و استغفر لهم الرسول لوجدو الله تواباً رحیماً"
[10] อัลกุรอาน บทอันนิซาอฺ,64
[11] มัจญฺมูอฺ ออซอร ชะฮีดมุเฏาะฮะรี, เล่ม 1, หน้า 264
[12] อัลกุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ,35
[13] ตัฟซีรอันมีซาน,ฉบับแปล,เล่ม 1 หน้า 239,240, เพื่อการศึกษาเพิ่มเติม โปรดพิจารณาหัวข้อ, ความพยายามและบทบาทของมันในการกำหนดชะตาชีวิตในปรโลก, คำถามที่ 280
[14] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ,เล่ม 4, หน้า 167-172, ตัฟซีรมีซาน, เล่ม 1, หน้า 239-246