การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9041
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/04
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1566 รหัสสำเนา 26985
คำถามอย่างย่อ
ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์กฎการขวางด้วยหิน (ขวางให้ตาย) คืออะไร? การถือปฏิบัติกฎระเบียบดังกล่าว ตามหลักการอิสลามในยุคสมัยนี้ ไม่สร้างความเสื่อมเสียแก่อิสลามหรือ?
คำถาม
ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์การขวางด้วยหิน (ขวางให้ตาย) คืออะไร? ไม่คิดดอกหรือว่าโลกสมัยนี้จะดูถูกเหยียดหยามกฎดังกล่าว ทำให้ทัศนะอื่นที่มีต่ออิสลามจะเป็นไปในแง่ลบทั้งหมด?
คำตอบโดยสังเขป

การลงโทษ โดยการขว้างด้วยก้อนหิน หรือเรียกว่า “รัจม์” เป็นที่ยอมรับในหมู่ประชาชาติ หมู่ชน และศาสนาต่างๆ ก่อนหน้าอิสลาม

ซึ่งในอิสลามถือว่า การลงโทษดังกล่าวเป็นข้อกำหนดประเภทหนึ่งตามหลักชัรอียฺ แน่นอนและตายตัว ซึ่งจะใช้ลงโทษสำหรับการกระทำผิดที่หนักมาก ซึ่งมีรายงานจำนวนมากจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวไว้

เป้าหมายของอิสลามจากการลงโทษดังกล่าวคือ การปรับปรุงแก้ไขสังคม, อันเกิดจากความผิดปรกติด้านการก่ออาชญากรรม, เป็นการชำระผู้กระทำผิดอีกทั้งเป็นการลบล้างความผิดบาป ที่เกิดจากผลของความผิดนั้น, ดำเนินความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม,ป้องกันความหันเห ความหลงผิดต่างๆ อันเกิดจากการทำลายความบริสุทธิ์ของสังคม กลับคืนสู่สังคมอีกครั้ง

ตามทัศนะของอิสลามการลงโทษ การทำชู้ (หญิงที่มีสามี หรือชายที่มีภรรยา) จะถูกลงโทษด้วยเงื่อนไขอันเฉพาะด้วยการขว้างด้วยก้อนหินจนกระทั่งเสียชีวิต

ถ้าหากการดำเนินกฎเกณฑ์ดังกล่าว หรือกฎเกณฑ์ข้ออื่นๆ นำไปสู่การดูถูกเหยียดหยามอิสลามแล้วละก็ วะลียุลฟะกีฮฺ หรือฮากิมชัรอียฺ สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการลงโทษได้ตามความเหมาะสม และต้องสอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม

คำตอบเชิงรายละเอียด

สำหรับการศึกษาข้อมูลภูมิหลังประวัติศาสตร์ การลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหิน หรือ รัจมฺ จำเป็นต้องศึกษาจากหนังสือประวัติศาสตร์ และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา ที่มีมาก่อนศาสนาอิสลาม ซึ่งปัจจุบันคัมภีร์โบราณของศาสนาในอดีตที่มีอยู่ในมือของเรา กล่าวว่า การลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหินนั้น จะใช้ลงโทษบุคคลที่ประพฤติผิดรุนแรง ซึ่งคัมภีร์เตารอตได้กล่าวถึง การลงโทษดังกล่าวไว้หลายต่อหลายครั้ง เป็นการลงโทษหญิงสาวที่ผิดประเวณีก่อนสมรส กล่าวว่า :  » เวลานั้นได้นำตัวหญิงสาวไปที่บ้านของบิดาของนาง แล้วประชาชนได้ร่วมกันใช้หินขว้างเธอจนเสียชีวิต เนื่องจากได้สร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่วงศ์วานอิสราเอล เธอได้ผิดประเวณีที่บ้านบิดาของเธอ การทำเช่นนี้เพื่อให้ความชั่วร้ายห่างไกลไปจากหมู่ชนของตน«[1]

ครั้นเมื่อท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้อพยพไปยังมะดีนะฮฺ ได้มียะฮูดียฺกลุ่มหนึ่งเข้ามาพบท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เพื่อถามเรื่องกฎการผิดประเวณี (ซินา) ท่านศาสดาได้ตอบโดยอาศัยโองการที่ 41 บทมาอิดะฮฺ และโองการที่เกี่ยวข้อง ที่ถูกประทานลงมาหลังจากนั้น

เรื่องราวดังกล่าวมีอยู่ว่า มีหญิงที่มีชื่อเสียงชาวยะฮูดียฺคนหนึ่ง จากหมู่บ้านคัยบัร ได้ผิดประเวณีกับชายที่มีชื่อเสียงจากหมู่พวกเขา ทั้งๆ ที่ทั้งสองมีภรรยาและสามีอยู่แล้ว (เขาทำชู้กัน) แต่นักปราชญ์ของยะฮูดียฺ ไม่กล้าตัดสินลงโทษเขาทั้งสอง เนื่องจากชื่อเสียงที่เขามี และสถานภาพทางสังคมของพวกเขา อีกอย่างพวกเขาไม่ต้องลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหิน พวกเขาจึงได้มาหาท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เพื่อสรรหาบทลงโทษที่เบากว่านั้น เพื่อจะได้นำไปลงโทษทั้งสอง แต่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก็มิได้บอกบทลงโทษอื่นแก่พวกเขา ท่านบอกบทลงโทษเดียวกัน และเน้นย้ำว่าบทลงโทษดังกล่าวมีกล่าวอยู่ในคัมภีร์เตารอตด้วย แล้วทำไมพวกท่านจึงไม่ถือปฏิบัติไปตามคัมภีร์? พวกเขาพยายามปฏิเสธบทบัญญัติดังกล่าวในคัมภีร์เตารอต หลังจากนั้นท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้ให้ผู้รู้ชาวยะฮูดียฺคนหนึ่งนามว่า อิบนุฮูรียา เข้าพบ หลังจากได้สาบานตนแล้ว ท่านได้ถามเขาถึงกฎดังกล่าว เขายอมรับว่ากฎดังกล่าวมีอยู่ในคัมภีรฺเตารอตจริง ต่อมาท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้ลงโทษชายและหญิงคนนั้นหน้ามัสญิด โดยการขว้างด้วยก้อนหินจนเสียชีวิต[2]

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่ากฎการลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหิน มีมาก่อนอิสลาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหมู่ประชาชาติ หมู่ชน และศาสนาต่างๆ อยู่แล้ว จะแตกต่างกันตรงวิธีปฏิบัติเท่านั้นเอง

กฎการขว้างด้วยก้อนหินในอิสลาม :

แม้ว่ากฎการขว้างด้วยก้อนหินจะถูกกำหนดสำหรับ หญิงที่มีชู้ แต่มิได้ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอาน เพียงแต่ว่าวิธีการลงโทษดังกล่าวนี้ได้รับการปฏิบัติโดยท่านศาสดา (ซ็อลฯ)

ท่านอิมามอะลี (อ.) เคยปฏิบัติการลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหิน และการเฆี่ยนตีผู้ผิดประเวณี ท่านกล่าวว่า : จงลงโทษเขาตามที่บันทึกอยู่ในคัมภีร์ของพระเจ้า (เฆี่ยน) และลงโทษเขาตามแบบฉบับของท่านศาสดาคือ ขว้างด้วยก้อนหิน[3] รายงานจากเคาะลิฟะฮฺที่สอง กล่าวว่า : ถ้าฉันไม่กลัวว่าประชาชนจะกล่าวว่า ฉันได้เพิ่มเติมโองการอัลกุรอานแล้วละก็ ฉันจะบรรจุโองการ รัจม์ เข้าในอัลกุรอาน ที่ว่า »บุรุษและสตรีที่ชราหากเขาได้ทำชู้กัน ก็จะต้องถูกขว้างด้วยก้อนหินแน่นอน« อย่างไรก็ตามโองการลักษณะนี้ได้รับการปฏิเสธจากบรรดาเหล่าสหายทั้งหมด ซึ่งไม่มีสหายคนใดกล่าวยืนยันสักคนเดียวว่า มีโองการเหล่านี้ในอัลกุรอาน[4]

กฎการลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหินสำหรับการคบชู้ เป็นที่เห็นพร้องต้องกันของผู้รู้และนักปราชญ์อิสลามทั้งหมด[5] และเนื่องจากเป็นบทลงโทษของอิสลาม จึงไม่อาจแก้ไขหรืออะลุ่มอล่วยใดๆ ได้[6]

อีกด้านหนึ่ง ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เป็นศาสดาแห่งเมตตาธรรม แต่ท่านไม่ยินดีเท่าไหร่ ที่จะลงโทษประชาชาติด้วยวิธีการดังกล่าว ซึ่งทุกครั้งที่มีการลงโทษดังกล่าว ท่านมักจะกล่าวว่า ถ้าเขาลุแก่โทษต่ออัลลอฮฺ ยังดีเสียกว่าการสารภาพผิดเสียอีก แต่กระนั้นเมื่อใดก็ตาม เมื่อพิสูจน์แล้วว่า เค้าทำชู้กันจริง ท่านก็จะลงโทษพวกเขาไปตามนั้น

เหตุการณ์เกี่ยวกับบุคคลที่ถูกลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหิน ในสมัยท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และอิมามอะลี (อ.) และรายงานฮะดีซที่กล่าวเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว[7]แสดงให้เห็นว่าทัศนะอิสลามนั้นเห็นด้วยกับการลงโทษดังกล่าว แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักการ ซึ่งค่อนข้างจะยุ่งยากมากอย่างน้อยต้องพิสูจน์ได้อย่างแน่ชัดว่า ทั้งสองนั้นทำชู้กันจริง กระนั้นโดยหลักการแล้วก็จะเห็นว่ามีการลงโทษทำนองนี้น้อยมากที่สุด นั่นเป็นเพราะการป้องกันมิให้เกิดเรื่องลามกอนาจารดังกล่าว จึงเป็นสาเหตุทำให้มีการลงโทษลักษณะนี้น้อย

ตามรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ซึ่งวางอยู่บนหลักนิติศาสตร์ฝ่ายชีอะฮฺ ได้มีการกล่าวถึงเงื่อนไขและหลักการพิสูจน์การคบชู้สู่ชายเอาไว้ ซึ่งจะขอกล่าวถึงสักสองสามประการดังนี้

1-มาตราที่ 74 การผิดประเวณีอันเป็นเหตุให้ถูกรัจมฺ หรือถูกเฆี่ยนตี จะต้องได้รับการยืนยันจากพยานที่เป็นชายที่มีความยุติธรรม 4 คน หรือพยานที่เป็นชายทีมีความยุติธรรม 3 คน และหญิงที่มีความยุติธรรม 2 คน[8]

2- มาตราที่ 76 คำยืนยันของผู้เป็นพยานจะต้องโปร่งใส ชัดเจน ปราศจากเงื่อนงำ สามารถอ้างอิงได้โดยการเห็นด้วยกับตาตัวเอง

3- มาตราที่ 78 ต้องอธิบายคุณลักษณะทั้งจากเวลา สถานที่ ซึ่งต้องไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างคำยืนยันของผู้เป็นพยาน (มิเช่นนั้นแล้ว ผู้เป็นพยานจะต้องโทษเสียเอง เนื่องจากยืนยันความเท็จ)

4-มาตราที่ 79 ผู้เป็นพยานต้องยืนยันโดยไม่ทิ้งช่วงหรือระยะเวลาของการยืนยัน หมายถึงพยานต้องยืนยันพร้อมกัน (มิเช่นนั้น ผู้เป็นพยานต้องได้รับโทษเอง)[9]

แม้แต่บุคคลผู้ซึ่งได้สารภาพแล้ว หลังจากนั้นได้ปฏิเสธ การต้องโทษด้วยการขว้างด้วยหินก็จะละเว้นจากเขาทันที ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “ถ้าหากบุคคลหนึ่งได้สารภาพความผิดของตน ต่อมาได้ปฏิเสธ ดังนั้น การลงโทษด้วยการเฆี่ยนตียังต้องปฏิบัติเช่นเดิม ยกเว้นความผิดในเรื่อง การทำชู้ อันเป็นสาเหตุทำให้ถูกรัจมฺ (ขว้างด้วยก้อนหิน) หลังจากปฏิเสธ การลงโทษนี้ต้องถูกละเว้นจากเขา”[10]

ความยากในการพิสูจน์เรื่อง การทำชู้ อันเป็นความผิดที่นำไปสู่การลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหินนั้น เป็นเรื่องที่ยากและลำบากมาก ซึ่งบางคน[11]กล่าวว่า บางทีเรื่องนี้อาจไม่ได้รับการพิสูจน์เลยก็เป็นไปได้ เว้นแต่ว่าบุคคลนั้นผู้มีสติสัมปชัญญะ จะยอมรับสารภาพด้วยตัวเอง

ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ เป้าหมายของอิสลามในการกำหนดบทลงโทษดังกล่าว มิใช่เป็นไปเพื่อการล้างแค้น หรือสร้างความป่าเถื่อนให้เกิดในสังคม ทว่าเหมือนกับกฎหมายอิสลามข้ออื่น ซึ่งมีเป้าหมายสูงส่งในการกำหนดบทบัญญัติในแต่ละข้อ ซึ่งจะขอกล่าวถึงบางประเด็นเหล่านั้น กล่าวคือ

ก. เพื่อปรับปรุงสังคม : เนื่องจากถ้ามีกฎหมายในลักษณะเช่นนี้ (ซึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไข) โดยปราศจากการอะลุ่มอล่วยในสังคม และผู้ที่ทำชู้ได้รับการลงโทษจริงตามกฎหมาย แน่นอน บุคคลอื่นที่มีความคิดที่จะทำความผิดดังกล่าว จะไม่กล้าฝ่าฝืนเด็ดขาด และจะไม่มีวันกระทำเช่นนั้นเนื่องจากเมื่อทำผิดจริงแล้ว ต้องได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง

ข.ความผิดปรกติด้านการก่ออาชญากรรม : ทุกอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ถือว่าเป็นความผิดปรกติ อันก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย และเป็นการทำลายระเบียบของสังคม ก่อให้เกิดความวุ่นวายและปัญหาต่อสังคม ดังนั้น ผลของการลงโทษทางสังคม เกิดจากความผิดปรกติ ของอาชญากรที่ก่ออาชญากรรมในสังคม

ค. เพื่อเป็นการชำระการกระทำความผิดของแต่ละคนและการให้อภัย : ความผิดหรือบาปถือว่าเป็นความชั่วร้ายอย่างหนึ่ง สร้างความเปรอะเปื้อน ถ้าหากกระทำผิดจริงก็เป็นเหตุให้ผู้กระทำแปดเปื้อนความผิด หรือเป็นผู้ผิด ดังนั้น ความผิดดังกล่าวจะหมดไปก็ต่อเมื่อได้รับการลงโทษตามความเหมาะสมกับความผิดนั้น รายงานฮะดีซ กล่าวว่า การลงโทษผู้กระทำผิดในโลกนี้ จะทำให้ผู้ทำความผิดสะอาดบริสุทธิ์ และความผิดจำนวนมากมาย (ถ้ามิใช่ความผิดด้านสิทธิมนุษยชน) จะถูกลบล้างให้สะอาดได้ด้วยการลุแก่โทษอย่างจริงใจ

ง. รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความบริสุทธิ์ของสังคม : การกระทำความผิดในสังคม ถ้าไม่มีการลงโทษผู้กระทำความผิด จะเป็นสาเหตุทำให้ผู้กระทำผิดได้ใจ เหิมเกริม และกล้าที่จะทำผิดต่อไป และในที่สุดแล้วความผิดนั้นก็จะลุกลามขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ และแน่นอนว่า ความผิดเช่นการล่วงละเมิดสิทธิคนอื่น การข่มขืนกระทำชำเลา การลักขโมย การสังหารชีวิตผู้อื่น การลวนลามหญิงสาวและอื่นๆ ความผิดเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุทำลายสังคมทั้งสิ้น สร้างความวุ่นวาย และทำลายระเบียบสังคม ดังนั้น ถ้ามีการลงโทษตามวาระ หรือตามความผิดนั้นๆ ตามที่อิสลามได้กำหนดไว้ เท่ากับเป็นการสนับสนุนให้ผู้คนในสังคมมีความยำเกรง รู้จักรักษาระเบียบ และเป็นผู้บริสุทธิ์ตลอดเวลา ทำให้พวกเขารักษาคุณค่าและความดีในความเป็นมนุษย์ต่อไปด้วย ดังที่ได้มีคำเตือนเสมอว่า ผู้ชาญฉลาดมักฉวยโอกาสด้วยการเฝ้ามองดูด้วยตาตัวเองว่า บั้นปลายสุดท้ายจะเป็นอย่างไร ดังนั้น เขาจะไม่ฝ่าฝืนกระทำความผิด และในที่สุดแล้วก็จะเห็นว่า การกระทำความผิดและการก่ออาชญากรรมต่างๆ ในสังคมจะลดลง เมื่อความผิดลดลงย่อมส่งผลให้สังคมมีความหน้าอยู่ และมีความปลอดภัยสูงขึ้นตามลำดับ

จ. การดำเนินความยุติธรรม : การกระทำความผิดเท่ากับเป็นการล่วงละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น เป็นการอธรรมในสิทธิของพวกเขา ดังนั้น ด้วยการลงโทษให้หลาบจำเท่านั้นเอง จึงจะสามารถสร้างความสมดุลและคืนความยุติธรรมแก่สังคมได้ กล่าวคือ ถ้าหากมีการอธรรมเกิดขึ้นในสังคม จำเป็นต้องมีการลงโทษไปตามความเหมาะสมนั้น ฉะนั้น ทุกการลงโทษจึงได้รับการพิจารณาไปตามความเหมาะสมกับความผิด แม้แต่การ รัจมฺ ก็จะไม่ได้รับการละเว้นแต่อย่างใด

บางทีอาจกล่าวได้ว่า การลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหินนั้น เป็นการลงโทษที่รุนแรงค่อนข้างป่าเถื่อน ซึ่งตลอดยุคสมัยของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และท่านอิมามอะลี (อ.) ท่านได้ปฏิบัติกฎข้อนี้ด้วยตัวเองเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น

แน่นอน ที่ใดก็ตามถ้าการปฏิบัติตามกฎหมายลงโทษแล้ว เป็นสาเหตุสร้างความเสื่อมเสียแต่อิสลาม อิมามมะอฺซูม หรือวิลายะตุลฟะกีฮฺ ซึ่งมีอำนาจในการปกปักรักษาผลประโยชน์ของอิสลาม สามารถยกเลิกบทลงโทษเหล่านั้นได้ชั่วคราว หรืออาจเปลี่ยนเป็นการลงโทษในลักษณะอื่นที่มีโทษเท่าเทียมกันแทน

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กล่าวว่า ฮากิม สามารถรื้อถอนบ้าน หรือมัสญิดที่สร้างกีดขวางทางสัญจรไปมา หรือกีดขวางถนนได้ โดยให้จ่ายคืนค่ารื้อถอนบ้านแก่เจ้าของบ้าน ฮากิมสามารถปิดมัสญิดในสถานการณ์ที่จำเป็นได้ ฮากิมสามารถระงับคำสั่งทั้งที่เป็นอิบาดะฮฺ หรือมิใช่อิบาดะฮฺ ซึ่งถ้าการปฏิบัติสิ่งนั้นขัดแย้ง หรือไม่เข้ากับกาลยุคของอิสลาม รัฐบาลอิสลามสมารถสามารถสั่งยุติการประกอบพิธีฮัจญฺ ซึ่งเป็นข้อบังคับสำคัญของพระเจ้าได้ชั่วคราว ถ้าหากพิธีฮัจญฺอยู่ในช่วงคับขัน และขัดแย้งกับความก้าวหน้าของประเทศมุสิลม[12] ในอีกที่หนึ่งท่านกล่าวว่า “เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างความกระจ่างชัดในเรื่องง่ายๆ แก่ประชาชน นั่นคือ ในอิสลามถือว่าความมั่นคงของรัฐเป็นเรื่องยิ่งใหญ่และมีความสำคัญเหนือปัญหาอื่นใดทั้งสิ้น ซึ่งทั้งหมดต้องปฏิบัติตาม”[13]

ด้วยเหตุนี้ สามารถกล่าวได้ว่า ถ้าหากไม่ได้อยู่ในการดำเนินบทบัญญัติของพระเจ้า ก็ไม่จำเป็นต้องสรรหาข้ออ้างที่ไม่มีพื้นฐานที่มาของคนบางกลุ่ม หรือบางพรรคทางการเมือง มาเป็นข้อท้วงติงแต่อย่างใด แต่ถ้าการปฏิบัติกฎหมายทั้งหมดเหล่านี้ หรือช่วงการดำเนินการถ้าขัดแย้งกับระบบอิสลาม หรือสร้างความเสื่อมเสียแก่อิสลาม วิลายะตุลฟะกีฮฺ มีอำนาจในการสั่งการ โดยให้เปลี่ยนบทลงโทษเป็นอย่างอื่นทดแทนได้

 


[1] คัมภีร์สัญญาฉบับเก่า พิมพ์ที่อังกฤษ หน้า 373, วารสาร การเดินทาง มูททนา บทที่ 2, โองการที่ 21, 22.

[2]  ตัฟซีรมีซาน ฉบับแปลฟาร์ซียฺ อัลลามะฮฺเฏาะบาเฏาะบาอียฺ, เล่ม 5, หน้า 543-544

[3] นักด์วะตัฟรีอาต อายะตุลลอฮฺ มุฮัมมัด วะฮีดียฺ หน้า 29

[4] อันวาร อัลฟะกอฮะฮฺ, นาซิรมะการิมชีรอซียฺ กิตาบฮุดูด หน้า 281.

[5] ญะวาเฮร กะลาม นะญะฟี, เล่ม 4, หน้า 318, อัลมะกอซิด อัชชัรอียะฮฺ ลิลอุกูบาตร ฟีลอิสลาม, ดร.ฮุซัยนียฺ อัลญันดี หน้า 637

[6] ตะอฺษีรซะมาน วะมะกาน บัรเกาะวานีนียฺ ญะซาอียฺ อิสลาม, ฮะมีด เดะฮฺกอน หน้า 129

[7] วะซาอิลุชชีอะฮฺ, โฮร อามิลียฺ, เล่ม 18, หน้า 347.

[8] ตะฮฺรีรุล อัลวะซีละฮฺ เล่ม 2, หน้า 461, ข้อที่ 9.

[9] ชัรฮฺ กฎหมายการลงโทษในอิสลาม, ซัยยิด ฟะตาฮฺ มุรตะเฎาะวีย, หน้า 32-43.

[10] วะซาอิลุชชีอะฮฺ, โฮร อามิลียฺ, เล่ม 18, หน้า 318, 319.

[11] ตะอฺษีร ซะมาน วะมะกาน บัร กะวานีน ญะซาอี อิสลาม, ฮะมี เดะฮฺกอน

[12] ฮุกูมัตอิสลามมี, อิมามโคมัยนี (รฎ.) หน้า 34, 233.

[13] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 464

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวชื่อรุก็อยยะฮ์หรือสะกีนะฮ์ไช่หรือไม่ ที่เสียชีวิตที่ดามัสกัสขณะอายุได้สามหรือสี่ขวบ?
    7241 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    แม้ว่านักประวัติศาสตร์จะมิได้กล่าวถึงบุตรสาวตัวน้อยของอิมามฮุเซน(อ.) ที่มีนามว่ารุก็อยยะฮ์หรือฟาฏิมะฮ์ศุฆรอฯลฯแต่ตำราบางเล่มก็สาธยายเรื่องราวอันน่าเวทนาของเด็กหญิงคนนี้ณซากปรักหักพังในแคว้นชามเราพบว่ามีเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปรากฏในตำราประวัติศาสตร์บางเล่มอาทิเช่นก. เมื่อท่านหญิงซัยนับ(ส.) ได้เห็นศีรษะของอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นพี่ชายนางได้รำพึงรำพันบทกวีที่มีเนื้อหาว่า “โอ้พี่จ๋าโปรดคุยกับฟาฏิมะฮ์น้อยสักนิดเถิดเพราะหัวใจนางกำลังจะสูญสลาย”
  • เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย ?
    10558 สิทธิและกฎหมาย 2554/04/21
    หนึ่งในสาเหตุที่ส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายมากกว่าฝ่ายหญิงคือเรืองค่าเลี้ยงดูของหญิงอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชายกล่าวคือฝ่ายชายนอกจากจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตนแล้วยังมีหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายประจำวันของฝ่ายหญิงและบรรดาลูกๆอีกด้วยอีกด้านหึ่งฝ่ายชายต้องเป็นผู้จ่ายมะฮฺรียะฮฺส่วนฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายรับมะฮฺรียะฮฺนั้นตามความเป็นจริงสามารถกล่าวได้ว่าสิ่งที่ฝ่ายหญิงได้รับในฐานะของมรดกหรือมะฮฺรียะฮฺนั้นก็คือทรัพย์สะสมขณะที่ส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายถูกใช้ไปเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของตนของภรรยาและบรรดาลูกๆนอกจากนี้แล้ว
  • การจ่ายคุมซ์เป็นทรัพย์สินเพียงครั้งเดียว แล้วต่อไปไม่วาญิบต้องจ่ายคุมซ์อีกใช่หรือไม่?
    5650 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ดั่งเป็นที่ทราบกันดีว่าคุมซ์คือหนึ่งในการบริจาคทรัพย์อันเป็นวาญิบสำคัญในอิสลามเป็นหนึ่งในหลักการอิสลามและเป็นอิบาดะฮฺด้วยด้วยสาเหตุนี้เองจำเป็นต้องเนียต (ตั้งเจตคติ) เพื่อแสวงความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ (ซบ.)ทรัพย์สินและเงินทุนต่างๆที่ต้องจ่ายคุมซ์ถ้าหากจ่ายคุมซ์ไปแล้วเพียงครั้งเดียวไม่วาญิบต้องจ่ายคุมซ์อีกแม้ว่ากาลเวลาจะผ่านพ้นไปนานหลายปีก็ตามแต่ถ้าเป็นทรัพย์ที่เติบโตหรือมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิมทุนเดิมไม่ต้องจ่ายคุมซ์แต่ส่วนที่เป็นผลกำไรงอกเงยอออกมาวาญิบต้องจ่ายคุมซ์[1][1]  เตาฏีฮุลมะซาอิลมะริญิอฺ
  • การแสวงหาความต้องการอื่น ๆ นอกจากพระเจ้า เช่นขอจากบบี (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เป็นชิริกหรือไม่ เพราะในความเป็นจริงผู้ตอบสนองความต้องการคือพระเจ้า
    7825 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    การให้ความเคารพการย้อนกลับการขอความต้องการไปยังผู้ทรงเกียรติ (พระศาสดาและบรรดาอิมาม) ถ้าหากมีเจตนาว่าพวกเขามีบทบาทต่อการเกิดผลและสามารถปลดเปลื้องความต้องการของเราได้โดยเป็นอิสระจากพระเจ้าหรือปราศจากการพึ่งพิงไปยังอาตมันสากลของพระองค์การมีเจตนารมณ์เช่นนี้ถือว่าเป็นชิริกอีกทั้งขัดแย้งกับเตาฮีดอัฟอาล (ความเป็นเอกภาพในการกระทำ) เนื่องจากพระองค์ปราศจากการพึ่งพิงไปยังสิ่งอื่นขณะที่สิ่งอื่นต้องพึ่งพิงไปยังพระองค์ขัดแย้งกับเตาฮีดรุบูบียะฮฺ(อำนาจบริหารและบริบาลเป็นของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวส่วนบรรดาศาสดามะลักหรือปัจจัยทางธรรมชาติเป็นเพียงสื่อของพระองค์)
  • ทั้งที่พจนารถของอิมามบากิรและอิมามศอดิกมีมากมาย เหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมไว้ในหนังสือสักชุดหนึ่ง?
    6643 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    หากจะพิจารณาถึงสังคมและยุคสมัยของท่านอิมามบากิร(อ.)และอิมามศอดิก(อ.)ก็จะเข้าใจได้ว่าเหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมตำราดังกล่าวขึ้นอย่างไรก็ดีฮะดีษของทั้งสองท่านได้รับการรวบรวมไว้ในบันทึกที่เรียกว่า “อุศู้ลสี่ร้อยฉบับ” จากนั้นก็บันทึกในรูปของ”ตำราทั้งสี่” ต่อมาก็ได้รับการเรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ฟิกเกาะฮ์ในหนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์กว่าสามสิบเล่มโดยท่านฮุรอามิลีแต่กระนั้นก็ต้องทราบว่าแม้ว่าฮะดีษของอิมามสองท่านดังกล่าวจะมีมากกว่าท่านอื่นๆก็ตามแต่หนังสือดังกล่าวก็มิได้รวบรวมเฉพาะฮะดีษของท่านทั้งสองแต่ยังรวมถึงฮะดีษของอิมามท่านอื่นๆอีกด้วย ทว่าปัจจุบันมีการเรียบเรียงหนังสือในลักษณะเจาะจงอยู่บ้างอาทิเช่นมุสนัดอิมามบากิร(อ.) และมุสนัดอิมามศอดิก(
  • ท่านอิมามอลี(อ.)อธิบายถึงการก้าวสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์บทใด?
    6542 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/28
    ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวถึงการก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์ที่สามซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนาม “คุฏบะฮ์ชิกชิกียะฮ์” จากคำที่ท่านกล่าวตอนท้ายคุฏบะฮ์คุฏบะฮ์นี้มีเนื้อหาครอบคลุมคำตัดพ้อของท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับประเด็นคิลาฟะฮ์และเล่าถึงความอดทนต่อการสูญเสียตำแหน่งดังกล่าวอีกทั้งเหตุการณ์ที่ประชาชนให้สัตยาบันต่อท่านซึ่งจะนำเสนอรายละเอียดในคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • ตามคำสอนของศาสนาอื่น นอกจากอิสลาม, สามารถไปถึงความสมบูรณ์ได้หรือไม่? การไปถึงเตาฮีดเป็นอย่างไร?
    10029 เทววิทยาใหม่ 2554/06/21
    แม้ว่าปัจจุบันนี้จะมีความถูกต้องอยู่บ้างในบางศาสนาดั่งที่เราได้เห็นประจักษ์กับสายตาตัวเอง, แต่รูปลักษณ์ที่สมบูรณ์ของความจริงซึ่งได้แก่เตาฮีด, มีความประจักษ์ชัดเฉพาะในศาสนาอิสลามเท่านั้น, เหตุผลหลักสำหรับการพิสูจน์คำพูดดังกล่าว,คือการไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้การถูกบิดเบือนและความบกพร่องต่างๆทางปัญญาในศาสนาต่างๆขณะที่ด้านตรงข้าม, การไม่ถูกเปลี่ยนแปลงและไม่ถูกสังคายนาของอัลกุรอาน, มีหลักฐานและประวัติที่เชื่อถือได้, คำสอนที่ครอบคลุมของอิสลาม, การเข้ากันได้อย่างเป็นธรรมชาติของคำสอนอิสลามกับสติปัญญาสมบูรณ์ ...
  • น้ำยาบ้วนปากซึ่งโดยปกติแล้วจะมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมอยู่ จะมีฮุกุ่มอย่างไร?
    8331 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    แอลกอฮอล์ชนิดที่ยังคลางแคลงใจว่าเป็นน้ำเมา[1]แต่เดิมหรือไม่นั้นให้ถือว่าสะอาดและสามารถค้าขายหรือใช้ผลิตพันธ์ที่มีแอลกอฮอล์ดังกล่าวเป็นส่วนผสมได้ตามปกติ[2]
  • ในอายะฮ์ "وَمَنْ عَادَ فَینتَقِمُ اللّهُ مِنْهُ وَاللّهُ عَزِیزٌ ذُو انْتِقَامٍ"، สาเหตุของการชำระโทษคืออะไร
    7045 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/05
    อายะฮ์ที่ได้ยกมาในคำถามข้างต้นนั้นเป็นอายะฮ์ที่ถัดจากอายะฮ์ก่อนๆในซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ซึ่งมีเนื้อหาว่าการล่าสัตว์ขณะที่กำลังครองอิฮ์รอมถือเป็นสิ่งต้องห้ามในที่นี่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้กล่าวว่าผู้ใดที่ได้ละเมิดขอบเขตของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) กล่าวคือไม่ยี่หระสนใจเกี่ยวกับข้อห้ามในการล่าสัตว์ในขณะที่ครองอิฮ์รอมอยู่โดยได้ล่าสัตว์ขณะที่กำลังทำฮัจญ์  อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ก็จะชำระโทษพวกเขาดังนั้นสาเหตุของการชำระโทษในที่นี้ก็คือการดื้อดึงที่จะทำบาปนั้นเอง[1]ใครก็ตามที่ได้กระทำสิ่งต้องห้าม (ล่าสัตว์ขณะครองอิฮ์รอม) พระองค์ย่อมจะสำเร็จโทษเขาอายะฮ์ดังกล่าวต้องการแสดงให้เห็นว่าบาปนี้เป็นบาปที่ใหญ่หลวงถึงขั้นที่ว่าผู้ที่ดื้อแพ่งจะกระทำซ้ำไม่อาจจะชดเชยบาปดังกล่าวได้ในอันดับแรกสามารถชดเชยบาปได้โดยการจ่ายกัฟฟาเราะฮ์และเตาบะฮ์แต่ถ้าหากได้กระทำบาปซ้ำอีกอัลลอฮ์จะชำระโทษผู้ที่ฝ่าฝืนเนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้มีชัยและเป็นจ้าวแห่งการชำระโทษและสำนวนอายะฮ์นี้แสดงให้เห็นว่าบาปดังกล่าวเป็นบาปที่ใหญ่หลวงสำหรับปวงบ่าวนั่นเอง[2]คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด[1]มัฆนียะฮ์, มุฮัมหมัดญะวาด
  • การบนบานแบบใหนสัมฤทธิ์ผลตามต้องการมากที่สุด?
    13663 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/28
    นะซัร(บนบานต่ออัลลอฮ์) คือวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ได้รับในสิ่งที่ต้องการซึ่งมีพิธีกรรมเฉพาะตัวอาทิเช่นจะต้องเปล่งประโยคเฉพาะซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาอรับตัวอย่างเช่นการเปล่งประโยคที่ว่า“ฉันขอนะซัรว่าเมื่อหายไข้แล้ว

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60190 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57650 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42267 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39476 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38994 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34050 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28063 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28048 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27885 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25866 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...