Please Wait
9528
ดนตรีและเครื่องเล่นดนตรีตามความหมายของ ฟิกฮฺ มีความแตกต่างกัน. คำว่า ฆินา หมายถึง การส่งเสียงร้องจากลำคอออกมาข้างนอก โดยมีการเล่นลูกคอไปตามจังหวะ, ซึ่งทำให้ผู้ฟังเกิดประเทืองอารมณ์และมีความสุข ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานประชุมที่ไร้สาระ หรืองานประชุมที่คร่าเวลาให้หมดไปโดยเปล่าประโยชน์
ส่วนเสียงดนตรี หมายถึงเสียงที่เกิดจากการเล่นเครื่องตรี หรือการดีดสีตีเป่าต่างๆ
เมื่อพิจารณาอัลกุรอานบางโองการและรายงานฮะดีซ ประกอบกับคำพูดของนักจิตวิทยาบางคน, กล่าวว่าการที่บางคนนิยมกระทำความผิดอนาจาร, หลงลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ, ล้วนเป็นผลในทางไม่ดีที่เกิดจากเสียงดนตรีและการขับร้อง ซึ่งเสียงเหล่านี้จะครอบงำประสาทของมนุษย์ ประกอบกับพวกทุนนิยมได้ใช้เสียงดนตรีไปในทางไม่ดี ดังนั้น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งในเชิงปรัชญาที่ทำให้เสียงดนตรีฮะรอม
เหตุผลหลักที่ชี้ว่าดนตรีฮะรอม (หรือเสียงดนตรีบางอย่างฮะลาล) คือโองการอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ซึ่งโองการอัลกุรอานประกอบด้วย โองการที่ 72 บทฟุรกอน, โองการที่ 30 บทฮัจญฺ, โองการที่ 3 บทมุอฺมินูน, และโองการที่ 6 บทลุกมาน, ซึ่งบรรดาอิมาม (อ.) ได้อธิบายความหมายของโองการเหล่านั้นไว้ว่า วัตถุประสงค์ของคำว่า “เกาลุนซุร” “ละฮฺว์” และ “ลัฆวี” ในโองการหมายถึง “ฆินา” เสียงดนตรี
นอกจากนั้นยังมีรายงานฮะดีซที่พิสูจน์ว่า เสียงดนตรีฮะรอม, และรายงานฮะดีซอีกกลุ่มหนึ่งที่บ่งบอกว่าอุปกรณ์ดนตรี และการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้นฮะรอม, ซึ่งรายงานเหล่านี้ได้พิสูจน์ให้แล้วว่าเครื่องดนตรีบางประเภทฮะรอม
จากคำกล่าวที่ว่า ฆินา หมายถึงเสียงเพลงหรือเสียงที่ลากให้ยาว หรือใช้กับทุกการเปล่งเสียงร้อง, ด้วยเหตุนี้เองบรรดาฟุเกาะฮาส่วนใหญ่จึงถือว่า ความไร้สาระ นั่นเองทีเป็นเงื่อนไขของการเป็นฮะรอมของเสียงเพลง นอกจากนั้นบางท่านยังได้เสริมว่าแม้แต่ความดึงดูดใจของเสียงเพลงก็เป็นฮะรอมด้วย, และส่วนเสียงดนตรีก็เช่นกัน บรรดานักปราชญ์ส่วนใหญ่ถือว่าเป็นความไร้สาระประเภทหนึ่ง และเป็นฮะรอมด้วยเหมือนกัน นอกจากนั้นเสียงดนตรีที่ดึงดูดใจก็ถือว่าฮะรอมเหมือนกัน
1.คำอธิบายความเข้าใจเสียงดนตรี :
คำว่า “มิวสิก” หรือ “มิวสิกิยา” เป็นคำพูดที่มาจากกรีก ซึ่งในสารานุกรมเทียบได้ตรงกับคำว่า ฆินา ส่วนในความเข้าใจด้านศาสนาหรือนิยามทางวิชาฟิกฮฺ,มีความแตกต่างกัน. คำว่า ฆินา ในคำจำกัดความของชัรอียฺหมายถึง การร้องโดยเปล่งเสียงออกมาจากลำคอ มีการเอื้อน หรือเล่นลูกคอไปตามจังหวะ สร้างความรื่นรมและความหรรษาให้แก่ผู้ฟัง ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานประชุมที่ไร้สาระ หรืองานประชุมเพื่อคร่าเวลาให้หมดไปโดยเปล่าประโยชน์, ส่วนเสียงดนตรีนั้นหมายถึงเสียงที่เกิดจากการดีดสีตีเปล่าเครื่องดนตรี, บนพื้นฐานดังกล่าวนี้, ความสัมพันธ์ระหว่างมิวสิกที่รู้จักกันโดยทั่วไปกับมิวสิกทางฟิกฮฺ, อุมูลวะคุซูซมุฎลัก[1]
2. วิทยปัญญาการฮะรอมของเสียงดนตรีและเพลง
ถ้าหากพิจารณษอัลกุรอาน บางโองการ รายงานบางบท และคำพูดของนักจิตวิทยาบางคน สามารถกล่าวได้ว่าประเด็นดังต่อไปนี้คือวิทยปัญญาการเป็นฮะรอมของเสียงดนตรีและเพลง :
ก. การโน้มน้าวมนุษย์ไปสู่การทำความชั่วอนาจาร :
รายงานฮะดีซจากท่านนบี (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : “เสียงเพลงคือบันใดก้าวไปสู่การซินา”[2] ประสบการณ์ได้แสดงให้เห็นว่าผู้คนจำนวนมากมายได้ละทิ้งความสำรวมตน ไปสู่การก่อกรรมชั่วเนื่องจากอิทธิพลของเสียงเพลง. ห้องดนตรีส่วนใหญ่คือศูนย์กลางของความชั่วร้ายอนาจาร[3]
ข.เสียงเพลงทำให้มนุษย์ลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ :
อัลกุรอาน กล่าวว่า :“มนุษย์บางกลุ่มซื้อคำพูดที่ไร้สาระ เพื่อหลอกลวงผู้คนที่ปราศจากความรู้ให้หลงออกจากทางของอัลลอฮฺ ถือเอาโองการของพระเจ้าเป็นเรื่องขบขัน พวกเขาจะได้รับการลงโทษอันอัปยศ”[4] อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงตัวการสำคัญที่ทำให้มนุษย์หลงทางไปจากแนวทางของอัลลอฮฺ นั่นคือ “ละฮฺวุลฮะดีซ” คำว่า ละฮฺวุน หมายถึงสิ่งที่โน้มนำมนุษย์ให้หมกมุ่นกับตัวเอง จนเป็นสาเหตุทำให้หลงลืมและต้องละทิ้งการงานที่สำคัญ ซึ่งรายงานฮะดีซอธิบายว่าสิ่งนั้นหมายถึง เสียงเพลง[5]
ค. ผลที่ไม่ดีของเสียงเพลงและดนตรีที่มีต่อสภาพจิตใจและประสาท :
เสียงเพลงและเสียงดนตรีเป็นหนึ่งในยาเสพติดที่มอมเมาและทำลายระบบประสาท “ถ้าพิจารณาชีวประวัติของนักดนตรีที่มีชื่อเสียงบ่งบอกให้เห็นว่า ในช่วงชีวิตได้รับความทุกข์ทางจิตใจ,ซึ่งระบบประสาทของตนค่อยๆ หายไปที่ละน้อย และบางกลุ่มได้รับความทุกข์ทรมานและมีอาการป่วยทางจิต หรือบางกลุ่มได้สูญมือ, บางกลุ่มเป็นอัม
ง.ดนตรีคือสื่อและเป็นเครื่องมือของนักล่าอาณานิคม
นักล่าอาณานิคม บนโลกนี้ส่วนใหญ่แล้วมีความหวาดกลัวต่อการตื่นตัวของประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน, ด้วยเหตุนี้เองหนึ่งในนโยบายอันกว้างใหญ่ของพวกล่าอาณานิคมคือ การทำให้สังคมจมดิ่งปราศจากข่าวสารและข้อมูล ขณะเดียวกันก็มอมเมให้สังคมหมกมุ่นอยู่กับสิ่งไร้สาระ และเป็นพิษต่อสังคมอาทิเช่น การส่งเสริมเสียงเพลงและดนตรีให้ยิ่งใหญ่, พวกเขาได้จัดทำเครื่องดนตรีที่สำคัญเพื่อมอมเมาความคิดของประชาชนให้หมกมุ่นอยู่กับสิ่งนั้น[6]
3.มีหลายประเด็นที่ถูกกล่าวถึงวิทยปัญญาของการฮะรอมของเสียงเพลงและดนตรี ซึ่งมิใช่เหตุผลสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้เอง,ในบางประเด็นที่ผลของดนตรีไม่ฮะรอม แต่ก็ยังมีกฎเกณฑ์ที่ฮะรอม
4. เหตุผลหลักที่เสียงเพลงและดนตรีฮะรอม (หรือฮะลาลบางประเภท) คือโองการอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการพิจารณาและวิเคราะห์โดยฝ่ายนิติศาสตร์อิสลามแล้ว ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวเฉพาะบางประเด็นเท่านั้น อาทิเช่น
ก. โองการอัลกุรอาน แม้ว่าจะไม่ได้อธิบายถึงเสียงเพลงและดนตรีโดยตรงก็ตาม เฉกเช่น บทบัญญัติที่ได้กล่าวถึงหลักสำคัญและหลักทั่วไปเอาไว้, แต่บางโองการซึ่งได้รับการตีความไว้โดยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ซึ่งได้ตีความเทียบตรงกับเพลงและดนตรี,ซึ่งจะขอนำเสนอสักสองสามโองการดังต่อไปนี้ :
1. ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวอธิบายโองการที่กล่าวว่า “และบรรดาผู้ไม่เป็นพยานในการเท็จ และเมื่อพวกเขาผ่านเรื่องไร้สาระ พวกเขาผ่านไปอย่างมีเกียรติ”[7] “พวกเขาหลีกเลี่ยงคำพูดไร้สาระ”[8] โดยกล่าวว่า “วัตถุประสงค์หมายถึงงานเลื้ยงที่ไร้สาระและเสียงเพลง”[9]
2.ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวถึงโองการที่กล่าวว่า “และพวกเขาที่เป็นผู้ผินหลังให้เรื่องไร้สาระต่าง ๆ”[10] โดยกล่าวว่า “วัตถุประสงค์จากเรื่องไร้สาระต่างๆ” ของโองการข้างต้นหมายถึง ดนตรีและสิ่งไร้สาะทั้งหลาย”[11]
3.ท่านอิมามบากิร (อ.) และอิมามซอดิก (อ.) กล่าวถึงโองการที่กล่าวว่า “มนุษย์บางกลุ่มซื้อคำพูดที่ไร้สาระ เพื่อหลอกลวงผู้คนที่ปราศจากความรู้ให้หลงออกจากทางของอัลลอฮฺ ถือเอาโองการของพระเจ้าเป็นเรื่องขบขัน พวกเขาจะได้รับการลงโทษอันอัปยศ”[12] โดยกล่าวว่า “วัตถุประสงค์ของคำพูดไร้สาระคือ เพลง”[13]
ประเด็นสำคัญ : แม้ว่ารายงานส่วนใหญ่และโองการที่กล่าวมาจะไม่ได้กล่าวถึงเพลงโดยตรง แต่บางรายงานก็ได้กล่าวถึงเพลงโดยตรงก็มี[14] บรรดานักปราชญ์ทั้งหลายถือว่าบางโองการเหล่านี้บ่งชี้ถึงเรื่องเพลงและดนตรี[15]
ข) เหตุผลที่สำคัญที่สุดเรื่องดนตรีฮะรอม,คือรายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ที่ได้ตกทอดมาถึงเรา และรายงานเหล่านั้นได้บ่งบอกให้เห็นว่า ดนตรีเป็นฮะรอม ซึ่งจะขอหยิบยกบางรายงานมากล่าวในที่นี้ อาทิเช่น :
ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า : “ดนตรีคือสิ่งหนึ่งซึ่งอัลลอฮฺทรงจุดไฟนรกเตรียมไว้แล้ว”[16] ท่านอิมามมซอดิก (อ.) กล่าวว่า “จงออกห่างจากเสียงดนตรี”[17]
ค) เกี่ยวกับการเป็นฮะรอมของเสียงเพลง มีรายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ซึ่งจะขอหยิบยกบางรายงานมากล่าวในที่นี้ อาทิเช่น :
ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : “ชิ้นส่วนอุปกรณ์และเสียงเป็นการงานของชัยฎอน ดังนั้น ทุกสิ่งบนพื้นดินถ้ามีของประเภทนี้ ถือว่ามาจากชัยฏอนมารร้าย”[18] ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : “ฉันขอสั่งห้ามพวกเจ้าจากชิ้นส่วนอุปกรณ์และเสียงเพลง”[19]
ง) จากการอธิบายที่กล่าวถึงคำว่า ฆินา หมายถึง “การลากเสียงยาว” ทว่าหมายถึงทุกเสียงที่เปล่งร้องทำนองออกไป[20] ท่านเชคอันซอรีย์ กล่าวว่า “เป็นที่ชัดเจนว่าไม่มีสิ่งใดเป็นฮะรอม”[21] ด้วยเหตุนี้เองบรรดานักปราชญ์จึงถือว่า “ความไร้สาระ” คือเงื่อนไขสำคัญที่ว่าดนตรีเป็นฮะรอม กล่าวคือ ดนตรีไร้สาระและเป็นฮะรอม.[22]
คำว่า “ละฮฺวุน” ได้ให้ความหมายว่าสื่อที่นำไปสู่การลืมรำลึกถึงพระเจ้า และการจมดิ่งไปสู่ความหยาบคาย[23] กล่าวว่า เสียงเพลงคือการร้องลำนำที่ฮะรอม เหมาะสมกับงานชุมนุมที่ไร้สาระ อนาจาร ปล่อยตัวปล่อยใจเพื่อแสวงความสุขชนิดไร้สาระ[24]
นักปราชญ์บางท่านนอกจากจะถือ ความไร้สาระ แล้วยังได้เพิ่มเรื่อง การประเทืองอารมณ์ เข้าไปอีก[25] ความหรรษาหรือประเทืองอารมณ์ เป็นสภาพหนึ่งที่เกิดจากผลของการได้ยินเสียงขับร้อง หรือเสียงดนตรีที่ฝังเข้าไปในจิตใจ และทำให้เขาออกนอกความสมดุลของตัวเอง ส่วนเรื่องเสียงดนตรี (เสียงที่เกิดจากการดีดสีตีเป่าเครื่องดนตรี) ก็เช่นเดียวกันนักปราชญ์ส่วนใหญ่ถือว่า ถ้าเป็นเรื่องไร้สาระแล้วละก็ เป็นฮะรอมทั้งสิ้น และบางคนยังถือว่า การฟังเสียงดนตรีที่ก่อให้เกิดความหรรษาและประเทืองอารมณ์แล้วเป็น ฮะรอม[26]
ประเด็นสุดท้าย : ดังที่กล่าวไปแล้วว่าการวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาดังกล่าว เป็นหน้าที่ของนักปราชญ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งบุคคลที่ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการอิจญฺติฮาด (วินิจฉัย) แล้วละก็ ควรจะปฏิบัติตามทัศนะของมัรญิอฺตักลีด
[1] ซัยยิด มุจญฺตะบา ฮุซัยนี, (คำถามตอบต่างๆ สำหรับนักศึกษา) หน้า 169, อิมามโคมัยนี, อัลมะกาซิบมุฮัรเราะมะฮฺ, เล่ม 1 หน้า 198 – 224,ฮุซัยนี, อะลี, อัลมิวสิกกี, หน้า 16, 17, ตับรีซีย์, อิสติฟตาอาต, คำถามที่ 10, 46, 47, 1048, ฟาฎิล, ญามิอุลมะซาอิล, เล่ม 1, คำถามที่ 974, 978, 979.
[2] الغناء رقیة الزنا؛, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 76, หมวด 99, อัลฆินาอ์
[3] อิทธิพลของเสียงเพลงที่มีต่อระบบประสาทและจิตใจ, หน้า 29, ตัฟซีรรูฮุลมะอานี, เล่ม 21 , หน้า 6, ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 17, หน้า 25, 26.
[4] อัลกุรอาน บทลุกมาน, โองการที่ 6 กล่าวว่า :
ومن الناس من یشتری لهو الحدیث لیضل عن سبیل الله بغیرعلم و یتخذها هزوا اولئک لهم عذاب مهین؛
[5] วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 12, หมวดที่ 99, - ابواب ما یکتسب به-
[6] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 17, หน้า 27.
[7] อัลกุรอาน บทฟุรกอน, 72. (والذین لا یشهدون الزور)
[8] อัลกุรอาน บทฮัจญฺ, 30. (واجتنبوا قول الزور)
[9] วะซาอิลุชชิอะฮฺ, เล่ม 12, หมวด 99, ฮะดีซที่ 2, 3, 5, 9, 26.
[10] อัลกุรอาน บทมุอฺมินูน, 3, กล่าวว่า (والذین عن اللغو معرضون)
[11] ตัฟซีรอะลี บินอิบรอฮีม, เล่ม 2 , หน้า 88.
[12] อัลกุรอาน บทลุกมาน, 6.
[13] วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 12, หมวด 99, ฮะดีซที่ 6, 7, 11, 16, 25.
[14] อ้างแล้วเล่มเดิม, หมวดที่ 100, ฮะดีซที่ 3.
[15] อัลมะกาซิบ อัลมุฮัรเราะมะฮฺ, อิมามโคมัยนี (รฎ.) เล่ม 1,หน้า 2.
[16] วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 12, หมวด 99, ฮะดีซที่ 6.
[17] อ้างแล้วเล่มเดิม, ฮะดีซที่ 23 – 24.
[18] อ้างแล้วเล่มเดิม, หมวดที่ 100, ฮะดีซที่ 5 – 6
[19]อางแล้วเล่มเดิม
[20] อัลมะกาซิบ อัลมุฮัรเราะมะฮฺ, อิมามโคมัยนี (รฎ.) เล่ม 1,หน้า 229.
[21] อัลมะกาซิบ เชคอันซอรีย์, เล่ม 1, หน้า 292
[22] ริซาละฮฺ ดอเนชญู, หน้า 171.
[23] อะฮฺมัด ชัรมะคอนี, อินซาน, ฆินา, มิวสิก, หน้า 14
[24] ริซาละ ดอเนชญู, หน้า 171, อย่างไรก็ตามข้อห้าม (ฮะรอม) เด็ดขาดของทุกเสียงร้องที่มีความไพเราะ ไม่เข้ากับธรรมชาติและสติปัญญาของมนุษย์ และยังขัดแย้งกับบางรายงานอีกด้วยที่ระบุว่า ให้อ่านอัลกุรอานด้วยท่วงทำนองและเสียงที่ไพเราะ, ด้วยเหตุนี้เอง วัตถุประสงค์จึงหมายถึงเป็นบางอย่างอันเฉพาะ ซึ่งสามารถตีความตามมาตรฐานของข้อห้ามที่การกล่าวว่า "เท็จ" หรือ "ไร้สาระ"
[25] อ้างแล้วเล่มเดิม
[26] เตาฎีฮุล มะซาอิล มะรอญิอ์ตักลีด, เล่ม 2, หน้า 813 – 819, มะซาอิลญะดีด, เล่ม 1, หน้า 47.