การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
24436
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2557/10/06
คำถามอย่างย่อ
ในประโยคคำปฏิญาณ (อัชฮะดุ อันลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ) ได้นำเอาประโยคปฏิเสธขึ้นหน้าก่อนการปฏิญาณ (ในความเป็นเอกะของพระองค์) มีเหตุผลอันใดหรือ?
คำถาม
คำปฏิญาณตน ตอนเริ่มต้นอะซาน ได้นำเอาประโยคปฏิเสธขึ้นหน้าก่อนการปฏิญาณ (ในความเป็นเอกะของพระองค์) มีเหตุผลอันใดหรือ?
คำตอบโดยสังเขป
คำว่า ชะฮาดะตัยนฺ คือการผนวกสองประโยคเข้าด้วยกันคือ คำปฏิญาณประโยคแรกคือ (อัชฮะดุ อันลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ) เพื่อพิสูจน์และสารภาพถึงความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้า ซึ่งเฉพาะเจาะจงและคู่ควรยิ่งแก่การเคารพภักดี สำหรับองค์พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ส่วนคำปฏิญาณที่สอง (อัชฮะดุ อันนะ มุฮัมมะดัน เราะซูลลุลอฮฺ) เพื่อพิสูจน์และปฏิญาณว่า ท่านนะบีมุฮัมมัดคือ ศาสนทูตแห่งอิสลาม มิได้พิสูจน์การเป็นศาสนทูตคู่ควรแก่ท่านนะบี ด้วยเหตุนี้ ชะฮาดัตแรก จึงเป็นเน้นอันเฉพาะเจาะจงสำหรับพระองค์ ประโยคจึงเริ่มต้นด้วย “การปฏิเสธ” ลานะฟีญินซฺ เพื่อเน้นให้เห็นความสำคัญของคำว่า “อิลาฮะ” ซึ่งถือว่าเป็นคำนามที่เป็นนักกิเราะฮฺ (มิได้ระบุเจาะจง) แน่นอน บริบทของการปฏิเสธนี้ ให้ประโยชน์ในแง่รวมทั้งหมด โดยปฏิเสธพระเจ้าที่มีทั้งหมดบนโลก และปฏิเสธการมีส่วนร่วมในความเป็นพระเจ้า ของพระเจ้าที่แท้จริง ดังนั้น การที่กล่าวว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใด “นอกจาก” อิลลา นั่นเป็นจำกัดให้เห็นถึงความสำคัญอันเฉพาะสำหรับ อัลลอฮฺ เพื่อประกาศให้รู้ว่าไม่มีใคร หรือสิ่งใดมีส่วนร่วมในการเป็นพระผู้อภิบาลของพระองค์ ดังนั้น ในความเป็นจริงจึงพิสูจน์ด้วยประโยคที่กล่าวว่า “นอกจากอัลลอฮฺ” เพื่อบ่งบอกให้เห็นถึงความเป็นหนึ่งเดียวของพระองค์ และประกาศให้เห็นว่า นอกจากอัลลอฮฺแล้ว ไม่มีผู้ใดคู่ควรต่อการเคารพภักดี แต่สำหรับชะฮาดัตที่สอง จุดประสงค์ต้องการพิสูจน์ให้เห็น การเป็นศาสนทูตอิสลามของท่านศาสดา (ซ็อลฯ)  ซึ่งมิได้จำกัดเฉพาะอยู่แค่ท่านศาสดาเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงพิสูจน์ด้วยประโยคบอกเล่าธรรมดา เพื่อชี้ให้เห็นถึงการเป็นศาสดาของท่านเท่านั้น
 
คำตอบเชิงรายละเอียด
ชะฮาดะตัยนฺ ในการปฏิญาณตนผนวกด้วยสองประโยค[1] ซึ่งคำปฏิญาณประโยคแรก[2] เป็นการพิสูจน์และสารภาพถึงความเป็นหนึ่งเดียงของพระเจ้า ซึ่งเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่คู่ควรต่อการเคารพภักดี และเป็นผูอภิบาลโลกนี้ ส่วนชะฮาดัตที่สอง[3] ต้องการพิสูจน์ให้เห็นถึงการเป็นศาสนทูตของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ซึ่งมิได้จำกัดการเป็นศาสทูตไว้แค่ท่านศาสดาเท่านั้นย ด้วยเหตุนี้เอง คำปฏิญาณ ประโยคแรก เท่านั้นที่เฉพาะเจาะจงเพียงแค่อัลลอฮฺ[4] จึงเริ่มต้นประโยคด้วย “ลานะฟีญินซ” เพื่อว่าคำต่อไปคือ “อิลาฮะ” ซึ่งในที่นี้ถือว่าเป็นคำนามที่ไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจง ดังนั้น ในบริบทของการปฏิเสธดังกล่าว จึงส่งผลให้เห็นถึงการปฏิเสธที่เป็นส่วนมรวมทั้งหลาย นั่นคือ พระเจ้าทั้งหลายที่มีอยู่บนโลกนี้ หรือเทพเจ้าที่คิดว่ามีส่วนร่วมในการบริบาลของพระเจ้า จึงถูกขจัดออกไปจนหมดสิ้น ด้วยประโยค “อิลลา” ที่เรียกว่า “อิลลา ฮัซรียะฮฺ” นั่นหมายถึง ความคู่ควรเหมาะสมในการเคาพภักดีนั้นมีอยู่ใน อัลลอฮฺ เพียงพระองค์เดียว และเพื่อประกาศให้รู้ว่าพระองค์ไม่หุ้นส่วนอันใดทั้งสิ้นในการบริบาล ดังนั้น ในประโยคจึงปฏิเสธด้วยคำว่า “อิลลัลลอฮฺ” นอกจากอัลลอฮฺ บ่งบอกให้เห็นถึงความเป็นหนึ่งเดียว เป็นการจำกัดให้เห็นถึงความสำคัญอันเฉพาะสำหรับ อัลลอฮฺ เพื่อประกาศให้รู้ว่าไม่มีใคร หรือสิ่งใดมีส่วนร่วมในการเป็นพระผู้อภิบาล หรือคู่ควรแก่การแสดงความเคารพภักดีนอกจากพระองค์เท่านั้น[5]
ส่วนประโยคที่สอง (อัชฮะดุ อันนะ มุฮัมมะดัน เราะซูลลุลอฮฺ) เนื่องจากเป้าหมายคือ ต้องการพิสูจน์ให้เห็นถึง การเป็นศาสนทูตของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ซึ่งมิได้จำกัดหรือระบุเจาะสำหรับศาสดาเท่านั้น[6] ด้วยเหตุนี้ รูปประโยคจึงไม่ได้ใช้ในลักษณะของ การปฏิเสธและพิสูจน์ ดังนั้น จึงใช้ประโยคในลักษณะของการบอกเล่า เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า การเป็นศาสนทูตนั้นสำหรับท่านศาสดา และศาสดาคนอื่นๆ ด้วย
คำว่า “ลาอิลาฮะ อัลลัลลอฮฺ” ถือเป็นสโลแกนในการเชิญชวนของบรรดาศาสดาทั้งหลาย แม้แต่ศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) เองก็เช่นเดียวกัน ในเบื้องต้นที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ประกาศเชิญชวนนั้น ท่านได้ประกาศเชิญชวนประชาชนไปสู่ การเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว กล่าวว่า «قولوا لا اله‏ الّا اللَّه‏ تفلحوا» “จงประกาศเถิด ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ เพื่อจะได้ประสบความสำเร็จ”
คำกล่าวที่กล่าวว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ” บ่งบอกให้เห็นถึงความสำคัญ 3 ประการดังนี้
1) การบ่งบอกที่ตรงกัน กับความเป็นหนึ่งเดียว ในการแสดงความเคารพภักดี และปฏิเสธเทพเจ้าทั้งหมด นอกจากอัลลอฮฺ
2) การบ่งบอกอันจำเป็น ที่มีต่อประเภทต่างของความเป็นหนึ่งเดียว เช่น ความเป็นหนึ่งเดียวในอาตัน พระลักษณะ การกระทำ และทฤษฎี
3) การบ่งบอกอันเฉพาะ ที่มีต่อการยืนในสิ่งที่ท่านศาสนทูต ได้นำมาประกาศสั่งสอน หมายถึงหลังจากปฏิญาณถึงความเป็นหนึ่งเดียว และการคู่ควรแก่เคารพภักดีของพระเจ้าแล้ว จำเป็นต้องเชื่อฟังคำพูดของพระองค์ ในการประทานศาสดาลงมาประกาศสั่งสอน ประทานคัมภีร์ แต่งตั้งตัวแทนเพื่อรักษาศาสนาและคำสอน พร้อมทั้งจัดวางกฎระเบียบ[7]
มุสลิมทุกคนจำเป็นต้องเชื่อทั้งสามการบ่งบอกดังกล่าวนี้ ซึ่งนอกจากความเชื่อทางจิตใจแล้ว ยังต้องมีการแสดงออกทางการปฏิบัติด้วย เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงความจริใจ และความบริสุทธิ์ใจที่มีต่อระดับของเตาฮีดทั้งหลาย[8]
บางทีอาจเกิดคำถามในความคิดของมนุษย์ว่า การเชิญชวนไปสู่การแสดงความเคารพภักดีพระเจ้าองค์เดียว คือรากเหง้าหนึ่งของการพิสูจน์ในการมีอยู่ของพระผู้อภิบาล ดังนั้น เบื้องต้นต้องพิสูจน์ก่อนว่า โลกนี้มีพระเจ้าผู้ทรงบริบาลดูแลอยู่จริง หลังจากนั้นจึงค่อยพิสูจน์ความเป็นหนึ่งเดียวของพระองค์ เนื่องจาก บรรดาศาสดาแห่งพระเจ้า ก่อนที่จะพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าแก่ประชาชน ได้เชิญชวนประชาชนไปสู่การเคารพภักดีพระองค์ ทั้งที่ยังไม่รูว้าพระองค์มีอยู่จริงหรือไม่
คำตอบสำหรับความสงสัยนี้ ต้องกล่าวว่า ตามความเป็นจริงแล้ว การมีอยู่ของพระผู้อภิบาล คือ สิ่งที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งมีอยู่ในสัญชาติญาณของมนุษย์ทุกคน โดยที่ไม่จำต้องอาศัยการสั่งสอน หรือการเชิญชวนของศาสดา  แม้กระทั่งการยอมรับการเชิญชวนของศาสดา ที่เชิญชวนไปสู่พระเจ้าองค์เดียว ในฐานะผู้ทรงรังสรรค์ และทรงเป็นผู้อภิบาลโลก พร้อมกับปฏิเสธเทพเจ้าหลากหลาย เหล่านี้ล้วนเป็นสัญชาติญาณที่ซ๋อนอยู่ในธรรมชาติของความเป็นมนุษย์[9] ถ้าหากว่าธรรมชาติการมีอยู่ของพระเจ้า มิได้ฝังอยู่ในสัญชาติญาณของมนุษย์แล้วละก็  บรรดาศาสทูตแห่งพระเจ้าก็จะต้องเผชิญปัญหา ยากกว่านี้อีกหลายเท่าในการเชิญชวนมนุษย์ ทว่าแม้แต่การเผยแผ่ของท่านก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ เหมือนดังที่เป็นอยู่ก็เป็นไปได้
พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกร การถึงการแสวงหาพระเจ้าของมนุษย์ อันเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน โองการกล่าวแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ว่า ..
«فَأَقِمْ وَجْهَکَ لِلدِّینِ حَنیفاً فِطْرَتَ اللَّهِ الَّتی‏ فَطَرَ النَّاسَ عَلَیْها لا تَبْدیلَ لِخَلْقِ اللَّهِ ذلِکَ الدِّینُ الْقَیِّمُ وَ لکِنَّ أَکْثَرَ النَّاسِ لا یَعْلَمُونَ»؛
“ดังนั้น เจ้าจงผินหน้าของเจ้าสู่ศาสนาอันเที่ยงธรรม [ปฏิบัติตาม]ธรรมชาติของอัลลอฮฺทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา มิมีการเปลี่ยนแปลงในการสร้างของอัลลอฮฺ นั่นคือศาสนาอันเที่ยงตรง แต่ส่วนมากของมนุษย์ไม่รู้”[10]
คำว่า “ฟิตรัต” ในภาษาอาหรับถือว่าเป็น อิสมิมัซดัร ในที่นี้หมายถึงการซ่อน หรือการตกลงเรื่องการรู้จักพระเจ้า โดยทั่วไปแล้วสิ่งนี้หยั่งลึกอยู่ในสัญชาติญาณของมนุษย์ ซึ่งคำอธิบายของมันในแง่ของหลักความศรัทธา จริยธรรม ความเชื่อด้วยจิตใจ และการปฏิบัติ รวมอยู่ใน ดีนฮะนีฟา อันได้แก่อิสลามนั่นเอง ด้วยเหตุนี้เอง พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกร จึงเน้นย้ำถึงเรื่องความจำเป็นในหลักศรัทธา และโครงสร้างของศาสนาอิสลาม พร้อมกันนั้น พระองคยังทรงมีบัญชาบัญชาโดยตรงกับท่านศาสดา ให้สั่งสอนเชิญชวนประชาติ ไปสู่ศาสนาที่เที่ยงธรรม อันได้แก่อิสลาม เพื่อว่าธรรมชาติดั้งเดิมนี้ของมนุษย์ จะได้ตื่นตัวขึ้นมาและเชื่อฟังปฏิบัติตาม คำสอนของอัลกุรอาน และศาสนา และเวลานั้นมนุษย์จะได้พบกับความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงของตน อีกทั้งยังได้รับความสุขความเจรญิที่แท้จริงที่สิ่งนั้นกำลังรอคอยเขาอยู่[11]
 

[1] أَشْهَدُ أَنْ‏ لَا إِلَهَ‏ إِلَّا اللَّهُ - أَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّداً رَسُولُ اللَّه‏.
[2] أَشْهَدُ أَنْ‏ لَا إِلَهَ‏ إِلَّا اللَّهُ‏ُ‏.
[3] أَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّداً رَسُولُ اللَّه‏.
[4] لَا إِلَهَ‏.
[5] ดะอาซ ฮะมีดาน กอซิม อิอ์รอบุลกุรอาน อัลกะรีม เล่ม 3 หน้า 20 ดารุลมุนีร และดารุลฟารอบี ดามัสกัส พิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ. 1425
[6] เนื่องจากเรามิได้มีศาสดาเฉพาะศาสดามุฮัมมัดเท่านั้น ทว่าศาสดาคนอื่นเช่น ศาสดานูฮฺ อิบรอฮีม มูซา อีซา และ ...ล้วนจัดว่าเป็นศาสดาของพระเจ้าท้งสิ้น ดังนั้น การเป็นศาสนทูตจึงไม่ได้จำกัดแค่ท่านศาสดา มุฮัมมัด (ซ็อลฯ) เท่านั้น
[7] ฏ็อยยิบ อับดุล ฮุเซน อัฏฏ็อยยิบ อัลบะยาน ฟี ตัฟซีร อัลกุรอาน, เล่ม 11, หน้า 143, 141, อิสลาม เตหะราน พิมพ์ครั้งที่ 2, 1378
[8] อ้างแล้วเล่มเดิม
[9] กุลัยนี มุฮัมมัด ยะอฺกูบ  ฮุซัยนี ฮัมเมดอนนี นะญัฟฟี มุฮัมมัด เดะรัคชอน คัดลอก และวิเคราะห็มาจากอุซูลกาฟีย์ เล่ม 1, หน้า 176 สำนักพิมพ์ อิลมียะฮฺ กุม พิมพ์ครั้งแรก 1363
[10] อัลกุรอาน บทโรม 30
[11] ซัยนี ฮัมเมดอนนี ซัยยิดฮุเซน อันวารเดะรัคชอน ผู้ตรวจทาน มุอัมมัด บะฮฺบูดี มุฮัมมัดบากิร เล่ม 12 หน้า 419 ร้านขายหนังสือ ละฎีฟฟี เตหะรานี พิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ. 1404
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    10683 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
    7455 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ...
  • ในมุมมองของรายงาน,ควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
    7646 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ริวายะฮ์ที่กล่าวว่า “ในสมัยที่อิมามอลี (อ.) ปกครองอยู่ ท่านมักจะถือแซ่เดินไปตามถนนหนทางและท้องตลาดพร้อมจะลงโทษอาชญากรและผู้กระทำผิด” จริงหรือไม่?
    6412 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ริวายะฮ์ข้างต้นกล่าวถึงช่วงรุ่งอรุณขณะที่ท่านสำรวจท้องตลาดในเมืองกูฟะฮ์ และการที่ท่านมักจะพกแซ่ไปด้วยก็เนื่องจากต้องการให้ประชาชนสนใจและให้ความสำคัญกับกฏหมายนั่นเอง สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาศอฟีย์ กุลพัยกานี ริวายะฮ์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง และสิ่งที่อิมามอลี(อ.) ได้กระทำไปคือสิ่งที่จำเป็นต่อสถานการณ์ในยุคนั้น การห้ามปรามความชั่วย่อมมีหลายวิธีที่จะทำให้บังเกิดผล ดังนั้นจะต้องเลือกวิธีที่จะทำให้สังคมคล้อยตามความถูกต้อง คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากผู้ปกครองในอิสลามเห็นสมควรว่าจะต้องลงโทษผู้ต้องหาและผู้ร้ายในสถานที่เกิดเหตุ หลังจากที่พิสูจน์ความผิดด้วยวิธีที่ถูกต้อง และพิพากษาตามหลักศาสนาหรือข้อกำหนดที่ผู้ปกครองอิสลามได้กำหนดไว้ การลงทัณฑ์ในสถานที่เกิดเหตุถือว่าไม่ไช่เรื่องผิด และในการนี้ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงริวายะฮ์ดังกล่าวแต่อย่างใด แต่รายงานที่ถูกต้องที่ปรากฏในตำราฮะดีษอย่าง กุตุบอัรบาอะฮ์[1] ก็คือ ท่านอิมามอลี (อ.) พกแซ่เดินไปตามท้องตลาดและมักจะตักเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่มีตำราเล่มใดบันทึกว่าอิมามอลี (อ.) เคยลงโทษผู้ใดในตลาด
  • ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการีย์ (อ.) »อัลฮัมดุลลิลฮิร็อบบิลอาละมีน« หมายถึงอะไร?
    11262 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) เป็นหนึ่งในตัฟซีรที่กล่าวว่าเป็นของท่านอิมาม ซึ่งมีเหตุผลบางประการพาดพิงว่าตัฟซีรดังกล่าวเป็นของท่านอิมาม แต่เป็นเหตุผลที่เชื่อถือไม่ได้แน่นอน ตัฟซีรชุดนี้ได้มีการตีความอัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ (ฮัม) และบทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 282 โดยรายงานฮะดีซ ซึ่งในวิชาอุลูมกุรอานเรียกว่าตัฟซีร »มะอฺซูเราะฮฺ« อย่างไรก็ตาม, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้อธิบายถึงประโยคที่ว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ไว้ในหลายประเด็น, เนื่องจาการขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานต่างๆ อันไม่อาจคำนวณนับได้, การสนับสนุนสรรพสิ่งถูกสร้าง, ความประเสริฐ และความดีกว่าของชีอะฮฺ เนื่องจากการยอมรับวิลายะฮฺ และอิมามะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และกล่าวว่า เนื่องจากจำเป็นต้องขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานของพระองค์ จึงได้กล่าวว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7548 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • ได้ยินว่าระหว่างสงครามอิรักกับอิหร่านนั้น ร่างของบางคนที่ได้ชะฮีดแล้ว, แต่ไม่เน่าเปื่อยสลาย, รายงานเหล่านี้เชื่อถือได้หรือยอมรับได้หรือไม่?
    8473 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    โดยปกติโครงสร้างของร่างกายมนุษย์, จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า เมื่อจิตวิญญาณได้ถูกปลิดไปจากร่างกายแล้ว, ร่างกายของมนุษย์จะเผ่าเปื่อยและค่อยๆ สลายไป, ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ที่ร่างกายของบางคนหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนานหลายปี จะไม่เน่าเปื่อยผุสลายและอยู่ในสภาพปกติ. แต่อีกด้านหนึ่ง อัลลอฮฺ ทรงพลานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่างและทุกการงาน[1] ซึ่งอย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งนี้จะไม่มีความเป็นไปได้ หรือห่างไกลจากภูมิปัญญาแต่อย่างใด. เพราะว่านี่คือกฎเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งได้รับการละเว้นไว้ในบางกรณี, เช่น กรณีที่ร่างของผู้ตายอาจจะไม่เน่าเปื่อย โดยอนุญาตของอัลลอฮฺ ดังเช่น มามมีย์ เป็นต้น จะเห็นว่าร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อย ซึ่งเรื่องนี้ได้ผ่านพ้นไปนานหลายพันปีแล้ว และประสบการณ์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงดังกล่าวแล้วด้วย ดังนั้น ถ้าหากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ครอบคลุมเหนือประเด็นดังกล่าวนี้ ก็เป็นไปได้ที่ว่าบางคนอาจเสียชีวิตไปแล้วหลายร้อยปี แต่ร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อยผุสลาย ยังคงสมบูรณ์เหมือนเดิม แล้วพระองค์ทรงเป่าดวงวิญญาณให้เขาอีกครั้ง ซึ่งเขาผู้นั้นได้กลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง, อัลกุรอานบางโองการ ก็ได้เน้นย้ำถึงเรื่องราวของศาสดาบางท่านเอาไว้[2] เช่นนี้เองสิ่งที่กล่าวไว้ในรายงานว่า ถ้าหากบุคคลใดที่มีนิสัยชอบทำฆุซลฺ ญุมุอะฮฺ, ร่างกายของเขาในหลุมฝังศพจะไม่เน่นเปื่อย
  • ในทัศนะอิสลาม บาปของฆาตกรที่เข้ารับอิสลามจะได้รับการอภัยหรือไม่?
    8114 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/12
    อิสลามมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามอาทิเช่นหากก่อนรับอิสลามเคยละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์เช่นไม่ทำละหมาดหรือเคยทำบาปเป็นอาจินเขาจะได้รับอภัยโทษภายหลังเข้ารับอิสลามทว่าในส่วนของการล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์เขาจะไม่ได้รับการอภัยใดๆเว้นแต่คู่กรณีจะยอมประนีประนอมและให้อภัยเท่านั้นฉะนั้นหากผู้ใดเคยล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นเมื่อครั้งที่ยังมิได้รับอิสลามการเข้ารับอิสลามจะส่งผลให้เขาได้รับการอนุโลมโทษทัณฑ์จากอัลลอฮ์ก็จริงแต่ไม่ทำให้พ้นจากกระบวนการพิจารณาโทษในโลกนี้
  • การให้การเพื่อต้อนรับเดือนมุฮัรรอม ตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่ามีความหมายหรือไม่?
    7480 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถือเป็นซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ซึ่งได้รับการสถาปนาและสนับสนุนโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60132 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57573 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42220 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39370 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34004 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28021 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27966 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27804 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25802 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...